การจัดการห่วงโซ่ความเย็น Cold Chain Management

การจัดการห่วงโซ่ความเย็น Cold Chain Management

ในประเทศไทย ธุรกิจร้านอาหาร และการขยายแฟรนไชส์ รวมถึงธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งผลิตภัณฑ์ด้านอาหารมีการเติบโตขึ้นมาก  ส่งผลให้ธุรกิจ Cold Chain Management หรือการจัดการห่วงโซ่ความเย็นเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบขนส่ง และระบบเครื่องย้ายวัตถุดิบที่ต้องใช้เวลานาน ได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณภาพสินค้าให้ดีมากขึ้น   จากข้อมูลธุรกิจระบบการจัดส่งของไทย พบว่า ธุรกิจ Cold Chain Logistics ที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่ความเย็น เติบโตมากขึ้น และ โดยเฉพาะช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ Covid-19 การใช้ชีวิตวิถีใหม่ พฤติกรรมของผู้บริโภค ที่หันมาบริโภคอาหารแปรรูปมากขึ้น รวมถึงการเปิดเสรีการค้าที่ทำให้ภาคการส่งออกไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร หรืออาหารทะเลแช่แข็ง จึงทำให้ธุรกิจ Cold Chain Mangement  มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีที่สิ้นสุด

การจัดการห่วงโซ่ความเย็นคือการควบคุมอุณหภูมิให้ต่ำกว่าสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการทางเทคโนโลยีที่ช่วยคงความสมบูรณ์และคุณภาพของสินค้า  ผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ปัจจัยห่วงโซ่ความเย็นที่สำคัญมีอยู่ 4 ประการได้แก่

  1. ระบบทำความเย็น (Cold System) คือการปรับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับการเก็บรักษา
  2. ห้องเย็น (Cold Storage) เป็นห้องที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิสำหรับการจัดเก็บสินค้าได้อย่างเหมาะสมตามประเภท และชนิดสินค้านั้นๆ
  3. การขนส่งโดยควบคุมอุณหภูมิ (Transport Temperature Control) คือการเครื่องย้ายสินค้าด้วยยานพาหนะที่มีการรักษาอุณหภูมิความชื้นให้คงที่
  4. การแปรรูป และจัดจำหน่าย (Cold Processing and Distribution) คือกระบวนการจัดการปรับแต่งสินค้า เช่นการบรรจุ การแปรรูป ฯลฯ

ส่วนระบบทำความเย็นที่เราเห็นกันมากที่สุดในอุตสาหกรรมคือการแช่เย็นและแช่แข็ง

การแช่เย็น (Chilling)

เป็นการลดอุณหภูมิสินค้าลงมาให้ต่ำกว่าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ต่ำกว่า -1 องศาเซลเซียส เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร โดยทั่วไปอุณหภูมิ แช่เย็นอยู่ระหว่าง 0-5 องศาเซลเซียส เป็นการยืดระยะเวลาการเก็บรักษาอาหารในช่วงสั้นๆ การแช่เย็นเป็นเพียงการชะลอหรือลดอัตราการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีให้ช้าลงเท่านั้น วัตถุดิบที่อยู่ในห้องเย็นยังมีการเสื่อมและเกิดปฏิกริยาทางเคมีตลอดเวลา ความสะอาดในกระบวนการผลิต และการขนย้ายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องป้องกันการปนเปื้อนให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด การควบคุมความเย็นให้เหมาะสมเริ่มต้นจากการใช้ระบบทำความเย็นให้เหมาะสม และการเลือกใช้สารทำความเย็น โดยพิจารณาจากอุณหภูมิที่เหมาะกับวัตถุดิบเช่น สารทำความเย็นสำหรับระบบ Medium Temperature หรืออุณหภูมิปานกลาง ที่สามารถใช้ได้กับเครื่องปรับอากาศในที่อยู่อาศัยห้องเย็น (Cold Room) ที่ให้อุณหภูมิประมาณ -15 ถึง -20 องศาเซลเซียส รวมถึงรถที่ใช้ในการขนส่งสินค้าแบบรักษาอุณหภูมิ ห้อง Cleanroom และห้องที่ต้องการควบคุมความดันและอุณหภูมิ ได้แก่ สารทำความเย็น R22,  R407c, R410a และ R32

รถที่ใช้ในการขนส่งสินค้าแบบรักษาอุณหภูมิ

การแช่แข็ง (Freezing)

 เป็นการลดอุณหภูมิสินค้าให้ลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของอาหาร หรือต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส เพื่อหยุดหรือชะลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์  รวมถึงการลดอัตราการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีให้ช้าลงกว่าการแช่เย็น กระบวนการการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่ควบคุมการผลิต รวมถึงการคำนึงด้านสุขอนามัยตลอดเส้นทางการเคลื่อนย้ายสินค้า ทุกขั้นตอนจำเป็นต้องมีการวัดอุณหภูมิ (Measurement) การแสดงข้อมูลอุณหภูมิ (Display) และการบันทึกข้อมูลของอุณหภูมิ (Record)  สารทำความเย็นที่ใช้สำหรับกระบวนการการแช่แข็ง หรือสำหรับระบบ Low Temperature (อุณหภูมิต่ำ) ที่สามารถใช้ได้กับ ตู้แช่แข็งอาหารตามห้างสรรพสินค้า ห้องเย็นหรือ Cold room ที่มีอุณหภูมิต่ำ -40 องศาเซลเซียส ห้องเก็บสินค้าในระบบปลอดเชื้อ หรือต้องการลดสารต่างๆ , ตู้ไอศครีม ได้แก่ R404a, R507 เป็นต้น

ตู้แช่แข็งอาหารตามห้างสรรพสินค้า,ตู้ไอศกรีม

ในปัจจุบันความท้าทายของธุรกิจ Cold Chain Management ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของอุณหภูมิในประเทศ การแข่งขันที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น รวมถึงกฏระเบียบด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเป็นไปตามข้อบังคับและหลักปฏิบัติ  ในอุตสาหกรรมนั้นๆที่ระบุวิธีการจัดการในส่วนต่างๆ ขึ้นอยู่กับสินค้า เช่น อาหาร ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ หากธุรกิจของท่านมีความรวดเร็วในการกระจายสินค้า การรักษาคุณภาพสินค้า และการยกระดับความปลอดภัยนั้น จะช่วยสร้างความมั่นใจ และสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้าได้เป็นอย่างดี

ซึ่งน้ำยาแอร์ก็เป็นส่วนสำคัญในธุรกิจ Cold Chain Management ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ น้ำยาแอร์บางชนิดเป็นสารผสมบางชนิดเป็นสารเดี่ยว ดังนั้นการเลือกว่าจะใช้น้ำยาแอร์ตัวไหน ขึ้นอยู่กับระบบคอมเพรสเซอร์ที่ใช้และอุณหภูมิที่ต้องการ   สิ่งสำคัญนั่นก็คือต้องหมั่นเช็คอุณหภูมิความเย็นให้คงที่อย่างสม่ำเสมอ  ถ้าหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานของน้ำยาแอร์ของตู้เย็นและตู้แช่ สามารถโทรติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็นตู้แช่ทุกชนิด ที่ ติดต่อที่Line : @namyaair  หรือ โทร. 094-341-3124

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *