เลือกห้องเย็น (Cold Room) แบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจ

เลือกห้องเย็น (Cold Room) แบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจ

ในประเทศไทยธุรกิจระบบห้องเย็นมีหลายแบบหลายขนาดขึ้นอยู่กับรูปแบบ สินค้า และพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าแต่ละชนิด  ซึ่งรวมถึงอุณหภูมิที่ต้องการจัดเก็บสินค้าด้วยจะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งานและสินค้าที่ต้องการจัดเก็บ เพราะสินค้าแต่ละชนิดก็มีความต้องการอุณหภูมิความเย็นที่ไม่เหมือนกัน เช่น อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ต้องการอุณหภูมิที่ความเย็นจัด ส่วนพวกเครื่องดื่ม ผัก ผลไม้ ยาและเวชภัณฑ์ ต้องการอุณหภูมิที่ความเย็นไม่มาก เพราะถ้าหากเย็นเกินไป อาจทำให้สินค้าเสียหายได้ ดังนั้นการเลือกห้องเย็นแบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจของเรานั้น จะต้องดูสินค้าที่จะเก็บเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งสามารถแบ่งได้หลักๆตามการใช้งานได้และรูปแบบทั่วๆไปได้ ดังนี้

  1. ห้องเย็นมีขนาดแบบไหนบ้าง โดยขนาดห้องเย็นถ้าเป็นแบบเคลื่อนย้ายได้ ส่วนใหญ่ด้านกว้าง จะมีขนาด 2.4 เมตร ความยาว จะมีขนาดไม่เกิน 6 เมตร เพราะต้องยกเคลื่อนย้ายด้วยรถเฮียบ ซึ่งมีความยาวของรถที่บรรทุกได้ 6 เมตร ถ้าห้องเย็นขนาดกว้าง 2.4 เมตร ยาว 2.4 เมตร สูง 2.4 เมตร จะเก็บสินค้าได้ประมาณ 1-2 ตัน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าอะไร เป็นเนื้อสัตว์ หรือ ผักผลไม้ ถ้าเป็นประเภทผักผลไม้ น้ำหนักก็น้อยลงไป ส่วนนี้เป็นห้องเย็นสำเร็จรูป ก่อนเลือกห้องเย็นว่าจะเอาขนาดเท่าไร จะมีปัจจัยในการเลือก เช่น ประเภทสินค้า, ปริมาณสินค้าที่ต้องการจัดเก็บ
  2. เก็บของขนาดเท่าไหร่ ใช้ห้องเย็นขนาดไหนดีปัจจัยในการเลือกขนาดห้องเย็น คือ ประเภทสินค้า และปริมาณที่จะเก็บยกตัวอย่าง ห้องเย็นสำเร็จรูปขนาดเล็กที่สุด 2.4 x 2.4 x 2.4 เมตร จะเก็บเนื้อสัตว์ได้ 1 ตัน ผักผลไม้ น้ำแข้ง ไอศกรีม ได้จะ 1-2 ตัน หากเก็บหรือแช่แข็ง สินค้าที่มากๆ หลายสิบตัน จำเป็นต้องขยายห้องเย็น ควรเป็นห้องเย็นแบบตามสั่งที่ประกอบขึ้นใหม่
  3. การใช้ไฟควรใช้ไฟ 380 โวลล์ หรือไฟฟ้า 3 เฟส หรือหากไม่สะดวกไฟบ้าน 220 โวลล์ ก็ใช้งานได้เช่นกันแต่ ต้องให้มั่นใจว่าที่บ้านไฟไม่ตกและบ้านไม่อยู่ปลายสายของสายส่งไฟฟ้า เพราะถ้าไฟไม่พอหรือไฟตกจะมีผลกระทบกับเครื่องทำความเย็นห้องเย็นและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาจจะมีอายุการใช้งานสั้นลง แต่ส่วนใหญ่เราจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันไฟตกไฟเกิน จะอยู่ในตู้ Control กรณีที่ไฟฟ้าตก หรือไฟฟ้าต่ำกว่าโวล์ทปกติ ไฟจะไม่จ่ายไปที่เครื่อง
  4. ค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ย อาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ค่าไฟสูงขึ้น เช่น เปิดประตูห้องเย็นบ่อยๆ การดูแลบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นคอมเพรสเซอร์ตัดต่อการทำงานถี่เกินไป เก็บสินค้าผิดประเภทหรือเกินปริมาณที่ออกแบบเครื่องทำความเย็นไว้ อาจทำให้ค่าใช่จ่ายสูงขึ้นด้วย
  5. ใช้พื้นที่อย่างไรในการวางห้องเย็น ถ้าห้องเย็นสำเร็จรูปจำเป็นต้องวางในพื้นที่ที่ค่อนข้างโล่งและ หลังคาสูง เพราะการเคลื่อนย้ายหรือการขนส่งจะใช้รถเครนยกและวาง ต้องใช้พื้นที่พอสมควร ซึ่งต่างจากห้องเย็นแบบตามสั่ง ที่เราจะเข้าไปประกอบขึ้นห้องที่หน้างานเลยจึงไม่มีปัญหาเรื่องหลังคาหรือความสูง
  6. การเตรียมตัวก่อนมีห้องเย็นสิ่งที่เราจะต้องเตรียมก่อนมีห้องเย็นนั้นมี 2 อย่าง หลักๆ คือ
    – ไฟฟ้าลูกค้าต้องเดินสายไฟจากมิเตอร์ไฟ มายังบริเวณที่จะวางห้องเย็น
    – สถานที่วาง เตรียมสถานที่ ที่จะวางห้องเย็น พื้นจะต้องเรียบ แข็งแรงที่จะรองรับน้ำหนักของสินค้าได้ และมีหลังคาคลุมหัองเย็นหากตั้งไว้ในที่แจ้ง
  7. บริการหลังการขายเราจะต้องดูด้วยว่าผู้ให้บริการห้องเย็นที่เราจะลงทุนซื้อนั้นมีการรับประกันแน่นอนทั้งห้องจัดเก็บและเครื่องทำความเย็น หากห้องเย็นมีปัญหาภายในระยะเวลารับประกัน จะต้องไม่มีค่าใช้จ่ายในการดูแล ถ้าหากเลยระยะเวลาประกันไปแล้วจะต้องมีบริการดูแลให้ ซึ่งอาจจะเป็นไปตามลักษณะงาน
  8. สินค้าจะแข็งไหม สินค้าแต่ละประเภทจะแข็งในช่วงอุณหภูมิที่ไม่เท่ากันยกตัวอย่างเช่น หมู แช่แข็งหมูสดทั้งตัว ซึ่งตัวหมูจะมีความหนา กว่าความเย็นจะเข้าไปข้างใน ต้องใช้อุณหภูมิ ติดลบถึง -15 ถึง -18 องศาเซลเซียส หรือจะให้แข็งมากกว่านี้ที่อุณหภูมิติดลบเยอะๆ หากเก็บสินค้าเป็นผักผลไม้ ก็ไม่จำเป็นต้องแข็ง แค่ 0 ถึง 5 องศา ก็เพียงพอ

สำหรับธุรกิจระบบห้องเย็นนั้นต้องหมั่นตรวจสอบอุณหภูมิและอุปกรณ์ต่างๆให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานตลอดเวลาและไม่ควรเกิดการรั่วซึม เพื่อที่จะไม่เกิดความเสียหายกับสินค้าที่จัดเก็บ ซึ่งสินค้าบางอย่างมีมูลค่าที่สูงมาก และต้องจัดเก็บได้ตลอดเวลา  ดังนั้นควรที่จะตรวจเช็คระบบให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ   หากต้องการได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบห้องเย็น สามารถโทรติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็น ตู้แช่ทุกชนิด ที่ Line@namyaair หรือ โทร.  094-341-3124

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *