Author Archives: nobel23

สารทำความเย็นที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย

สารทำความเย็นที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย             ปัจจุบันมีความพยายามที่จะพัฒนา สารทำความเย็น ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพในการทำความเย็น ในการพัฒนาสารทำความเย็นเป็นงานวิจัยที่ท้าทาย เนื่องจากจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ ทั้งประสิทธิภาพในการทำความเย็น ความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้งานเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาสารทำความเย็นชนิดใหม่อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ระบบทำความเย็นมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม             สารทำความเย็น (Refrigerant) คือ สารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซับความร้อนได้ดี โดยสารทำความเย็นจะถูกนำไปใช้ในระบบทำความเย็นเพื่อดูดซับความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น ก่อนที่จะปล่อยความร้อนออกจากบริเวณนั้นไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า สารทำความเย็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ตามคุณสมบัติดังนี้ สารกลุ่ม CFC (Chlorofluorocarbon) ประกอบด้วย คลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่น R11, R12, R114, R115, R502 เป็นต้น สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่ดีในการทำความเย็น แต่มีผลกระทบต่อชั้นโอโซน จึงถูกห้ามใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 สารกลุ่ม HCFC (Hydrochlorofluorocarbon) ประกอบด้วย คลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่นเดียวกับสารกลุ่ม CFC แต่มีคลอรีนน้อยกว่า จึงไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซนเท่าสารกลุ่ม

เทคนิคการใช้เครื่องปรับอากาศช่วงหน้าฝน  

เทคนิคการใช้เครื่องปรับอากาศช่วงหน้าฝน   ในช่วงฤดูฝน อากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งร้อนจัด ทั้งฝนตกประปราย อีกทั้งยังมีพายุลมแรงอยู่ตลอดในช่วงปีนี้ หากเราจะเปิดเครื่องปรับอากาศในขณะที่ฝนตก เราจะมีวิธีการใช้งานและดูแลเครื่องปรับอากาศอย่างไรบ้าง ให้ใช้งานได้เหมาะสมกับสภาพอากาศปัจจุบัน และยังให้เครื่องปรับอากาศสามารถยังใช้งานได้ดี วันนี้ทางเรามีข้อแนะนำการใช้เครื่องปรับอากาศช่วงหน้าฝนดังนี้ค่ะ 1.ทำความสะอาดคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศเป็นประจำเพื่อป้องกันเชื้อโรค กลิ่นอับ หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ในช่วงอากาศชื้นที่สะสมอยู่ในเครื่องปรับอากาศ 2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ติดตั้งภายนอก บนพื้นที่สูงเล็กน้อยเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีน้ำขังหลังฝนตก 3. ปิดคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศด้วยฝาครอบกันน้ำ 4. ตรวจสอบและเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศบ่อย ๆ เพื่อรักษาการไหลเวียนของอากาศที่ดี 5. ตรวจสอบระบบระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการอุดตัน 6. ตั้งอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและหลีกเลี่ยงการปิดและเปิดเครื่องปรับอากาศบ่อย ๆ 7. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการรั่วไหลในท่อสารทำความเย็น 8. เลือกเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับขนาดของห้องเพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักจนเกินไป 9. การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้ต่ำกว่าอากาศภายนอก 10. นัดหมายบริการล้างแอร์เครื่องปรับอากาศอย่างมืออาชีพอย่างน้อยปีสองละครั้ง 11. การใช้ Self-Cleaning ซึ่งจะมีในเครื่องปรับอากาศติดผนังรุ่นใหม่บางรุ่นเท่านั้น 12. การใช้ Dry Mode เครื่องปรับอากาศบางรุ่นจะมีระบบนี้ เพื่อที่จะช่วยลดความชื้นภายในห้องขณะที่เปิดเครื่องปรับอากาศ ดังนั้นเมื่อต้องการเปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงฝนตกหรือช่วงที่อากาศภายนอกเย็นกว่าในห้อง เราจะต้องปรับลดอุณหภูมิลง เพื่อให้เครื่องปรับอากาศได้ทำความเย็นในห้องให้ถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ โดยอาจจะต้องตั้งอุณหภูมิระหว่าง 18-23 องศาเซลเซียส เพื่อให้คอยล์ระบายความร้อนได้ทำงาน และทำให้ส่งลมเย็นเข้าสู่ภายในห้อง และหากเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศทุกวัน รวมกระทั่งแม้วันที่ฝนตกและแดดร้อนจัด

สารทำความเย็นในอดีตจนถึงปัจจุบันของห้องเย็น

สารทำความเย็นในอดีตจนถึงปัจจุบันของห้องเย็น สารทำความเย็นของตู้แช่และห้องเย็น นับตั้งแต่อดีตที่เกิดขึ้นและได้คิดค้นสารทำความเย็นขึ้นมา คือสารทำความเย็นที่ไม่ติดไฟ และ ไม่เป็นพิษตัวแรก อย่าง ฟรีออน R12  ก็เริ่มมีสารทำความเย็นอื่นๆที่ถูกพัฒนาส่วนผสมที่สอดคล้องกับเทคโนโลยี การใช้งาน และสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมออกมานับร้อยรายการถึงปัจจุบันด้วยการปฏิวัติภาคส่วนการทำความเย็นทางอุตสาหกรรมให้สอดคล้องไปกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก โดยมีสารทำความเย็นทางเลือกที่มีค่า GWP ต่ำมาเป็นทางออกของความสมดุลนี้ สารทำความเย็นใดบ้างที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด ตามการใช้งานทั่วโลกในรายงานล่าสุด รายงานสารทำความเย็นที่ใช้กันมากที่สุดในการใช้งานเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยช่วงที่ผ่านมา R404a ตัวแทนของน้ำยาแอร์ R22 และ R502 ที่เป็นสารทำความเย็นที่เป็นประสิทธิภาพการทำความเย็นสูง จึงถูกนำมาใช้งานในระบบทำความเย็นทั้งเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ตู้แช่ ห้องเย็น ระบบขนส่งความเย็น รวมถึงระบบอื่นๆอีกมากมาย. เนื่องจากคุณสมบัติของ R404a ทำให้เป็นสารทำความเย็นที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมหลายอุณหภูมิ แม้ว่าจะเป็นสารทำความเย็นที่ได้รับความนิยม แต่ R404a เป็นที่จับตามอง ในการลดการใช้และการผลิต เนื่องจากมีศักยภาพในการเกิดภาวะโลกร้อน (GWP) สูง อยู่ที่ 3,922 กำลังถูกทดแทนด้วยสารทำความเย็นประเภท HFO หรือสารทำความเย็นที่มี GWP ต่ำกว่า อย่างเช่น สารทำความเย็น R448a, R449a และ R452aที่มี GWP

ตำแหน่งที่ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องนอน

ตำแหน่งที่ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องนอน ก่อนซื้อเครื่องปรับอากาศอันดับแรกควรคำนึงถึงตำแหน่งในการติดตั้งที่เหมาะสม เพื่อป้องกันลมแอร์ปะทะกับศรีษะและใบหน้าโดยตรง เพราะตำแหน่งของเครื่องปรับอากาศมีผลต่อความเย็นภายในห้อง สุขภาพของผู้อาศัย รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ตามาด้วย หากเราเลือกตำแหน่งการติดตั้งได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้ห้องนอนของเราเย็นฉ่ำอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาด้านสุขภาพและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี                 ตำแหน่งที่ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องนอนมีดังนี้ ไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้เหนือศรีษะและปลายเตียง การติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้เหนือศรีษะและปลายเตียง จะทำให้ห้องเย็นเพียงแค่บางส่วน และหากลมแอร์เป่าลงมาปะทะกับร่างกายโดยตรงอย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เนื่องจากเมื่อร่างกายของเราได้รับลมเย็นเป็นเวลานานมากๆ จะทำให้ร่างกายถ่ายเทความร้อนและความชื้นออกจากมาในอัตราที่เร็วขึ้นกว่าปกติ ไม่เพียงแต่ทำให้รู้สึกไม่สบายในขณะที่นอนหลับ แต่ยังส่งผลเสียเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคหวัด ภูมิแพ้ ทำให้ผิวแห้งกร้านอีกด้วย ไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศในตำแหน่งที่โดนแสงแดดโดยตรง ในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องนอนคือต้องหลีกเลี่ยงตำแหน่งที่ต้องโดนกับแสงแดดโดยตรง  เพราะแสงแดดจะส่งผลให้เครื่องปรับอากาศได้รับความร้อน หากห้องที่มีแสงแดดส่องถึง จะมีอุณภูมิที่สูงกว่าปกติ ซึ่งส่งผลให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักมากขึ้น และทำให้เย็นช้า ทำให้ต้องลดอุณภูมิลงให้ต่ำกว่าปกติเพื่อเร่งความเย็น สิ่งที่จะตามมาคืออาจจะต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มมากขึ้น และทำให้เครื่องปรับอากาศมีอายุการใช้งานที่สั้นลง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนะนำให้เลือกใช้เครื่องปรับอากาศชนิดฝังฝ้าเพดานแทน ไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้เหนือประตูหรือหน้าต่าง การติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้เหนือประตูหรือหน้าต่างของห้องนั้น จะทำให้ความเย็นไหลออกจากห้องได้ง่าย มากกว่าตำแหน่งอื่น เพราะบริเวณประตูจะมีการเปิดเข้า และ เปิดออกบ่อยครั้ง อากาศหรือความเย็นที่ลดลงบ่อย ส่งผบให้อุณภูมภายในห้องเย็นไม่สม่ำเสมอและจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อการรักษาอุณภูมิภายในห้องให้เย็นอยู่ตลอดเวลา และไม่เป็นการเปลืองไฟโดยใช่เหตุ ไม่ควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศไว้เหนือประตูหรือหน้าต่างของห้องนอน ไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศติดฝ้าเพดาน มากจนเกินไป การติดตั้งเครื่องปรับอากาศควรจะมีการเว้นระยะยห่างจากฝ้าเพดาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ในการเซอร์วิสต่างๆและการที่เครื่องปรับอากาศอยู่ใกล้ฝ้าเพดานมากจนเกินไป อาจจะทำให้ฝ้าเพดานเกิดรอย หรือขึ้นราได้อีกด้วย ดังที่กล่าวมาข้างต้นในการเลือกติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องนอน บางบ้านอาจจะมีไอเดียที่สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นความรู้ในการเลือกตำแหน่งในการติดตั้งได้บ้างแล้ว

การเติมน้ำยาแอร์ และการแวคคั่ม รถยนต์ คืออะไร

การเติมน้ำยาแอร์ และการแวคคั่ม รถยนต์ คืออะไร สังคมไทยในปัจจุบัน มีการใช้ยานพาหนะในการเดินทางเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ส่วนบุคคล รถประจำทางรวมถึงรถยนต์ที่รับจ้าง หรือรถบรรทุกต่างๆ บางทีรถติดไฟแดงนานๆ แอร์จะไม่ค่อยเย็น มีแต่ลมร้อนๆ ออกมา แต่พอได้วิ่งหน่อย แอร์รยนต์ก็จะมีลมเย็นๆ ออกมาบ้าง แต่ถ้ารถติดอีกเมื่อไร แอร์จะไม่มีความเย็นเลย สิ่งนี้ที่คนใช้รถยนต์ ไม่อยากให้เกิดขึ้นสักเท่าไรนัก คือ ปัญหา แอร์รถยนต์ไม่เย็น เพราะด้วยอากาศของเมืองไทยนั้นไม่ว่าจะเดือนไหนก็ร้อนระอุเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไหนจะต้องกับมลภาวะทางอากาศ เป็นพิษอีก หากต้องขับรถยนต์เปิดกระจกด้วยอีก จึงเป็นอะไรที่น่าหงุดหงิดไม่น้อย สำหรับผู้ที่ต้องมีความจำเป็นใช้รถยนต์อยู่ตลอดเวลา การเติมน้ำยาแอร์ คือ ในระบบแอร์รถยนต์เรานั้น น้ำยาแอร์อาจจะขาดเพียงเล็กน้อย หรือขาดมากก็แล้วแต่ ช่างแอร์ส่วนใหญ่ เขาจะใช้วิธีต่อสายแล้วดูที่เกจ์ ปล่อยน้ำยาจากถังเข้าสู่ระบบแอร์รถยนต์ แล้วช่างแอร์จะมองที่หน้าปัด ถ้าเริ่มใสแล้วก็จะปิดวาล์วที่ตัวถังน้ำยาแอร์ แล้วก็จะสังเกตว่า เติมน้ำยาแอร์เข้าไปเยอะหรือน้อย คิดเงินตามปริมาณน้ำยาแอร์ที่เติมให้ การเติมรถยนต์ที่มีขนาดกลาง น้ำยาแอร์ไม่น่าจะเกิน 1 กก. ข้อเสีย คือ การเติมลักษณะนี้ จะมีอากาศเข้าไปปะปนอยู่ภายในระบบแอร์ด้วย อากาศที่เข้าไปนั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวิธีการเติมของช่างแต่ละท่าน และน้ำยาแอร์แต่ละแหล่งที่มาในการเติมที่คุณภาพจะไม่เหมือนกัน บางทีน้ำยาแอร์ในระบบรถยนต์เราเป็นของมีคุณภาพดี แต่พอไปเติมเพิ่มแล้ว

Freeze Dry คืออะไร

Freeze Dry คืออะไร                 หนึ่งในวิธีการเก็บรักษาอาหารที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมากที่สุดคือ การทำแห้งแบบ แช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) และวิธีการเก็บรักษานี้มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและเพี่มมากขึ้น เนื่องด้วยการรักษารูปร่าง รสชาติ และคุณค่าทางอาหารเพื่อช่วยให้สินค้าสามารถเก็บได้นานเป็นปี ในการเก็บรักษาอาหารไว้ด้วยความเย็นเป็นอีกหนึ่งในกระบวนการที่สามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักาษาไว้ได้นานขึ้น และยังคงสภาพคุณค่าของโภชนาการของอาหารไว้เหมือนเดิม และในอุตสาหกรรมอาหารมีวิธีการเก็บรักษาด้วยความเย็นหลากหลายรูปแบบ โดยมีค่าใช้จ่ายและราคาที่จะแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของการเก็บรักษา                 การทำ Freeze Dry คืออะไร Freeze Dehydration / Lyophilization /Freeze Dry ซึ่งหมายถึงการทำใหแห้งด้วยการแช่เยือกแข็ง โดยทำให้น้ำที่อยู่ในเซลส์ซึ่งเป็นของเหลวและสามารถเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งที่เป็นผลึกน้ำแข็งเล็กๆก่อน จากนั้นจะทำการลดความดันสภาพแวดล้อมให้ต่ำกว่าบรรยากาศปกติ เพื่อให้ผลึกน้ำแข็งสามารถ ระเหิดกลายเป็นไอ โดยภายใต้อุณภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส จะทำให้น้ำแข็งเกิดการระเหิดอยู่ที่ความดัน 4.7 มิลิเมตรปรอทหรือต่ำกว่า                 ขั้นตอนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freezing)  สำหรับขั้นตอนการผลิตอาหารด้วยวิธีนี้ มีความคล้ายคลึงกลับกระบวนการผลิตอาหารเบื้องต้นทั่วไปคือคัดเลือก ล้าง ทำความสะอาด ปอกเปลือก ตัดแต่งให้สวยงามและเหมาะสม และนำเข้าสู่กระบวนการ 3 ขั้นตอนดังนี้ การแช่เยือกแข็ง (Freezing)   การแช่เยือกแข็งเป็นกระบวนการลดอุณภูมิของสินค้าให้ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (Freezing

การใช้ R-141b ในการล้างระบบทำความเย็น

การใช้ R-141b ในการล้างระบบทำความเย็น ในการล้างระบบเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความเย็น เป็นการบำรุงรักษา เพื่อช่วยให้อุปกรณ์ในระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และยังประหยัดพลังงานอีกด้วย น้ำยาทำความสะอาดภายในระบบปรับอากาศหรือ น้ำยาล้างระบบ ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ น้ำยา R-141b  น้ำยาล้างระบบ R-141b เป็นสารทำความเย็นประเภทที่ถูกนำมาทดแทน R11 โดยคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของ R-141b จะมีความคล้ายกับ R11 โดยมีคุณสมบัติทั่วไปจะทำหน้าที่คล้ายกับ R-141b วิธีการล้างระบบหรือการไล่ระบบจะต่างกันไปตามอุปกรณ์ทำความเย็น และเครืองปรับอากาศ โดยจะเริ่มจาการถอดชิ้นส่วนในระบบการเดินน้ำยาออก เช่น คอมเพรสเซอร์ ท่อน้ำยา จะต้องทำการถอดออกมาเสียก่อน เพื่อทำการล้างน้ำยาหรือสิ่งสกปรกที่ตกค้างในแต่ละชิ้นส่วนออกทั้งหมด ก่อนที่จะกรอกหรือใช้ปั้มดูดน้ำยาล้างระบบเข้าไปในท่อของแต่ละอุปกรณ์ และต้องทำจนกว่าสิ่งสกปรกจะออกทั้งหมด หลังจากทำการล้างระบบเรียบร้อยแล้ว จะต้องตรวจสอบระบบท่อ ตรวจสอบสายไฟ และอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่นๆให้เรียบร้อย เพื่อให้แน่ใจว่าระบบสามารถทำงานได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม น้ำยาล้างระบบ R-141b นอกจากสามารถใช้ล้างระบบทำความเย็นในระบบเครื่องปรับอากาศได้แล้ว ยังมีคุณสมบัติในการกำจัดคราบโลหะและใช้ในการผลิตโฟม ฉนวนโพลียูรีเทนโฟมได้อีกด้วย                 คุณสมบัติของน้ำยาล้างระบบหรือ น้ำยา R141b มีดังนี้ น้ำยาล้างระบบ หรือ น้ำยา R141b ซึ่งเป็นส่วนผสมในการผลิตโฟม และยังสามารถใช้เป็นน้ำยาล้างทำความสะอาดระบบเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความเย็น สารตัวนี้เป็นสาร

น้ำยาทำความเย็นของตู้แช่ในปัจจุบันที่นิยมใช้ในประเทศ

น้ำยาทำความเย็นของตู้แช่ในปัจจุบันที่นิยมใช้ในประเทศ    ปัจจุบัน น้ำยาทำความเย็นเป็นสารที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ไม่สามารถผลิตขึ้นได้ในประเทศไทย ซึ่งก็มีหลากหลายที่ใช้ในอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ทั้ง อุตสาหกรรมแอร์บ้าน แอร์รถยนต์ อุตสาหกรรมห้องเย็น เป็นต้น เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการใช้งานต่างๆ    ส่วนน้ำยาทำความเย็นของตู้แช่เป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติดูดซับความร้อนได้ดี เมื่อน้ำยาทำความเย็นถูกอัดให้มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง น้ำยาจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นก๊าซ จากนั้นจะถูกส่งไปยังคอยล์ร้อนเพื่อระบายความร้อน น้ำยาจะเปลี่ยนสถานะจากก๊าซกลับเป็นของเหลว เมื่อน้ำยาทำความเย็นถูกส่งไปยังคอยล์เย็น น้ำยาจะดูดซับความร้อนจากภายในตู้แช่ ทำให้อุณหภูมิภายในตู้แช่ลดลง น้ำยาทำความเย็นของตู้แช่ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้ R134a เป็นสารทำความเย็นที่ไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน (ODP = 0) และมีค่าศักยภาพในการเพิ่มภาวะโลกร้อน (GWP) ต่ำ (GWP = 1430) เป็นสารทำความเย็นเชิงเดี่ยว มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 100-110 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -26 C◦   ใช้ในตู้เย็นครัวเรือนและตู้แช่เชิงพาณิชย์ สามารถเติมได้เลยถ้าเกิดการรั่วหรือน้ำยาแอร์ในระบบขาด ซ่อมบำรุงได้ง่ายไม่ยุ่งยากมาก อีกทั้งราคายังไม่สูงมากด้วย สามารถหาซื้อได้ง่ายมีอยู่ทั่วไป R407F เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของสารทำความเย็น 3 ชนิด (R32, R125 และ

ธุรกิจอุตสาหกรรมทำความเย็นที่ควรต้องรู้

ธุรกิจอุตสาหกรรมทำความเย็นที่ควรต้องรู้ สำหรับธุรกิจระบบห้องเย็นอุตสาหกรรมในประเทศไทย มีหลายแบบหลายขนาดขึ้นอยู่กับรูปแบบ สินค้า และพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าแต่ละชนิด  ซึ่งรวมถึงอุณหภูมิที่ต้องการจัดเก็บสินค้าด้วยจะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งานและสินค้าที่ต้องการจัดเก็บเพราะสินค้าแต่ละชนิดก็มีความต้องการอุณหภูมิความเย็นที่ไม่เหมือนกัน เช่น อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ต้องการอุณหภูมิที่ความเย็นจัด ส่วนพวกเครื่องดื่ม ผัก ผลไม้ ยาและเวชภัณฑ์ ต้องการอุณหภูมิที่ความเย็นไม่มาก เพราะถ้าหากเย็นเกินไป อาจทำให้สินค้าเสียหายได้ ส่วนระบบทำความเย็นขนาดใหญ่นั้นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องใช้คือน้ำยาแอร์ ซึ่งก็มีหลายชนิดที่ระบบห้องเย็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต้องเตรียมพร้อม หากเกิดการรั่วจากระบบก็สามารถซ่อมแซมแก้ไขได้ทันที เพราะจะต้องเก็บสินค้าไว้ตลอด24ชม.เพื่อไม่ให้สินค้าเกิดความเสียหายได้ หากน้ำยาแอร์เกิดการรั่วจะไม่เกิดการระเบิด แต่สิ่งที่ต้องทำและรีบดำเนินการในทันทีคือ 1.เนื่องจากคุณสมบัติของน้ำยาแอร์ที่หนักกว่าอากาศ จะทำให้น้ำยาแอร์กระจายไปทั่ว จึงควรที่ต้องต้องรีบทำให้อากาศถ่ายเทโดยเร็ว เพื่อเพิ่มออกซิเจนในอากาศให้กลับสู่ปกติ ดังนั้นพื้นที่จัดเก็บหรือที่ปฏิบัติงานควรมีอากาศถ่ายเทอากาศได้ดี 2.การซ่อมบำรุงควรปล่อยน้ำยาแอร์ออกจากระบบให้หมดในการซ่อมแซมแล้วปล่อยไนโตรเจนไล่ก่อนใช้แก๊สเชื่อมหรือตัดอุปกรณ์ในระบบ ห้ามเชื่อมหรืออุดรอยรั่วในขณะที่ระบบยังมีน้ำยาแอร์อยู่ เพราะเมื่อความร้อนสัมผัสน้ำยาแอร์จะเกิดการขยายตัวสูงอาจทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ 3.ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันเมื่อปฏิบัติงานเพราะน้ำยาแอร์ถ้าสัมผัสถูกผิวหนังหรือร่างกายโดยตรงจะเกิดอันตรายคล้ายถูกไอน้ำหรือน้ำร้อนลวก เป็นรอยไหม้ ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้นควรรีบล้างน้ำสะอาดโดยทันที หากอาการหนักก็ควรรีบไปพบแพทย์ 4.การจัดเก็บน้ำยาแอร์ไม่ควรตากแดดร้อนจัดเป็นเวลานานๆควรจัดเก็บให้อยู่ในที่ร่มและที่ระบายอากาศได้ดี เพราะไม่ให้น้ำยาแอร์เกิดการรั่วและอาจระเบิดขึ้นได้ สำหรับธุรกิจระบบห้องเย็นอุตสาหกรรมนั้นต้องหมั่นตรวจสอบอุณหภูมิและอุปกรณ์ต่างๆให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานตลอดเวลาและไม่ควรเกิดการรั่วซึม เพื่อที่จะไม่เกิดความเสียหายกับสินค้าที่จัดเก็บ ซึ่งสินค้าบางอย่างมีมูลค่าที่สูงมาก และต้องจัดเก็บได้ตลอด 24 ชม. ดังนั้นควรที่จะตรวจเช็คระบบให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ   หากต้องการได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบห้องเย็น สามารถโทรติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็น ตู้แช่ทุกชนิด ที่ Line@namyaair หรือ โทร. 0943413124 สนใจสั่งซื้อน้ำยาแอร์ กับน้ำยาแอร์ดอทคอม โทรเลย 0943413124

ข้อควรทราบ ในการเติมถังบรรจุน้ำยาแอร์

ข้อควรทราบ ในการเติมถังบรรจุน้ำยาแอร์ หากจะกล่าวคำว่า สารทำความเย็น ที่เราทราบกันดีอยู่ว่า คือ น้ำยาแอร์ เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น จุดเดือดต่ำกว่าสารทั่วไป เมื่อผ่านกระบวนการอัดสารทำความเย็นให้เป็นไอ ไหลเวียนภายในระบบเครื่องปรับอากาศและสร้างความเย็น ภายในรถยนต์ให้เราได้เย็นสบาย อีกสิ่งหนึ่งที่จะกล่าวเกี่ยวกับน้ำยาแอร์ คือ ภาชนะบรรจุถังน้ำยาแอร์ ก็มีความสำคัญเช่นกัน การเติมถังบรรจุน้ำยาแอร์ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ จำเป็นมากๆ ในการใช้งานถังน้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น แบบนำถังกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งช่างแอร์ทุกๆท่าน จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ข้อควรทราบในการเติมถังบรรจุน้ำยาแอร์ดังนี้ กรณีเติมน้ำยาแอร์ลงถัง แม้จะเติมมากหรือเติมน้อย ต้องใช้เกจ์วัดน้ำยาวัดทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ห้ามนำถังบรรจุน้ำยาแอร์ ต่างชนิดกัน มาใส่แทนกันเด็ดขาด ห้ามถังบรรจุน้ำยาแอร์ ไม่ว่าจะมีน้ำยาแอร์ หรือน้ำยาแอร์หมดแล้ว ตากแดดเป็นเวลานาน ควรเก็บรักษาไว้ในที่ร่มและไม่ร้อน ห้ามวาง หรือใช้งานถังน้ำยาแอร์ ใกล้ที่ที่มีเปลวไฟ หรือใกล้กับสิ่งที่ติดไฟง่าย ป้องกันการระเบิดของตัวถังบรรจุน้ำยาแอร์ หากมีการถ่ายเทน้ำยาแอร์ส่วนเกินออกจากถังน้ำยา จะต้องรู้วิธีการ และอ่านขั้นตอนการเปิดถ่ายเทน้ำยาแอร์ที่ติดข้างถังแบบละเอียด เพราะน้ำยาแอร์หลายประเภทนั้น ทำปฏิกิริยากับอากาศ อาจทำให้เกิดประกายไฟ้ได้ ถ้าถังบรรจุน้ำยาแอร์คุณภาพของถัง จะมีระบบความปลอดภัยอยู่ภายใน ถึงแม้ตัวถังจะหนาก็จริง แต่กันการระเบิดของแรงดันจำนวนมากไม่ได้ หากใช้งานไปนานๆ