Category Archives: ตู้เย็น

อุณภูมิในการแช่เย็นเนื้อสัตว์ควรอยู่ที่เท่าไหร่

อุณภูมิในการแช่เย็นเนื้อสัตว์ควรอยู่ที่เท่าไหร่ ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมาย และยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ  นอกจากเกษตรกรรมที่เป็นพื้นฐานของคนไทย การทำปศุสัตว์และประมงก็เป็นสิ่งที่คนไทยได้ใกล้ชิดแทบแยกกันไม่ออก อาหารจำพวกเนื้อสัตว์สำหรับคนไทยจึงเป็นอาหารหลัก ที่ทุกเมนูจะต้องมี แต่การเก็บรักษาเนื้อสัตว์ให้คงสภาพความสด เพื่อให้ถึงมือผู้บริโภคเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลยเช่นกัน วิธีการแช่เย็นเนื้อสัตว์ ความเย็นที่จะใช้ในการแช่เย็นเนื้อสัตว์หรือวิธีการถนอมเพื่อรักษาเนื้อสัตว์คือ การใช้เพื่อยับยั้งการเจิรญเติบโตของแบคทีเรียที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ โดยอุณภูมิที่ให้ความเย็น จะขึ้นอยู่กับเวลาที่ต้องการรักษา หากต้องการเก็บไว้เพียงไม่กี่วันอาจเก็บไว้ที่อุณภูมิต่ำ (Cooling) หากต้องการเก็บไว้เป็นระยะเวลานานควรเก็บที่อุณภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (Freezing)  สำหรับการแช่เย็นเนื้อสัตว์หรือการใช้ความเย็นสามารถแบ่งตามระดับของการใช้อุณภูมิได้ 2 ระดับ ดังนี้ วิธีการแช่เย็น  หลังจากทำการชำแหละจะมีการนำซากที่ได้ เข้าไปเก็บในห้องเย็นเพื่อลดอุณภูมิของซากลง ป้องกันการเน่าเสีย สำหรับซากเนื้อโคจะต้องถูกห่อด้วยผ้าบางๆ ก่อนที่จะนำเข้าห้องแช่เย็นเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำหนักและการหดตัวในระหว่างการแช่เย็น การแช่เย็นซากโคควรใช้ห้องเย็น 2 ระดับ ระดับแรกเป็นห้องที่ลดอุณภูมิของซากให้ต่ำลง ซึ่งอุณภูมิที่ได้ต้อง -4 ถึง -2 องศาเซลเซียส ระดับที่สองเป็นห้องเก็บรักษาซากที่ต้องควบคุมให้ต่ำกว่า 3 องศาเซลเซียส ตลอดเวลาเพื่อให้อุณภูมิของซากที่เก็บรักษาอยู่มีอุณภูมิในช่วงระหว่าง 3-7 องศาเซลเซียส การปรับลดอุภูมิของเนื้อจะแตกต่างกันไปตามอัตรส่วนของไขมันและเนื้อแดงซึ่งทำให้ค่าความจุความร้อน (Heat Cpapcity) หรือความร้อนเฉพาะ (Specific Heat) ของชิ้นเนื้อต่างกันไป วิธีการแช่เยือกแข็ง  กระบวนการแช่เยือกแข็งเป็นการลดอุณภูมิของอาหารโดยดึงควมร้อนออก เพื่อที่จะลดอุณภูมิของอาหารลงเรื่อย ๆ จนต่ำกว่า

สัญญาณบ่งบอกว่าตู้เย็นของคุณน้ำยารั่ว

สัญญาณบ่งบอกว่าตู้เย็นของคุณน้ำยารั่ว ในปัจจุบันสารทำความเย็น หรือน้ำยาทำความเย็นเป็นส่วนประกอบสำคัญของตู้เย็นทั่วไป การทำความเย็นของตู้เย็นไม่ต่างกับในเครื่องปรับอากาศ โดยคอมเพรสเซอร์ จะทำหน้าที่อัดน้ำยาทำความเย็น หรือสารทำความเย็นในสภาวะเป็นก๊าชให้มีความดันสูง และเปลี่ยนสถานะไปเรื่อยๆ จนพัดลมของคอยล์เย็นจะกระจายลมเย็นให้แก่สารทำความเย็นไหลเวียนไปสร้างความเย็นภายในตู้เย็น และหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ในระบบปิด ซึ่งจะส่งผลให้น้ำยาแอร์ หรือสารทำความเย็น ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน  แม้ว่าการทำความเย็นของตู้เย็นจะได้รับการออกแบบมาให้เป็นระบบปิด แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการรั่วไหลของสารทำความเย็นขึ้นจากหลายสาเหตุ ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อความสดของอาหาร หรือวัตถุดิบในตู้เย็นเท่านั้น แต่ยังอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพด้วย ดังนั้นวันนี้เราจะมาสำรวจสัญญาณ ที่บ่งบอกว่าตู้เย็นของเรากำลังมีน้ำยาทำความเย็นรั่วกัน อาหารหรือวัตถุดิบในตู้เย็น ไม่เย็นเหมือนเคย เมื่อตู้เย็นของเราเกิดการรั่วไหลของสารทำความเย็น น้ำอัดลมที่เราเคยดื่มดับกระหาย อาจจะไม่ชื่นใจเหมือนเคย เนื่องจากสารทำความเย็นรั่ว เครื่องจึงไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้อาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งของในตู้เย็นของคุณไม่เย็นและสดเท่าที่ควรจะเป็น มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานอย่างต่อเนื่องเมื่ออุณหภูมิตู้เย็นของเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้คอมเพรสเซอร์และคอนเดนเซอร์จะทำงานโดยใช้ฟรีออนเพื่อลดอุณหภูมิลงสู่ระดับที่ต้องการ เวลาปกติเราอาจจะได้ยินเสียงคอมเพรสเซอร์ทำงานไม่ตลอดเวลา แต่เมื่อเกิดการรั่วไหลของน้ำยาทำความเย็น มอเตอร์จะถูกบังคับให้ทำงานเป็นเวลานานขึ้น เพื่อชดเชยปริมาณสารทำความเย็นที่หายไป ทำให้มอเตอร์รับภาระมากกว่าศักยภาพ หรือประสิทธิภาพของตัวเอง นอกจากอาหารจะไม่เย็นแล้ว อาจจะทำให้เกิดปัญหากับส่วนอื่นๆ ของตู้เย็นอีกด้วย ค่าไฟสูงขึ้น สำหรับในยุคนี้ ถ้าค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น นอกจากสัญญาณ 2 ข้อข้างต้นแล้ว หากคุณสังเกตเห็นว่าค่าไฟของคุณเริ่มสูงขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ จากดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อน้ำยาทำความเย็นรั่วจะทำให้มอเตอร์ตู้เย็นของเราทำงานเป็นเวลานานยิ่งขึ้นกว่าปกติ ตู้เย็นจะใช้พลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น กลิ่นไม่พึงประสงค์ สารทำความเย็นบางประเภท

ประเภทของห้องเย็นในการใช้งาน

ประเภทของห้องเย็นในการใช้งาน “ห้องเย็น” ได้ถูกออกแบบให้มีสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมเพื่อจัดเก็บผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้อุณหภูมิเฉพาะเพื่อรักษาคุณภาพ และอายุการเก็บรักษาสินค้าต่างๆ ประเภทของห้องเย็นและช่วงอุณหภูมิขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บในหลากหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ อาหาร, ยา, วัคซีน, สารเคมี, พืช ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, เครื่องสำอางค์ เป็นต้น โดยทั่วไปห้องเย็นจะทำงานที่ระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนด และความต้องการเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บ  อาจแบ่งได้ดังนี้ -Chilled Storage ห้องเย็นเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ โดยรักษาอุณหภูมิทั่วไประหว่าง 0°C-5°C (41°F) ใช้สำหรับจัดเก็บอาหารที่เน่าเสียง่าย เช่น ผลไม้ ผัก ผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่ม เพื่อรักษาคุณภาพ และชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย -Cold Storage ห้องเย็นเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0°C แต่สูงกว่าจุดเยือกแข็ง ช่วงอุณหภูมิสำหรับห้องเย็นอาจแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง -2°C ถึง -18°C ใช้สำหรับจัดเก็บอาหารแช่แข็ง เช่น ผลไม้แช่แข็ง ผัก เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ฯลฯ เพื่อรักษาคุณภาพ และยืดอายุการเก็บรักษา -Frozen / Freezer Storage

ระบบทำความเย็นของอุตสาหกรรม

ระบบทำความเย็นของอุตสาหกรรม ระบบการทำความเย็น นอกจากการทำความเย็นแบบพื้นฐาน ยังมีอีกมากมายหลายรูปแบบ ตามการใช้งาน และความต้องการประสิทธิภาพในการทำความเย็น ที่ถูกพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบให้ตรงตามความต้องการมากขึ้น ตามยุคสมัยและเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามากขึ้น ระบบทำความเย็นและระบบแช่แข็งในอุตสาหกรรม ที่เราเห็นกันมากที่สุดคืออุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเราสามารถจำแนกการทำความเย็นตามลักษณะของการใช้งาน ได้ดังนี้ ห้องเย็น (Cold Room) เป็นที่นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมอาหาร ห้องเย็นถูกควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมกับสินค้า เพื่อช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และแบคทีเรีย ก่อนจะถูกผลิต จัดจำหน่ายตามลูกโซ่ความเย็น ห้องแช่แข็ง (Frozen Room) ใช้สำหรับลดอุณหภูมิของสินค้าในระยะเวลาอันสั้นที่สุดตามหลักการถนอมรักษาอาหาร หรือใช้กับวัตถุดิบที่ต้องการความเย็นสูง การลดอุณหภูมิของสินค้าหรือวัตถุดิบ มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับสารทำความเย็นที่ใช้ในการทำความเย็น สำหรับหลักการทำความเย็นโดยใช้เครื่องระเหย หรือคอยล์เย็น (Evaporator) สามารถแบ่งได้ดังนี้ แบบขยายโดยตรง (Direct Expansion) เป็นแบบที่ใช้กันทั่วไป เหมาะสำหรับห้องเย็นที่มีค่าการทำความเย็นไม่สูงมากนัก โดยสารทำความเย็นจะไหลจากฝั่ง คอยล์ร้อน (Condenser) เข้าสู่ถังพักสารทำความเย็นและไหลผ่านวาล์วลดความดัน (Expansion Valve) เข้าสู่คอยล์เย็นหรือ Evaporator โดยตรง แบบท่วมคอยล์ (Flooded Coil) เป็นระบบสารทำความเย็นที่ส่งจากคอยล์ร้อน (Condenser) เข้าสู่ถังพักสารทำความเย็นที่มีความดันสูง และไหลผ่านวาล์วลดความดันไปสู่ถังเก็บสารทำความเย็นความดันต่ำก่อน ก่อนจะไหลเข้าคอยล์เย็น โดยอาศัยการที่ของเหลวไหลไปแทนที่ก๊าซ จุดแตกต่างสำหรับระบบนี้

สัญญาณเตือนบอกให้รู้ว่าตู้เย็นของคุณน้ำยารั่ว

สัญญาณเตือนบอกให้รู้ว่าตู้เย็นของคุณน้ำยารั่ว ในปัจจุบันสารทำความเย็น หรือน้ำยาทำความเย็นเป็นส่วนประกอบสำคัญของตู้เย็นทั่วไป การทำความเย็นของตู้เย็นไม่ต่างกับในเครื่องปรับอากาศ โดยคอมเพรสเซอร์ จะทำหน้าที่อัดน้ำยาทำความเย็น หรือสารทำความเย็นในสภาวะเป็นก๊าชให้มีความดันสูง และเปลี่ยนสถานะไปเรื่อยๆ จนพัดลมของคอยล์เย็นจะกระจายลมเย็นให้แก่สารทำความเย็นไหลเวียนไปสร้างความเย็นภายในตู้เย็น และหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ในระบบปิด ซึ่งจะส่งผลให้น้ำยาแอร์ หรือสารทำความเย็น ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน การทำความเย็นของตู้เย็นจะได้รับการออกแบบมาให้เป็นระบบปิด แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการรั่วไหลของสารทำความเย็นขึ้นจากหลายสาเหตุ ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อความสดของอาหาร หรือวัตถุดิบในตู้เย็นเท่านั้น แต่ยังอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณอีกด้วย สัญญาณเตือนที่บอกให้รู้ว่าตู้เย็นของคุณน้ำยารั่ว มีดังนี้ วัตถุดิบหรืออาหารในตู้เย็น ไม่มีความเย็น หากตู้เย็นของเรามีอาการรั่วไหลของสารทำความเย็น น้ำดื่มหรือน้ำอัดลมของเรา เวลานำมาดื่มอาจจะไม่เย็นชื่นใจเหมือนเคย เนื่องจากสารทำความเย็นรั่ว เครื่องจึงไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง จึงส่งผลให้วัตถุดิบหรืออาหารในตู้เย็นของคุณไม่เย็นหรือไม่สดเท่าที่ควรจะเป็น เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ในสารทำความเย็นบางประเภท มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ อย่างเช่นกลิ้นอับ โดยเฉพาะถ้าตู้เย็นที่อยู่ในพื้นที่แคบ อย่างเช่น คอนโด เป็นต้น หากมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์อย่างไม่มีสาเหตุอื่น พร้อมสัญญาณจากข้างต้นแล้ว อาจจะเป็นผลมาจากน้ำยาทำความเย็นซึมก็เป็นได้ คอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก เมื่ออุณภูมิของตู้เย็นเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้คอมเพรสเซอร์และคอนเดนเซอร์ทำงานโดยใช้ฟรีออนเพื่อช่วยลดอุณหภูมิลง สู่ระดับที่ต้องการ เวลาปกติเราอาจจะได้ยินเสียงคอมเพรสเซอร์ ทำงานไม่ตลอดเวลา แต่เมื่อเกิดการรั่วไหลของน้ำยาทำความเย็น มอเตอร์จะถูกบังคับให้ทำงานเป็นเวลานานขึ้น เพื่อชดเชยปริมาณสารทำความเย็นที่หายไป ทำให้มอเตอร์รับภาระมากกว่าศักยภาพ หรือประสิทธิภาพของตัวเอง นอกจากอาหารจะไม่เย็นแล้ว อาจจะทำให้เกิดปัญหากับส่วนอื่นๆ ของตู้เย็นได้อีกด้วย ค่าไฟสูงขึ้นผิดปกติ