สารทำความเย็นเปลี่ยนเป็นความเย็นได้อย่างไร ?

สารทำความเย็นเปลี่ยนเป็นความเย็นได้อย่างไร ?

สารทำความเย็น เป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับเครื่องทำความเย็น และการควบคุมการจ่ายสารทำความเย็นในระบบ 𝗛𝗩𝗔𝗖 หรือระบบปรับอากาศ และระบบทำความเย็น เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบและขั้นตอนต่างๆ ทั้งการจัดการการไหลของน้ำยา  ความดัน การควบคุมอุณหภูมิของสารทำความเย็น (𝗥𝗲𝗳𝗿𝗶𝗴𝗲𝗿𝗮𝗻𝘁) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำความเย็น และเปลี่ยนสถานะ ด้วยการใช้ความร้อนแฝงเข้ามาช่วยผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทำความเย็น โดยผ่านการควบคุม และการจ่ายผ่านหน้าที่ของอุปกรณ์ต่อไปนี้

  1. การควบคุมการไหลของสารทำความเย็น
  • 𝗧𝗵𝗲𝗿𝗺𝗮𝗹 𝗘𝘅𝗽𝗮𝗻𝘀𝗶𝗼𝗻 𝗩𝗮𝗹𝘃𝗲 (𝗧𝗫𝗩) หรือ เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของสารทำความเย็นเข้าสู่คอยล์เย็น (Evaporator) ตามอุณหภูมิของสารทำความเย็นที่ออกจากคอยล์เย็น
  • 𝗖𝗮𝗽𝗶𝗹𝗹𝗮𝗿𝘆 𝗧𝘂𝗯𝗲 ท่อควบคุมการไหลของสารทำความเย็นเข้าสู่ คอยล์เย็น (Evaporator) ตามความยาวและเส้นผ่านศูนย์กลาง

  1. การควบคุมความดัน
  • 𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗥𝗲𝗹𝗶𝗲𝗳 𝗩𝗮𝗹𝘃𝗲 (𝗣𝗥𝗩) วาล์วระบายแรงดัน รีลีฟวาล์ว ทำหน้าที่ปล่อยสารทำความเย็นส่วนเกินในกรณีที่มีแรงดันเกิน เพื่อป้องกันความเสียหายต่อระบบ ในกรณีเมื่ออุณหภูมิและความดันของสารทำความเย็นภายในระบบด้าน High side สูงเกินกว่าปกติ
  • 𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗧𝗿𝗮𝗻𝘀𝗱𝘂𝗰𝗲𝗿 ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจสอบ และวัดความดันของระบบให้กับระบบควบคุมเพื่อการปรับเปลี่ยนแรงดันให้เหมาะสม
  1. การควบคุมอุณหภูมิ
  • เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิสารทำความเย็น ณ จุดต่างๆ ในระบบ
  • การควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมการไหลของสารทำความเย็นหรือการทำงานของคอมเพรสเซอร์ตามอุณหภูมิที่กำหนด
  1. ระบบการไหลของสารทำความเย็นแบบแปรผัน (𝗩𝗥𝗙)
  • 𝗘𝗹𝗲𝗰𝘁𝗿𝗼𝗻𝗶𝗰 𝗘𝘅𝗽𝗮𝗻𝘀𝗶𝗼𝗻 𝗩𝗮𝗹𝘃𝗲 (𝗘𝗘𝗩) วาล์วลดความดันที่ทำงานโดยการควบคุมการ เปิด ปิด ด้วยระบบอิเลคทรอนิค ที่สามารถปรับการไหลของสารทำความเย็นตามความต้องการแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ควบคุมอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ
  1. การควบคุมคอมเพรสเซอร์
  • 𝗩𝗮𝗿𝗶𝗮𝗯𝗹𝗲-𝗦𝗽𝗲𝗲𝗱 𝗖𝗼𝗺𝗽𝗿𝗲𝘀𝘀𝗼𝗿𝘀 คอมเพรสเซอร์ที่มีความสามารถในการปรับความเร็วรอบมอเตอร์ได้เพื่อปรับการไหลของสารทำความเย็นและความจุ
  1. ระบบจ่ายสารทำความเย็น
  • ท่อ สารทำความเย็นไหลผ่านท่อที่เชื่อมต่อส่วนประกอบต่างๆ ของระบบ
  1. ระบบควบคุมความปลอดภัย
  • วาล์วระบายแรงดัน (𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗥𝗲𝗹𝗶𝗲𝗳 𝗩𝗮𝗹𝘃𝗲𝘀)
  • ระบบปิดเครื่องฉุกเฉิน (𝗘𝗺𝗲𝗿𝗴𝗲𝗻𝗰𝘆 𝗦𝗵𝘂𝘁𝗱𝗼𝘄𝗻 𝗦𝘆𝘀𝘁𝗲𝗺𝘀)
  • ระบบตรวจจับการรั่วไหล (𝗟𝗲𝗮𝗸 𝗗𝗲𝘁𝗲𝗰𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗦𝘆𝘀𝘁𝗲𝗺𝘀)
  1. ระบบควบคุมอัตโนมัติ
  • 𝗣𝗿𝗼𝗴𝗿𝗮𝗺𝗺𝗮𝗯𝗹𝗲 𝗟𝗼𝗴𝗶𝗰 𝗖𝗼𝗻𝘁𝗿𝗼𝗹𝗹𝗲𝗿𝘀 (𝗣𝗟𝗖𝘀) ระบบควบคุมที่ทำให้กระบวนการทำความเย็นเป็นอัตโนมัติและควบคุมด้านต่างๆ เชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ วาล์ว และส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อการปรับเปลี่ยนแบบเรียลไทม์ การควบคุมและการจ่ายสารทำความเย็นในระบบนั้น ถือเป็นการเชื่อมโยงหน้าที่ของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทำความเย็นเข้าไว้ด้วยกัน แต่ละระบบจะทำงานร่วมกันเพื่อควบคุมการไหลและ คงคุณลักษณะของสารทำความเย็นทั่วทั้งระบบซึ่งหมายความว่า อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ทำหน้าที่ลำเลียง และควบคุมสารทำความเย็น จำเป็นต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เพื่อทำหน้าที่ในแต่ละส่วน ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมีความแม่นยำและปลอดภัย

       นอกจากอุปกรณ์ที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีส่วนประกอบสำคัญ อย่าง สารทำความเย็น ที่ต้องคำนึงประเภท ปริมาณ การใช้งาน ฯลฯ ไปจนถึงความบริสุทธิ์ของสารทำความเย็นที่เลือกใช้อีกด้วย หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสารทำความเย็น ระบบของตู้แช่ ห้องเย็น รวมทั้งสารทำควมเย็นสำหรับแอร์บ้าน แอร์โรงงาน แอร์รถยนต์ และระบบทำความเย็นแบบครบวงจร สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ยินดีให้ข้อเสนอแนะ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับน้ำยาแอร์ สนใจ สามารถติดต่อได้ที่ Line@namyaair หรือ โทร.  094-341-3124     

สนใจสั่งซื้อน้ำยาแอร์ กับน้ำยาแอร์ดอทคอม โทรเลย 0943413124

Add Line : @namyaair เพื่อสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับน้ำยาแอร์ คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *