สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ R600a กับคุณสมบัติการติดไฟ ?
ในโลกปัจจุบันสารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มพัฒนาเข้ามาแทนที่สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ในยุคเก่าอย่างแพร่หลายมากขึ้น สารทำความเย็น R600a ก็เป็นหนึ่งสารทำความเย็นที่เป็นสารทดแทน R134a เช่นกัน เนื่องจากค่า GWP=3 ที่ต่ำกว่า R134a อย่างเห็นได้ชัด เพราะสารทำความเย็น R134a มีค่า GWP=1,430 ปัจจุบันสารทำความเย็น R134a ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบปรับอากาศรถยนต์ รวมถึงตู้เย็นและเครื่องทำความเย็นเชิงพาณิชย์ และสารทำความเย็น R600a ที่เข้ามาทดแทนส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดในการใช้เฉพาะ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และอุปกรณ์ทำความเย็นอื่นที่มีข้อกำหนด
R600a คืออะไร ?
R600a เป็นสารทำความเย็นไอโซบิวเทน ประเภท HC จากที่เราเคยได้ทำความรู้จักกับสารทำความเย็นธรรมชาติ R290 ที่เป็นสารทำความเย็นประเภทติดไฟอีกชนิดไปแล้ว สาร R600a ก็เป็นอีกหนึ่งสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของโพนเพนเช่นกันค่ะ เพียงแต่มีความสามารถในการติดไฟต่ำกว่าสารทำความเย็นตามธรรมชาติแท้ๆ และทั้งสารทำความเย็นทั้งคู่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในเครื่องใช้ที่เป็นไปตามข้อกำหนด เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติไวไฟ R600a เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตเครื่องเย็นหรือตู้เย็นหลายยี่ห้อ เริ่มหันมาใช้สาร R600a ทดแทนสาร R134a นอกจากคุณสมบัติที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติแล้ว ประสิทธิภาพต่างๆ ทางเทอร์โมไดนามิกส์ก็ดีเยี่ยมด้วยเช่นกัน เช่น การระบายความร้อนสูง และใช้พลังงานต่ำ รวมถึงเป็นสารทำความเย็นที่มีต้นทุนต่ำ นอกจากอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นแล้ว ยังมีการใช้ R600a ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในเชิงวัตถุดิบและ Geothermal Energy หรือพลังงานความร้อนใต้พิภพอีกด้วย แม้สารทำความเย็น R600a จะไม่มีความเป็นพิษสูง แต่ก็มีคุณสมบัติในการติดไฟได้ง่าย เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน จึงมีข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น การใช้ R600a ทดแทนน้ำยาแอร์ R134a ในปริมาณต่ำหรือไม่เกิน 150 กรัมต่อยูนิต เพราะสารทำความเย็น R600a มีขนาดโมเลกุลของน้ำยาที่ใหญ่กว่า
ข้อควรระวังในการใช้ R600A
ลูกค้าที่ต้องการใช้สารทำความเย็น R600a จะต้องได้รับการดูแลจัดการด้วยความระมัดระวังอย่างสูงสุดตั้งแต่การขนส่ง รวมถึงตัวผลิตภัณฑ์สารทำความเย็นต้องอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมตามมาตรฐาน
ในการให้บริการและซ่อมแซมระบบทำความเย็นที่ใช้สารทำความเย็น R600a นั้นเจ้าหน้าที่บริการต้องได้รับการฝึกอบรมและมีความเชี่ยวชาญในการจัดการกับสารทำความเย็นที่ติดไฟได้ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ การขนส่งคอมเพรสเซอร์และสารทำความเย็น และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและข้อควรระวังด้านความปลอดภัยเมื่อดำเนินการให้บริการและซ่อมแซม
รวมถึงการเปลี่ยนสารทำความเย็นจาก R12 หรือ R134a เป็น R600a และการชาร์จสารทำความเย็น เช่นหากไม่ทราบปริมาณที่เหมาะสม จะต้องทำการค่อยๆ ชาร์จจนกว่าการกระจายอุณหภูมิบริเวณเครื่องระเหย (Evaporator) อย่างถูกต้อง เป็นต้น
น้ำยาแอร์เป็นสารที่อันตรายหากสัมผัสโดยตรง ดังนั้นควรมีความระมัดระวังในการใช้งานการรวมถึงการทำงานต้องรอบครอบ และสิ่งสำคัญคือ ต้องปฏิบัติงานด้วยความเคร่งครัด รัดกุม มีสติอยู่เสมอ ถ้าหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานของน้ำยาแอร์ของตู้เย็น ตู้แช่และห้องเย็น สามารถโทรติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็น ตู้แช่ทุกชนิด ที่ @namyaair หรือ โทร. 0943413124
สนใจสั่งซื้อน้ำยาแอร์ กับน้ำยาแอร์ดอทคอม โทรเลย 0943413124
Add Line : @namyaair เพื่อสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับน้ำยาแอร์ คลิ๊กเลย