Author Archives: nobel23

5 เทคนิคปรับแอร์ในช่วงหน้าฝน เพื่อระงับกลิ่นอับภายในรถ

5 เทคนิคปรับแอร์ในช่วงหน้าฝน เพื่อระงับกลิ่นอับภายในรถ ในช่วงหน้าฝนที่หลายคนคงต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับแอร์รถยนต์ที่มีกลิ่นอับ อันเนื่องมาจากมีความชื้นมากกว่าในช่วงฤดูร้อน เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดเชื้อโรค ทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา จนอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ในส่วนนี้จะมาแนะนำ 5 เทคนิคปรับแอร์ในช่วงหน้าฝน  เพื่อระงับกลิ่นอับภายในรถ ดังนี้ ปิดหน้ากากแอร์เท่าที่จำเป็น ควรเปิดหน้ากากแอร์ภายในรถให้หมดทุกจุด โดยเฉพาะช่องแอร์ด้านหลังที่มักถูกละเลย หากรู้สึกว่าแอร์เริ่มเย็นเกินไป ก็ให้ใช้วิธีหันหน้ากากแอร์ไปทางอื่นแทน หากกลัวว่ากระจกจะเป็นฝ้า แนะนำให้หันหน้ากากแอร์ขึ้นด้านบนแทน หรือปิดหน้ากากแอร์เพียงครึ่งเดียวเพื่อช่วยให้ความเย็นถูกระบายออกมาได้บ้าง เพื่อจะช่วยลดความชื้นที่สะสมภายในตู้แอร์ลงได้ด้วย ปรับอุณภูมิและพัดลมให้เหมาะสม ในช่วงฤดูฝนมักมีสภาพอากาศที่เย็นกว่าปกติ จึงส่งผลให้ระบบแอร์มีประสิทธิภาพในการทำความเย็นมากขึ้นดังนั้นจึงควรปรับอุณภูมิแอร์ให้เหมาะสม ไม่เย็นจนเกินไป เพราะหากตั้งน้ำยาแอร์ให้เย็นจัด แต่เปิดพัดลมแอร์ระดับเบาสุด ก็จะทำให้ความเย็นในตู้แอร์มีมากจนเกินไป ก่อให้เกิดความชื้นสะสมในปริมาณที่มากด้วยเช่นกัน หากรู้สึกว่าแอร์เริ่มเย็นมากเกินไป ให้ปรับอุณภูมิแอร์สูงขึ้นควบคู่ไปกับการลดพัดลมแอร์ลง จะช่วยรักษาอุณภูมิภายในห้องโดยสารได้ดีกว่า และยังเป็นการประหยัดน้ำมันทางอ้อมได้อีกด้วย เปลี่ยนไส้กรองแอร์รถยนต์ ควรเปลี่ยนไส้กรองตู้แอร์ เนื่องจากไส้กรองแอร์เป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรค หากทิ้งไว้นานๆ จะเป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นอับภยในรถยนต์ได้ ก่อนดับเครื่องยนต์ ให้ปิด A/C หากเกิดปัญหาเรื่องกลิ่นอับจากแอร์ภายในรถยนต์ ให้ลองปิดสวิตซ์ A/C ก่อนที่จะดับเครื่องยนต์ประมาณ 1-3 นาที หรือจนกว่าจะรู้สึกว่าความเย็นหมดไป เพื่อช่วยไล่ความชื้นในตู้แอร์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อโรคได้ แต่หากรถยนต์ไม่มีปัญหาในเรื่องกลิ่นอัพก็ให้มองข้ามข้อนี้ไป จอดรถทิ้งไว้กลางแดด หากได้ทำการเปลี่ยนไส้กรองแอร์แล้ว แต่ยังคงมีกลิ่นอับออกมาจากช่องแอร์อยู่ แนะนำให้นำรถยนต์ไปจอดทิ้งไว้กลางแดดจัดๆ

คุณสมบัติที่ดีของคอมเพรสเซอร์ในระบบทำความเย็น

คุณสมบัติที่ดีของคอมเพรสเซอร์ในระบบทำความเย็น น้ำมันคอมเพรสเซอร์ น้ำมันหล่อลื่น หรือน้ำมันคอมแอร์ ที่ใช้ทั้งในงานระบบปรับอากาศ และระบบทำความเย็นทำหน้าที่หล่อลื่น ชิ้นส่วนในคอมเพรสเซอร์ และยังช่วยเพิ่มกำลังอัด ระบายความร้อน และยังช่วยปกป้องส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์อีกด้วย ทำให้น้ำมันหล่อลื่นมีความสำคัญในระบบทำความเย็นอย่างมาก น้ำมันหล่อลื่นที่ดี ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพอย่างเต็มระบบ ดังต่อไปนี้ ปริมาณน้ำและกรดต่ำ การมีน้ำอยู่ในสารหล่อลื่นทำความเย็นเป็นสาเหตุที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ของการทำงานที่ผิดปกติในระบบการทำความเย็น และปรับอากาศ หากมีน้ำและความชื้นในระบบที่มากเกินไป จะทำให้เกิดกรด และการกัดกร่อนในระบบ ทั้งยังลดความสามารถในการหล่อลื่นน้ำมัน ความหนืดลดลง ลดความสามารถในความเข้ากันได้กับสารทำความเย็นอีกด้วย และกรดที่มากเกินไป จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน การไฮโดรไลซิส และการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่น ทำให้เกิดกรดในระดับสูง ซึ่งมีส่วนทำให้ส่วนประกอบของระบบสึกกร่อน และเป็นผลให้เกิดการรั่วไหลของสารทำความเย็น ความหนืด น้ำมันคอมเพรสเซอร์จะมีความหนืดที่เหมาะสมเพื่อรักษาชั้นฟิล์มบางๆ ของสารหล่อลื่นระหว่างชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว ลดการเสียดสีและการสึกหรอ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์จะระบุความหนืดตามปัจจัยต่างๆด้วย เช่น อุณหภูมิในการทำงาน ความเร็วในระบบ ความเสถียรทางความร้อน น้ำมันคอมเพรสเซอร์ น้ำมันหล่อลื่น ต้องมีความเสถียรทางความร้อนเพื่อให้ทนต่ออุณหภูมิการทำงานที่สูง เพื่อต้านทานการเกิดออกซิเดชัน ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดตะกอน สารเคลือบเงา และกรดที่สามารถทำลายส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์ได้ การหล่อลื่น น้ำมันควรมีคุณสมบัติในการหล่อลื่นที่ดีเพื่อลดแรงเสียดทานและการสึกหรอระหว่างพื้นผิวโลหะ ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงาน และยังช่วยยืดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์อีกด้วย คุณสมบัติป้องกันการสึกหรอ น้ำมันคอมฯ

เครื่องปรับอากาศภายในบ้าน – ความรู้ทั่วไป

เครื่องปรับอากาศภายในบ้าน – ความรู้ทั่วไป ซื้อแอร์ยี่ห้อไหนดี – เครื่องปรับอากาศหรือแอร์ที่เรารู้จัก ต้องเลือกซื้อเลือกใช้งานอย่างไรให้คุ้มค่าและประหยัดพลังงานมากที่สุด เป็นคำถามที่เราพบบ่อยสำหรับคนที่กำลังจะเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศสักตัว แอร์ยี่ห้อดัง ๆ มีชื่อเสียงมายาวนาน ประหยัดจริงไหม ยี่ห้อนี้ที่เราค้นหาในเน็ตประหยัดจริงรึป่าว เราจึงควรพิจารณาจากหลาย ๆ ด้านก่อนตัดสินใจ ขอแนะนำแนวทางในการเลือกซื้อแอร์ให้ตรงกับความต้องการ และ ขนาดการใช้งาน ให้คุ้มค่า ประหยัด รักโลกมากที่สุด ประเภทของแอร์บ้าน สำหรับการใช้งานโดยทั่วไป สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สำหรับที่พักอาศัย ซึ่งเป็นเครื่องปรับอากาศแบบติดผนักขนาดกะทัดรัด เหมาะสำหรับการใช้งานตามบ้านเรือน คอนโด ออฟฟิศขนาดเล็ก หรือ ใช้ติดตั้งในห้องขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นแอร์ติดผนังทั้งสิ้น เพราะดูแลรักษาง่าย เชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นเครื่องขนาดใหญ่ สามารถแบ่งได้อีกหลายรูปแบบ เช่น แบบฝังฝ้า อยู่บนตัวเพดาน มีการปล่อยความเย็นออกมาจากเพดานทั้ง 4 ทิศ เหมาะสำหรับสำนักงาน ร้านค้า ออฟฟิศขนาดกลางขึ้นไป ขนาดของแอร์ที่เหมาะสม เลือก BTU ให้ถูกต้องกับขนาดของห้องที่เราต้องการใช้งาน ขนาดแอร์เป็นอีกหลักที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับเงินที่เราจะต้องจ่ายไป

เปิดแอร์สุดแล้ว แอร์รถยนต์ก็ไม่เย็น เกิดจากสาเหตุอะไร

เปิดแอร์สุดแล้ว แอร์รถยนต์ก็ไม่เย็น เกิดจากสาเหตุอะไร ปัจจุบันคนใช้รถยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางกันมากขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่คนใช้รถยนต์ ไม่อยากให้เกิดขึ้นสักเท่าไรนัก คือ ปัญหา แอร์รถยนต์ไม่เย็น เพราะด้วยอากาศของเมืองไทยนั้นไม่ว่าจะเดือนไหนก็ร้อนระอุเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไหนจะต้องกับมลภาวะทางอากาศ เป็นพิษอีก หากต้องขับรถยนต์เปิดกระจกด้วยอีก จึงเป็นอะไรที่น่าหงุดหงิดไม่น้อย สำหรับผู้ที่ต้องมีความจำเป็นใช้รถยนต์อยู่ตลอดเวลา 1.กรองแอร์รถยนต์อุดตัน คือ การอุดตันของระบบระบายอากาศ ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่กรองอากาศแอร์ที่สกปรกจากฝุ่น หรืออาจจะมีคราบสกปรก คราบเชื้อรา ทำให้ช่องแอร์อุดตัน ส่งผลให้ระบบปรับอากาศในรถยนต์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะมีลักษณะของกลิ่นอับที่รู้สึกได้ชัดเจนขึ้นด้วย 2.แอร์รถยนต์รั่ว และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องตรวจสอบ เช็คน้ำยาแอร์และจุดเชื่อมต่อของระบบปรับอากาศ เพราะหากเกิดการรั่วไหลของท่อน้ำยาแอร์ที่จุดใดจุดหนึ่ง ความเย็นจะค่อยๆ ลดลงตามปริมาณของน้ำยาแอร์ที่รั่วออกจากระบบ จนในที่สุดช่องแอร์ภายในรถยนต์ก็จะมีเพียงแต่ลมออกมาเท่านั้น วิธีการตรวจเช็ค อาจทำได้โดยใช้น้ำหรือน้ำสบู่ทาลงบริเวณท่อต่างๆ หากเกิดฟองอากาศแสดงว่ามีการรั่วในตรงจุดนั้นเป็นได้ 3.ระบบไฟไม่ทำงาน อาจเกิดขึ้นได้ เช่น รีเลย์เสียหายทำให้คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน ไปจนถึงไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในรถที่มีอายุการใช้งานที่นานมาแล้ว และยิ่งถ้าอุณหภูมิภายนอกมีแนวโน้มสูงเกิน 45 องศาเซลเซียส ก็เพียงพอที่จะให้สายไฟเกิดความร้อนจนลัดวงจรได้ 4.คอมเพรสเซอร์แอร์แอร์มีปัญหา คอมเพรสเซอร์มีหน้าที่สำคัญที่ทำให้อากาศภายในรถยนต์เกิดความเย็น ซึ่งถ้าหากตัวคอมเพรสเซอร์มีปัญหาเกิดการขัดข้องหรือมีการทำงานที่ผิดปกติก็อาจทำให้แอร์ในรถยนต์ไม่เย็นได้ ส่วนอาการของคอมเพรศเซอร์เสียนั้น มีหลายสาเหตุ เช่น สายพาน ลูกสูบ หรือคอมมีอายุการใช้งานมายาวนานแล้ว เป็นต้น 5.พัดลมแอร์เสีย

น้ำมันคอมเพรสเซอร์ หรือ น้ำมันคอมแอร์ มีความสำคัญอย่างไร

น้ำมันคอมเพรสเซอร์ หรือ น้ำมันคอมแอร์ มีความสำคัญอย่างไร ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศที่ร้อน การใช้เครื่องปรับอากาศจึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตของคนทั่วไป ในเครื่องปรับอากาศ จึงต้องอาศัย สารทำความเย็น หรือ ที่เรียกว่า น้ำยาแอร์ มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบปรับอากาศ หลายคน คงคุ้นเคยกับคำว่า น้ำยาแอร์เป็นอย่างดี แต่หากบอกว่า น้ำมันคอมเพรสเซอร์ หรือ น้ำมันคอมแอร์ จะมีใครบ้างที่รู้จัก และเคยเห็นการเติมน้ำมันคอมแอร์ เลยด้วยซ้ำ ยิ่งหากใครเป็นคนที่รักรถยนต์จะต้องมีคำถามต่างๆ ในเรื่องของ น้ำมันคอมเพรสเซอร์ หรือ น้ำมันคอมแอร์ อยู่ในใจแน่นอน หากเราได้มีความรู้ในเรื่องคอมแอร์ ไว้บ้าง ก็สามารถทำให้เราเข้าใจระบบได้มากขึ้น น้ำมันคอมเพรสเซอร์ หรือ น้ำมันคอมแอร์ คือ น้ำมันหล่อลื่นที่ช่วยให้คอมเพรสเซอร์แอร์ ทำงานได้เป็นอย่างดี โดยจะมีหน้าที่เพิ่มกำลังอัดและระบายความร้อนในคอมเพรสเซอร์ ซึ่งจะถูกจำแนกตามชนิดของน้ำยาแอร์เป็นหลัก หากน้ำยาแอร์นั้นใช้ของชนิดใดก็ต้องใช้น้ำมันคอมเพรสเซอร์แอร์เป็นชนิดเดียวกัน เพราะด้วยระบบแอร์นั้น น้ำมันคอมเพรสเซอร์จะต้องมีผสมเทกับน้ำยาแอร์ จึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับน้ำมันคอมเพรสเซอร์ หรือ น้ำมันคอมแอร์ ที่จะกล่าว มีดังต่อไปนี้ 1. น้ำมันคอมแอร์ เป็นระบบการทำงานปิด ซึ่งการทำงานของคอมแอร์จะเป็นการผสมกันกับน้ำยาแอร์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำมันคอมแอร์บ่อยเหมือนเติมน้ำยาแอร์ เพราะจะผสมกันอยู่ในนั้นแล้ว

เครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R22 หรือ R32 ดีกว่ากัน

เครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R22 หรือ R32 ดีกว่ากัน เป็นที่ทราบกันดีว่า โควต้าการนำเข้าน้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น R-22 นั้น จะลดลงทุก ๆ ปี ตามสนธิสัญญามอนทรีออล ( Date End 2030 ) ผู้ผลิตจึงหันมาใช้สารทดแทนอื่น ๆ เช่น R-32 R-410A กัน เพื่อคืนชั้นบรรยากาศโลก หรือ โอโซน ตามสนธิสัญญามอนทรีออล สารทำความเย็น R-32 คืออะไร R-32 คือ สารทำความเย็น เจเนอเรชั่นใหม่เพื่อการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม สารทำความเย็นชนิดใหม่นี้มีชื่อเรียกทั่ว ๆ ไปว่า R-32 ซึ่งมีสูตรทางเคมีว่า CH2F2 คุณสมบัติทั่วไปของสารทำความเย็น R-32 ชื่อสาร R-32 สารประกอบ เดียว แรงดันมาตรฐานที่กำหนด RA: 4.17 MPa G PA:

น้ำมันคอมเพรสเซอร์มีความสำคัญในระบบทำความเย็นอย่างไร

น้ำมันคอมเพรสเซอร์มีความสำคัญในระบบทำความเย็นอย่างไร ในระบบทำความเย็น นอกจากอุปกรณ์หลักในการทำความเย็นอย่างเช่น คอมเพรสเซอร์ สารทำความเย็น หรือ น้ำยาแอร์แล้ว ยังมีน้ำมันหล่อลื่น หรือที่รู้จักกันในชื่อ “น้ำมันคอมแอร์” หรือ “น้ำมันคอมเพรสเซอร์” ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คอมเพรสเซอร์ในระบบทำความเย็น หน้าที่หลักของน้ำมันคอมเพรสเซอร์ หล่อลื่นส่วนประกอบทั้งหมดของคอมเพรสเซอร์ เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพ หล่อเย็นและขจัดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในขณะระบบทำงาน ที่ส่งผลต่อการทำงานและอายุการใช้งานของระบบ สารหล่อลื่นที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือไม่ตรงตามมาตรฐานว่าด้วยเรื่องของคุณภาพ จะทำให้การหล่อลื่นและการระบายความร้อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพน้อยกว่าที่ควรจะเป็น จนถึงสร้างความเสียหายในการหยุดทำงานของระบบได้ในที่สุด ควรเปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์เมื่อไหร่ การบำรุงรักษาระบบทำความเย็นด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมแอร์เป็นประจำถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการยืดอายุการใช้งานประเภทของคอมเพรสเซอร์ และความถี่ในการใช้งานของระบบทำความเย็น เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ในการเปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์ โดยสามารถดูได้จากคู่มือข้อมูลจำเพาะของผู้ผลิต นอกเหนือจากงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน อาจะมีบางสถานการณ์ที่จำเป็น เช่น ระหว่างงานซ่อมแซมระบบ เปลี่ยนชิ้นส่วน เปลี่ยนสารทำความเย็นเป็นต้น ขั้นตอนการเปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์ ตรวจสอบประเภทของน้ำมันหล่อลื่น กำหนดประเภทของสารหล่อลื่นตามระบบทำความเย็น ผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์มักจะระบุประเภทของสารหล่อลื่นและขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น สารทำความเย็นที่ใช้ การออกแบบคอมเพรสเซอร์ และความต้องการของระบบนั้นๆตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ในระบบทำความ น้ำมันแร่ (MO) น้ำมันแร่เป็นน้ำมันหล่อลื่นแบบดั้งเดิมที่ใช้กับสารทำความเย็น CFC และ HCFC เข้ากันได้กับสารทำความเย็นรุ่นเก่า Polyol Ester (POE) นิยมใช้กับสารทำความเย็น HFC เช่น

เหตุผลที่เครื่องปรับอากาศหันมาใช้สารทำความเย็น/น้ำยาแอร์ R32

เหตุผลที่เครื่องปรับอากาศหันมาใช้สารทำความเย็น/น้ำยาแอร์ R32 ตามข้อตกลงในพิธีมอบสารทรีออลปี 1987 ที่ให้ความสำคัญกับการลดการทำลายชั้นโอโซน ทั่วโลกจึงเปลี่ยนจากการใช้สารทำความเย็น R22 มาเป็น R410A ซึ่งแม้ว่าจะลดผลกระทบในการทำลายชั้นโอโซนได้เป็นอย่างดี แต่ยังก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูง จึงมีกระแสการเปลี่ยนแปลงสารทำความเย็นที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ทั่วโลกจึงหันมาใช้สารทำความเย็น R32 เพิ่มมากขึ้น ในเครื่องปรับอากาศในปัจจุบัน ซึ่งสารทำความเย็น R32 นี้ มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูงที่มีคุณสมบัติที่นอกจากไม่ทำลายชั้นโอโซนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยกว่าสารทำความเย็นในปัจจุบัน R410A ถึง 3 เท่า และยังให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นมากกว่า R22 ถึง 60% นั้นเอง นี่เองที่เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เครื่องปรับอากาศในปัจจุบันใช้สารทำความเย็น R32 มากขึ้น ผสานกับระบบอินเวอร์เตอร์ที่ช่วยในเรื่องการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี               ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์ในปัจจุบันที่ใช้สาร R32 มีอะไรบ้าง เครื่องปรับอากาศสำหรับบ้านเรือน จะประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ดังนี้ แผงทำความเย็น Cooling Coll ทำหน้าที่ รับความร้อนจากอากาศภายในห้อง คอมเพรสเซอร์ Compressor ทำหน้าที่เพิ่มความดันสารทำความเย็น แผงท่อระบายความร้อน Condensing Coll ทำหน้าที่ ระบายความร้อนทิ้งสู่บรรยากาศภายนอก

การใช้สารทำความเย็นในการทำงานให้ปลอดภัย

การใช้สารทำความเย็นในการทำงานให้ปลอดภัย ในเรื่องของสารทำความเย็นนอกจากให้ประโยชน์มากมายในด้านสร้างความเย็นและด้านพลังงานอื่นๆแล้ว สารทำความเย็นแต่ละประเภทก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายมากมายตามมาได้ รวมถึงความเป็นพิษ ความสามารถในการติดไฟและระบบทางเดินหายใจ และอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจาการรั่วไหลของสารทำความเย็น วันนี้เราจะมาพูดถึงการปฏิบัติเพื่อให้บุคลากรของเราสามารถทำงานร่วมกับสารทำความเย็นได้อย่างปลอดภัย อันตรายจากสารทำความเย็นในการปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน อันตรายที่เกิดจากสารทำความเย็นโดยตรง  อันตรายที่เกิดจาการใช้ไฟฟ้า และอันตรายที่เกิดจากถังความดัน               ข้อปฏิบัติในการทำงานกับสารทำความเย็นให้ปลอดภัยสูงสุดมีดังนี้ อันตรายจากสารทำความเย็นโดยตรง ในสถานที่ ที่มีการใช้สารทำความเย็นควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันในกรณีที่สารทำความเย็นเกิดการรั่วไหลออกจากระบบ และเข้ามาแทนที่ในอากาศ เนื่องจากคุณสมบัติที่หนักกว่าอากาศ ให้ปล่อยสารทำความเย็นออกจากระบบให้หมด และใช้แก๊สไนโตรเจนผ่านก่อนการใช้แก๊สเชื่อมหรือตัดอุปกรณ์ในระบบ ห้ามเชื่อมอุดรอยรั่วในขณะที่ยังมีสารทำความเย็นอยู่ เนื่องจากเมื่อสารทำความเย็นได้รับความร้อนจะมีการขยายตัวสูงมากอาจจะทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ ถึงแม้สารทำความเย็นจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่นแต่ก็สามารถก่ออันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน ควรสวมถุงมือ แว่นตา ในขณะที่ปฎิบัติงานเนื่องจากสารทำความเย็นโดยทั่วไปจะมีจุดเดือดต่ำมาก ถ้าหากได้สัมผัสกับผิวหนังอาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บจากสารทำความเย็นที่เย็นจัด อันตรายที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้า ถ้าตรวจพบว่าอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการรั่วจะต้องหยุดปฏิบัติงานทันที่ ไม่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ขณะที่ร่างกาย เสื้อผ้าหรือรองเท้าที่สวมใส่เปียกชื้น ต้องต่อสายดินที่เครื่องมือหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่ว นอกเหนือจากนี้การตรวจสอบระบบความเย็นในโรงงานของคุณอย่างสม่ำเสมอ ก็ยังเป็นอีกตัวช่วยในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน รวมถึงการเลือกใช้สารทำความเย็นที่ได้คุณภาพ อัตราส่วนผสมที่เป็นมาตรฐานและได้รับสิทธิบัตรที่ถูกต้อง อันตรายจากถังความดัน และนั่นรวมถึงถังบรรจุสารทำความเย็น ถังแก๊สออกซิเจนสำหรับใช้ในงานเชื่อม ถังไนโตรเจนสำหรับตรวจสอบรอยรั่วหรือทำความสะอาดระบบ  ถังแรงดันห้ามบรรจุเกิน 80% ของปริมาตรถัง และอย่านำถังบรรจุสารทำความเย็นไปตั้งไว้กลางแดดจัด เพราะจะทำให้อุณภูมิที่สูงขึ้นเกิดความดันภายในถังสูงมากกว่าเดิมอาจจะทำให้เกิดระเบิดได้ ถังบรรจุสารทำความเย็นปกติจะติดตั้งลิ้นเพื่อระบายความดัน ไว้ที่ด้านบนของถัง (Relief valve) เพื่อทำหน้าที่ระบายความดันที่เพิ่มขึ้นปกติจะตั้งไว้ที่

ประเภทของห้องเย็นในการใช้งาน

ประเภทของห้องเย็นในการใช้งาน “ห้องเย็น” ได้ถูกออกแบบให้มีสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมเพื่อจัดเก็บผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้อุณหภูมิเฉพาะเพื่อรักษาคุณภาพ และอายุการเก็บรักษาสินค้าต่างๆ ประเภทของห้องเย็นและช่วงอุณหภูมิขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บในหลากหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ อาหาร, ยา, วัคซีน, สารเคมี, พืช ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, เครื่องสำอางค์ เป็นต้น โดยทั่วไปห้องเย็นจะทำงานที่ระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนด และความต้องการเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บ  อาจแบ่งได้ดังนี้ -Chilled Storage ห้องเย็นเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ โดยรักษาอุณหภูมิทั่วไประหว่าง 0°C-5°C (41°F) ใช้สำหรับจัดเก็บอาหารที่เน่าเสียง่าย เช่น ผลไม้ ผัก ผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่ม เพื่อรักษาคุณภาพ และชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย -Cold Storage ห้องเย็นเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0°C แต่สูงกว่าจุดเยือกแข็ง ช่วงอุณหภูมิสำหรับห้องเย็นอาจแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง -2°C ถึง -18°C ใช้สำหรับจัดเก็บอาหารแช่แข็ง เช่น ผลไม้แช่แข็ง ผัก เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ฯลฯ เพื่อรักษาคุณภาพ และยืดอายุการเก็บรักษา -Frozen / Freezer Storage