ความปลอดภัยในการใช้งานห้องเย็น
สำหรับการใช้งานห้องเย็นนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของหลายๆธุรกิจ ทั้งผู้ผลิตรายใหญ่ ผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องด้วยประเทศไทยมีอุณหภูมิที่ร้อน การผลิต การจัดเก็บจึงต้องอาศัยห้องที่สามารถกำหนดอุณหภูมิให้เหมาะสมกับวัตถุดิบ สินค้านั้นๆซึ่งอุณหภูมิส่วนใหญ่จึงเป็นอุณหภูมิที่ติดลบ จึงอาจเกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานได้ รวมถึงอันตรายอื่นๆที่อาจเกิดขึ้น เช่นการรั่วไหลของสารทำความเย็น ในบทความนี้จึงรวบรวมถึงแนวทางปฏิบัติต่างๆเพื่อการใช้งานห้องเย็นให้ปลอดภัย อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อทำงานในห้องเย็น มีดังนี้
-
อุบัติเหตุเนื่องจากคนถูกขังติดอยู่ในห้องเย็น
– ความเย็นทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อ (Cold Burn) คือ เกิดผลึกน้ำแข็งในเซลล์ของเนื้อเยื่อที่ถูกความเย็น มีการทำลายระบบไหลเวียนในหลอดเลือดฝอย ซึ่งการอุดตันที่เกิดขึ้นจากระบบไหลเวียนเลือดนี้ไม่อาจกลับคืนดีได้ดังเดิมแม้เนื้อเยื่อจะได้รับความอุ่นเป็นปกติแล้วก็ตาม
– ความเย็นทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง (Hypothermia) การที่อุณหภูมิร่างกายลดลงนั้นจะทำให้การทำงานของสมองช้าลง การตัดสินใจช้า หรือหมดความรู้สึก และเสียชีวิตในที่สุด อาการเตือนในระยะแรกๆ จะมีการเจ็บปวดที่ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า แสดงถึงอันตรายของความเย็น ในระหว่างที่มีการสัมผัสกับความเย็น เคยพบว่าบางโรงงานมีคนที่เกิดอาการเจ็บปลายนิ้ว แต่ไม่เคยรู้เลย และเมื่อเกิดการสั่นอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิในร่างกายลดลงถึง 35◦C ถือได้ว่าบอกอันตรายที่จะเกิดขึ้นจึงควรให้หยุดการสัมผัสความเย็นทันที
มาตรการป้องกันไม่ให้มีผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลอื่นๆถูกขังติดอยู่ในห้องเย็น
-เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่เข้าไปภายในห้องเย็นได้
-มีป้าย ห้ามผู้ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปข้างใน ติดเตือนอยู่หน้าประตูทางเข้าห้องเย็น
-มีทางออกฉุกเฉินอย่างน้อย1ทาง มีป้ายเตือนบอกทางในจํานวนที่เพียงพอ และไม่มีวัตถุใดๆกีดขวางทางออกฉุกเฉิน
-มีสัญญาณเตือนภัยสําหรับให้ผู้ที่ติดในห้องเย็นใช้แจ้งให้ผู้อยู่ข้างนอกทราบว่ามีคนติดอยู่ในห้องเย็น ระบบควรทํางานโดยมีแบตเตอรี่สํารอง มีป้ายบอกและติดตั้งสัญญาณเตือนในตําแหน่งที่เหมาะสม
-มีไฟฉุกเฉิน ที่ทํางานด้วยระบบแบตเตอรี่สํารอง
-มีการบํารุงรักษาและทดสอบอุปกรณ์ระบบความปลอดภัย
-ก่อนที่จะล๊อกประตูต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดทุกครั้ง
2. อุบัติเหตุจากสารทำความเย็นรั่วไหลของห้องเย็น
การรั่วไหลของสารทำความเย็น เป็นปัญหาที่พบค่อนข้างบ่อยสำหรับระบบทำความเย็นในโรงงาน สารทำความเย็นที่ จะมีความเป็นสารพิษและมีความอันตรายสูงเมื่อไหลออกมาสู่ภายนอกจากอุปกรณ์ทำความเย็น เมื่อมีการรั่วไหล ถ้าหากเมื่อมีการสัมผัสโดยตรงที่ผิวหนังก็จะเกิดการไหม้ของผิวหนังอย่างรุนแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การปฐมพยาบาลจากผู้ที่ได้รับสารทำความความเย็น
ขั้นแรกนําผู้ป่วยออกจากบริเวณนั้น ไปอยู่บริเวณที่มีการระบายอากาศที่ดีและอยู่ทิศทางเหนือลม ถ้าหยุดหายใจให้ผายปอด ปั๊มหัวใจและรักษาระดับอุณหภูมิร่างกายผู้ป่วยให้อยู่ในภาวะปกตินําส่งแพทย์โดยเร็ว ถ้าผู้ป่วยหายใจอ่อนหรือไอรุนแรงหายใจไม่สะดวกควรให้ออกซิเจน กรณีสัมผัสทางผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดมากๆนานๆ โดยน้ำไหลผ่านเสื้อและรองเท้าที่เปื้อนให้ถอดขณะล้างน้ำไหลผ่าน ไม่ควรถอดออกก่อนถูกน้ำ รักษาร่างกายผู้ป่วยให้อบอุ่นขณะนําส่งแพทย์ กรณีเข้าตาล้างด้วยน้ำสะอาดไหลผ่านให้ทั่วถึงทั้งด้านในเปลือกตาบนเปลือกตาล่างนาน15นาทีแล้วล้างซ้ำทุก10นาที ในรอบระยะเวลา1ชม. โดยแต่ละครั้งที่ล้างซ้ำนาน5นาที นําผู้ป่วยส่งจักษุแพทย์โดยเร็วที่สุด
น้ำยาแอร์สำหรับห้องเย็นเป็นสารที่อันตรายหากสัมผัสโดยตรง ดังนั้นควรมีความระมัดระวังในการใช้งานการรวมถึงการทำงานในห้องเย็น และสิ่งสำคัญคือ ต้องปฏิบัติงานด้วยความเคร่งครัด รัดกุม มีสติอยู่เสมอ ถ้าหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานของน้ำยาแอร์ของตู้เย็น ตู้แช่และห้องเย็น สามารถโทรติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็น ตู้แช่ทุกชนิด ที่ Line@namyaair หรือ โทร. 0943413124
สนใจสั่งซื้อน้ำยาแอร์ กับน้ำยาแอร์ดอทคอม โทรเลย 0943413124
Add Line : @namyaair เพื่อสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับน้ำยาแอร์ คลิ๊กเลย