Category Archives: น้ำยาแอร์ตู้เย็น

อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับตู้เย็นและช่องแช่แข็ง

อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับตู้เย็นและช่องแช่แข็ง        สำหรับเครื่องทำความเย็นหรือตู้เย็น มีบทบาทความสำคัญในการรักษาคุณภาพของอาหารเป็นอย่างมาก  ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็นตามบ้านเรือนที่พักอาศัย หรือ  ตู้แช่ และตู้โชว์สินค้า อุณหภูมิบนอุปกรณ์ทำความเย็นจะช่วยให้เราตรวจสอบอุณหภูมิที่เก็บสินค้าและอาหารได้ สินค้าและอาหารบางชนิดไม่เหมาะสำหรับการแช่แข็ง เช่น ผักและผลไม้สด เพราะอาจจะเสียคุณค่าและรสชาติได้ อุณหภูมิในการจัดเก็บที่เหมาะสมที่สุดจะแตกต่างกันไปตามสินค้านั้นๆ  ตู้เย็นควรมีอุณหภูมิเท่าไร และชั้นวางไหนดีที่สุดสำหรับอาหารประเภทใด  การเก็บอาหารแช่เย็นด้วยอุณหภูมิตู้เย็น หรือตู้แช่ที่เหมาะสม จะช่วยให้อาหารมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น คงคุณภาพ ความสด และคุณค่าทางโภชนาการของสินค้าได้อีกด้วย         อุณหภูมิโดยรวมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตู้เย็นในครัวเรือนคือระหว่าง 0°C ถึง 4°C และ -17°C ถึง -19°C ในส่วนของช่องแช่แข็ง  อุณหภูมิตู้เย็นที่เหมาะสม จะสามารถเก็บอาหารด้วยการทำความเย็นและรับประทานได้อย่างปลอดภัยเป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ และชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่องแช่แข็งสามารถเก็บอาหารให้สดและยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ โดยแบ่งออกเป็น ช่องแช่แข็ง (Freezer Compartment) อุณหภูมิ (-17 ถึง -23°C) สำหรับเนื้อดิบ ไอศกรีม น้ำแข็ง อาหารแช่แข็ง เป็นต้น สามารถเก็บความเย็นได้ยาวนาน ในกรณีไฟดับ หลีกเลี่ยงการเปิดฝาส่วนช่องแช่แข็ง อาหารของคุณจะยังคงความสดโดยที่ไม่ได้ใช้พลังงานเลยได้อีกหลายชม. ช่องแช่เย็น (Chiller

แรงดันน้ำยาแอร์ มีความสำคัญกับตู้เย็นและตู้แช่อย่างไร

แรงดันน้ำยาแอร์ มีความสำคัญกับตู้เย็นและตู้แช่อย่างไร ตู้เย็นและตู้แช่เป็นสิ่งหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมากที่ต้องใช้งาน  ซึ่งการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าจำพวก ตู้เย็นตู้แช่นี้ ทั่วๆไป ซึ่งมีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน เพื่อที่จะรักษาอุณหภูมิความเย็นให้คงที่ เหมาะสมกับสินค้าที่จัดเก็บนั้นๆด้วย  ซึ่งในส่วนประกอบหลักที่สำคัญก็คือ น้ำยาแอร์ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้ระบบต่างๆทำงานได้ สำหรับตู้เย็นและตู้แช่ ที่พบเห็นหลักๆก็จะมีใช้น้ำยาแอร์ R404a , R507 , R134a , R600 ซึ่งแต่ละชนิดก็มีค่าแรงดันที่แตกต่างกันไป โดยหลักการใช้งานก็จะขึ้นอยู่กับคอมเพรสเซอร์ ว่าใช้กับน้ำยาแอร์ชนิดไหน วัดจากค่าแรงดันและปริมาณการใช้ พื้นที่จัดเก็บ รวมถึงอุณหภูมิที่ต้องการใช้อีกด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน ซึ่งน้ำยาแอร์แต่ละชนิดสามารถแยกคุณสมบัติแรงดันได้ดังนี้ R404A เป็นสารผสม (R125+R143+R134a) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 170-180 Psi   จุดเดือดอยู่ที่   -46.6 C◦ ใช้ในอุณหภูมิติดลบ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ประหยัดพลังงาน   ถ้าน้ำยาแอร์ในระบบขาดต้องปล่อยทิ้งแล้วเติมใหม่ทั้งหมด โดยสามารถใช้เกจวัดแรงดันในการเช็คระบบให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม R507 เป็นสารผสม (R125+R143) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่

อากาศหนาวแล้ว เปิดเครื่องปรับอากาศยังไง ให้เซฟเงินในกระเป๋า

อากาศหนาวแล้ว เปิดเครื่องปรับอากาศยังไง ให้เซฟเงินในกระเป๋า             ปลายฝนต้นหนาวแบบนี้เชื่อได้เลยว่าหลายคนกำลังฟินกับบรรยากาศอยู่แน่นอน เพราะช่วงนี้นอกจากจะมีที่เที่ยวหน้าหนาว ให้ได้ปักหมุดเช็คอินกันหลายที่แล้ว เพราะอากาศในแต่ละวันช่วงนี้เรียกว่ากำลังดี ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป อีกทั้งตอนนี้หลายพื้นที่ก็กำลังเตรียมตัวเข้าหน้าหนาวกันเต็มรูปแบบ คราวนี้ใครมีแฟชั่นหน้าหนาว เสื้อกันหนาว หรือลุควินเทอร์ ก็เตรียมปัดฝุ่นออกมาสวมใส่กันได้เลย             แต่ใช่ว่าเข้าหน้าหนาวแล้วหลายบ้านจะลืมมิตรแท้ช่วงหน้าร้อนอย่างเครื่องปรับอากาศนะ เพราะเชื่อได้เลยว่าแม้ในบ้านจะมีอุณหภูมิที่หนาวเย็นหรืออุณหภูมิที่พอเหมาะสำหรับการนอนแล้ว แต่คืนไหนถ้าไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศกลับรู้สึกเหมือนขาดอะไรไปสักอย่าง นอนไม่หลับ หรือบางคนอาจรู้สึกหายใจไม่ออกกันเลยทีเดียว ซึ่งจริงๆ แล้วการเปิดเครื่องปรับอากาศช่วงหน้าหนาวไม่ใช่เรื่องผิด คุณสามารถเปิดใช้งานได้ตามต้องการ แต่หากใครต้องการเซฟค่าไฟในช่วงหน้าหนาว วันนี้เรามีเคล็ดลับกับอากาศหนาวที่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศยังไงให้ไม่เปลืองไฟมาบอกต่อ รับรองว่าหน้าหนาวนี้เตรียมโบกมือลาค่าไฟแพงไปได้เลยค่ะ  –  เลือกโหมดเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม             เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศแล้วสิ่งแรกที่ต้องทำคือ “เลือกโหมดแอร์” โดยโหมดที่เหมาะกับหน้าหนาวสุด ๆ คือ โหมดพัดลม หรือ Fan Mode เนื่องจากโหมดพัดลมจะทำหน้าที่ผลิตลมแต่ไม่ได้ทำความเย็นออกมา ดังนั้นการเลือกแอร์โหมดนี้จึงช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก อากาศไม่แห้ง และช่วยให้อุณหภูมิในห้องไม่เย็นเกินไป ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการใช้งานโหมด Cool Mode ที่ทำให้อากาศเย็นเกินไป และ Dry Mode หรือโหมดลดความชื้น เพราะจะทำให้อากาศในห้องแห้งกว่าเดิม –  ตั้งค่าปิดเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติ                 ในช่วงอากาศเย็นๆ การลดชั่วโมงการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ถือเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี ดังนั้นแนะนำว่าให้ตั้งค่าปิดเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติก่อนตื่นนอนประมาณ

5 เคล็ดลับในการใช้ตู้เย็นในช่วงหน้าร้อนแบบประหยัด

5 เคล็ดลับในการใช้ตู้เย็นในช่วงหน้าร้อนแบบประหยัด ในช่วงหน้าร้อนของประเทศไทย “ตู้เย็น” ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในห้องครัวเลยทีเดียว เรียกได้ว่าต้องมีแทบทุกบ้าน ยิ่งในช่วงฤดูร้อนนี้ นอกจากเครื่องปรับอากาศแล้ว เป็นเรื่องยากมากที่ในการใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่มีตู้เย็น ช่วงเดือนเมษายน ของประเทศไทยจะเป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างร้อนมาก ตู้เย็นของคุณจะทำงานอย่างหนักเพื่อให้ของในตู้เย็นเย็นอยู่เสมอ แม้จะมีสภาวะภายนอกจะร้อนขนาดไหนก็ตาม แต่ก็แลกมาด้วยการใช้พลังงานมากขึ้น การบำรุงรักษา หรือการใช้งานที่ผิดวิธี อาจทำให้ค่าไฟของเราสูงขึ้น ในส่วนต่อไปนี้จะมาพูดถึง 5 เคล็ดลับ ที่สามารถช่วยให้ตู้เย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในช่วงหน้าร้อนจัดแบบนี้ ตั้งอุณหภูมิที่ถูกต้อง การตั้งอุณภูมิทั้งตู้เย็นและช่องแช่แข็งจำเป็นต้องตั้งค่าอุณหภูมิที่ถูกต้องเพื่อประสิทธิภาพการทำความเย็น และการใช้พลังงานที่เหมาะสมที่สุด นอกจากนี้อุณหภูมิที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณจัดเก็บอาหารได้อย่างปลอดภัย เพราะการเก็บอาหารแช่เย็นด้วยอุณหภูมิตู้เย็น หรือตู้แช่ที่เหมาะสม จะช่วยให้อาหารมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นและคงความสด คุณภาพ และคุณค่าทางโภชนาการ จัดเรียงของในตู้เย็นให้เหมาะสม ส่วนมากมักเข้าใจกันผิดว่า ตู้เย็น หากเราใส่อาหารหรือของเข้าไปเป็นจำนวนมาก จะทำให้ตู้เย็นทำงานหนักขึ้น แต่ความจริงแล้วตรงกันข้ามเลย ตู้เย็นที่จัดการการจัดเรียงให้เหมาะสม จะใช้พลังงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับตู้เย็นที่ว่างเปล่า หรือแช่ของน้อยเกินไป แต่หากต้องการให้ตู้เย็นมีของแช่ไว้ และไม่ต้องการซื้ออาหารหรือของมาใส่เพิ่ม ให้เติมน้ำเปล่าลงในเหยือกน้ำเพื่อแช่แทนได้ ตรวจสอบและเปลี่ยนไส้กรองน้ำ (Water Filter) หากมีเครื่องกรองน้ำในตู้เย็น ควรหมั่นตรวจเช็คและเปลี่ยนไส้กรองเป็นประจำ ตู้เย็นบางรุ่นมีตัวแจ้งเปลี่ยนไส้กรองโดยอัตโนมัติ หากตู้เย็นไม่มีคุณสมบัตินี้ โดยหลักการทั่วไปคือการเปลี่ยนไส้กรองน้ำปีละสองครั้ง (อาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรุ่นของตู้เย็นด้วย ) ไส้กรองน้ำที่สะอาดจะช่วยให้จ่ายน้ำที่สะอาดและยังช่วยให้เครื่องทำน้ำแข็งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ตรวจสอบคอยส์

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบทำความเย็น

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบทำความเย็น  ระบบทำความเย็นมีบทบาทและมีความสำคัญต่อสินค้าหลากหลายประเภท ซึ่งในปัจจุบันเราใช้ระบบทำความเย็นใน การผลิตอาหาร  เช่น การผลิตนม ไอศกรีม การเก็บรักษาอาหาร หรือถนอมอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ให้มีอายุในการเก็บรักษานานขึ้นเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการจำหน่าย การผลิตในงานอุตสาหกรรม  งานอุตสาหกรรมหลายประเภทที่ต้องอาศัยการทำความเย็นช่วยในกระบวนการผลิต การทำความเย็นเพื่อการขนส่ง  เช่น ห้องเย็นที่ใช้ในเรือประมง เรือเดินทะเล หรือรถห้องเย็นที่ใช้ขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง และการปรับอากาศ เช่นที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศทั่วไป หรืองานปรับอากาศที่ใช้ในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม ประเภทของระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง มีความสำคัญยิ่งในการรักษาคุณภาพและยืดอายุของสด อย่างเช่น เนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล ผัก ผักไม้ รวมถึงสินค้าประเภทดอกไม้เจ้าของธุรกิจจึงควรพิจารณาสร้าง ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง สำหรับเก็บสินค้าโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของสินค้านั้น ๆซึ่ง ประเภทของห้องเย็น ถูกแบ่งออกดังนี้ ห้องแช่แข็งลดอุณหภูมิสินค้าด้วยลม (Air Blast Freezer Room) ห้องแช่แข็งเก็บรักษาสินค้า (Cold Storage Room หรือ Freezer

การจัดการห่วงโซ่ความเย็น Cold Chain Management

การจัดการห่วงโซ่ความเย็น Cold Chain Management ในประเทศไทย ธุรกิจร้านอาหาร และการขยายแฟรนไชส์ รวมถึงธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งผลิตภัณฑ์ด้านอาหารมีการเติบโตขึ้นมาก  ส่งผลให้ธุรกิจ Cold Chain Management หรือการจัดการห่วงโซ่ความเย็นเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบขนส่ง และระบบเครื่องย้ายวัตถุดิบที่ต้องใช้เวลานาน ได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณภาพสินค้าให้ดีมากขึ้น   จากข้อมูลธุรกิจระบบการจัดส่งของไทย พบว่า ธุรกิจ Cold Chain Logistics ที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่ความเย็น เติบโตมากขึ้น และ โดยเฉพาะช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ Covid-19 การใช้ชีวิตวิถีใหม่ พฤติกรรมของผู้บริโภค ที่หันมาบริโภคอาหารแปรรูปมากขึ้น รวมถึงการเปิดเสรีการค้าที่ทำให้ภาคการส่งออกไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร หรืออาหารทะเลแช่แข็ง จึงทำให้ธุรกิจ Cold Chain Mangement  มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีที่สิ้นสุด การจัดการห่วงโซ่ความเย็นคือการควบคุมอุณหภูมิให้ต่ำกว่าสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการทางเทคโนโลยีที่ช่วยคงความสมบูรณ์และคุณภาพของสินค้า  ผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ปัจจัยห่วงโซ่ความเย็นที่สำคัญมีอยู่ 4 ประการได้แก่ ระบบทำความเย็น (Cold System) คือการปรับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับการเก็บรักษา ห้องเย็น (Cold Storage) เป็นห้องที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิสำหรับการจัดเก็บสินค้าได้อย่างเหมาะสมตามประเภท และชนิดสินค้านั้นๆ การขนส่งโดยควบคุมอุณหภูมิ

สารทำความเย็นของตู้แช่และห้องเย็น

สารทำความเย็นของตู้แช่และห้องเย็น ในประเทศไทยสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ที่นิยมใช้กัน  เป็นสารเคมีที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพราะประเทศไทยยังไม่สามารถที่จะผลิตสารทำความเย็นขึ้นเองได้  ถูกนำเข้ามาเพื่อใช้งานในระบบทำความเย็นต่างๆ  ทั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน อาคาร รถยนต์  ห้างสรรพสินค้า  ตู้แช่และห้องเย็น   รวมทั้งอุตสาหกรรมทั่วไปด้วยที่ต้องใช้อุณภูมิความเย็นในการจัดเก็บสินค้าต่างๆ โดยในที่นี้จะแยกในส่วนของน้ำยาที่ใช้สำหรับตู้แช่และห้องเย็น  ส่วนใหญ่ในประเทศของเรานั้นปัจจุบันนิยมและใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนกันบ้าง   แต่ละชนิดมีส่วนประกอบและคุณสมบัติอย่างไร ในระบบตู้แช่และห้องเย็น  น้ำยาแอร์หลักๆที่ใช้กันแบ่งตามรายละเอียดต่างๆได้ดังนี้ R404A เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) คุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ประหยัดพลังงาน มีค่าแรงดันที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 170-180 Psi   จุดเดือดอยู่ที่   -46.6 C◦ ใช้ในอุณหภูมิติดลบ ใช้ในสินค้าพวกตู้แช่ห้องเย็นและอุตสาหกรรมทำความเย็น ถ้าน้ำยาแอร์ในระบบขาดต้องปล่อยทิ้งแล้วเติมใหม่ทั้งหมด โดยสามารถใช้เกจ์วัดแรงดันในการเช็คระบบให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม R507 เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 2 ชนิด (R125+R143) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 180-190 Psi   จุดเดือดอยู่ที่   -47.1 C◦   มีประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง ใช้ในสินค้าตู้แช่ห้องเย็นและอุตสาหกรรมทำความเย็น จะเห็นว่าไม่มี R134a

อุณหภูมิที่เหมาะสมของตู้เย็นและช่องแช่แข็ง (𝗥𝗲𝗳𝗿𝗶𝗴𝗲𝗿𝗮𝘁𝗼𝗿 𝗧𝗲𝗺𝗽𝗲𝗿𝗮𝘁𝘂𝗿𝗲 𝗚𝘂𝗶𝗱𝗲)

อุณหภูมิที่เหมาะสมของตู้เย็นและช่องแช่แข็ง (𝗥𝗲𝗳𝗿𝗶𝗴𝗲𝗿𝗮𝘁𝗼𝗿 𝗧𝗲𝗺𝗽𝗲𝗿𝗮𝘁𝘂𝗿𝗲 𝗚𝘂𝗶𝗱𝗲) เครื่องทำความเย็นหรือตู้เย็น มีบทบาทความสำคัญในการรักษาคุณภาพของอาหารเป็นอย่างมาก  ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็นตามบ้านเรือนที่พักอาศัย หรือ  ตู้แช่ และตู้โชว์สินค้า ในการให้ความเย็นเชิงพาณิชย์ การแสดงอุณหภูมิบนอุปกรณ์ทำความเย็นจะช่วยให้เราตรวจสอบอุณหภูมิที่เก็บสินค้าและอาหารได้ สินค้าและอาหารบางชนิดไม่เหมาะสำหรับการแช่แข็ง เช่น ผักและผลไม้สด เพราะอาจจะเสียคุณค่าและรสชาติได้ อุณหภูมิในการจัดเก็บที่เหมาะสมที่สุดจะแตกต่างกันไปตามสินค้านั้นๆ  ตู้เย็นควรมีอุณหภูมิเท่าไร และชั้นวางไหนดีที่สุดสำหรับอาหารประเภทใด  การเก็บอาหารแช่เย็นด้วยอุณหภูมิตู้เย็น หรือตู้แช่ที่เหมาะสม จะช่วยให้อาหารมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น คงคุณภาพ ความสด และคุณค่าทางโภชนาการของสินค้าได้อีกด้วย  ตู้เย็นควรมีอุณหภูมิเท่าไร อุณหภูมิโดยรวมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตู้เย็นในครัวเรือนคือระหว่าง 0°C ถึง 4°C และ -17°C ถึง -19°C ในส่วนของช่องแช่แข็ง  อุณหภูมิตู้เย็นที่เหมาะสม จะสามารถเก็บอาหารด้วยการทำความเย็นและรับประทานได้อย่างปลอดภัยเป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ และชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่องแช่แข็งสามารถเก็บอาหารให้สดและยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้นานหลายเดือน โดยแบ่งออกได้ดังนี้ ช่องแช่แข็ง (Freezer Compartment) อุณหภูมิ (-17 ถึง -23°C) สำหรับเนื้อดิบ ไอศกรีม น้ำแข็ง อาหารแช่แข็ง เป็นต้น สามารถเก็บความเย็นได้ยาวนาน ในกรณีไฟดับ หลีกเลี่ยงการเปิดฝาส่วนช่องแช่แข็ง

เลือกห้องเย็น (Cold Room) แบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจ

เลือกห้องเย็น (Cold Room) แบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจ ในประเทศไทยธุรกิจระบบห้องเย็นมีหลายแบบหลายขนาดขึ้นอยู่กับรูปแบบ สินค้า และพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าแต่ละชนิด  ซึ่งรวมถึงอุณหภูมิที่ต้องการจัดเก็บสินค้าด้วยจะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งานและสินค้าที่ต้องการจัดเก็บ เพราะสินค้าแต่ละชนิดก็มีความต้องการอุณหภูมิความเย็นที่ไม่เหมือนกัน เช่น อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ต้องการอุณหภูมิที่ความเย็นจัด ส่วนพวกเครื่องดื่ม ผัก ผลไม้ ยาและเวชภัณฑ์ ต้องการอุณหภูมิที่ความเย็นไม่มาก เพราะถ้าหากเย็นเกินไป อาจทำให้สินค้าเสียหายได้ ดังนั้นการเลือกห้องเย็นแบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจของเรานั้น จะต้องดูสินค้าที่จะเก็บเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งสามารถแบ่งได้หลักๆตามการใช้งานได้และรูปแบบทั่วๆไปได้ ดังนี้ ห้องเย็นมีขนาดแบบไหนบ้าง โดยขนาดห้องเย็นถ้าเป็นแบบเคลื่อนย้ายได้ ส่วนใหญ่ด้านกว้าง จะมีขนาด 2.4 เมตร ความยาว จะมีขนาดไม่เกิน 6 เมตร เพราะต้องยกเคลื่อนย้ายด้วยรถเฮียบ ซึ่งมีความยาวของรถที่บรรทุกได้ 6 เมตร ถ้าห้องเย็นขนาดกว้าง 2.4 เมตร ยาว 2.4 เมตร สูง 2.4 เมตร จะเก็บสินค้าได้ประมาณ 1-2 ตัน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าอะไร เป็นเนื้อสัตว์ หรือ ผักผลไม้ ถ้าเป็นประเภทผักผลไม้

น้ำยาแอร์ชนิดไหนใช้กับห้องแช่แข็ง ห้องแช่ฟรีส

น้ำยาแอร์ชนิดไหนใช้กับห้องแช่แข็ง ห้องแช่ฟรีส ในประเทศไทยธุรกิจห้องแช่แข็งและห้องแช่ฟรีส อุตสาหกรรมความเย็นต่างๆ ที่นิยมใช้งานต่างก็ต้องใช้สารทำความเย็นหรือ น้ำยาแอร์เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อมาใช้งานในระบบทำความเย็นต่าง ๆ ทั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน อาคาร รถยนต์ ห้องเย็นและตู้แช่ รวมทั้งอุตสาหกรรมทั่วไปด้วยที่ต้องใช้อุณภูมิความเย็นในการจัดเก็บสินค้าต่าง ๆ โดยในที่นี้จะแยกในส่วนของน้ำยาที่ใช้สำหรับห้องแช่แข็ง และห้องแช่ฟรีส ว่าส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันนิยมและใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนกันบ้าง แต่ละชนิดมีส่วนประกอบและคุณสมบัติอย่างไร ในระบบห้องแช่แข็ง ห้องแช่ฟรีส มีน้ำยาแอร์หลักๆที่ใช้กันได้ดังนี้ R404A เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) คุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ประหยัดพลังงาน มีค่าแรงดันที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 170-180 Psi   จุดเดือดอยู่ที่   -46.6 C◦ ใช้ในอุณหภูมิติดลบ ใช้ในห้องแช่แข็ง ห้องแช่ฟรีสและอุตสาหกรรมทำความเย็น ถ้าน้ำยาแอร์ในระบบขาดต้องปล่อยทิ้งแล้วเติมใหม่ทั้งหมด โดยสามารถใช้เกจ์วัดแรงดันในการเช็คระบบให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม R507A เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 2 ชนิด (R125+R143) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 180-190 Psi