แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HFCs ในประเทศไทย การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ จากการยุติการใช้สาร HFCs ภายใต้พิธีสารมอนทรออลว่าด้วยสาร ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ทำไมจึงต้องมีการลดมลพิษต่อสภาพภูมิอากาศที่มีช่วงชีวิตสั้นและไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) และเมื่อลดได้จะมีศักยภาพช่วยลดการปล่อย รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้เพียงใด เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ตกลงร่วมกันถึงเป้าหมายที่เข้มข้นในการ จำกัดอุณหภูมิของโลกให้อยู่ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส โดยจะพยายามรักษาการเพิ่มของอุณหภูมิไว้ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้สำเร็จ ประเทศต่างๆจำต้องแสวงหาโอกาสและทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ารจำกัดอุณหภูมิให้ได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่เราจะต้องเสริมการลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เข้มข้นด้วยการดำเนินการอย่างรวดเร็วในการลดมลพิษอื่นๆซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40- 45 ของต้นเหตุการเกิดโลกร้อน มลพิษอื่นๆเหล่านี้ ได้แก่ คาร์บอนดำ มีเธน โอโซนในชั้นโทรโปสเฟียร์ และ HFCs ถือเป็น “มลพิษต่อสภาพภูมิอากาศ ที่มีชีวิตสั้น” เนื่องจากช่วงชีวิตในชั้นบรรยากาศของมลพิษเหล่านี้สั้นกว่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หลายปี และช่วงชีวิตที่สั้นนี้ย่อมหมายความว่า การลดการปล่อยสารเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ การชะลออัตราการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศลง ซึ่งจะช่วยปกป้องชุมชนที่เปราะบางและภูมิภาคที่มีความเสี่ยงสูงจากผลกระทบในระยะสั้น และเพื่อหลีกเลี่ยงการถึงจุดสูงสุดที่จะทำให้เกิดผลกระทบจากโลกร้อนในระยะยาว การยุติการปล่อยสาร HFCs