Category Archives: ห้องคลีนรูม

ระบบทำความเย็นของอุตสาหกรรม

ระบบทำความเย็นของอุตสาหกรรม ระบบการทำความเย็น นอกจากการทำความเย็นแบบพื้นฐาน ยังมีอีกมากมายหลายรูปแบบ ตามการใช้งาน และความต้องการประสิทธิภาพในการทำความเย็น ที่ถูกพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบให้ตรงตามความต้องการมากขึ้น ตามยุคสมัยและเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามากขึ้น ระบบทำความเย็นและระบบแช่แข็งในอุตสาหกรรม ที่เราเห็นกันมากที่สุดคืออุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเราสามารถจำแนกการทำความเย็นตามลักษณะของการใช้งาน ได้ดังนี้ ห้องเย็น (Cold Room) เป็นที่นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมอาหาร ห้องเย็นถูกควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมกับสินค้า เพื่อช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และแบคทีเรีย ก่อนจะถูกผลิต จัดจำหน่ายตามลูกโซ่ความเย็น ห้องแช่แข็ง (Frozen Room) ใช้สำหรับลดอุณหภูมิของสินค้าในระยะเวลาอันสั้นที่สุดตามหลักการถนอมรักษาอาหาร หรือใช้กับวัตถุดิบที่ต้องการความเย็นสูง การลดอุณหภูมิของสินค้าหรือวัตถุดิบ มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับสารทำความเย็นที่ใช้ในการทำความเย็น สำหรับหลักการทำความเย็นโดยใช้เครื่องระเหย หรือคอยล์เย็น (Evaporator) สามารถแบ่งได้ดังนี้ แบบขยายโดยตรง (Direct Expansion) เป็นแบบที่ใช้กันทั่วไป เหมาะสำหรับห้องเย็นที่มีค่าการทำความเย็นไม่สูงมากนัก โดยสารทำความเย็นจะไหลจากฝั่ง คอยล์ร้อน (Condenser) เข้าสู่ถังพักสารทำความเย็นและไหลผ่านวาล์วลดความดัน (Expansion Valve) เข้าสู่คอยล์เย็นหรือ Evaporator โดยตรง แบบท่วมคอยล์ (Flooded Coil) เป็นระบบสารทำความเย็นที่ส่งจากคอยล์ร้อน (Condenser) เข้าสู่ถังพักสารทำความเย็นที่มีความดันสูง และไหลผ่านวาล์วลดความดันไปสู่ถังเก็บสารทำความเย็นความดันต่ำก่อน ก่อนจะไหลเข้าคอยล์เย็น โดยอาศัยการที่ของเหลวไหลไปแทนที่ก๊าซ จุดแตกต่างสำหรับระบบนี้

สารทำความเย็นในตู้เย็นเชิงพาณิชย์ (Commercial Refrigerators & Freezers)

สารทำความเย็นในตู้เย็นเชิงพาณิชย์ (Commercial Refrigerators & Freezers) ตู้เย็นเชิงพาณิชย์เป็นส่วนหนึ่งของ Cold Chain หรือห่วงโซ่ความเย็นที่รองรับผลผลิตของเศรษฐกิจที่แปรสภาพก่อนถึงมือผู้บริโภค เราใช้กันอย่างแพร่หลายในการจัดเก็บและขายเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม ผลไม้ ผัก และไอศกรีม มีตั้งแต่แช่เย็นในอุณหภูมิทั่วไป ถึงแช่แข็ง มีให้ผู้ประกอบการเลือกสรร ตั้งแต่ 1 ประตู 2 ประตู แบบทึบเปิดจากด้านบน หรือแบบม่านอากาศ เป็นต้น  เมื่อกล่าวเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ในตู้เย็นเชิงพาณิชย์ หรือตู้แช่ตามห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ตต่างๆ ขอยกสารทำความเย็น 3 ตัวมาให้ทุกท่านพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสียดังนี้ R-404A สารทำความเย็น R404a เป็นน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นในกลุ่ม HFC ตัวเด่นในตลาด Low Temp ไปจนถึง Freezer ที่เข้ามาทดแทน น้ำยาแอร์ R22 และ น้ำยาแอร์ R502 เหมาะสำหรับ ตู้เย็นในซูปเปอร์มาร์เก็ต หรือ อุตสาหกรรมความเย็นต่างๆ มีอัตราส่วนผสมของน้ำยาแอร์ R-143a/R-125/R-134a

ห้องคลีนรูม ต่างจาก ห้องเย็น อย่างไร?

ห้องคลีนรูม ต่างจาก ห้องเย็น อย่างไร? ในประเทศไทยปัจจุบันมีการธุรกิจมากมายหลายแบบที่จำเป็นต้องใช้ห้องที่มีอุณหภูมิความเย็นคงที่ และมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปในลักษณะการใช้งาน ในที่นี้เราจะมาอธิบายถึงข้อแตกต่างสำหรับ ห้องคลีนรูม และห้องเย็นกันดูว่า มีความแตกต่างกันละใช้งานในลักษณะใดกันบ้าง ห้องคลีนรูมก็คือ ห้องหรือบริเวณปิดที่มีการควบคุมสภาวะสิ่งแวดล้อมภายในห้องซึ่งได้รูปแบบการไหลของอากาศ อุณภูมิ ความดัน ความชื้น ความสั่นสะเทือน แสงสว่างเป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่าห้องคลีนรูม คือห้องที่มีการควบคุมปัจจัยต่างๆให้มีเงื่อนไขตามที่เราต้องการ ซึ่งมีการควบคุม ความเข้มข้นของอณุภาคแขวนลอยในอากาศและถูกสร้างขึ้นและใช้งานในลักษณะที่ทำให้มีการนำเข้ามาการทำให้เกิดและการเก็บกักอณุภาคทั้งหลายไว้ภายในห้องให้น้อยที่สุดและเป็นห้องซึ่งมีการควบคุม ปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น อุณภูมิ ความชื้นละความดันตามที่จำเป็น ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องคลีนรูม เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าที่ต้องมีมาตรฐานในความสะอาดระดับสูง ปลอดทั้งเชื้อโรคและฝุ่น จึงมีหลายๆอุตสาหกรรมที่ต้องมีการใช้ห้องคลีนรูมในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารและยา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอีเล็คโทรนิคส์ โรงงานผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับด้านความสะอาดในระดับปลอดเชื้อ จึงมั่นใจได้ว่าผลผลิตที่ได้จะมีความปลอดภัยสูง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน ส่วนห้องเย็นนั้นมี ปัจจัยหลายอย่าง ที่เราต้องมาพิจารณา เพื่อให้ได้ห้องเย็นที่เหมาะกับสินค้าและวัตถุดิบที่จัดเก็บ อย่างเช่น อุณหภูมิที่ต้องการ ปริมาณสินค้าที่เข้าห้องเย็นต่อวัน และอุณหภูมิสินค้าก่อนเข้าห้องเย็น อย่างถ้าเป็นห้องฟรีสแช่แข็ง ควรต้องการให้สินค้าแข็งภายในเวลาเท่าไหร่ และอุณหภูมิจะต้องมีความคงที่ตลอดเวลา โดยห้องเย็นนั้นจะเน้นในเรื่องของอุณหภูมิการจัดเก็บสินค้าทั่วๆไป  ซึ่งสินค้าแต่ละชนิดก็มีความต้องการอุณหภูมิความเย็นที่ไม่เหมือนกัน เช่น อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ต้องการอุณหภูมิที่ความเย็นจัด ส่วนพวกเครื่องดื่ม ผัก ผลไม้ ยาและเวชภัณฑ์ ต้องการอุณหภูมิที่ความเย็นไม่มาก

ห้องคลีนรูม (Clean Room) คืออะไร?

ห้องคลีนรูม (Clean Room) คืออะไร? ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตมีการพัฒนาและก้าวหน้าไปมาก มีการนำเทคโนโลยีขั้นสูง  มาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องใช้สภาวะแวดล้อมที่สะอาด  ในกระบวนการผลิต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพดี ได้แก่ อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ตลอดจนถึงอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคส์  และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลที่มีความละเอียดในการทำงานสูง เป็นต้น   ห้องคลีนรูม(Cleanroom) หรือที่มักเรียกกันว่า “ห้องปลอดเชื้อ”  หมายถึง ห้องสะอาดที่มีการควบคุมปริมาณอนุภาค ฝุ่นละอองและสิ่งปนเปื้อนต่างๆให้มีไม่เกินระดับที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการควบคุมปัจจัยเสริมต่างๆ ได้แก่ คุณลักษณะและความเร็วของลม อุณหภูมิ แรงดัน และระดับความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้องอีกด้วย  ต้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสม กำหนดตามความต้องการของกระบวนการผลิต หรือหากไม่มี  ความสำคัญทางด้านการผลิต  ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม ขึ้นกับลักษณะงาน กระบวนการผลิต หรือชนิดผลิตภัณฑ์ ห้องคลีนรูมอาจแบ่งตามลักษณะการใช้งาน Industrial Clean Roomเป็นห้องสะอาดที่ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์  อิเลคโทรนิคส์ Microchip อุตสาหกรรมการผลิตสี ฟิล์ม และสารเคมีต่าง ๆ Biological Clean Roomเป็นห้องสะอาดที่ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตยา ห้อง  ปฏิบัติการทางด้านชีววิทยา ห้องผ่าตัด เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรีย ความดันอากาศในห้องจะ  ต้องสูงกว่าความดันอากาศห้องข้างเคียง เพื่อป้องกันมิให้สิ่งสกปรกจากห้องข้างเคียงไหลเข้าสู่  ห้องสะอาด