เตรียมตู้เย็นก่อนวันหยุดยาว ใกล้ถึงเทศกาลวันหยุดยาว หลายท่านคงจะมีการเตรียมตัวกลับต่างจังหวัด หรือหาสถานที่เที่ยวพักผ่อนตามแพลนที่วางเอาไว้ นอกเหนือจาการเตรียมตัวไปเที่ยวแล้ว การที่เราไม่ได้อยู่บ้านเป็นเวลาหลายวัน และการเตรียมความพร้อมของเครื่องใช้ไฟฟ้าก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องมีการเสียบปลั๊กไว้ตลอดเวลา เช่นตู้เย็น เพื่อให้คงความสดใหม่ และมีประสิทธิภาพในการทำงาน รวมไปถึงเรื่องการใช้พลังงานที่จะไม่พุ่งสุงขึ้นในขณะที่เราไม่อยู่บ้านได้อีกด้วย การละลายน้ำแข็งในช่องแช่แข็ง หากตู่เย็นเป็นระบบแบบละลายน้ำแข็งแบบแมนนวล ควรละลายน้ำแข็งก่อนที่จะไม่อยู่บ้าน เพราะการสะสมของน้ำแข็งจะช่วยลดพื้นที่สำหรับการจัดเก็บและทำให้ตู้เย็นทำงานงานหนักขึ้น จนทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น การปรับอุณภูมิ หากไม่อยู่บ้าน ตู้เย็นจะไม่มีการเปิด – ปิด รวมถึงสิ่งของที่แช่น้อยลง เราสามารถปรับอุณภูมิให้อุ่นขึ้นได้เล็กน้อยเพื่อประหยัดพลังงาน โดยใช้อุณภูมิโดยรวมในตู้เย็นอยู่ที่ประมาณ 40◦F (4◦C และ 0◦F (-18◦C) สำหรับช่องแช่แข็งนอกเหนือจากนี้อย่าลือเชซีลประตูตู้เย็น ที่ต้องปิดสนิทอยู่เสมอเพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงาน รวมไปถึงเช็คความปลอดภัยจากสัญญาณต่างๆ เช่น ตู้เย็นไม่มีความเย็น คอมเพรสเซอร์ทำงานหนัก หรือปัญหาอื่นๆ ที่อาจจะทำให้เป็นสาเหตุของน้ำยาแอร์รั่วได้ การเตรียมตู้เย็นก่อนถอดปลั๊กเพื่อไปเที่ยวพักร้อนระยะยาว การเตรียมความพร้อมให้กับตู้เย็นก่อนการถอดปลั๊กเพื่อไปเที่ยวพักร้อนระยะยาวเป็นสิ่งสำคัญ มีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ นำอาหารหมดอายุออก: ทำความสะอาดตู้เย็น เคลียทุกสิ่งอย่าง นำอาหารหมดอายุ โดยเฉพาะอาหารที่เน่าเสียง่ายออกจากตู้เย็น เพื่อป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์เมื่อกลับมา ทำความสะอาดภายใน: ทำการถอดชิ้นส่วนต่างๆที่อยู่ภายในตู้เย็น เช็ดทำความสะอาดภายในตู้เย็นอย่างทั่วถึง เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราและแบคทีเรียสะสมในช่วงที่ไม่ได้ใช้งาน
เครื่องปรับอากาศมีแต่ลมร้อน เกิดจากสาเหตุอะไรนะ?? อาจจะมีปัญหาในหลายต่อหลายครั้ง ที่กลับมาถึงบ้านหรือถึงห้องแล้วนั้นเมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศแต่ไม่เจออากาศเย็นๆที่ต้องการแต่กลับเจอลมร้อนๆให้อารมณ์เสียแทน แต่อย่าเพิ่งไปโทษว่าเครื่องปรับอากาศของคุณกำลังจะเสียล่ะ เพราะเราควรจะต้องดูถึงปัจจัยโดยรอบของเครื่องปรับอากาศด้วย ลองมาตรวจสอบดูเบื้องต้นก่อนว่ามันเกิดขึ้นจากอะไรกันแน่…. 1. ต้องเช็คที่รีโมทหรือสวิทซ์ก่อน ก่อนที่จะหาสาเหตุอื่นควรที่จะมามองหาว่าโปรแกรมที่ตั้งเอาไว้หรืออาจจะเกิดอุบัติเหตุตั้งโหมดผิดโดยไม่รู้ตัวก็ได้ ฉะนั้นควรตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เสียเวลาในการเรียกช่างซ่อมแอร์มาให้เสียเวลาและเสียเงิน 2. เช็คภายในห้องเสียก่อนเมื่อระดับอุณหภูมิห้องที่สูงเกินไป หรือไม่เย็นขึ้นเมื่อเปิดเครื่องเครื่องปรับอากาศ ก็ควรเช็คสภาพห้องด้วยว่ามีการเปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งเอาไว้หรือไม่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกิดความร้อนอย่างกาไฟฟ้าหรือเตารีด หรือมีสิ่งที่กีดขวางทางลมหรือช่องลมหรือไม่ อีกทั้งหากในห้องมีคนที่มากจนเกินไปจนทำให้ห้องมีความเย็นช้าลงหรือไม่มากเท่าที่ควร 3. เครื่องปรับอากาศไม่เย็นแต่คอมเพรสเซอร์ยังทำงาน สาเหตุส่วนใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นนั่นคือเครื่องปรับอากาศนั้นสกปรก ต้องทำการล้างทำความสะอาดด้วยวิธีที่ถูกต้อง หรืออาจจะน้ำยาแอร์ขาด ควรที่จะตรวจสอบให้ดีและเติมน้ำยาแอร์ปีละ 2 ครั้งโดยช่างผู้ชำนาญ หรืออีกสาเหตุคือระบบน้ำยาแอร์ตัน ฉะนั้นจะต้องเปลี่ยน Capillary Tube (ตัวฉีดน้ำยา), ตัวกรองความชื้นและระบบเติมน้ำยา หากมีการอุดตัน ก็ควรที่จะเปลี่ยนอะไหล่ใหม่เสีย เพื่อความปลอดภัย 4. เครื่องปรับอากาศไม่เย็นและคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน สายไฟที่เชื่อมต่อป้อนไฟฟ้าที่ตัวเครื่องปรับอากาศ อาจจะเกิดหลุด ขาดหรือมีการชำรุด ซึ่งควรที่จะตรวจเช็ค หาจุดที่สายไฟเสียหายและควรที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญหรือช่างแอร์ที่มีประสบการณ์มาเปลี่ยน 5. เครื่องปรับอากาศไม่เย็น มีเสียงดัง ข้อสันนิฐานคือเครื่องปรับอากาศปรับอากาศนั้นสกปรก แก้ไขด้วยการทำความสะอาดด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูงและควรเรียกช่างผู้มีประสบการณ์เข้ามาแก้ไข อีกสาเหตุคือมอเตอร์ของบานสวิงหน้าแอร์เสียหรือบานสวิงหัก ทำให้ลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศไม่ออกมาอย่างเต็มที่ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เครื่องปรับอากาศไม่เย็นและเกิดเสียงดัง ควรเรียกช่างมาตรวจดูอย่างเร่งด่วน
รักษารถยนต์อย่างไร ให้แอร์รถยนต์อยู่ยาวนาน ภูมิอากาศของประเทศไทยมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู อาทิเช่น ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ในแต่ละช่วงฤดูของประเทศ ในการเดินทางในชีวิตประจำวัน หากจะกล่าวว่า รถยนต์เป็นอีกปัจจัยหลักของคนทั่วไป การมีรถยนต์ใช้ส่วนตัวทำให้การใช้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายมากขึ้น ในขณะเดินทาง ยิ่งช่วงหน้าร้อนอากาศยิ่งร้อนจัด ทำให้ทุกคนไม่อยากออกไปข้างนอก ถ้าจำเป็นต้องออก ก็จะใช้รถยนต์ส่วนตัวจะสบายกว่า เพราะในรถยนต์มีเครื่องปรับอากาศ ทำให้เราผ่อนคลายความร้อนได้ ในขณะเดินทางได้เป็นอย่างดี มาทำความรู้จัก การดูแลรักษารถยนต์ให้ยาวนาน วิธีดูแลรักษาแอร์รถยนต์มีดังนี้ เปิด-ปิดแอร์ให้ถูกวิธี ไม่ควรเปิดแอร์จนสุดทันทีเมื่อเริ่มเปิดแอร์ โดยควรให้คอมเพรสเซอร์แอร์ได้ ทำงานสักพักก่อน 5 นาที คือ หลังจากที่สตาร์ทรถแล้ว เปิดพัดลมไปที่ความเร็วสูงสุดก่อนสักพัก เพื่อเป็นการไล่ลมร้อนหรือความชื้น ที่มีอยู่ในรถยนต์และช่องแอร์ก่อน แล้วจึงค่อยเปิดสวิตช์ปรับอากาศ (A/C) โดยไม่ควรตั้งอุณหภูมิเย็นจนเกินไป จะทำให้แอร์รถยนต์ทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา และอาจทำให้แอร์เสื่อมสภาพเร็วได้ การปิดแอร์ก็ควรปิดแอร์ก่อนขับรถถึงที่หมายสักพัก แนะแนะให้ปิดสวิตช์ปรับอากาศ หรือสวิตช์ (A/C) พร้อมกับเปิดพัดลมไปที่ระดับแรงสุด เพื่อเป็นการไล่ความเย็นและความชื้นออกจากระบบแอร์ ที่ค้างอยู่ในช่องแอร์ อาจเป็นสาเหตุของกลิ่นอับชื้นและบ่อเกิดของเชื้อโรคต่างๆได้ ล้างแอร์ เมื่อใช้รถยนต์มาได้สักระยะ ควรหมั่นล้างแอร์เพื่อทำความสะอาด โดยควรเปลี่ยนไส้กรองแอร์ ทุกๆ
สารทำความเย็นในระบบทำความเย็น มีอะไรบ้าง ระบบการทำความเย็นในห้องเย็น หรือ ห้องแช่แข็งนั้นส่วนใหญ่ใช้ระบบทำความเย็นที่เรียกว่าระบบหล่อเย็น (refrigeration system) ซึ่งประกอบด้วยสารทำความเย็นหลายชนิด หลายประเภท ที่มีความสามารถในการดูดความร้อนจากสิ่งรอบตัวและนำไปปล่อยไปที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า การทำงานของระบบทำความเย็นนั้นมีขั้นตอนหลายขั้นตอน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 1.อัดเย็น (Compression): สารทำความเย็นถูกอัดให้มีแรงดันและอุณหภูมิสูงขึ้น. 2.หล่อเย็น (Condensation): สารทำความเย็นที่อัดเย็นถูกนำไประบายความร้อนที่สูงในการหล่อเย็น, ทำให้สารเปลี่ยนจากสถานะไอไปเป็นของเหลว. 3.ขยายเย็น (Expansion): สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวถูกขยายให้มีแรงดันลดลง, ทำให้มีอุณหภูมิต่ำ. 4.หล่อเย็น (Evaporation): สารทำความเย็นที่ถูกขยายเย็นถูกนำไปดูดความร้อนจากสิ่งรอบตัวและเปลี่ยนเป็นสถานะไอ. กระบวนการนี้ทำให้มีการถ่ายเทความเย็นจากระบบไปยังห้องเย็นหรือห้องแช่แข็ง ทำให้สิ่งของที่อยู่ในห้องเย็นหรือแช่แข็งนั้นมีอุณหภูมิต่ำลง. น้ำยาแอร์ที่ใช้ในระบบทำความเย็น ห้องเย็น หรือ ห้องแช่แข็งมีหลายประเภทตามลักษณะการทำงานและคุณสมบัติทางเคมี ต่อไปนี้คือบางประเภทที่พบบ่อยในประเทศไทย 1.Hydrochlorofluorocarbons (HCFCs): เป็นสารทำความเย็นที่ใช้งานมาก่อน แต่มีผลกระทบต่อโอโซนและมีศักยภาพที่จะถูกห้ามในอนาคต. ตัวอย่างเช่น R-22 (Chlorodifluoromethane) เป็น HCFC ที่มักใช้ในอดีต, แต่ตอนนี้ได้ถูกห้ามในหลายประเทศ. 2.Hydrofluorocarbons (HFCs): เป็นสารทำความเย็นที่ถูกนำมาแทนที่ HCFCs เนื่องจากไม่ทำลายโอโซน. ตัวอย่างเช่น R-134a เป็น HFC ที่ใช้ในระบบแอร์รถยนต์.
ข้อเสียของการปรับแอร์ให้เย็น เกินความจำเป็น ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งที่เครื่องปรับอากาศเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่การปรับเครื่องปรับอากาศให้เย็นเกินไปอาจส่งผลเสียหลายอย่าง ทั้งเรื่องสุขภาพ ประหยัดพลังงาน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน การใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิเป็นเรื่องปกติ และจำเป็นในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้แอร์นี้อาจสร้างผลกระทบทางสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมหากมีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เพราะการตั้งอุณหภูมิที่เย็นเกินไป ในบริบทของประเทศไทย มีหลายๆ เหตุผลที่ทำให้ผู้คนปรับเครื่องปรับอากาศเย็นเกินไป เนื่องจากความร้อนที่มากขึ้น อาจทำให้รู้สึกว่าต้องการความเย็นมากขึ้น ซึ่งทำให้พวกเขาปรับอุณหภูมิแอร์ลงมากเกินไป นอกจากนี้ บางครั้งความคิดเห็นทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับความสะอาด และความเย็นสบายอาจทำให้ผู้คนรู้สึกว่าการใช้เครื่องปรับอากาศที่มีความเย็นเกินไปเป็นสิ่งที่ควรทำ อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องปรับอากาศที่เย็นเกินไปในประเทศไทยไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบทางสุขภาพ แต่ยังมีผลต่อการใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม การใช้แอร์เครื่องปรับอากาศในระดับที่ต่ำมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานที่สูงเพื่อให้เครื่องคงทำงานในสภาพอากาศที่ร้อน นอกจากนี้ มันยังส่งเสริมการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกอีกด้วย ข้อเสียของการใช้แอร์ที่เย็นเกินไป การปรับแอร์ให้เย็นเกินไปนั้นอาจดูเหมือนเป็นวิธีที่ดีในการหลบหนีจากความร้อนเพียงชั่วคราว แต่ผลกระทบที่ถูกมองข้ามไปมันมีหลายเรื่อง ผลกระทบไม่เพียงแต่ส่งเสริมสุขภาพที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ยังสร้างผลกระทบในมิติทางสังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ความจริงที่แท้จริงคือ ผลกระทบทั้งหมดนี้อาจจะไม่เป็นที่แจ้งให้เราเห็นอย่างชัดเจนในระยะสั้น แต่แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบรุนแรง และถาวรแก่คุณภาพชีวิตของเราในระยะยาว ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น จากการใช้แอร์ที่เย็นเกินไป หลายครั้ง เรามักจะละเลยการคิดถึงผลกระทบของอุณหภูมิที่เย็นเกินไปที่มีต่อสุขภาพ อุณหภูมิที่เย็นเกินไปอาจทำให้ร่างกายมีปัญหาในการปรับทั้งทางกายภาพและจิตใจ ดังนี้ เราจึงมีปัญหาสุขภาพบางประการที่เกิดขึ้นจากการใช้แอร์ที่เย็นเกินไปมาแจงให้ทราบค่ะ ความสามารถในการทำงานลดลง: ร่างกายของเราจะต้องทำงานหนักเพื่อปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป
ทำไม น้ำยาแอร์ R134a ถึงกลายเป็นมาตรฐานสำหรับระบบปรับอากาศในปัจจุบัน ในปัจจุบันก๊าซเรือนกระจกที่ปกคลุมโลกจะกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้บนโลก ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ในปัจจุบันภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นเร็วมาก ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสมดุลของธรรมชาติ และจะก่อให้เกิดความเสี่ยงมากมายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลกใบนี้ และปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะพัฒนา สารทำความเย็น ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้ระบบทำความเย็นมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม น้ำยาแอร์ R134a เคยเป็นสารทำความเย็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากและกลายเป็นมาตรฐานในระบบปรับอากาศเป็นระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากมีข้อดีหลายประการที่โดดเด่นกว่าสารทำความเย็นชนิดอื่นๆ ได้แก่ เป็นมิตรต่อชั้นโอโซน น้ำยาแอร์ R134a ไม่มีคลอรีน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำลายชั้นโอโซน ทำให้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการทดแทนสารทำความเย็นชนิดเก่าที่ทำลายชั้นโอโซน เช่น น้ำยาแอร์ R 12 ประสิทธิภาพในการทำความเย็นดี น้ำยาแอร์ R134a มีคุณสมบัติทางอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการใช้งงานในระบบปรับอากาศ ทำให้สามารถทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย น้ำยาแอร์ R134a ไม่ติดไฟ และมีความเป็นพิษต่ำ ทำให้ปลอดภัยต่อการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการใช้งาน น้ำยาแอร์ R134a เริ่มลดลง เนื่องจากหลายปัจจัยดังนี้ ผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน แม้ว่า น้ำยาแอร์ R134a จะไม่ทำลายชั้นโอโซน แต่ก็ยังมีศักยภาพในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูง มีสารทำความเย็นชนิดใหม่ๆ
สารทำความเย็นรั่วแล้วจะเป็นอย่างไร สารทำความเย็น หรือ น้ำยาแอร์ เป็นตัวกลางสำคัญในการสร้างความเย็นของระบบทำความเย็น และ ปรับอากาศ โดยปกติแล้วสารทำความเย็นจะไหลเวียนอยู่ในระบบปิด แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้สารทำความเย็นรั่วไหลออกจากระบบ สารทำความเย็นเหล่านี้จะไปสู่ที่ไหนบ้าง ? สู่ชั้นบรรยากาศ สารทำความเย็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารทำความเย็นรุ่นเก่า เช่น คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) และไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) จะระเหยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อสะสมในชั้นบรรยากาศ จะสามารถก่อให้เกิดการทำลายชั้นโอโซนและเป็นก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม หากสารทำความเย็นรั่วไหลลงสู่ดินหรือแหล่งน้ำ มันสามารถนำไปสู่การปนเปื้อนในพื้นที่นั้น แม้ว่าจะเป็นสารทำความเย็นที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นพิษก็ตาม แต่การปนเปื้อนดังกล่าวยังคงสามารถสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศในพื้นที่ได้ สู่มนุษย์ในด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ปิด สารทำความเย็นที่รั่วไหลสามารถทำให้ออกซิเจนในอากาศลดลงและก่อให้เกิดอันตรายจากการขาดออกซิเจน และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหากสูดดม/สัมผัสเข้าไปในปริมาณมาก สู่อุปกรณ์ทำความเย็น การรั่วไหลของสารทำความเย็นสามารถทำให้อุปกรณ์ทำความเย็นเสียหาย หรือลดประสิทธิภาพการทำงานได้ เช่น ทำให้เกิดการกัดกร่อน ที่สร้าง ความเสียหายต่อวัสดุและโครงสร้างใกล้เคียง การรั่วไหลของสารทำความเย็นไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่หายไปจากระบบทำความเย็นเท่านั้น แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นของผลกระทบหลากหลายมิติ ทั้งระบบ มนุษย์ ไปจนปัญหามหาภาคอย่างสิ่งแวดล้อม นอกจากการซ่อมแซมรอยรั่วแล้ว เราทุกคนควรให้ความสำคัญตั้งแต่ต้นเหตุ อย่างการบำรุงรักษาระบบเป็นประจำ หรือการเปลี่ยนไปใช้สารทำความเย็นที่มี GWP ต่ำที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เช่น สารทำความเย็นประเภท ไฮโดรฟลูออโรโอเลฟิน (HFOs) ที่ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
น้ำมันที่หยด เกิดจากอะไร การดูแลรักษารถยนต์ จะต้องใส่ใจและควรตรวจเช็กระยะใหตรงตามกำหนดแล้ว ยังต้องช่างสังเกตอีกด้วย เพราะบางครั้งการช่างสังเกตและเห็นความผิดปกติบางอย่างที่เล็กๆ น้อยๆ ตัวอย่างเช่น คราบน้ำมันที่หยดในขณะที่รถยนต์ของเราจอดอยู่ ก็จะทำให้ช่วยได้ทันเวลา หากมีการพบเห็นความผิดปกติช้าเกินไป ก็อาจจะสงผลเสียต่อเครื่องยนต์ของเราในบางส่วนได้ สาเหตุที่ทำให้น้ำมันเครื่องรั่วมีอะไรบ้าง ซีลต่างๆ เสื่อมสภาพหรือชำรุด ซีลยางต่างๆ และประเก็นฝาครอบวาล์ว เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันน้ำมันเครื่องไม่ให้รั่วและน้ำมันเครื่องหยด ใต้ท้องรถยนต์ แต่หากมีการเสื่อมสภาพหรือชำรุด ก็อาจจะทำให้น้ำมันเกิดการรั่วไหลออกมาได้ ความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุ ดังเช่นเกิดการกระแทกใต้ท้องรถยนต์ มีรอยครูดหรือการกระแทกต่างๆ ก็อาจจะทำให้น้ำมันเครื่องรั่วซึมได้ น้ำมันเครื่องเก่า น้ำมันเครื่องเก่าอาจจะเกิดการหมดอายุการใช้งาน จึงส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำมนเครื่องรั่ว แผ่นยางและฝาครอบเครื่องยนต์ หากแผ่นยางและแผ่นฝาครอบเครื่องยนต์เกิดการเสื่อมสภาพหรือชำรุด ก็อาจจะทำให้น้ำมันรั่วไหลออกมาได้ เพราะแผ่นยางและแผ่นฝาครอบเครื่องยนต์เป็นส่วนที่สำคัญในการป้องกันการรั่วของน้ำมันเครื่องเช่นกัน สีน้ำมันที่หยดลงพื้นบอกอะได้ได้บ้าง น้ำมันที่หยดเป็นสีใสหรือขุ่นดำ กรณีที่น้ำมันเป็นสีใสปริมาณมากใต้ท้องรถ อาจจะเกิดจากรอยรั่วซึมของหม้อน้ำ หรือสายยางของทางเดินน้ำ น้ำมันที่หยดเป็นสีชมพูหรือสีเขียว อาจจะเป็นที่ระบบทำความเย็นในเครื่องยนต์ แนะนำให้ตรวจสอบถังระบายน้ำว่ามีปัญหาหรือเปล่า เช่น รอยรั่วที่ถังระบายน้ำ ปั้มน้ำ รวมถึงระบบหล่อเย็นมีปัญหาสาเหตุที่ทำให้น้ำมันเครื่องรั่ว น้ำมันที่หยดเป็นสีแดงใส สาเหตุนี้มาจาก “น้ำมันเกียร์ หรือ น้ำมันเพาเวอร์” ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ควรนำรถยนต์เข้าตรวจเช็คสภาพทันที มิฉะนั้นอาจเกิดอันตรายขณะขับขี่ได้ น้ำมันที่หยดเป็นสีน้ำตาลหรือขุ่นดำ เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า
แรงดันน้ำยาแอร์ของตู้เย็นและตู้แช่ โดยลักษณะการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าตู้เย็นและตู้แช่ ทั่วๆไป ซึ่งมีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะในการใช้งาน เพื่อที่จะรักษาอุณหภูมิความเย็นให้คงที่ ให้เหมาะสมกับสินค้าที่จัดเก็บนั้นๆด้วย ซึ่งในส่วนประกอบหลักที่สำคัญก็คือ น้ำยาแอร์ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้ระบบต่างๆทำงานได้ สำหรับตู้เย็นและตู้แช่ ที่ใช้น้ำยาแอร์ สิ่งที่พบเห็นหลักๆก็จะมีน้ำยาแอร์จำพวก R404a , R507 , R134a , R600 ซึ่งแต่ละชนิดก็มีค่าแรงดันที่แตกต่างกันไป โดยหลักการใช้งานก็จะขึ้นอยู่กับคอมเพรสเซอร์ ว่าใช้กับน้ำยาแอร์ชนิดไหน วัดจากค่าแรงดันและปริมาณการใช้ พื้นที่จัดเก็บ รวมถึงอุณหภูมิที่ต้องการใช้อีกด้วย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน ซึ่งน้ำยาแอร์แต่ละชนิดสามารถแยกคุณสมบัติแรงดันได้ดังนี้ R404A เป็นสารผสม (R125+R143+R134a) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 170-180 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -46.6 C◦ ใช้ในอุณหภูมิติดลบ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ประหยัดพลังงาน ถ้าน้ำยาแอร์ในระบบขาดต้องปล่อยทิ้งแล้วเติมใหม่ทั้งหมด โดยสามารถใช้เกจวัดแรงดันในการเช็คระบบให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม R507 เป็นสารผสม (R125+R143) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 180-190 Psi
วิธีการใช้เครื่องปรับอากาศในช่วงหน้าฝน เมื่อเข้าสู่ในช่วงฤดูฝน จะต้องเจอกับสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งอากาศร้อนจัด มีฝนตกหนัก มีพายุ มีลมแรง และต้องเจอกับอากาศที่มีความชื้นค่อนข้างสูงยิ่งต้องคอยเช็คและดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้ามาเป็นพิเศษ แอร์หรือเครื่องปรับอากาศก็ไม่ควรที่จะละเลย หากจะมีการเปิดเครื่องปรับอากาศในขณะที่ฝนตก มีวิธีการใช้งานและวิธีดูแลเครื่องปรับอากาศ ให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับสภาพอากาศและทำให้เครื่องปรับอากาศสามารถใช้งานได้ดี มีประสิทธิภาพ วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการใช้เครื่องปรับอากาศในช่วงหน้าฝนดังนี้ การติดตั้งสายดิน สิ่งที่ต้องควรระวังสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงหน้าฝนคือความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีความชื้นเป็นจำนวนมาก ควรมีการตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศว่าได้มีการติดตั้งสายดินหรือไม่ ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับเครื่องปรับอากาศว่ามีการรั่วหรือไม่ เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วและอาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ การปรับอุณภูมิ ในช่วงหน้าฝนหากต้องการเปิดเครื่องปรับอากาศ เราจะต้องปรับบลดอุณภูมิขึ้นหรือลง ตามอุณภูมิของร่างกาย ไม่ควรตั้งอุณภูมิที่ต่ำจนเกินไปอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของเราได้ การล้างแอร์ หากมีการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศทุกวัน แม้ในวันที่มีฝนตกหนัก อากาศหนาวยังคงมีการใช้งานที่ต่อเนื่องตลอดเวลา ผู้ใช้ควรเรียกช่างเข้ามาทำความสะอาด เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรค กลิ่นอับ หรือสิ่งสกปรกต่างๆในช่วงที่มีอากาศชื้น และยังช่วยรักษาความสะอาดและยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศได้อีกด้วย การติดตั้งคอมเพรสเซอร์ ควรมีการติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อป้องกันน้ำท่วมหรือสัตว์ต่างๆ เข้าไปอยู่ในคอมเพรสเซอร์ หากมีการติดตั้งคอมเพรสเซอร์แอร์ที่ต่ำจนเกินไป เมื่อมีฝนตกหนักหรือเกิดน้ำท่วมอาจจะส่งผลให้คอมเพลสเซอร์มีปัญหาและเกิดความเสียหายได้ เบรกเกอร์เครื่องปรับอากาศ เมื่อเกิดฝนตกหนัก ทำให้เกิดอาการไฟตก ไฟดับ ในขณะที่เครื่องปรับอากาศกำลังทำงานอยู่ ควรทำการดึงเบรกเกอร์เครื่องปรับอากาศลงเพื่อป้องกันการจ่ายไฟเกิน เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับอุกณณ์ได้ การใช้ฟังก์ชั่น Self Cleaning ซึ่งจะมีในเครื่องปรับอากาศแบบติดผนังในบางรุ่น เมื่อผู้ใช้งานเปิดเครี่องปรับอากาศฟังก์ชั่นนี้ จะช่วยเป่าลมไล่ความชื้นหลังจากการใช้งานเพื่อลดปัญหาความชื้นสะสมที่เป็นสาเหตุของเชื้อราและกลิ่นอับ เป็นที่มาของการสะสมของแบคทีเรีย เพื่อช่วยรักษาความสะอาดให้ดีต่อสุขภาพและยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศได้อีกด้วย