การตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นเชิงพาณิชย์
อุปกรณ์ทำความเย็นเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ห้องเย็น หรือโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีระบบทำความเย็นเชิงพาณิชย์ ควรบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน รวมถึงลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในระยะยาว ป้องกันการหยุดทำงานของเครื่องทำความเย็น
จากคำแนะนำของผู้ผลิตอุปกรณ์ทำความเย็น ต้องการให้ผู้ใช้งานตรวจสอบตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ อย่างครบถ้วน เพื่อเป็นการช่วยรักษาการรับประกันของผู้ผลิตอุปกรณ์ไปในตัวและนี่คือรายการตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นเชิงพาณิชย์ ที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ
-
งานบำรุงรักษารายเดือน (Monthly Maintenance Tasks)
ระบบป้อนของเหลว (Liquid Overfeed System)
– ตรวจสอบมอเตอร์ปั๊ม สตาร์ทเตอร์ และสายไฟ
– ตรวจสอบปั๊มและมอเตอร์ทำงานภายในขีดจำกัดของอุปกรณ์
– ทดสอบและปรับจุดตัดความปลอดภัยของปั๊ม
อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (PLC)
– ทดสอบและปรับเทียบสารทำความเย็น
– ตรวจสอบ และทดสอบการแจ้งเตือน
– ตรวจสอบการแจ้งเตือนภายนอก (BMS, ระบบตรวจสอบสัญญาณเตือน ฯลฯ)
คอมเพรสเซอร์
– ตรวจสอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์
-
งานบำรุงรักษารายไตรมาส (Quarterly Maintenance Tasks)
คอมเพรสเซอร์
– ตรวจสอบเวลาการทำงานของระบบทำความเย็น วิเคราะห์น้ำมัน เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง และเปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์ตามคำแนะนำของผู้ผลิต และอุปกรณ์
สารทำความเย็น
– ตรวจสอบวาล์วถ่ายสารทำความเย็น
– ตรวจสอบภาชนะรองรับและท่อ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารทำความเย็น
ระบบป้อนของเหลว (Liquid Overfeed System)
– ตรวจสอบสภาพทั่วไปของท่อและฉนวน ตรวจสอบการรั่วไหลของสารทำความเย็นในท่อ
– ตรวจสอบวาล์วเติมตัวรับด้านต่ำและวาล์ว Evaporator ทดสอบการตัดเข้าและการตัดออกที่เหมาะสม
– ทดสอบและปรับอุปกรณ์การไหล (ขั้นต่ำ) เปิดเครื่อง รันระบบทำงานจริง
– ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์ แรงดันจ่าย บันทึกและเปรียบเทียบกับระดับพื้นฐาน
– ตรวจสอบแรงดันตกคร่อมของตัวกรองน้ำมันหล่อลื่น ทดสอบการดรอปเกินขีดจำกัดของอุปกรณ์
– ตรวจสอบระดับสารทำความเย็นบริเวณ sight glass
– ตรวจสอบอุปกรณ์ทำความเย็นคอมเพรสเซอร์ พัดลม แรงสั่นสะเทือน
– ปรับวาล์วลดแรงดันซุปเปอร์ฮีท และตัวทำละลายน้ำแข็ง ตามความจำเป็น
คอมเพรสเซอร์
– ตรวจสอบการรั่วไหลของสารทำความเย็นและน้ำมันคอมเพรสเซอร์
– ตรวจสอบเวลาการทำงานของเครื่องและองค์ประกอบอื่นๆ เช่นตะแกรงกรองของเหลว ตะแกรงดูด และมอเตอร์
– ตรวจสอบสายไฟของมอเตอร์และสตาร์ทเตอร์
คอมเพรสเซอร์ (ส่วนการควบคุม)
– ปรับเทียบเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (RTD) และ Transducer ใหม่ตามความจำเป็น
– ดาวน์โหลด บันทึก ข้อมูลการควบคุมและการเตือน
คอนเดนเซอร์แบบระเหย (Evaporative condenser)
– ตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่น และทำความสะอาดมอเตอร์
– ตรวจสอบสายพาน ปรับความตึงและการจัดตำแหน่งเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
– ทำความสะอาด/เปลี่ยนมัดรอก
– ขันและยึดสายไฟเชื่อมต่อให้แน่น
– ทำความสะอาด ตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่น เฟืองขับ (driving gear) เช่นข้อต่อ/ระบบเฟือง ตามความจำเป็น
– ตรวจสอบ ทำความสะอาด การจ่ายสเปรย์ ปั๊ม และท่อ
– ตรวจสอบว่าระบบบำบัดน้ำเสีย
อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน Programmable Logic Controller (PLC)
– ทดสอบการแจ้งเตือน
-
งานบำรุงรักษาประจำปี (Annual Maintenance Tasks)
คอนเดนเซอร์แบบระเหย (Evaporative condenser)
– ทำความสะอาดสิ่งสกปรกและเศษขยะ
คอมเพรสเซอร์
– ตรวจสอบจุดต่อน้ำมันและท่อควบคุม LP/HP การรั่วของน้ำมัน/สารทำความเย็น
– ตรวจสอบการตั้งค่า
อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน Programmable Logic Controller (PLC)
– ทดสอบและปรับเทียบเซ็นเซอร์ RTD และ Transducer
– เปลี่ยนแผ่นกรองสารทำความเย็น
– ทดสอบแหล่งจ่ายไฟสำรอง
– ตรวจสอบอุณหภูมิละลายน้ำแข็ง
การปฏิบัติตามรายการตรวจสอบการบำรุงรักษาระบบทำความเย็นเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง จะสามารถรักษาอุปกรณ์ทำความเย็นของคุณให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และคงประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเยี่ยมได้และช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดีอีกด้วย.
หากต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับระบบทำความเย็น รวมถึงเลือกสารทำความเย็นให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ เพื่อคุณภาพสูงสุด ปรึกษาติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็นตู้แช่ทุกชนิด ที่ Line@namyaair หรือ โทร. 0943413124
สนใจสั่งซื้อน้ำยาแอร์ กับน้ำยาแอร์ดอทคอม โทรเลย 0943413124
Add Line : @namyaair เพื่อสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับน้ำยาแอร์ คลิ๊กเลย