Author Archives: nobel23

แอร์ไม่เย็น มีแต่ลม เกิดจากสาเหตุใด

แอร์ไม่เย็น มีแต่ลม เกิดจากสาเหตุใด ประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู จะมีฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน คือระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมของทุกปี ประเทศไทยมีเมฆมาก จะพบกับร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านประเทศไทย จึงทำให้มีฝนตกชุก เมื่อเข้าสู่หน้าฝน ในการเดินทางทุกคนต้องการความสะดวกสบาย รถยนต์เป็นอีกปัจจัยหลักที่ จำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวัน นอกจากจะเจอปัญหาเรื่องอากาศที่ร้อนที่น่ารำคาญใจแล้ว หากเจอปัญหาแอร์รถยนต์ไม่เย็นซ้ำไปอีก อาจส่งผลเสียกับรถยนต์ของเราได้ เราจึงควรมาทราบสาเหตุหลักๆ ที่แอร์รถยนต์ไม่เย็น มีแต่ลม เกิดจากสาเหตุ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ แอร์รถยนต์ไม่เย็น เพราะระบบแอร์รั่ว อาจจะซึมตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณสายท่อแอร์ ข้อ ต่อ หรือ ตู้แอร์รถยนต์รั่ว สาเหตุมาจาก การล้างตู้แอร์บ่อยเกินไป ทำให้น้ำยาล้างตู้แอร์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดเข้าไปกัดกร่อนได้ ซึ่งรอยรั่วเหล่านี้จะทำให้ค่าแรงดันของน้ำยาแอร์ตก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้แอร์ไม่เย็นได้เช่นกัน รอยรั่วของระบบแอร์รถยนต์ ตรวจสอบได้โดยใช้น้ำสบู่หรือผสมแชมพูตีเป็นฟอง แล้วนำไปทาตามจุดต่างๆ ตามรอยต่อนั้นๆ แอร์รถยนต์ไม่เย็น เพราะน้ำยาแอร์รถยนต์หมด สาเหตุมักจะเกิดจากปริมาณน้ำยาแอร์รถยนต์มี ปริมาณน้อย ทำให้มีปริมาณน้ำยาที่ถูกส่งจากคอมเพรสเซอร์เพิ่มแรงดันเข้าสู่แผงคอยล์เย็น เพื่อไปดูดจับความร้อนภายในห้องโดยสารมีไม่มากพอ ทำให้อากาศภายในห้องโดยสารยังคงร้อนอยู่ ซึ่งการที่น้ำยาแอร์เหลือน้อย นั้นอาจจะเกิดจากการใช้งานที่ยาวนาน และไม่ได้เติมน้ำยาแอร์หรือเกิดการรั่วซึมในระบบแอร์ คอมเพรสเซอร์รถยนต์ไม่ทำงาน คอมเพรสเซอร์แอร์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่คอยปรับอุณหภูมิ

ทำไมต้องล้างแอร์

ทำไมต้องล้างแอร์ เพราะแอร์ คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเปิดใช้งานอยู่เป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนที่อุณหภูมิภายในบ้านพุ่งสูงปรี๊ด การดูแลรักษาและล้างแอร์ ช่วงหน้าร้อน จึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่ควรละเลยเพราะ ในช่วงหน้าร้อน เชื่อได้ว่าแทบทุกบ้านจำเป็นต้องเปิดแอร์ตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นภายใน ห้องนอน หรือ ห้องนั่งเล่น เพื่อคลายความร้อนให้กับบ้าน และสมาชิกทุกคนในบ้าน แม้ว่าการล้างแอร์ ฟังดูแล้วจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่โดยหลักการทั่วไปแล้วนั้น จะเกี่ยวกับ 3 ส่วนหลัก ๆ คือ คอยล์เย็น คอยล์ร้อน พัดลมกรงกระรอก ทั้ง 3 ส่วนหลักที่กล่าวข้างต้นจำเป็นต้องทำความสะอาด ซึ่งสามารถทำความสะอาดด้วยอุปกรณ์ง่าย ๆ คือ แปรงที่มีความนุ่ม เพื่อใช้ปัดทำความสะอาดฝุ่นละออง,น้ำ เพื่อใช้สำหรับการล้างแอร์,เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกให้หลุดออกมา หากบ้านไหนที่ไม่สะดวก และไม่มีความชำนาญในการล้างแอร์เอง อาจจะต้องพึ่งพาช่างผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด เพื่อให้ล้างแอร์ได้อย่างสะอาดหมดจด หากไม่ล้างแอร์ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น? ถ้าเราไม่ล้างแอร์ อาจส่งผลให้แอร์ทำงานหนัก ประสิทธิภาพในการทำงานของแอร์ลดลง สิ้นเปลืองพลังงาน และที่สำคัญเลยคือ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะแอร์เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ฝุ่นละออง และไรฝุ่น ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 5 เหตุผลหลัก

การตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นเชิงพาณิชย์

การตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นเชิงพาณิชย์ อุปกรณ์ทำความเย็นเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ห้องเย็น หรือโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีระบบทำความเย็นเชิงพาณิชย์ ควรบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน รวมถึงลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในระยะยาว ป้องกันการหยุดทำงานของเครื่องทำความเย็น จากคำแนะนำของผู้ผลิตอุปกรณ์ทำความเย็น ต้องการให้ผู้ใช้งานตรวจสอบตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ อย่างครบถ้วน เพื่อเป็นการช่วยรักษาการรับประกันของผู้ผลิตอุปกรณ์ไปในตัวและนี่คือรายการตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นเชิงพาณิชย์ ที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ งานบำรุงรักษารายเดือน (Monthly Maintenance Tasks) ระบบป้อนของเหลว (Liquid Overfeed System) – ตรวจสอบมอเตอร์ปั๊ม สตาร์ทเตอร์ และสายไฟ – ตรวจสอบปั๊มและมอเตอร์ทำงานภายในขีดจำกัดของอุปกรณ์ – ทดสอบและปรับจุดตัดความปลอดภัยของปั๊ม อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (PLC) – ทดสอบและปรับเทียบสารทำความเย็น – ตรวจสอบ และทดสอบการแจ้งเตือน – ตรวจสอบการแจ้งเตือนภายนอก (BMS, ระบบตรวจสอบสัญญาณเตือน ฯลฯ) คอมเพรสเซอร์ – ตรวจสอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ งานบำรุงรักษารายไตรมาส (Quarterly Maintenance Tasks) คอมเพรสเซอร์ – ตรวจสอบเวลาการทำงานของระบบทำความเย็น วิเคราะห์น้ำมัน เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง

ระบบปรับอากาศ Air Conditioning ขนาดใหญ่ในอาคาร

ระบบปรับอากาศ Air Conditioning ขนาดใหญ่ในอาคาร ระบบปรับอากาศ Air Conditioning คืออะไร ตามปกติเมื่อได้ยินคำว่า “การปรับอากาศ หรือ ระบบปรับอากาศ” สิ่งแรกที่ทุกคนเข้าใจก็คือการทำอากาศให้เย็นเท่านั้น แต่ในความหมายที่แท้จริงของคำว่าการปรับอากาศแล้ว จะต้องมีความหมายรวมถึงการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศ ผ่านคอยล์เย็นและสารทำความเย็น ให้มีอุณหภูมิพอเหมาะให้คนที่อยู่ข้างในมีความรู้สึกสบาย ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ขออากาศการระบายอากาศเสียทิ้ง รวมทั้งการหมุนเวียนของอากาศบริสุทธิ์และการกรองอากาศที่สกปรกให้สะอาด ระบบปรับอากาศในอาคาร แตกต่างอย่างไรกับเครื่องปรับอากาศแบบปกติ เครื่องปรับอากาศแบบปกติหรือแอร์บ้าน จะมีหลักการทำงานคล้ายๆกับระบบปรับอากาศภายในอาคาร จะแตกต่างกันที่ แอร์บ้านจะให้สารทำความเย็นวิ่งผ่านคอยล์เย็นทำให้เกิดลมเย็น ส่วนระบบปรับอากาศในอาคารหรือ Chiller จะให้สารทำความเย็นทำน้ำให้เย็นก่อน แล้วจึงส่งน้ำเย็นไปหา ท่อส่งลม หรือ AHU เพื่อผลิตอากาศเย็นเข้าไปยังพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็น การเลือกรูปแบบระบบทำความเย็นในอาคาร สำนักงาน หรือบ้าน จะดูจากพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็นเป็นหลัก ระบบปรับอากาศมีกี่ประเภท กี่แบบ ระบบปรับอากาศที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้ดังนี้คือ ระบบปรับอากาศระบบน้ำยา ( Direct Expansion System ) ขนาด 1-25 Ton ความเย็น นิยมใช้กับบ้านพัก , คอนโดมิเนียมที่พักอาศัย , สำนักงานที่ไม่ใหญ่มาก

R32 สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายโลก

R32 สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายโลก ในระบบปรับอากาศ สารทำความเย็นเป็นสารเคมีที่ใช้เพื่อดูดซับความร้อนและสามารถสร้างลมเย็นผ่านคอมเพรสเซอร์และคอยล์เย็น สารทำความเย็นที่ใช้ในระบบเครื่องปรับอากาศมีหลายประเภท และ R32 เป็นหนึ่งในสารทำความเย็นที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยและยังคงประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนไว้               คุณสมบัติของน้ำยาทำความเย็น R32  –   เป็นสารประกอบเดี่ยว องค์ประกอบของสารทำความเย็นชนิดนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งต่างจากสารทำความเย็นที่เป็นสารผสมชนิดอื่นๆ –  ค่า GWP (Global Warming Potential) ที่ต่ำกว่าสารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น R410A ที่ใช้กันโดยทั่วไป จะมีค่า GWP อยู่ที่ 2090 ซึ่งมากกว่าเป็นสามเท่าของ R32 ที่มีค่า GWP เพียง 675 เท่านั้น –  มีค่าศักยภาพในการทำให้โอโซนลดลง ODP (Ozone Depletion Potential) เป็นค่าปริมาณความเสียหายสารเคมีสามารถทำให้เกิดขึ้นต่อชั้นโอโซน R32 เป็นสารประกอบไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนที่มีค่า ODP เท่ากับศูนย์  ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน –  R32 มีอัตราการเผาไหม้ที่ต่ำ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการกระทบกับสภาพแวดล้อมที่ทำให้อุณภูมิโลกร้อนเพิ่มขึ้น –  R32 มีประสิทธิภาพความเย็นสูง

ทำความรู้จักระบบของเหลวในรถยนต์ มีอะไรบ้าง และควรเปลี่ยนตอนไหน

ทำความรู้จักระบบของเหลวในรถยนต์ มีอะไรบ้าง และควรเปลี่ยนตอนไหนดี สังคมไทยในปัจจุบัน มีการใช้รถยนต์กันมากขึ้น ซึ่งในแต่ละปี ยอดการผลิตรถยนต์เพิ่มมากขึ้นทุกปี การมีรถยนต์ใช้ส่วนตัวทำให้การใช้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายมากขึ้น ในขณะเดินทาง ยิ่งช่วงหน้าร้อนอากาศยิ่งร้อนจัด ทำให้ทุกคนไม่อยากออกไปข้างนอก ถ้าจำเป็นต้องออก ก็จะใช้รถยนต์ส่วนตัวจะสบายกว่า เพราะในรถยนต์มีเครื่องปรับอากาศ ทำให้เราผ่อนคลายความร้อนได้ ในขณะเดินทาง และของเหลมในรถยนต์ ก็มีส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อนของรถยนต์ อาทิเช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันเกียร์ น้ำยาหล่อเย็น น้ำมันเฟืองท้าย ล้วนเป็นส่วนสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในรถยนต์ ที่มีกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่าย ซึ่งผู้ใช้รถยนต์ต้องหมั่นดูแลรักษาและคอยตรวจเช็คให้อยู่ในสถานะที่สมบูรณ์ เรามาทำความรู้จัก ของเหลวในรถยนต์ดังต่อไปนี้ น้ำมันเครื่อง ถือเป็นของเหลวที่ต้องเปลี่ยนบ่อยมากที่สุด เพราะมีหน้าที่หล่อลื่น ลดการเสียดสี และ ความร้อนของเครื่องยนต์ การเปลี่ยนตามกำหนดเวลาจึงช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องเย็นโดยตรง กำหนดให้เปลี่ยนทุกๆ 8,000 – 10,000 กม. หรือทุกๆ 6 เดือน (แล้วแต่ระยะใดจะถึงก่อนกัน) น้ำมันเพาเวอร์ หรือ น้ำมันสำหรับระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ ช่วยให้หมุนพวงมาลัยได้อย่างเบาแรง ยกเว้นในรถยนต์รุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปใช้พวงมาลัยไฟฟ้า ควรหมั่นตรวจเช็กและเติมให้อยู่ในระดับปกติเสมอ ไม่ควรเติมมากเกินไป เพราะจะขยายตัวเพิ่มเมื่อได้รับความร้อน

ระบบทำความเย็นในอุตสาหกรรม

ระบบทำความเย็นในอุตสาหกรรม ระบบทำความเย็น นอกจากการทำความเย็นแบบพื้นฐาน ยังมีอีกมากมายหลายรูปแบบ ตามการใช้งาน และความต้องการ ประสิทธิภาพในการทำความเย็นที่ถูกพัฒนาขึ้นและถูกปรับปรุงให้ตรงตามรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น ในปัจจุบันมีความต้องการสูงมากขึ้น ทั้งระบบทำความเย็นแบบเคลื่อนที่ ในภาคอุตสาหกรรมการขนส่ง การแช่แข็งอาหาร รวมถึงในภาควิทยศาสตร์ ระบบทำความเย็นและระบบแช่แข็งในอุตสาหกรรม ที่เราเห็นกันมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเราสามารถจำแนกได้ตามลักษณะการใช้งาน เช่น ระบบขนส่งอาหาร ระบบแช่แข็งในอุตสาหกรรมการผลิต การค้าปลีก รวมถึงค้าส่งต่าง ๆ ภาคการผลิต เช่น การแช่แข็งเนื้อสัตว์ที่ได้แปรรูปแล้ว หรือ ผลิตใส้กรอก ภาคการขนส่ง เช่น การนำวัตถุดิบต่าง ๆ จากที่หนึ่ง ไป ยังอีกที่หนึ่ง การแช่แข็งก่อนการจำหน่าย เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ต่าง ๆ ประเภทของห้องเย็นและห้องแช่แข็ง ห้องเย็นแบบแช่เย็นเฉียบพลัน มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิ ก่อนถึงกระบวนการถัดไปเพื่อควบคุมเชื่อแบคทีเรีย หรือเพื่อให้เชื้อเอนไซน์ย่อยเนื้อในกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ ห้องเย็นแบบแช่แข็ง มีไว้ลดอุณหภูมิและเก็บสินค้าไว้เป็นเวลานาน ห้องเย็นเก็บรักษาสินค้า เป็นห้องเย็นที่ใช้เป็นที่เก็บรักษาสินค้าที่ถูกแช่แข็งมาแล้ว ห้องเย็นแบบแช่แข็งด้วยลมเย็นจัด เป็นห้องเย็นเพื่อแช่แข็ง หรือ Freez

5 วิธีจัดบ้านโดยไม่ต้องง้อแอร์ในช่วงหน้าร้อน

5 วิธีจัดบ้านโดยไม่ต้องง้อแอร์ในช่วงหน้าร้อน ในปัจจุบันนี้ ด้วยหลายปัจจัยทางด้านสภาพอากาศที่ร้อนแรงของประเทศไทย ทำให้หลายๆที่ ต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน หรือบ้านเรือน เป็นต้น เพื่อจ่ะช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้อยู่อาศัย และช่วยรักษาอุณภูมิภายในห้องอีกด้วย วันนี้เราจะจะมาพูดถึง 5 วิธีการจัดบ้านโดยไม่ต้องง้อแอร์ในช่วงหน้าร้อน เพื่อประหยัดค่าไฟ้ และลดอุณภูมิภายในห้องให้เย็นสำหรับคนงบน้อย ความร้อนในห้องคือ หนึ่งในปัญหาของการอยู่อาศัยที่เราทุกคนต้องพบเจออย่างแน่นอน ไม่ว่าจะอยู่บ้าน หรือคอนโดมิเนียมก็ตาม และนั่นก็คือปัญหาภายในบ้านที่มีอากาศที่ร้อนอบอ้าวในช่วงหน้าร้อนและต้องหาวิธีลดอุณภูมิภายในห้องกันดังนี้ ติดฟิล์มบนกระจก การติดฟิล์มบนกระจกหรือหน้าต่าง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้งบประมาณน้อย การติดฟิล์มมีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดีเช่นกน แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสียเล็กน้อย ในส่วนของการติดตั้งฟิล์มบนกระจกหรือหน้าต่างของเรานั่นเอง ติดตั้งผ้าม่าน การใช้ผ้าม่านม้วน ผ้าม่านพับ และบานพับ มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี แต่ถ้าเลือกใช้ผ้าม่านที่ทำจากผ้าฝ้าย หรือผ้าขนสัตว์ จะทำให้ห้องดูเป็นธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ในการเปลี่ยนผ้าม่านให้เลือกห้องที่รับแสงแดดสูงที่สุดก่อน ติดตั้งพัดลมเพดาน พัดลมเพดานถือว่าเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้กันแทบทุกครัวเรือน เพื่อช่วยการระบายความร้อนของคนภายในห้อง แต่สิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่ขนาดของพัดลมที่ติดตั้งภายในห้อง เพื่อความสมดุลกับอากาศที่ร้อน และพื้นที่ภายในห้องทำให้อุณภูมิภายในห้องรู้สึกเย็นลงได้ เปิดหน้าต่างรับลมจากภายนอก วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เมื่อพระอาทิตย์ตกดินในช่วงนี้ อากาศจะเย็นลงให้เปิดหน้าต่างทิ้งเอาไว้เพื่วยให้อากาศภายนอกเข้ามาภายในห้องและช่วยลดอุณภูมิภายในห้อง แต่ทั้งนี้แล้วก็ควรปิดหน้าต่างก่อนที่อุณภูมิจะสูงขึ้นด้วย ลดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดความร้อน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำเนิดความร้อนมีมากมายหลายชนิด เช่น เตาอบ ไม่โครเวฟ ตู้เย็น

“แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HFCs ในอนาคต”   

“แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HFCs ในอนาคต”  การทยอยลดปริมาณการผลิต และการใช้สารทำความเย็น HCFCs และ HFCs ในอนาคตอันใกล้ เป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้สารทำความเย็นในอุตสาหกรรม ที่ต้องหาความสมดุลในการเลือกใช้อุปกรณ์ทำความเย็น และสารทำความเย็นที่เหมาะสม โดยมีปัจจัยอย่างราคาต้นทุน ความปลอดภัย ประสิทธิภาพและความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความยั่งยืน และความต้องการของอนาคต ก่อนที่จะเลือกหรือเปรียบเทียบสารทำความเย็น ควรพิจารณาระบบทำความเย็นประกอบการตัดสินใจในการเปลี่ยนสารทำความเย็นทดแทนด้วย โดยการเปลี่ยนสารทำความเย็นสามารถทำได้ 3 วิธี Drop-in คือ การใช้ชุดอุปกรณ์เดิมแต่เปลี่ยนเฉพาะสารทำความเย็น Retrofi คือ การเปลี่ยนแปลงชุดอุปกรณ์แค่บางส่วน New Syste คือ การเปลี่ยนชุดอุปกรณ์ใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อสารทำความเย็นใหม่โดยเฉพาะ การพิจารณาว่าจะใช้วิธีใด นั้นขึ้นอยู่กับสารทำความเย็นใหม่ที่ต้องการเลือกใช้ ไปจนถึงอายุการใช้งานของระบบทำความเย็น หรือปรับอากาศ หากใช้ระบบเดิมมาไม่นาน วิธี Drop-in หรือ Retrofit นับเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะประหยัดต้นทุนในการติดตั้งชุดอุปกรณ์ใหม่ รีโทรฟิตติง ( retrofitting ) คือวิธีการปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น โดยจะต้องทำการเปลี่ยนสารหล่อลื่นรวมทั้งอาจจะต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บางส่วน เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานของสารทำความเย็นชนิดใหม่ การปรับระบบทำความเย็นที่มีอยู่เพื่อใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังต่อไปนี้ ความเข้ากันได้

รถยนต์ควรล้างแอร์กี่ครั้งต่อปี และควรล้างวิธีไหนดีที่สุด

รถยนต์ควรล้างแอร์กี่ครั้งต่อปี และควรล้างวิธีไหนดีที่สุด สภาพอากาศเมืองไทยที่ร้อนจัด เมื่อเราต้องเจอกับปัญหาแอร์รถยนต์ที่ไม่เย็น สิ่งนี้เป็นสิ่งที่คนใช้รถยนต์ไม่อยากเจอ เพราะการต้องขับรถยนต์ฝ่าการจราจรที่ติดขัด โดยระบบปรับอากาศรถยนต์ไม่สมบูรณ์คงไม่ใช่เรื่องที่ดีเป็นแน่ และหากแอร์รถยนต์มีกลิ่นอับ ลมแอร์เบากว่าปกติ หรือเริ่มมีน้ำหยดลงพื้นห้องโดยสาร อาการเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เราควรต้องล้างแอร์รถยนต์ได้แล้ว เพราะอาจจะมีสิ่งสกปรกอุดตันสะสมในตู้แอร์ ซึ่งปัจจุบัน มีหลายวิธี แล้วแต่เราจะเลือกล้างวิธีไหนดีที่สุด และควรล้างแอร์กี่ปีครั้ง             ล้างแอร์รถยนต์มี 3 วิธี 1.การล้างแอร์รถยนต์แบบถอดตู้  เป็นวิธีที่ล้างที่สะอาดที่สุด เหมาะสำหรับแอร์ที่มีความสกปรกมาก ต้องอาศัยความชำนาญของช่าง เพราะเป็นการรื้อตู้แอร์เพื่อถอดคอยล์เย็นออกมาล้างด้วยน้ำยาทำความสะอาด จะยุ่งยาก ราคาสูง และต้องเติมน้ำยาแอร์เข้าระบบใหม่ รวมถึงควรเปลี่ยนไดเออร์กับวาล์วแอร์ด้วย ข้อเสียคือ การรื้อถอดคอนโซลออกหมด หากช่างไม่มีความชำนาญ หรือไม่ระมัดระวังมากพอ อาจเสี่ยงเกิดความเสียหายเป็นได้ 2.การล้างแอร์รถยนต์แบบไม่ถอดตู้ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก เพราะค่อนข้างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องรื้อคอนโซลออก แค่ใช้เครื่องสอดท่อเพื่อฉีดน้ำยาทำความสะอาดเข้าไป เหมาะกับกรณีตู้แอร์ไม่สกปรกมากหรือได้รับการดูแลเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพราะประสิทธิภาพจะสู้การถอดตู้ออกมาล้างไม่ได้ แต่ค่าใช้จ่ายต่ำ สะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสี่ยงต่อความเสียหายกับรถยนต์ 3.การล้างแอร์รถยนต์ด้วยตัวเอง สามารถทำเองได้ไม่ยาก โดยใช้สเปรย์ทำความสะอาดแอร์รถยนต์ ที่หาซื้อได้ทั่วไปในราคาหลักร้อยฉีดเข้าไปในช่องแอร์ ทิ้งไว้ตามขั้นตอนบนฉลาก น้ำยาก็จะไปชำระล้างสิ่งสกปรกออกมาทางท่อน้ำทิ้ง แต่วิธีนี้ เหมาะกับรถใหม่หรือตู้แอร์ที่มีความสกปรกน้อย และต้องล้างอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดการอุดตันรวมถึงกลิ่นอับได้