เก็บสารทำความเย็นอย่างไรให้ปลอดภัย
การจัดเก็บสารทำความเย็นอย่างปลอดภัยและถูกต้อง ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อความปลอดภัย และการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าเรากำลังใช้สารทำความเย็นประเภทใดก็ตาม จำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอน กฎข้อบังคับ และข้อควรระวัง อย่างถูกต้องและปลอดภัย
วิธีการจัดเก็บและการดูแลรักษาสารทำความเย็น
- สถานที่จัดเก็บ เลือกพื้นที่จัดเก็บที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อป้องกันการสะสมของก๊าซสารทำความเย็น มีอุณหภูมิที่เย็น และแห้ง หลักเลี่ยงแสงแดดและแหล่งความร้อนโดยตรง เนื่องจากสารทำความเย็นบางประเภท อาจมีความไวต่อความผันผวนของอุณหภูมิ หลีกเลี่ยงการเก็บไว้ในที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด
- การเก็บถังบรรจุ
– เก็บถังบรรจุในลักษณะที่ตั้งตรง บนพื้นผิวที่แข็งแรงและมั่นคง ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการคว่ำหรือล้มได้ ควรหลีกเลี่ยงการวางแนวนอนหรือตะแคง เนื่องจากอาจจะทำให้หัววาล์วเกิดการเสียหายหรือเสี่ยวต่อการรั่วซึมได้
– การเก็บภาชนะบรรจุควรปิดวาล์วและฝาปิดป้องกันสารทำความเย็นเสมอเมื่อไม่ได้มีการใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของสารทำความเย็น
– ควรแยกประเภทของสารทำความเย็นแต่ละชนิด เพื่อป้องกันการสับสนในการใช้งาน และเพิ่มความปลอดภัย เช่น แยกสารทำความเย็นที่มีการติดไฟออกจากสารทำความเย็นตัวอื่นๆ
- ตรวจสอบภาชนะบรรจุเป็นประจำ
– ตรวจสอบถังบรรจุว่ามีอุปกรณ์ระบายแรงดันเพื่อหลีกเลี่ยงการเผาไหม้หรือการระเบิดหรือไม่ และควรตรวจสอบถังบรรจุทุกครั้งเมื่อได้รับสินค้าเพื่อตรวจสอบในส่วนของวาล์วแรงดันด้วย
– ตรวจสอบฉลาก โดยถังบรรจุสารทำความเย็นที่ได้มาตรฐาน ต้องมีฉลากบอกรายละเอียดของสารทำความเย็นติดอยู่อย่างชัดเจน
– ตรวจสอบถังบรรจุที่เก็บไว้ด้วยตาเปล่าเป็นระยะๆ เพื่อดูร่องรอยความเสียหายหรือการรั่วไหล เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
– บันทึกการตรวจสอบทุกครั้ง ทั้งประเภทสารทำความเย็น ปริมาณ วันที่จัดเก็บและใช้งาน เพื่อช่วยตรวจสอบ และติดตามสินค้าคงคลังของธุรกิจคุณได้
ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ถูกต้องของบุคลากรที่ใช้งาน
- ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของ กรมโรงงาน และกระทรวงอุตสาหรรมอย่างเคร่งครัด
- ต้องฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านการใช้งาน การจัดเก็บ และความปลอดภัย รวมถึงการปฏิบัติตัวและขั้นตอนในเวลาที่ฉุกเฉิน
- จัดวางอุปกรณ์ความปลอดภัยไว้ให้ใกล้มือ
- จำกัดจำนวนคนที่สามารถเข้าถึงบริเวณที่จัดเก็บสารทำความเย็นเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
- ห้ามสูบบุหรี่ หรือวางวัตถุไวไฟ ติดไฟ ไว้บริเวณที่จัดเก็บสารทำความเย็นโดยเด็ดขาด
ดังที่กล่าวมาข้างต้นสารทำความเย็นไม่มีอายุการเก็บรักษา (shelf life) จึงสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา หากไม่มีการรั่วไหล สารทำความเย็นมีคุณสมบัติและข้อควรระวังที่ต่างกันตามแต่ละประเภท และแบ่งตามระดับการติดไฟและสารพิษที่ต่างกัน หากมีข้อสงสัยหรือสนใจเกี่ยวกับเรื่องของน้ำยาแอร์ ทางเราพร้อมให้คำปรึกษา ในด้านของน้ำยาแอร์บ้าน แอร์รถ แอร์ตู้เย็น หรือเครื่องชิลเลอร์ สามารถโทรติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็น ตู้แช่ทุกชนิด ที่ Line@namyaairหรือ โทร. 0943413124
สนใจสั่งซื้อน้ำยาแอร์ กับน้ำยาแอร์ดอทคอม โทรเลย 0943413124
Add Line : @namyaair เพื่อสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับน้ำยาแอร์ คลิ๊กเลย