Tag Archives: ระบบทำความเย็น

สารทำความเย็นในระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง

สารทำความเย็นในระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง การทำความเย็นในระบบทำความเย็น ห้องเย็น หรือ ห้องแช่แข็งนั้นส่วนใหญ่ใช้ระบบทำความเย็นที่เรียกว่าระบบหล่อเย็น (refrigeration system) ซึ่งประกอบด้วยสารทำความเย็นหลายชนิด หลายประเภท ที่มีความสามารถในการดูดความร้อนจากสิ่งรอบตัวและนำไปปล่อยไปที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า การทำงานของระบบทำความเย็นนั้นมีขั้นตอนหลายขั้นตอน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 1.อัดเย็น (Compression): สารทำความเย็นถูกอัดให้มีแรงดันและอุณหภูมิสูงขึ้น. 2.หล่อเย็น (Condensation): สารทำความเย็นที่อัดเย็นถูกนำไประบายความร้อนที่สูงในการหล่อเย็น, ทำให้สารเปลี่ยนจากสถานะไอไปเป็นของเหลว. 3.ขยายเย็น (Expansion): สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวถูกขยายให้มีแรงดันลดลง, ทำให้มีอุณหภูมิต่ำ. 4.หล่อเย็น (Evaporation): สารทำความเย็นที่ถูกขยายเย็นถูกนำไปดูดความร้อนจากสิ่งรอบตัวและเปลี่ยนเป็นสถานะไอ. กระบวนการนี้ทำให้มีการถ่ายเทความเย็นจากระบบไปยังห้องเย็นหรือห้องแช่แข็ง  ทำให้สิ่งของที่อยู่ในห้องเย็นหรือแช่แข็งนั้นมีอุณหภูมิต่ำลง. น้ำยาแอร์ที่ใช้ในระบบทำความเย็น ห้องเย็น หรือ ห้องแช่แข็งมีหลายประเภทตามลักษณะการทำงานและคุณสมบัติทางเคมี  ต่อไปนี้คือบางประเภทที่พบบ่อยในประเทศไทย 1.Hydrochlorofluorocarbons  (HCFCs): เป็นสารทำความเย็นที่ใช้งานมาก่อน แต่มีผลกระทบต่อโอโซนและมีศักยภาพที่จะถูกห้ามในอนาคต. ตัวอย่างเช่น R-22 (Chlorodifluoromethane)  เป็น HCFC ที่มักใช้ในอดีต, แต่ตอนนี้ได้ถูกห้ามในหลายประเทศ. 2.Hydrofluorocarbons (HFCs): เป็นสารทำความเย็นที่ถูกนำมาแทนที่ HCFCs เนื่องจากไม่ทำลายโอโซน. ตัวอย่างเช่น R-134a เป็น HFC

ระบบอินเวอร์เตอร์ในเครื่องปรับอากาศคืออะไร

ระบบอินเวอร์เตอร์ในเครื่องปรับอากาศคืออะไร คำว่า Inverter (อินเวอร์เตอร์) ในเครื่องปรับอากาศที่หลายคนคงคุ้นหูกัน แต่อาจจะยังไม่รู้จักหน้าที่การทำงานของระบบอินเวอร์เตอร์ได้ดีเท่าไหร่ หากกำลังมองหาเครื่องปรับอากาศที่ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า ต้องแนะนำระบบอินเวอร์เตอร์เลย เพราะในระยะยาวอินเวอร์เตอร์จะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 50 % กันเลยทีเดียว หน้าที่ของ Inverter (อินเวอร์เตอร์) เป็นอุปกรณ์ในระบบทำความเย็นที่อาศัยการทำงานด้วยกระแสไฟฟ้า มักจะเกิดปัญหาติดๆ ดับๆ อยู่บ่อยครั้ง จึงทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์ทำความเย็นได้ง่าย และทำให้การทำงานในระบบทั่วไปของมอเตอร์ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งจะเกิดการกระชากไฟเมื่อเริ่มทำงานใหม่อีกครั้งและทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้นด้วย  ระบบอินเวอร์เตอร์ จะถูกติดตั้งอยู่ในส่วนประกอบของ Condensing Unit เพื่อช่วยควบคุมรอบการทำงานของมอเตอร์ คอมเพรสเซอร์ได้อย่างอัตโนมัติ โดยการปรับความถี่ของกระแสไฟฟ้าก่อนส่งไปที่มอเตอร์ คอมเพรสเซอร์จึงช่วยควบคุมความเร็วรอบของคอมเพรสเซอร์ได้อย่างเหมาะสมตามสภาวะโหมดด้วยการแปลงไฟกระแสสลับ (Alternatiog Current Electricity) จากแหล่งไฟฟ้าปกติที่มีแรงดันและความถี่คงที่ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยวงจรที่เรียกว่า วงจรคอนเวอร์เตอร์ จากนั้นไฟฟ้ากระแสตรงจะถูกแปลงไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่สามารถปรับแรงดันและความถี่ได้ด้วยวงจรที่ชื่อว่า วงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) เพื่อทำให้กระแสไฟฟ้ามีความเหมาะสมกับการออกแบบเครื่องทำความเย็น                 การเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ให้มีประสิทธิภาพสูง ในขณะที่มีการแปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับนั้น จะมีการสูญเสียพลังงานเกิดขึ้น โดยจะจ่ายกระแสสลับออกมาได้ 90% ของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านอินเวอร์เตอร์ ดังนั้นการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์นั้นควรเลือกที่มีค่าประสิทธิภาพที่สูงยิ่งดี โดยการเลือกจากตัวแปรต่างๆดังต่อไปนี้ 1. ป้องกันการกระชากของกระแสไฟฟ้า ไฟฟ้าที่โหลดเข้าตามอาคาร ที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า

คุณสมบัติที่ดีของคอมเพรสเซอร์ในระบบทำความเย็น

คุณสมบัติที่ดีของคอมเพรสเซอร์ในระบบทำความเย็น น้ำมันคอมเพรสเซอร์ น้ำมันหล่อลื่น หรือน้ำมันคอมแอร์ ที่ใช้ทั้งในงานระบบปรับอากาศ และระบบทำความเย็นทำหน้าที่หล่อลื่น ชิ้นส่วนในคอมเพรสเซอร์ และยังช่วยเพิ่มกำลังอัด ระบายความร้อน และยังช่วยปกป้องส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์อีกด้วย ทำให้น้ำมันหล่อลื่นมีความสำคัญในระบบทำความเย็นอย่างมาก น้ำมันหล่อลื่นที่ดี ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพอย่างเต็มระบบ ดังต่อไปนี้ ปริมาณน้ำและกรดต่ำ การมีน้ำอยู่ในสารหล่อลื่นทำความเย็นเป็นสาเหตุที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ของการทำงานที่ผิดปกติในระบบการทำความเย็น และปรับอากาศ หากมีน้ำและความชื้นในระบบที่มากเกินไป จะทำให้เกิดกรด และการกัดกร่อนในระบบ ทั้งยังลดความสามารถในการหล่อลื่นน้ำมัน ความหนืดลดลง ลดความสามารถในความเข้ากันได้กับสารทำความเย็นอีกด้วย และกรดที่มากเกินไป จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน การไฮโดรไลซิส และการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่น ทำให้เกิดกรดในระดับสูง ซึ่งมีส่วนทำให้ส่วนประกอบของระบบสึกกร่อน และเป็นผลให้เกิดการรั่วไหลของสารทำความเย็น ความหนืด น้ำมันคอมเพรสเซอร์จะมีความหนืดที่เหมาะสมเพื่อรักษาชั้นฟิล์มบางๆ ของสารหล่อลื่นระหว่างชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว ลดการเสียดสีและการสึกหรอ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์จะระบุความหนืดตามปัจจัยต่างๆด้วย เช่น อุณหภูมิในการทำงาน ความเร็วในระบบ ความเสถียรทางความร้อน น้ำมันคอมเพรสเซอร์ น้ำมันหล่อลื่น ต้องมีความเสถียรทางความร้อนเพื่อให้ทนต่ออุณหภูมิการทำงานที่สูง เพื่อต้านทานการเกิดออกซิเดชัน ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดตะกอน สารเคลือบเงา และกรดที่สามารถทำลายส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์ได้ การหล่อลื่น น้ำมันควรมีคุณสมบัติในการหล่อลื่นที่ดีเพื่อลดแรงเสียดทานและการสึกหรอระหว่างพื้นผิวโลหะ ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงาน และยังช่วยยืดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์อีกด้วย คุณสมบัติป้องกันการสึกหรอ น้ำมันคอมฯ

ระบบทำความเย็นของอุตสาหกรรม

ระบบทำความเย็นของอุตสาหกรรม ระบบการทำความเย็น นอกจากการทำความเย็นแบบพื้นฐาน ยังมีอีกมากมายหลายรูปแบบ ตามการใช้งาน และความต้องการประสิทธิภาพในการทำความเย็น ที่ถูกพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบให้ตรงตามความต้องการมากขึ้น ตามยุคสมัยและเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามากขึ้น ระบบทำความเย็นและระบบแช่แข็งในอุตสาหกรรม ที่เราเห็นกันมากที่สุดคืออุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเราสามารถจำแนกการทำความเย็นตามลักษณะของการใช้งาน ได้ดังนี้ ห้องเย็น (Cold Room) เป็นที่นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมอาหาร ห้องเย็นถูกควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมกับสินค้า เพื่อช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และแบคทีเรีย ก่อนจะถูกผลิต จัดจำหน่ายตามลูกโซ่ความเย็น ห้องแช่แข็ง (Frozen Room) ใช้สำหรับลดอุณหภูมิของสินค้าในระยะเวลาอันสั้นที่สุดตามหลักการถนอมรักษาอาหาร หรือใช้กับวัตถุดิบที่ต้องการความเย็นสูง การลดอุณหภูมิของสินค้าหรือวัตถุดิบ มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับสารทำความเย็นที่ใช้ในการทำความเย็น สำหรับหลักการทำความเย็นโดยใช้เครื่องระเหย หรือคอยล์เย็น (Evaporator) สามารถแบ่งได้ดังนี้ แบบขยายโดยตรง (Direct Expansion) เป็นแบบที่ใช้กันทั่วไป เหมาะสำหรับห้องเย็นที่มีค่าการทำความเย็นไม่สูงมากนัก โดยสารทำความเย็นจะไหลจากฝั่ง คอยล์ร้อน (Condenser) เข้าสู่ถังพักสารทำความเย็นและไหลผ่านวาล์วลดความดัน (Expansion Valve) เข้าสู่คอยล์เย็นหรือ Evaporator โดยตรง แบบท่วมคอยล์ (Flooded Coil) เป็นระบบสารทำความเย็นที่ส่งจากคอยล์ร้อน (Condenser) เข้าสู่ถังพักสารทำความเย็นที่มีความดันสูง และไหลผ่านวาล์วลดความดันไปสู่ถังเก็บสารทำความเย็นความดันต่ำก่อน ก่อนจะไหลเข้าคอยล์เย็น โดยอาศัยการที่ของเหลวไหลไปแทนที่ก๊าซ จุดแตกต่างสำหรับระบบนี้

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบทำความเย็น

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบทำความเย็น  ระบบทำความเย็นมีบทบาทและมีความสำคัญต่อสินค้าหลากหลายประเภท ซึ่งในปัจจุบันเราใช้ระบบทำความเย็นใน การผลิตอาหาร  เช่น การผลิตนม ไอศกรีม การเก็บรักษาอาหาร หรือถนอมอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ให้มีอายุในการเก็บรักษานานขึ้นเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการจำหน่าย การผลิตในงานอุตสาหกรรม  งานอุตสาหกรรมหลายประเภทที่ต้องอาศัยการทำความเย็นช่วยในกระบวนการผลิต การทำความเย็นเพื่อการขนส่ง  เช่น ห้องเย็นที่ใช้ในเรือประมง เรือเดินทะเล หรือรถห้องเย็นที่ใช้ขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง และการปรับอากาศ เช่นที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศทั่วไป หรืองานปรับอากาศที่ใช้ในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม ประเภทของระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง มีความสำคัญยิ่งในการรักษาคุณภาพและยืดอายุของสด อย่างเช่น เนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล ผัก ผักไม้ รวมถึงสินค้าประเภทดอกไม้เจ้าของธุรกิจจึงควรพิจารณาสร้าง ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง สำหรับเก็บสินค้าโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของสินค้านั้น ๆซึ่ง ประเภทของห้องเย็น ถูกแบ่งออกดังนี้ ห้องแช่แข็งลดอุณหภูมิสินค้าด้วยลม (Air Blast Freezer Room) ห้องแช่แข็งเก็บรักษาสินค้า (Cold Storage Room หรือ Freezer