โลกร้อนกับน้ำยาแอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาบางท่านอาจะเคยได้ยินในเรื่องของน้ำยาแอร์ที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นอันตรายต่อมนุษย์หากมีการสูดดมเข้าสู่ร่างกาย แต่ในยุคสมัยใหม่น้ำยาแอร์ก่อให้เกิดผลเสียเหล่านั้นน้อยลงแล้วในปัจจุบัน น้ำยาแอร์เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเย็นในระบบของระบบทำความเย็นต่างๆ จะมีหลายประเภทตามขนาดการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับเครื่องทำความเย็น ในอดีตนั้นน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นมีความคงตัวค่อนข้างสูง และมีประสิทธิภาพต่ออุปกรณ์ทำความเย็น แต่จะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมแถมยังมีผลต่อผู้ที่สูดดมน้ำยาแอร์เข้าไปในร่างกายเมื่อเกิดการรั่วไหล ด้วยสารประกอบในน้ำยาแอร์ที่เป็นพิษหลายชนิดที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนและทำให้อุปกรณ์ทำความเย็นเสื่อมสภาพได้ง่าย ในระบบทำความเย็น จะสร้างความเย็นและดูดความร้อนได้ด้วยน้ำยาแอร์ ซึ่งเป็นตัวกลางที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำให้เกิดความเย็นได้ ด้วยการเดินทางไปตามอุปกรณ์ทำความเย็นและเปลี่ยนสภาพเป็นทั้งของเหลวและก๊าซเพื่อให้กระบวนทำความเย็นมีประสิทธิภาพ ด้วยการทำงานที่ต้องเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดการทำงานของเครื่องทำความเย็น น้ำยาแอร์จึงต้องมีเสถียรภาพในการเปลี่ยนสถานะและไม่กัดกร่อนอุปกรณ์ทำความเย็นอื่นๆอีกด้วย สารทำความเย็นหลายชนิดเป็นตัวการที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจากการประเมินของค่าดังนี้ ค่า GWP (Global Warming Potential) หมายถึง ศักยภาพในการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกของสารทำความเย็น โดยค่า GWP ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหลัก มีค่าเท่ากับ 1.0 ดังนั้นหากสารทำความเย็นชนิดอื่นมีค่า GWP เท่ากับ 1000 ซึ่งจะหมายความว่าสารทำความเย็นชนิดนั้นมีโอกาสทำให้โลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ 1000 เท่า ค่า ODP (Ozone Depletion Potential) หมายถึง ศักยภาพในการทำลายโอโซนในชั้นสตาโตสเฟียร์ของสารทำความเย็น โดยค่า ODP ของสารทำความเย็น R11 ซึ่งเป็นสารทำความเย็นรุ่นแรกที่ใช้กันแพร่หลาย มีค่าเท่ากับ 1.0 ดังนั้นสารทำความเย็ฯชนิดอื่นมีค่า
Author Archives: nobel23
อุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนบ้าง ในประเทศไทย อุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการใช้สารทำความเย็นหรือ น้ำยาแอร์ มาใช้ในงานระบบ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพราะในประเทศไทยไม่สามารถผลิตขึ้นได้เอง การใช้งานในระบบทำความเย็นต่างๆ ทั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน อาคาร รถยนต์ ห้องเย็นและตู้แช่ รวมทั้งอุตสาหกรรมทั่วๆไปด้วยที่จะต้องใช้อุณภูมิความเย็นในการจัดเก็บสินค้าต่าง ๆ ในที่นี้จะแยกในส่วนของน้ำยาที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ ว่าส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันนิยมและใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนกันบ้าง แต่ละชนิดมีส่วนประกอบและคุณสมบัติอย่างไร ในระบบตู้แช่ น้ำยาแอร์หลักๆที่ใช้กันแบ่งตามรายละเอียดต่างๆได้ดังนี้ R404a เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) คุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ประหยัดพลังงาน มีค่าแรงดันที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 170-180 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -46.6 C◦ ใช้ในอุณหภูมิติดลบ ใช้ในสินค้าพวกตู้แช่ห้องเย็นและอุตสาหกรรมทำความเย็น ถ้าน้ำยาแอร์ในระบบขาดต้องปล่อยทิ้งแล้วเติมใหม่ทั้งหมด โดยสามารถใช้เกจ์วัดแรงดันในการเช็คระบบให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม R507 เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 2 ชนิด (R125+R143) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 180-190 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -47.1
ทำไมต้องพัฒนาระบบแอร์รถยนต์ให้มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยซึ่งมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ถ้าจะกล่าวยานพาหนะ สิ่งแรกที่นึกถึงคือ รถยนต์ ซึ่งมีความสำคัญ ในการเดินทางเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ ส่วนประกอบสำคัญของรถยนต์อีกอย่าง คือ ระบบปรับอากาศของรถยนต์ ทำหน้าที่ ทำให้เกิดความเย็นมีการถ่ายเทความร้อน เพิ่มความสะดวกสบายของผู้ใช้รถยนต์ ดังนั้นการพัฒนาระบบแอร์รถยนต์ จะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการที่มีประสิทธิภาพให้มากขึ้น ลดการใช้พลังงาน ลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก บทความนี้จะทำให้เราทราบว่า การพัฒนาระบบแอร์รถยนต์ดีอย่างไร ลดการใช้สารทำความเย็นที่ทำลายโอโซน การใช้สารทำความเย็นที่ไม่มีผลกระทบต่อโอโซนในระบบแอร์รถยนต์ การเพิ่มความสะดวกสบายของผู้ใช้รถยนต์ มีการพัฒนาระบบแอร์ที่สามารถปรับแต่งอุณหภูมิ จะปรับให้จะร้อนหรือเย็นได้อย่างรวดเร็วและใช้งานง่ายสำหรับผู้ใช้ การใช้เทคโนโลยีช่วยในการกรองอากาศ มีการนำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยในเรื่องของการฟอกอากาศ ภายในรถยนต์ เพื่อปรับอากาศให้บริสุทธิ์ภายในรถยนต์ การพัฒนาน้ำยาทำความเย็นใหม่ ที่มีอัตราการไหลที่ดีกว่าและใช้พลังงานน้อยกว่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม รถไฟฟ้าและแอร์รถยนต์ มีการพัฒนาะระบบยนต์ไฟฟ้าในระบบแอร์รถยนต์ เพื่อใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำความเย็น ให้มีประสิทธิภาพสูง ลดการใช้เชื้อเพลิงในการทำความเย็น การใช้แหล่งพลังงานทดแทน ในการพัฒนาระบบแอร์รถยนต์ ที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์หรือแหล่งพลังงานไฟฟ้าทดแทนอื่นๆ เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงในการทำความเย็น การลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีการออกแบบระบบแอร์ เพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาจมีการใช้วัสดุที่รองรับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หรือการพัฒนาระบบรองรับการทดแทนที่ยั่งยืน การนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ มีการปรับการทำงานของระบบแอร์รถยนต์ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์และระบบควบคุมอื่น โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ นวัตกรรมในการควบคุมแอร์ มีการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะและเซ็นเซอร์ในระบบแอร์รถยนต์เพื่อปรับแต่งอุณหภูมิอย่างแม่นยำและอัตโนมัติ ทั้งจากภายนอกและภายในรถยนต์
สาเหตุที่ทำให้แอร์บ้านไม่เย็น 1.BTU ของเครื่องปรับอากาศไม่เหมาะสมกับขนาดห้อง ควรเลือกขนาด BTU ของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับขนาดของห้องที่จะติดตั้ง เพราะหากขนาด BTU กับห้องไม่เหมาะสมกันก็จะทำให้เครื่องปรับอากาศมีความเย็นไม่ทั่วถึง ซึ่งหลายคนอาจคิดว่า ห้องไม่ได้ใหญ่มากติดเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กก็พอ แต่แล้วความจริงหากเครื่องปรับอากาศที่ขนาด BTU ต่ำเกินไป คอมเพรสเซอร์ของแอร์ก็จะทำงานตลอดเวลา หรือหากเครื่องปรับอากาศที่มี BTU สูงเกินไป คอมเพรสเซอร์แอร์ก็จะตัดบ่อย ยังไม่ทันเกิดความเย็นก็ตัดแล้ว จึงทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น เย็นช้า แถมยังทำให้กินไฟมากกว่าปกติ ตั้งโหมดทำความเย็นผิด บางทีสาเหตุที่ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่เย็น อาจจะเกิดขึ้นจากสิ่งเล็ก ๆ ที่เราอาจมองข้ามได้ อย่างเช่น รีโมตเครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน หรือปรับการตั้งค่าอุณหภูมิที่ผิดไป เผลอเปลี่ยนจากโหมดความเย็นที่เคยใช้ไปเป็นโหมดพัดลมแทน โหมดพัดลม (Fan) จะทำหน้าที่ลดกลิ่นอับของตัวเครื่องปรับอากาศ และยังสามารถยืดอายุการใช้งานของคอยล์เย็น รวมทั้งยัองช่วยขับความชื้นสะสมข้างใน จึงทำให้โหมดพัดลมไม่สามารถกระจายความเย็นได้ดีเท่าโหมดความเย็น (Cool) จำนวนคนในห้อง การที่ภายในห้องมีจำนวนคนอยู่มากเกินไป เป็นอีกสาเหตุที่หลาย ๆ คนมองข้าม ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็เป็นหนึ่งในต้นเหตุที่ทำให้อุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศภายในห้องไม่มีความเย็นหรือมีความเย็นช้า เพราะการที่มีจำนวนคนในห้องเพิ่มมากขึ้นจะมีการแย่งกันใช้อากาศที่มากขึ้น เลยทำให้เครื่องปรับอากาศนั้นต้องทำงานหนักขึ้น แต่หากเรารู้สึกว่าเครื่องปรับอากาศไม่เย็นเพราะจำนวนคนในห้องเยอะ ก็อาจจะต้องลดอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศลง แอร์มีสิ่งสกปรกอุดตัน ควรล้างเครื่องปรับอากาศทุก ๆ 6 เดือน
ควรล้างแอร์บ่อยแค่ไหน คำถามยอดฮิตที่หลายๆคนมักส่งวัยว่า ต้องล่างแอร์บ่อยแค่ไหน ควรเว้นระยะกี่เดือนล้าง ในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับการเปิดใช้งานแอร์ของแต่ละบุคคล โดยทั่วไปแนะนำให้ล้างแอร์ทุกๆ 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง เป็นช่วงที่เหมาะสมในการล้างแอร์ที่สุด หากเว้นระยะนานมากไปอาจจะเกิดการสะสมของฝุ่นและสิ่งสกปรกทำให้ส่งผลเสียต่อแอร์ในการทำงานอย่างไม่เต็มประสิทธภาพ และทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น แอร์อุดตัน ไม่เย็น และยังส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย หากมีการเปิดใช้แอร์ตลอดทั้งวันเป็นประจำทุกวัน ในขณะที่แอร์กำลังทำงาน จะมีการหมุนเวียนอากาศในตัวเครื่องทำให้มีฝุ่นและมีสิ่งสกปรกเข้าไปเกาะภายในเครื่อง หากไม่ทำความสะอาดตามระยะเวลาที่เหมาะสมอาจจะส่งผลต่อการใช้งานและผลเสียต่อร่างกายได้อีกด้วย ข้อดีของการล้างแอร์ เพื่อให้แอร์มีประสิทธิภาพในการทำงานได้เต็มที่และยังช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานของแอร์และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้อีกด้วย ช่วยประหยัดค่าไฟ หากมีฝุ่นละอองสะสมเกาะอยุ่ที่ตัวระบายความร้อนจะทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ต้องทำงานหนักและใช้พลังงานมากจนเกินไป ช่วยลดการอุดตันของอุปกรณ์ภายในจากฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆ ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อตัวเครื่อง และยังป้องกันน้ำหยดที่มีสาเหตุมาจากฝุ่นที่สะสมจนเกิดการอุดตันอีกด้วย การเปิดใช้แอร์เป็นประจำทุกวันและเป็นเวลานาน โดยที่ไม่มีการทำความสะอาด อาจจะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและความชื้อทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอัพ และยังก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจได้ด้วย วิธีการล้างแอร์ง่ายๆ 5 วิธีมีดังนี้ ล้างแอร์ด้วยตนเอง คือการล้างแอร์ด้วยวิธีการถอดฟิลเตอร์กรองอากาศ กรองฝุ่น และสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ออกมา เพื่อให้อากาศได้ถ่ายเทสะดวก โดยความถี่ในการล้างคือไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ จะช่วยให้ประหยัดไฟ และยังช่วยให้คอมเพรสเซอร์ได้ทำงานน้อยลงด้วย ล้างแอร์ด้วยน้ำยาล้างคอยล์แอร์ เป็นการใช้น้ำยาล้างเพื่อกัดเซาะสิ่งสกปรกที่ฝังแน่นอยู่ในแผงคอยล์เย็นและคอยล์รอ้นให้ออก เนื่องจากใช้น้ำยแรงดันสูงก็ยังไม่สามารถทำให้สิ่งสกปรกเหล่านี้หลุดออกไปจนหมด จึงจำเป็นต้องใช้น้ำยาล้างเป็นตัวช่วยอีกทางหนึ่ง หลังจากนั้นก็ทำการประกอบชิ้นส่วนต่างๆเข้าที่เดิม ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีกรดหรือด่างมากเกินไปในการล้างแผงคอยล์เพราะจะทำให้แผงบางลง จนรั่วในที่สุด การล้างแอร์ด้วยน้ำแรงดันสูง การทำความสะอาดแผงคอยล์เย็นด้านในห้อง
ระบบทำความเย็นของตู้เย็นและตู้แช่ทำงานอย่างไร สำหรับตู้เย็นและตู้แช่ นับว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถพบเห็นได้แทบทุกครัวเรือน ทุกบ้าน สำนักงาน รวมถึงร้านค้าต่างๆด้วย ทั้งนี้เพื่อต้องการจัดเก็บและถนอมสินค้าหรืออาหารต่างๆให้มีคุณภาพและมีคุณค่าทางสารอาหารที่เหมือนเดิม ไม่เน่าไม่เสีย จัดเก็บไว้ได้นาน อีกทั้งยังกักตุนสินค้าในภาวะวิกฤตได้ด้วย ตู้เย็น และตู้แช่ จึงเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นอย่างยิ่ง ระบบทำความเย็นของตู้เย็นและตู้แช่นั้น จะมีความคล้ายคลึงกันก็คือเรื่องของการทำให้เกิดอุณหภูมิความเย็น เพื่อที่จะใช้จัดเก็บสินค้านั้น ๆ รูปแบบการจัดเก็บ ขนาดพื้นที่จัดเก็บก็มีส่วนสำคัญด้วย โดยหลักการทำงานของตู้เย็นและตู้แช่ สามารถอธิบายได้ดังนี้ หลักการทำงานของตู้เย็น คือการถ่ายเทความร้อนภายในตู้เย็นให้ออกไปสู่ภายนอก โดยเกิดขึ้นจากเครื่องอัดไอหรือคอมเพรสเซอร์ จะอัดแก๊สของสารทำความเย็นให้เป็นของเหลวในคอยล์ร้อน หลังจากนั้นก็จะส่งผ่านต่อไปยังเครื่องระเหยซึ่งจะทำให้ความดันของเหลวลดลงจนเปลี่ยนสถานะจากแก๊สกลายเป็นไอ และจะนำพาเอาความร้อนนี้ออกไปเพื่อให้อุณหภูมิภายในตู้เย็นลดลง จากนั้นแก๊สของสารทำความเย็นก็จะถูกดูดโดยเครื่องอัดให้ออกไปยังเครื่องควบแน่น เพื่อถ่ายความร้อนออกจากระบบ ทำให้สารทำความเย็นเข้าไปรับความร้อนที่เครื่องระเหยอีกครั้ง และความเย็นจากสารทำความเย็นที่ถูกดูดกลับมาบางส่วนก็ช่วยระบายความร้อนให้กับเครื่องอัดคอนเพรสเซอร์นั้นเอง และจะทำงานวนแบบนี้ไปเรื่อยๆหากไม่เกิดการรั่วซึมก็ไม่ต้องเติมสารทำความเย็นเพิ่มเข้าไปในระบบ เพราะการทำงานนี้เป็นระบบปิด หลักการทำงานของตู้แช่ เป็นการทำงานจากคอมเพรสเซอร์จะอัดสารทำความเย็นส่งต่อไปยังเครื่องระเหยเพื่อลดความดันลงและสารทำความเย็นจะดูดซับความร้อนและย้ายความร้อนภายในนี้ออกไปให้อุณหภูมิเย็นลงโดยความร้อนจะระบายผ่านพัดลมระบายความร้อนได้เร็ว แต่อาจทำให้มีเสียงรบกวนเกิดขึ้นได้และทำให้ใช้พลังงานมากขึ้น อุณหภูมิจะมีความคงที่และทำความเย็นได้เร็วและดีกว่าตู้เย็น โดยระบบจะทำงานวนไปในลักษณะนี้หากไม่เกิดการรั่วซึมก็ไม่ต้องเติมน้ำยาเพิ่มเติม จะเห็นได้ว่าลักษณะการทำงานของตู้เย็นและตู้แช่นั้น สิ่งที่สำคัญคือเรื่องของอุณหภูมิเป็นสำคัญ รวมถึงขนาดพื้นที่จัดเก็บ และสินค้าที่จะจัดเก็บนั้น ๆ ต้องสองคล้องและเหมาะสมกันด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด การเลือกใช้ตู้เย็นหรือตู้แช่ ควรเลือกให้ตรงจุดประสงค์การใช้งานของแต่ละประเภท โดยคำนึงถึงสินค้าที่ต้องการแช่ หากท่านใดกำลังหาซื้อน้ำยาแอร์เกี่ยวกับตู้เย็นและตู้แช่ น้ำยาแอร์บ้าน น้ำยาแอร์รถ หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามเกี่ยวกับระบบตู้เย็นและตู้แช่สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม
สารทำความเย็นที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย ปัจจุบันมีความพยายามที่จะพัฒนา สารทำความเย็น ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพในการทำความเย็น ในการพัฒนาสารทำความเย็นเป็นงานวิจัยที่ท้าทาย เนื่องจากจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ ทั้งประสิทธิภาพในการทำความเย็น ความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้งานเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาสารทำความเย็นชนิดใหม่อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ระบบทำความเย็นมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม สารทำความเย็น (Refrigerant) คือ สารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซับความร้อนได้ดี โดยสารทำความเย็นจะถูกนำไปใช้ในระบบทำความเย็นเพื่อดูดซับความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น ก่อนที่จะปล่อยความร้อนออกจากบริเวณนั้นไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า สารทำความเย็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ตามคุณสมบัติดังนี้ สารกลุ่ม CFC (Chlorofluorocarbon) ประกอบด้วย คลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่น R11, R12, R114, R115, R502 เป็นต้น สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่ดีในการทำความเย็น แต่มีผลกระทบต่อชั้นโอโซน จึงถูกห้ามใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 สารกลุ่ม HCFC (Hydrochlorofluorocarbon) ประกอบด้วย คลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่นเดียวกับสารกลุ่ม CFC แต่มีคลอรีนน้อยกว่า จึงไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซนเท่าสารกลุ่ม
เทคนิคการใช้เครื่องปรับอากาศช่วงหน้าฝน ในช่วงฤดูฝน อากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งร้อนจัด ทั้งฝนตกประปราย อีกทั้งยังมีพายุลมแรงอยู่ตลอดในช่วงปีนี้ หากเราจะเปิดเครื่องปรับอากาศในขณะที่ฝนตก เราจะมีวิธีการใช้งานและดูแลเครื่องปรับอากาศอย่างไรบ้าง ให้ใช้งานได้เหมาะสมกับสภาพอากาศปัจจุบัน และยังให้เครื่องปรับอากาศสามารถยังใช้งานได้ดี วันนี้ทางเรามีข้อแนะนำการใช้เครื่องปรับอากาศช่วงหน้าฝนดังนี้ค่ะ 1.ทำความสะอาดคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศเป็นประจำเพื่อป้องกันเชื้อโรค กลิ่นอับ หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ในช่วงอากาศชื้นที่สะสมอยู่ในเครื่องปรับอากาศ 2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ติดตั้งภายนอก บนพื้นที่สูงเล็กน้อยเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีน้ำขังหลังฝนตก 3. ปิดคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศด้วยฝาครอบกันน้ำ 4. ตรวจสอบและเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศบ่อย ๆ เพื่อรักษาการไหลเวียนของอากาศที่ดี 5. ตรวจสอบระบบระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการอุดตัน 6. ตั้งอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและหลีกเลี่ยงการปิดและเปิดเครื่องปรับอากาศบ่อย ๆ 7. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการรั่วไหลในท่อสารทำความเย็น 8. เลือกเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับขนาดของห้องเพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักจนเกินไป 9. การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้ต่ำกว่าอากาศภายนอก 10. นัดหมายบริการล้างแอร์เครื่องปรับอากาศอย่างมืออาชีพอย่างน้อยปีสองละครั้ง 11. การใช้ Self-Cleaning ซึ่งจะมีในเครื่องปรับอากาศติดผนังรุ่นใหม่บางรุ่นเท่านั้น 12. การใช้ Dry Mode เครื่องปรับอากาศบางรุ่นจะมีระบบนี้ เพื่อที่จะช่วยลดความชื้นภายในห้องขณะที่เปิดเครื่องปรับอากาศ ดังนั้นเมื่อต้องการเปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงฝนตกหรือช่วงที่อากาศภายนอกเย็นกว่าในห้อง เราจะต้องปรับลดอุณหภูมิลง เพื่อให้เครื่องปรับอากาศได้ทำความเย็นในห้องให้ถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ โดยอาจจะต้องตั้งอุณหภูมิระหว่าง 18-23 องศาเซลเซียส เพื่อให้คอยล์ระบายความร้อนได้ทำงาน และทำให้ส่งลมเย็นเข้าสู่ภายในห้อง และหากเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศทุกวัน รวมกระทั่งแม้วันที่ฝนตกและแดดร้อนจัด
สารทำความเย็นในอดีตจนถึงปัจจุบันของห้องเย็น สารทำความเย็นของตู้แช่และห้องเย็น นับตั้งแต่อดีตที่เกิดขึ้นและได้คิดค้นสารทำความเย็นขึ้นมา คือสารทำความเย็นที่ไม่ติดไฟ และ ไม่เป็นพิษตัวแรก อย่าง ฟรีออน R12 ก็เริ่มมีสารทำความเย็นอื่นๆที่ถูกพัฒนาส่วนผสมที่สอดคล้องกับเทคโนโลยี การใช้งาน และสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมออกมานับร้อยรายการถึงปัจจุบันด้วยการปฏิวัติภาคส่วนการทำความเย็นทางอุตสาหกรรมให้สอดคล้องไปกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก โดยมีสารทำความเย็นทางเลือกที่มีค่า GWP ต่ำมาเป็นทางออกของความสมดุลนี้ สารทำความเย็นใดบ้างที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด ตามการใช้งานทั่วโลกในรายงานล่าสุด รายงานสารทำความเย็นที่ใช้กันมากที่สุดในการใช้งานเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยช่วงที่ผ่านมา R404a ตัวแทนของน้ำยาแอร์ R22 และ R502 ที่เป็นสารทำความเย็นที่เป็นประสิทธิภาพการทำความเย็นสูง จึงถูกนำมาใช้งานในระบบทำความเย็นทั้งเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ตู้แช่ ห้องเย็น ระบบขนส่งความเย็น รวมถึงระบบอื่นๆอีกมากมาย. เนื่องจากคุณสมบัติของ R404a ทำให้เป็นสารทำความเย็นที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมหลายอุณหภูมิ แม้ว่าจะเป็นสารทำความเย็นที่ได้รับความนิยม แต่ R404a เป็นที่จับตามอง ในการลดการใช้และการผลิต เนื่องจากมีศักยภาพในการเกิดภาวะโลกร้อน (GWP) สูง อยู่ที่ 3,922 กำลังถูกทดแทนด้วยสารทำความเย็นประเภท HFO หรือสารทำความเย็นที่มี GWP ต่ำกว่า อย่างเช่น สารทำความเย็น R448a, R449a และ R452aที่มี GWP
ตำแหน่งที่ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องนอน ก่อนซื้อเครื่องปรับอากาศอันดับแรกควรคำนึงถึงตำแหน่งในการติดตั้งที่เหมาะสม เพื่อป้องกันลมแอร์ปะทะกับศรีษะและใบหน้าโดยตรง เพราะตำแหน่งของเครื่องปรับอากาศมีผลต่อความเย็นภายในห้อง สุขภาพของผู้อาศัย รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ตามาด้วย หากเราเลือกตำแหน่งการติดตั้งได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้ห้องนอนของเราเย็นฉ่ำอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาด้านสุขภาพและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ตำแหน่งที่ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องนอนมีดังนี้ ไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้เหนือศรีษะและปลายเตียง การติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้เหนือศรีษะและปลายเตียง จะทำให้ห้องเย็นเพียงแค่บางส่วน และหากลมแอร์เป่าลงมาปะทะกับร่างกายโดยตรงอย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เนื่องจากเมื่อร่างกายของเราได้รับลมเย็นเป็นเวลานานมากๆ จะทำให้ร่างกายถ่ายเทความร้อนและความชื้นออกจากมาในอัตราที่เร็วขึ้นกว่าปกติ ไม่เพียงแต่ทำให้รู้สึกไม่สบายในขณะที่นอนหลับ แต่ยังส่งผลเสียเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคหวัด ภูมิแพ้ ทำให้ผิวแห้งกร้านอีกด้วย ไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศในตำแหน่งที่โดนแสงแดดโดยตรง ในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องนอนคือต้องหลีกเลี่ยงตำแหน่งที่ต้องโดนกับแสงแดดโดยตรง เพราะแสงแดดจะส่งผลให้เครื่องปรับอากาศได้รับความร้อน หากห้องที่มีแสงแดดส่องถึง จะมีอุณภูมิที่สูงกว่าปกติ ซึ่งส่งผลให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักมากขึ้น และทำให้เย็นช้า ทำให้ต้องลดอุณภูมิลงให้ต่ำกว่าปกติเพื่อเร่งความเย็น สิ่งที่จะตามมาคืออาจจะต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มมากขึ้น และทำให้เครื่องปรับอากาศมีอายุการใช้งานที่สั้นลง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนะนำให้เลือกใช้เครื่องปรับอากาศชนิดฝังฝ้าเพดานแทน ไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้เหนือประตูหรือหน้าต่าง การติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้เหนือประตูหรือหน้าต่างของห้องนั้น จะทำให้ความเย็นไหลออกจากห้องได้ง่าย มากกว่าตำแหน่งอื่น เพราะบริเวณประตูจะมีการเปิดเข้า และ เปิดออกบ่อยครั้ง อากาศหรือความเย็นที่ลดลงบ่อย ส่งผบให้อุณภูมภายในห้องเย็นไม่สม่ำเสมอและจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อการรักษาอุณภูมิภายในห้องให้เย็นอยู่ตลอดเวลา และไม่เป็นการเปลืองไฟโดยใช่เหตุ ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้เหนือประตูหรือหน้าต่างของห้องนอน ไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศติดฝ้าเพดาน มากจนเกินไป การติดตั้งเครื่องปรับอากาศควรจะมีการเว้นระยะยห่างจากฝ้าเพดาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ในการเซอร์วิสต่างๆและการที่เครื่องปรับอากาศอยู่ใกล้ฝ้าเพดานมากจนเกินไป อาจจะทำให้ฝ้าเพดานเกิดรอย หรือขึ้นราได้อีกด้วย ดังที่กล่าวมาข้างต้นในการเลือกติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องนอน บางบ้านอาจจะมีไอเดียที่สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นความรู้ในการเลือกตำแหน่งในการติดตั้งได้บ้างแล้ว