การใช้สารทำความเย็นในการทำงานให้ปลอดภัย

การใช้สารทำความเย็นในการทำงานให้ปลอดภัย

ในเรื่องของสารทำความเย็นนอกจากให้ประโยชน์มากมายในด้านสร้างความเย็นและด้านพลังงานอื่นๆแล้ว สารทำความเย็นแต่ละประเภทก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายมากมายตามมาได้ รวมถึงความเป็นพิษ ความสามารถในการติดไฟและระบบทางเดินหายใจ และอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจาการรั่วไหลของสารทำความเย็น

วันนี้เราจะมาพูดถึงการปฏิบัติเพื่อให้บุคลากรของเราสามารถทำงานร่วมกับสารทำความเย็นได้อย่างปลอดภัย

อันตรายจากสารทำความเย็นในการปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน อันตรายที่เกิดจากสารทำความเย็นโดยตรง  อันตรายที่เกิดจาการใช้ไฟฟ้า และอันตรายที่เกิดจากถังความดัน

              ข้อปฏิบัติในการทำงานกับสารทำความเย็นให้ปลอดภัยสูงสุดมีดังนี้

  1. อันตรายจากสารทำความเย็นโดยตรง ในสถานที่ ที่มีการใช้สารทำความเย็นควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันในกรณีที่สารทำความเย็นเกิดการรั่วไหลออกจากระบบ และเข้ามาแทนที่ในอากาศ เนื่องจากคุณสมบัติที่หนักกว่าอากาศ ให้ปล่อยสารทำความเย็นออกจากระบบให้หมด และใช้แก๊สไนโตรเจนผ่านก่อนการใช้แก๊สเชื่อมหรือตัดอุปกรณ์ในระบบ ห้ามเชื่อมอุดรอยรั่วในขณะที่ยังมีสารทำความเย็นอยู่ เนื่องจากเมื่อสารทำความเย็นได้รับความร้อนจะมีการขยายตัวสูงมากอาจจะทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ ถึงแม้สารทำความเย็นจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่นแต่ก็สามารถก่ออันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน ควรสวมถุงมือ แว่นตา ในขณะที่ปฎิบัติงานเนื่องจากสารทำความเย็นโดยทั่วไปจะมีจุดเดือดต่ำมาก ถ้าหากได้สัมผัสกับผิวหนังอาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บจากสารทำความเย็นที่เย็นจัด
  2. อันตรายที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้า ถ้าตรวจพบว่าอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการรั่วจะต้องหยุดปฏิบัติงานทันที่ ไม่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ขณะที่ร่างกาย เสื้อผ้าหรือรองเท้าที่สวมใส่เปียกชื้น ต้องต่อสายดินที่เครื่องมือหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่ว นอกเหนือจากนี้การตรวจสอบระบบความเย็นในโรงงานของคุณอย่างสม่ำเสมอ ก็ยังเป็นอีกตัวช่วยในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน รวมถึงการเลือกใช้สารทำความเย็นที่ได้คุณภาพ อัตราส่วนผสมที่เป็นมาตรฐานและได้รับสิทธิบัตรที่ถูกต้อง
    ตรวจสอบระบบความเย็นในโรงงานของคุณอย่างสม่ำเสมอ
  3. อันตรายจากถังความดัน และนั่นรวมถึงถังบรรจุสารทำความเย็น ถังแก๊สออกซิเจนสำหรับใช้ในงานเชื่อม ถังไนโตรเจนสำหรับตรวจสอบรอยรั่วหรือทำความสะอาดระบบ  ถังแรงดันห้ามบรรจุเกิน 80% ของปริมาตรถัง และอย่านำถังบรรจุสารทำความเย็นไปตั้งไว้กลางแดดจัด เพราะจะทำให้อุณภูมิที่สูงขึ้นเกิดความดันภายในถังสูงมากกว่าเดิมอาจจะทำให้เกิดระเบิดได้ ถังบรรจุสารทำความเย็นปกติจะติดตั้งลิ้นเพื่อระบายความดัน ไว้ที่ด้านบนของถัง (Relief valve) เพื่อทำหน้าที่ระบายความดันที่เพิ่มขึ้นปกติจะตั้งไว้ที่ 400 ปอนด์/ตารางนิ้ว  นอกจากนี้ยังมีปลั๊กหลอมละลาย (Fusible plug) ซึ่งละลายเพื่อระบายสารทำความเย็นออกจากถัง เพื่อป้องกันการระเบิด
    ตรวจสอบระบบความเย็นในโรงงานของคุณอย่างสม่ำเสมอ

ดังที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น การใช้สารทำความเย็นให้ปลอดภัยในขณะทำงาน จะต้องมีการเซฟตี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อคนและทรัพยากรธรรมชาติด้วย และควรเลือกซื้อน้ำยาที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานในการใช้งาน หากต้องการคำแนะนำหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับน้ำยาแอร์ สามารถโทรติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาทำความเย็นทุกชนิด ที่ Line@namyaair หรือ โทร. 094-341-3124

สนใจสั่งซื้อน้ำยาแอร์ กับน้ำยาแอร์ดอทคอม โทรเลย 0943413124

Add Line : @namyaair เพื่อสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับน้ำยาแอร์ คลิ๊กเลย

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *