ทำความรู้จักกับระบบการทำงานของห้องเย็น ระบบทำความเย็นมีบทบาทและมีความสำคัญต่อสินค้าหลากหลายประเภท ซึ่งในปัจจุบันเราใช้ระบบทำความเย็นใน การผลิตอาหาร เช่น การผลิตนม ไอศกรีม การเก็บรักษาอาหาร หรือถนอมอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ให้มีอายุในการเก็บรักษานานขึ้นเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการจำหน่าย การผลิตในงานอุตสาหกรรม งานอุตสาหกรรมหลายประเภทที่ต้องอาศัยการทำความเย็นช่วยในกระบวนการผลิต การทำความเย็นเพื่อการขนส่ง เช่น ห้องเย็นที่ใช้ในเรือประมง เรือเดินทะเล หรือรถห้องเย็นที่ใช้ขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง และการปรับอากาศ เช่นที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศทั่วไป หรืองานปรับอากาศที่ใช้ในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทสร้างห้องเย็นจะต้องให้ความสำคัญกับระบบทำความเย็นของห้องเย็นเป็นอย่างมาก เพื่อให้สามารถใช้งานห้องเย็นในการจัดเก็บและคงความสดของวัตถุดิบต่าง ๆ เอาไว้ได้เป็นเวลานาน ให้สินค้ามีคุณภาพที่ดีอยู่เสมอ จึงต้องทำการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการทำงานห้องเย็นอยู่เสมอ ซึ่งห้องเย็นจะมีหลักการทำงานหลัก ๆ 2 ระบบดังนี้ 1.ระบบการทำความเย็นโดยใช้สารทำความเย็นระเหย เรียกว่า Expendable Refrigerant Cooling System เป็นระบบที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มบริษัทรับสร้างห้องเย็น ซึ่งสามารถใช้งานได้ดีกับรถบรรทุกที่ใช้ขนส่งอาหารที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิให้ต่ำอยู่เสมอ ซึ่งมีหลักการเพียงแค่ปล่อยให้สารทำความเย็นเหลวระเหยเป็นไออยู่ภายในบริเวณที่ต้องการทำความเย็น โดยบริเวณเหล่านี้จำเป็นต้องมีฉนวนกันความร้อนห่อหุ้มอยู่โดยรอบ ซึ่งขณะที่สารเปลี่ยนสถานะจะต้องใช้ความร้อนแฝงเพื่อทำให้อุณหภูมิลดลง จึงต้องใช้ตัวกลางคือ “ไนโตรเจนเหลว” ที่อยู่ภายในถัง ปล่อยให้ไหลผ่านไปยังวาล์วควบคุมไปยังท่อและหัวฉีด สามารถฉีดไนโตรเจนเหลวให้เป็นฝอยบริเวณที่ต้องการทำความเย็นได้ทันที 2.ระบบการทำความเย็นโดยการอัดไอ อาศัยหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ
Category Archives: ห้องเย็น
สารทำความเย็นของระบบห้องเย็นและเครื่องทำความเย็น น้ำยาR404a ถือว่าเป็นสารทำความเย็นที่อยู่คู่กับอุตสาหกรรม ห้องเย็น และเครื่องทำความเย็น มามากกว่าสามทศวรรษ โดยเป็นสาร HFC ที่เป็นตัวแทนของ R22 และ R502 เนื่องจากคุณสมบัติของR404a ทำให้เป็นสารทำความเย็นที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมหลายอุณหภูมิ และมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ยอดเยี่ยม แต่ด้วยข้อกังวลของค่า GWP ที่สูงถึง 3,922 สารทำความเย็น HFC จะมีการลดการใช้และการผลิต และถูกทดแทนด้วยสารทำความเย็นประเภท HFO หรือสารทำความเย็นที่มี GWP ต่ำกว่า ซึ่งได้ถูกเริ่มใช้งานในประเทศไทยกันแล้ว หากคุณอยู่ในธุรกิจที่ต้องใช้ระบบทำความเย็น และมีข้อกังวลเกี่ยวกับสารทำความเย็นที่ใช้อยู่ วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบระหว่างสารทำความเย็นR404a และR448aพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ทำความรู้จักR448aเป็นสารทำความเย็นซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่ของ HFO Blends คือส่วนผสมซีโอโทรปิกที่ประกอบด้วย HFO 2 ตัว (R1234ze 7% และ R1234yf 20%) และสารทำความเย็น HFC 3 ตัว (R134a 21%, R125 26% และ R32 26%)
ห้องเย็นเก็บศพกับร่างไร้วิญญาณ ในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ จะยากดีมีจน นั่นก็อาจจะเป็นอีกปัจจัยในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน หากในวันที่ลมหายใจสุดท้าย ดับลง ไม่ว่าจะเป็นใคร ร่างกายและสังขารย่อมเสื่อมสลายไป เป็นที่รู้กันว่า หากผู้เสียชีวิตได้จากลาโลกไปแล้ว ร่างอันไร้วิญญาณ ก็จะถูกส่งตัวไปไว้ ณ ห้องเย็นเก็บศพ หรือที่เราเรียกกันว่า ห้องดับจิต นั่นเอง ห้องเย็นเก็บศพเป็นพื้นที่สำหรับเก็บร่างกายของผู้เสียชีวิตเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจากเชื้อแบคทีเรีย เพราะร่างกายของผู้เสียชีวิตก็คือซากศพประเภทหนึ่ง ไม่ต่างจากซากหมู หรือซากวัว ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในอากาศสามารถทำลายเซลล์ให้เกิดความเสียหายได้ นั่นเป็นสาเหตุที่ว่า หลังจากเสียชีวิต แพทย์หรือพยาบาลจะต้องทำการฉีดฟอร์มาลีนเข้าสู่ร่างกายให้ทั่วทุกส่วน เพราะเมื่อเสียชีวิตแล้ว หัวใจจะหยุดเต้น ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายไม่ทำงาน จึงไม่สามารถนำพาฟอร์มาลีนไปยังส่วนต่างๆในร่างกายได้ ในการออกแบบห้องเย็นหรือห้องดับจิต คือต้องการหยุดอัตราการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยแบคทีเรียมี 3 ตระกูล ดังนี้ กลุ่ม Thermophile คือจุลินทรีย์ที่สามารถเจริญเติบโตที่ช่วงอุณภูมตั้งแต่ 45-80 องศาเซลเซียส กล่าวคือ หากอุณภูมิอยู่ที่ 45 องศาเซลเซียส อัตราการเจริญเติมโต (Rate of Growth) ของแบคทีเรียกลุ่มนี้จะเป็นศูนย์ แต่ถ้าอุณภูมิสูงมากขึ้น
สารทำความเย็นในระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง การทำความเย็นในระบบทำความเย็น ห้องเย็น หรือ ห้องแช่แข็งนั้นส่วนใหญ่ใช้ระบบทำความเย็นที่เรียกว่าระบบหล่อเย็น (refrigeration system) ซึ่งประกอบด้วยสารทำความเย็นหลายชนิด หลายประเภท ที่มีความสามารถในการดูดความร้อนจากสิ่งรอบตัวและนำไปปล่อยไปที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า การทำงานของระบบทำความเย็นนั้นมีขั้นตอนหลายขั้นตอน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 1.อัดเย็น (Compression): สารทำความเย็นถูกอัดให้มีแรงดันและอุณหภูมิสูงขึ้น. 2.หล่อเย็น (Condensation): สารทำความเย็นที่อัดเย็นถูกนำไประบายความร้อนที่สูงในการหล่อเย็น, ทำให้สารเปลี่ยนจากสถานะไอไปเป็นของเหลว. 3.ขยายเย็น (Expansion): สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวถูกขยายให้มีแรงดันลดลง, ทำให้มีอุณหภูมิต่ำ. 4.หล่อเย็น (Evaporation): สารทำความเย็นที่ถูกขยายเย็นถูกนำไปดูดความร้อนจากสิ่งรอบตัวและเปลี่ยนเป็นสถานะไอ. กระบวนการนี้ทำให้มีการถ่ายเทความเย็นจากระบบไปยังห้องเย็นหรือห้องแช่แข็ง ทำให้สิ่งของที่อยู่ในห้องเย็นหรือแช่แข็งนั้นมีอุณหภูมิต่ำลง. น้ำยาแอร์ที่ใช้ในระบบทำความเย็น ห้องเย็น หรือ ห้องแช่แข็งมีหลายประเภทตามลักษณะการทำงานและคุณสมบัติทางเคมี ต่อไปนี้คือบางประเภทที่พบบ่อยในประเทศไทย 1.Hydrochlorofluorocarbons (HCFCs): เป็นสารทำความเย็นที่ใช้งานมาก่อน แต่มีผลกระทบต่อโอโซนและมีศักยภาพที่จะถูกห้ามในอนาคต. ตัวอย่างเช่น R-22 (Chlorodifluoromethane) เป็น HCFC ที่มักใช้ในอดีต, แต่ตอนนี้ได้ถูกห้ามในหลายประเทศ. 2.Hydrofluorocarbons (HFCs): เป็นสารทำความเย็นที่ถูกนำมาแทนที่ HCFCs เนื่องจากไม่ทำลายโอโซน. ตัวอย่างเช่น R-134a เป็น HFC
การเลือกซื้อห้องเย็นต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง การเลือกซื้อห้องเย็นมีความสำคัญมากกับธุรกิจหลากหลายประเภท ที่มีความต้องการในการจัดเก็บสินค้า วัตถุดิบ หรือ ผลผลิต ไว้ภายในห้องที่สามารถเก็บความเย็นได้คงที่ สำหรับการรักษาคุณภาพของสินค้าที่เตรียมส่งขาย โดยการใช้ห้องเย็นเพื่อลดปัญหาการเกิดแบคทีเรียและเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าไปทำให้สินค้าหรือวัตถุดิบอย่างเช่น อาหาร ผลผลิตต่างๆ เสื่อมสภาพและเกิดความเสียหาย เน่าเสียได้อย่างรวดเร็ว การเลือกติดตั้งห้องเย็นของแต่ละธุรกิจนั้น ควรคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆโดยเริ่มต้นตั้งแต่การเลือกสถานที่ติดตั้งที่สะดวกต่อการลำเลียงสินค้า และง่ายต่อการเข้าถึงและการตรวจสอบสภาพการใช้งานให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ประเภทของห้องเย็นมีด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้ ห้องเย็นแบบแช่เยือกแข็ง เป็นการรักษาสภาพวัตถุดิบให้เย็นจัดจนเยือกแข็ง เพื่อให้เก็บวัตถุดิบไว้ได้เป็นเวลานาน จะเหมาะกับอาหารประเภทที่ต้องการคุณภาพใกล้เคียงกับของสด และสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยการเก็บรักษาอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เช่น -18 องศาเซลเซียส เป็นต้น ห้องเย็นแบบแช่เย็น เป็นการใช้ความเย็นอุณภูมิที่น้อยกว่าจุดเยือกแข็ง (อุณภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส) เหมาะกับผักและผลไม้ ที่จะถูกเก็บไว้ในระยะเวลาสั้นๆ จึงมีอุณภูมิใกล้เคียงกับบรรยากาศโดยอุณภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการติดตั้งห้องเย็นมีดังนี้ ขนาดห้องเย็นที่เหมาะสมกับพื้นที่ ความเหมาะสมของอุณภูมิกับวัตถุดิบที่แช่เย็น การใช้ไฟ้ฟ้า การระบายอากาศที่เหมาะสม การบำรุงรักษา ส่วนประกอบหลักของห้องเย็น ไม่ว่าระบบทำความเย็นจะถูกออกแบบเป็นระบบแบบใดก็ตาม ล้วนแต่มีวัถุประสงค์เดียวกัน
ประเภทของห้องเย็นในการใช้งาน “ห้องเย็น” ได้ถูกออกแบบให้มีสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมเพื่อจัดเก็บผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้อุณหภูมิเฉพาะเพื่อรักษาคุณภาพ และอายุการเก็บรักษาสินค้าต่างๆ ประเภทของห้องเย็นและช่วงอุณหภูมิขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บในหลากหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ อาหาร, ยา, วัคซีน, สารเคมี, พืช ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, เครื่องสำอางค์ เป็นต้น โดยทั่วไปห้องเย็นจะทำงานที่ระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนด และความต้องการเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บ อาจแบ่งได้ดังนี้ -Chilled Storage ห้องเย็นเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ โดยรักษาอุณหภูมิทั่วไประหว่าง 0°C-5°C (41°F) ใช้สำหรับจัดเก็บอาหารที่เน่าเสียง่าย เช่น ผลไม้ ผัก ผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่ม เพื่อรักษาคุณภาพ และชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย -Cold Storage ห้องเย็นเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0°C แต่สูงกว่าจุดเยือกแข็ง ช่วงอุณหภูมิสำหรับห้องเย็นอาจแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง -2°C ถึง -18°C ใช้สำหรับจัดเก็บอาหารแช่แข็ง เช่น ผลไม้แช่แข็ง ผัก เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ฯลฯ เพื่อรักษาคุณภาพ และยืดอายุการเก็บรักษา -Frozen / Freezer Storage
ระบบทำความเย็นของอุตสาหกรรม ระบบการทำความเย็น นอกจากการทำความเย็นแบบพื้นฐาน ยังมีอีกมากมายหลายรูปแบบ ตามการใช้งาน และความต้องการประสิทธิภาพในการทำความเย็น ที่ถูกพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบให้ตรงตามความต้องการมากขึ้น ตามยุคสมัยและเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามากขึ้น ระบบทำความเย็นและระบบแช่แข็งในอุตสาหกรรม ที่เราเห็นกันมากที่สุดคืออุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเราสามารถจำแนกการทำความเย็นตามลักษณะของการใช้งาน ได้ดังนี้ ห้องเย็น (Cold Room) เป็นที่นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมอาหาร ห้องเย็นถูกควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมกับสินค้า เพื่อช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และแบคทีเรีย ก่อนจะถูกผลิต จัดจำหน่ายตามลูกโซ่ความเย็น ห้องแช่แข็ง (Frozen Room) ใช้สำหรับลดอุณหภูมิของสินค้าในระยะเวลาอันสั้นที่สุดตามหลักการถนอมรักษาอาหาร หรือใช้กับวัตถุดิบที่ต้องการความเย็นสูง การลดอุณหภูมิของสินค้าหรือวัตถุดิบ มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับสารทำความเย็นที่ใช้ในการทำความเย็น สำหรับหลักการทำความเย็นโดยใช้เครื่องระเหย หรือคอยล์เย็น (Evaporator) สามารถแบ่งได้ดังนี้ แบบขยายโดยตรง (Direct Expansion) เป็นแบบที่ใช้กันทั่วไป เหมาะสำหรับห้องเย็นที่มีค่าการทำความเย็นไม่สูงมากนัก โดยสารทำความเย็นจะไหลจากฝั่ง คอยล์ร้อน (Condenser) เข้าสู่ถังพักสารทำความเย็นและไหลผ่านวาล์วลดความดัน (Expansion Valve) เข้าสู่คอยล์เย็นหรือ Evaporator โดยตรง แบบท่วมคอยล์ (Flooded Coil) เป็นระบบสารทำความเย็นที่ส่งจากคอยล์ร้อน (Condenser) เข้าสู่ถังพักสารทำความเย็นที่มีความดันสูง และไหลผ่านวาล์วลดความดันไปสู่ถังเก็บสารทำความเย็นความดันต่ำก่อน ก่อนจะไหลเข้าคอยล์เย็น โดยอาศัยการที่ของเหลวไหลไปแทนที่ก๊าซ จุดแตกต่างสำหรับระบบนี้
สัญญาณเตือนบอกให้รู้ว่าตู้เย็นของคุณน้ำยารั่ว ในปัจจุบันสารทำความเย็น หรือน้ำยาทำความเย็นเป็นส่วนประกอบสำคัญของตู้เย็นทั่วไป การทำความเย็นของตู้เย็นไม่ต่างกับในเครื่องปรับอากาศ โดยคอมเพรสเซอร์ จะทำหน้าที่อัดน้ำยาทำความเย็น หรือสารทำความเย็นในสภาวะเป็นก๊าชให้มีความดันสูง และเปลี่ยนสถานะไปเรื่อยๆ จนพัดลมของคอยล์เย็นจะกระจายลมเย็นให้แก่สารทำความเย็นไหลเวียนไปสร้างความเย็นภายในตู้เย็น และหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ในระบบปิด ซึ่งจะส่งผลให้น้ำยาแอร์ หรือสารทำความเย็น ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน การทำความเย็นของตู้เย็นจะได้รับการออกแบบมาให้เป็นระบบปิด แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการรั่วไหลของสารทำความเย็นขึ้นจากหลายสาเหตุ ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อความสดของอาหาร หรือวัตถุดิบในตู้เย็นเท่านั้น แต่ยังอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณอีกด้วย สัญญาณเตือนที่บอกให้รู้ว่าตู้เย็นของคุณน้ำยารั่ว มีดังนี้ วัตถุดิบหรืออาหารในตู้เย็น ไม่มีความเย็น หากตู้เย็นของเรามีอาการรั่วไหลของสารทำความเย็น น้ำดื่มหรือน้ำอัดลมของเรา เวลานำมาดื่มอาจจะไม่เย็นชื่นใจเหมือนเคย เนื่องจากสารทำความเย็นรั่ว เครื่องจึงไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง จึงส่งผลให้วัตถุดิบหรืออาหารในตู้เย็นของคุณไม่เย็นหรือไม่สดเท่าที่ควรจะเป็น เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ในสารทำความเย็นบางประเภท มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ อย่างเช่นกลิ้นอับ โดยเฉพาะถ้าตู้เย็นที่อยู่ในพื้นที่แคบ อย่างเช่น คอนโด เป็นต้น หากมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์อย่างไม่มีสาเหตุอื่น พร้อมสัญญาณจากข้างต้นแล้ว อาจจะเป็นผลมาจากน้ำยาทำความเย็นซึมก็เป็นได้ คอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก เมื่ออุณภูมิของตู้เย็นเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้คอมเพรสเซอร์และคอนเดนเซอร์ทำงานโดยใช้ฟรีออนเพื่อช่วยลดอุณหภูมิลง สู่ระดับที่ต้องการ เวลาปกติเราอาจจะได้ยินเสียงคอมเพรสเซอร์ ทำงานไม่ตลอดเวลา แต่เมื่อเกิดการรั่วไหลของน้ำยาทำความเย็น มอเตอร์จะถูกบังคับให้ทำงานเป็นเวลานานขึ้น เพื่อชดเชยปริมาณสารทำความเย็นที่หายไป ทำให้มอเตอร์รับภาระมากกว่าศักยภาพ หรือประสิทธิภาพของตัวเอง นอกจากอาหารจะไม่เย็นแล้ว อาจจะทำให้เกิดปัญหากับส่วนอื่นๆ ของตู้เย็นได้อีกด้วย ค่าไฟสูงขึ้นผิดปกติ
หลักการทำงานของระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ในเรื่องของวัฏจักรการทำความเย็นแบบอัดไอทำให้เกิดความเย็น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำความเย็น และมีลักษณะเหมือนกันคือทำให้สารซึ่งเป็นตัวกลางในการทำความเย็น (Refrigerant)เปลี่ยนสถานะด้วยการใช้ความร้อนแฝง เพื่อให้สารที่เป็นตัวกลางในการทำความเย็นเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอ ส่งผลให้บริเวณนั้นมีอุณหภูมิลดลง ซึ่งหมายความว่าบริเวณนั้นจะมีความเย็นเกิดขึ้นเริ่มต้นกระบวนการทำความเย็นจากการดูดความร้อนด้วย Evaporator หรือคอยล์เย็น ซึ่งความร้อนที่สารทำความเย็นดูดเข้ามานี้จะทำให้น้ำยาสารทำความเย็นเกิดความร้อนและเปลี่ยนสภาพจากของเหลวกลายเป็นไอ กระบวนการนี้สารทำความเย็นจะดูดซับเอาความร้อนจากบริเวณโดยรอบ มาจากวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้คอยล์เย็นโดยวิธีการนำความร้อน การพาความร้อน หรือการแผ่รังสีความร้อนทำให้สารทำความเย็นนี้มีอุณหภูมิสูงที่ความดันต่ำ สารทำความเย็นที่มีอุณหภูมิสูงสถานะไอนี้จะถูกส่งต่อไปยัง Compressor หรือเครื่องอัดโดยจะอัดให้มีความดันสูงขึ้นก่อนส่งต่อไปที่ Condenser หรือคอยล์ร้อนเพื่อระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นและควบแน่นให้สารทำความเย็นในสถานะที่เป็นไอเปลี่ยนกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้งซึ่งก่อนส่งต่อไปที่ Expansion Valve วาล์วลดความดันเพื่อลดความดันของสารทำความเย็นให้ต่ำลง เพื่อให้สารทำความเย็นดดังกล่าวพร้อมที่จะระเหยตัวที่อุณหภูมิต่ำ ณ อุปกรณ์ ถัดไปซึ่งก็คือคอยล์เย็นและจะวนการทำงานไปแบบนี้เรื่อยๆ ตามวัฏจักรทำความเย็นแบบอัดไอ สารทำความเย็นในระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง สารทำความเย็นที่ใช้ทั่วไปสามารถแบ่งตามคุณสมบัติทางเคมีได้ 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ สารกลุ่ม CFC (Chlorofluorocarbon) มีส่วนประกอบของ คลอรีน ฟลูออรีนและคาร์บอน สารทำความเย็นที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น R11, R12 มีความปลอดภัย และไม่เป็นพิษแต่การที่กลุ่มสาร CFC มีคลอรีน เมื่อเกิดการรั่วไหลจะมีผลกับการไปลด โอโซน ในบรรยากาศ
น้ำยาแอร์ที่ใช้กับรถห้องเย็นมีอะไรบ้าง ปัจจุบันนี้รถยนต์ตามท้องถนนในประเทศมีอยู่มากมายหลายชนิดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน จะมีทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์โดยสาร รถยนต์บรรทุก รถพ่วง รถตู้ รวมทั้งรถกระบะที่ใช้ในการขนส่งสินค้า เป็นต้น ในที่นี้มาดูกันว่าในส่วนขอรถห้องเย็นที่มีการใช้งานนั้น ใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนบ้างและใช้ในปริมาณเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะเป็นจำพวกรถกะบะ รถตู้ รถบรรทุกต่างๆที่มีการต่อเติมดัดแปลงเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในการจัดเก็บสินค้าที่ต้องอยู่ในอุณหภูมิความเย็นคงที่ เพื่อจัดส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วตามเป้าหมายที่กำหนด รถห้องเย็นนั้นส่วนมากแล้วจะเป็นรถที่เอาไว้จัดส่งสินค้าซึ่งจะต้องรักษาอุณหภูมิความเย็นให้คงที่ เพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าให้มีความสด และสภาพคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงในระหว่างการขนส่ง อย่างเช่นสินค้าจำพวก อาหารแช่แข็ง อาหารแช่เย็น ผัก ผลไม้ อาหารซีฟู้ด เครื่องดื่ม นมสด ยารักษาโรค เป็นต้น และน้ำยาแอร์ที่ใช้ส่วนมากหลักๆคือ น้ำยา R134a , R404A และR507 ซึ่งแยกได้ดังนี้ R134a เป็นสารทำความเย็นเชิงเดี่ยว มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 100-110 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -26 C◦ ใช้ในรถห้องเย็น รวมถึงห้องโดยสารด้านหน้าด้วย สามารถทำอุณหภูมิติดลบ แต่จะไม่เย็นจัด ในปัจจุบันมีการใช้ R404AและR507แทน ถ้าเกิดการรั่วหรือน้ำยาแอร์ในระบบขาดสามารถเติมเพิ่มได้เลย
- 1
- 2