วิธีดูแลและของควรระวังการใช้เครื่องปรับอากาศในช่วงหน้าฝน ในช่วงหน้าฝนหรือฤดูฝนนั้น แม้ว่าอากาศจะหนาวเย็นเพียงใด เราก็ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อให้อากาศถ่ายเทและหายใจสะดวก ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเราอยู่ดี เนื่องจากความชื้นในอากาศก็มีมากกว่าปกติ การปรับความชื้นให้เหมาะสมและการล้างเครื่องปรับอากาศจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะลดฝุ่น สิ่งสกปรก ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องปรับอากาศดีขึ้น ช่วยยืดอายุการใช้งานออกไปได้อีกนาน ดังนั้นวันนี้ทางเราจะมีวิธีการดูแลเครื่องปรับอากาศในช่วงหน้าฝนและข้อควรระวังการใช้เครื่องปรับอากาศในช่วงหน้าฝนดังนี้ค่ะ วิธีดูแลการใช้เครื่องปรับอากาศ 1. หลายครั้งที่ขณะฝนตก ไฟก็จะตก หรือไฟดับ ถ้าเกิดเหตุการณ์ไฟตกหรือไฟดับ ให้รีบปิดเบรกเกอร์เครื่องปรับอากาศทันที เพราะอาจทำให้ฟิลเตอร์บริเวณคอยล์เย็น หรือคอมเพรสเซอร์แอร์ขาดได้ 2. เช็คอุปกรณ์ ชิ้นส่วนใดในแอร์มีปัญหาหรือไม่ หากพบความผิดปกติ ไม่ควรซ่อมเครื่องปรับอากาศด้วยตนเองไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ควรเรียกช่างแอร์ที่มีความชำนาญมาตรวจสอบ 3. ถึงแม้จะอยู่ในช่วงหน้าฝน ก็ต้องหมั่นล้างเครื่องปรับอากาศ เพราะจะทำให้ช่วยลดปัญหาความชื้นและการสะสมของฝุ่นละอองซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เครื่องปรับอากาศเสียได้ การเปิดโหมดไล่ความชื้นก็สามารถช่วยได้เช่นกัน 4. เช็คแผ่นกรองฝุ่น และทำความสะอาดทุกๆ เดือน เพื่อยืดอายุการใช้ของเครื่องปรับอากาศและเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้อยู่อาศัย เพียงแค่ 4 วิธี
Category Archives: น้ำยาแอร์บ้าน
ประเภทน้ำยาที่ใช้กับแอร์บ้านมีกี่ชนิด น้ำยาเป็นตัวกลางในการทำความเย็น ขณะที่น้ำยาในระบบภายในอีวาพอเรเตอร์เดือดเปลี่ยนสถานะเป็นไอที่อุณหภูมิและความดันต่ำจะต้องการความร้อนแฝง ดูดรับปริมาณความร้อนจากอากาศภายในห้องโดยรอบอีวาพอเรเตอร์ ปริมาณความร้อนจำนวนนี้จะถูกระบายทิ้งภายนอกห้องที่คอนแดนเซอร์ เพื่อให้น้ำยากลั่นตัวเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง 1. น้ำยาแอร์ R22 น้ำยาแอร์หรือที่เรียกว่าสารทำความเย็น ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันสำหรับแอร์บ้านทั่วไป เป็นสารจำพวก CFCs (Chloro Fluoro Carbons) ซึ่งมีคุณสมบัติคือ ไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น และความถ่วงจำเพาะของสารในสถานะก๊าซจะหนักกว่าอากาศโดยที่สารเหล่านี้จะมีจุดเดือดที่ต่ำกว่า สารทั่วไป จึงถูกนำมาใช้ในการทำความเย็น โดยที่สารทำความเย็นที่มีจุดเดือดต่ำจะถูกใช้ในการทำความเย็นที่อุณหภูมิต่ำ และสารทำความเย็นที่มีจุดเดือดสูงจะถูกใช้ในทำความเย็นที่อุณหภูมิสูง ขึ้นอยู่กับวัตถูประสงค์ของการใช้งาน สำหรับชนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุดสำหรับแอร์บ้านก็คือ R-22 (Freon-22) โดยมีจุดเดือดอยู่ที่ -40.B ‘C 2.น้ำยาแอร์ R32 เป็นสารทำความเย็นที่ถูกพัฒนามาเพื่อทดแทนชนิด R22 โดยมีข้อดีที่มีค่า ODP ที่ต่ำกว่าสารทำความเย็นชนิด R22 จึงทำให้ไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศแต่ข้อเสียก็คือราคาจะแพงกว่าสารทำความเย็นชนิด R22 และถึงแม้ว่าจะไม่ทำลายชั้นโอโซนแต่ก็ยังส่งผลต่อภาวะเรือนกระจกอยู่ซึ่งมีค่า ODP (ดัชนีวัดการทำลายโอโซน) = 0 ค่า, GWP(ดัชนีชี้วัดผลกระทบภาวะโลกร้อน) = 675 และมีค่า Cooling Capacity(ประสิทธิภาพการทำความเย็น) = 160
สาเหตุที่ทำให้น้ำยาแอร์รั่ว ในช่วงหน้าร้อน เครื่องปรับอากาศหรือที่เราเรียกกันว่า “แอร์” มักจะเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย การใช้งานเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเป็นเวลานาน ย่อมทำให้ตัวเครื่องใช้งานอย่างหนัก ซึ่งปัญหาที่หลายๆบ้านมักจะเจอกันคือปัญหาน้ำยาแอร์รั่ว น้ำยาแอร์ปกติแล้วจะไม่ได้หมดง่ายๆ นอกเสียจากเกิดการรั่วไหลของน้ำยาแอร์ และสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำยาแอร์รั่วมีหลายสาเหตุด้วยกันดังนี้ สาเหตุที่ทำให้น้ำยาแอร์รั่ว แอร์เก่าใช้งานมานาน อายุการใช้งานของแอร์ก็มีผลที่ทำให้น้ำยาแอร์เกิดอาการรั่วซึมได้ หากเป็นแอร์เก่าที่มีการใช้งานมาหลายปีแล้ว ภายในตัวเครื่องก็จะมีสภาพเสื่อมได้ ตามอายุการใช้งาน ทำให้อุปกรณ์พวกท่อส่งน้ำยา ข้อต่อ เกิดการรั่วไหล ทำให้น้ำยาแอร์ไหลซึมออกมาได้ การรั่วซึมของท่อเติมน้ำยาแอร์ การรั่วซึมตรงท่อเติมน้ำยาแอร์เกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากเดือยท่อตรงท่อเติมน้ำยาแอร์เคลื่อนตัวจากการต่อไม่แน่นพอ การสั่นสะเทือนของคอมเพรสเซอร์ที่ไปเสียดสีกับตัวโครงจนทำให้เกิดรอยรั่ว หรืออาจจะเกิดจากรูรั่วบริเวณที่มีการเชื่อม ติดตั้งแอร์ไม่ได้มาตรฐาน สิ่งที่หลายๆคนอาจคาดไม่ถึงและไม่คิดว่าจะส่งผลกระทบต่อเรื่องน้ำยาแอร์ก็คือ การติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน การเชื่อมท่อน้ำยาแบบผิด และขาดความเชี่ยวชาญของผู้ติดตั้ง การติดตั้งแอร์ที่ไม่ได้มาตรฐานนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาน้ำยาแอร์รั่วซึมได้แล้ว ยังเป็นต้นเหตุของปัญหาอื่นๆตามมาอีกด้วย และทำให้ส่งผลเสียถึงขั้นแอร์เสียก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นในขั้นตอนการติดตั้งแอร์ควรเลือกช่างที่มีประสิทธิภาพที่ไว้ใจได้ และเป็นมืออาชีพในด้านเครื่องปรับอากาศโดยเฉพาะ วิธีการตรวจเช็คน้ำยาแอร์รั่ว แอร์ไม่มีลมเย็น ให้สังเกตดูว่าแอร์ที่บ้าน เวลาเปิดใช้งานแล้วมีความเย็นออกมาหรือไม่ โดยอันดับแรกหากทำการเปิดแอร์แล้ว ไม่มีลมเย็นออกมาให้ทำการตรวจเช็คการตั้งค่าบนรีโมทก่อนว่าอยู่ในโหมดใด ซึ่งถ้าหากต้องการให้แอร์ปล่อยลมเย็นให้ตั้งค่าไปที่โหมด COOL หากตรวจสอบรีโมทแอร์แล้วว่าอยู่ในโหมด COOL เรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังไม่มีลมเย็นออกมาเลย แสดงว่าแอร์อาจเกิดปัญหาน้ำยาแอร์รั่วก็เป็นไปได้ เกิดน้ำแข็งเกาะที่ท่อน้ำยาแอร์ หากแอร์มีน้ำหยดหรือลมแอร์ไม่ออกให้ทำการถอดหน้ากากแอร์ดู อาจจะพบว่าบริเวณด้านในตัวเครื่องมีน้ำแข็งเกาะอยู่
ส่วนประกอบของสารทำความเย็นมีอะไรบ้าง สารทำความเย็น ที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “น้ำยาแอร์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่ใช้ในระบบทำความเย็นและปรับอากาศ เป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่รับ ดูดซับ และถ่ายเทความร้อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยส่วนผสมหรือส่วนประกอบในสารทำความเย็นอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสูตรเฉพาะและประเภทของสารทำความเย็น การใช้งาน ความต้องการของระบบ และมาตรฐานด้านกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ส่วนประกอบหลักที่พบในถังสารทำความเย็นมีดังต่อไปนี้ สารทำความเย็น สารหลักของถังสารทำความเย็นคือสารทำความเย็น ที่เป็นส่วนประกอบของเคมีพื้นฐาน ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในรูปของเหลวหรือก๊าซภายใต้ความดัน สารทำความเย็นเป็นสารประกอบทางเคมีที่ต้องผ่านการเปลี่ยนเฟส เพื่อดูดซับและปล่อยความร้อนระหว่างวงจรการทำความเย็น สารทำความเย็นหลายชนิดได้รับการผสมสูตรจากสารประกอบเคมีหลายชนิดเพื่อให้ได้คุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์และคุณลักษณะด้านประสิทธิภาพที่ต้องการ ความบริสุทธิ์ สารทำความเย็นที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพตามความต้องการ เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความเสถียรของสารทำความเย็น จำเป็นต้องมีคุณสมบัติค่าความบริสุทธิ์สูง โดยผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์เพื่อขจัดสิ่งเจือปนและสิ่งปนเปื้อน เช่น – การกลั่น เพื่อแยกส่วนประกอบต่างๆ และขจัดสิ่งสกปรก – การกรอง เพื่อขจัดอนุภาคของแข็งและสิ่งปนเปื้อน – การบำบัดด้วยสารเคมี เพื่อทำให้กรดเป็นกลาง ขจัดความชื้น หรือทำให้สารทำความเย็นคงตัว สารเติมแต่ง สารทำความเย็นบางชนิดอาจมีสารเติมแต่งหรือสารเพิ่มความคงตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงการหล่อลื่น ป้องกันการสลายตัวของสารเคมี หรือตอบสนองข้อกำหนดการใช้งานเฉพาะ สารเติมแต่งอาจรวมถึงสารยับยั้งการกัดกร่อน สารเพิ่มความคงตัว สารเพิ่มประสิทธิภาพการนำความร้อน สารขับดัน (ผลิตภัณฑ์สเปรย์) สารหล่อลื่น สีย้อมสำหรับตรวจจับการรั่วไหล และสารแต่งกลิ่นเพื่อให้ตรวจจับกลิ่นได้ในกรณีที่เกิดการรั่วไหล ความดัน
การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับขนาดห้องและประหยัดไฟ เทคนิคการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศอย่างไรให้เหมาะกับขนาดห้องและช่วยประหยัดไฟ เนื่องจากประเทศไทยมี 3 ฤดู คือ ร้อน ร้อนมาก และร้อนที่สุด! แม้จะมีพายุฝนให้พอชุ่มฉ่ำ แต่ก็ยังหนีไม่พ้นแสงแดดอุ่นๆ ซึ่งไอเทมสุดคูลที่ช่วยกู้สภาพอากาศให้ดีขึ้นได้ จึงหนีไม่พ้นการเลือกแอร์ หรือเครื่องปรับอากาศ ซึ่งปัจจุบันแทบจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่แทบทุกบ้านต้องมี ยิ่งร้อนยิ่งเร่งเครื่องปรับอากาศจนเป็นการเร่งค่าไฟทางอ้อมและอาจทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักมากจนเกินไป แต่เราสามารถลดปัญหาต่างๆ เหล่านี้โดยการเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะกับขนาดห้อง 1. เครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง มีการทำงานแบบหลายฟังก์ชัน ทั้งโหมดประหยัดไฟ กรองฝุ่น หรือในบางยี่ห้อบางรุ่นที่สามารถกรองได้แม้กระทั่งฝุ่น PM2.5 อีกทั้งเครื่องปรับอากาศติดผนังส่วนใหญ่จะมีขนาดที่ค่อนข้างกะทัดรัด ออกแบบสวยงาม จึงเหมาะสมกับบ้านและคอนโด 2. เครื่องปรับอากาศแบบแขวนเพดาน เป็นอีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ด้วยเพราะฟังก์ชันการทำงานที่มีความเหมือนกับเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง แต่สามารถกระจายความเย็นได้ทั่วถึงและเร็วกว่า การติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแขวนเพดานจึงเหมาะกับห้องขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่เยอะอย่างห้องประชุม หรืออาคารสำนักงาน เครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้น เป็นเครื่องปรับอากาศที่วางอยู่บนพื้นห้อง จุดเด่นของเครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้น คือสามารถถอดทำความสะอาดได้ง่าย เหมาะกับห้องที่มีความสูงจากพื้นถึงเพดานแบบพอดี ไม่เหมาะกับห้องกว้างและเพดานสูง เพราะจะทำให้ได้รับความเย็นไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตามเครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้นก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในปัจจุบัน เนื่องจากต้องอาศัยพื้นที่ในการจัดวางนั่นเอง เครื่องปรับอากาศแบบฝังฝ้าเพดาน ข้อดีหลักๆ ของการเลือกแอร์ประเภทนี้ คือช่วยประหยัดพื้นที่ สามารถกระจายความเย็นได้ทั่วถึงทุกทิศทาง บวกกับดีไซน์ที่สวยงามกลมกลืนไปกับห้อง หรือฝ้าเพดาน จึงเหมาะสำหรับห้องขนาดใหญ่
สิ่งสำคัญที่ควรรู้ในการล้างแอร์บ้าน แอร์บ้านเป็นอุปกรณ์ทำความเย็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนชื้น การใช้งานแอร์อย่างสม่ำเสมาอและต่อเนื่อง ย่อมทำให้เกิดฝุ่นละออง เชื้อโรค และสารตกค้างต่างๆ เกาะติดบริเวณคอยล์เย็นแลคอยล์ร้อน ในการล้างแอร์บ้านเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อช่วยในการขจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกที่เกาะติดอยู่ภายในแอร์ ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ ทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้น กินไฟมากขึ้น และอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมาย เช่น แอร์มีกลิ่นเหม็น แอร์มีเสียงดัง แอร์ไม่เย็นเป็นต้น การล้างแอร์บ้านมี 2 วิธีหลักๆได้แก่ การล้างแอร์แบบถอดล้างและการล้างแอร์แบบไม่ถอดล้าง การล้างแอร์แบบถอดล้าง เป็นวิธีการล้างแอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยข่างจะถอดชิ้นส่วนต่างๆ ของแอร์ออกมาล้างทำความสะอาดอย่างละเอียด ทั้งคอยล์เย็น คอยล์ร้อน แผงคอยล์ร้อน ถาดน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง การล้างแอร์แบบไม่ถอดล้าง เป็นวิธีการล้างแอร์ที่สะดวกและรวมเร็วกว่าการล้างแอร์แบบถอดล้าง โดยช่างจะใช้น้ำยาล้างแอร์ฉีดเข้าไปทำความสะอาดภายในเครื่องแอร์โดยไม่ถอดชิ้นส่วนใดๆออก ข้อควรระวังในการล้างแอร์บ้าน ควรปิดเบรกเกอร์ไฟฟ้าก่อนทำการล้างแอร์ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกช่างล้างแอร์ที่มีประสบการณ์และมีความน่าเชื่อถือ . ควรตรวจสอบอุกกรณ์ต่างๆ ของแอร์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ก่อนการล้าง คำแนะนำในการเลือกช่างล้างแอร์ที่ดี ควรเลือกช่างล้างแอร์ที่มีประสบการณ์และมีความน่าเชื่อถือ ควรตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับการล้างแอร์ ควรตรวจสอบใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับประกันการล้างแอร์ทุกครั้ง ประโยชน์ของการล้างแอร์บ้าน ช่วยกำจัดฝุ่นละออง เชื้อโรค และสารตกค้างต่างๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
แนะการใช้เครื่องปรับอากาศที่ถูกต้อง แอร์เป็นเครื่องปรับอากาศที่ให้ความเย็นได้ทั่วทั้งบริเวณบ้าน แต่ก็ต้องแลกมากับค่าไฟที่สูงตามมาด้วย แต่หลายๆคนไม่ค่อยคำนึงถึงค่าไฟสักเท่าไหร่ เพราะแค่คิดว่าอยากเย็นสบายแค่นั้นก็พอ แต่หากเราลองใส่ใจดูสักนิด เราจะช่วยลดค่าใช้จ่ายรายปีในการประหยัดค่าไฟได้มากซึ่งทางเรามีวิธีการใช้เครื่องปรับอากาศที่ถูกต้องตามวิธีดังนี้ ล้างเครื่องปรับอากาศปีละ 2 ครั้ง ควรมีการถอดล้างภายในโดยช่างผู้ชำนาญงาน เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานและประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 2. กันร้อนให้คอมเพรสเซอร์ ควรวางคอมเพรสเซอร์ไว้ในร่มและมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งการตั้งคอมเพรสเซอร์แอร์ควรตั้งห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อให้ระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้นซึ่งจะช่วยประหยัดค่าไฟได้ประมาณ 15-20 %เจ้า ทั้งนี้การที่วางคอมเพรสเซอร์แอร์ที่ติดตั้งอยู่ภายนอก โดยนำคอมเพรสเซอร์ไปวางไว้ในที่ๆ ไม่เหมาะสม เช่นวางบนดาดฟ้า วางบนพื้นซีเมนต์กลางแดด หรือวางในที่ลมถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานหนักซึ่งจะลดทอนประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศลดลง ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและค่าใช้จ่าย 3. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไว้ที่ 26-28 องศาเซลเซียส พร้อมกับเปิดพัดลมตัวเล็กๆ ให้มีลมพัดผ่านร่างกาย ก็สามารถรู้สึกเย็นได้และจะประหยัดไฟได้ถึง 10-30% 4. ไม่นำความชื้นเข้าห้อง หากต้องการให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยห้ามนำของที่มีความชื้นเข้าไปไว้ในห้อง เช่นกระถางต้นไม้ การตากผ้า ซึ่งในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศนั้นมีแค่ 30 % เท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 70 % เป็นการใช้เพื่อทำให้อากาศในห้องนั้นแห้งลง 5. หลีกเลี่ยงการนำเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องครัว
เครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์กับเครื่องปรับอากาศธรรมดา ต่างกันยังไงระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter ระบบอินเวอร์เตอร์ คือ ระบบการควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ในเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) จะแปลงไฟจากกระแสสลับ (AC) ให้เป็นไฟกระแสตรง จากนั้นจะผ่านวงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) ที่เปลี่ยนจากไฟกระแสสลับให้เป็นกระแสตรง ทำให้สามารถปรับแรงดันและความถี่ได้ โดยทั้งสองระบบนี้จะถูกควบคุมโดยวงจรควบคุมให้สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จากนั้นจะทำการหมุนรอบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ สำหรับเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ เมื่อเปิดสวิตช์ คอมเพรสเซอร์จะทำงานและค่อย ๆ ลดอุณหภูมิลงจนถึงระดับที่ตั้งเอาไว้ จากนั้นจะมีการปรับรอบให้ช้าลง เพื่อให้อุณหภูมิภายในห้องคงที่อย่างต่อเนื่อง แต่จะไม่ตัดรอบการทำงาน เมื่ออุณหภูมิสูงกว่าที่ตั้งไว้ประมาณ 2-4 องศาเซลเซียส ก็จะเพิ่มความเร็วของรอบในการหมุน ทำให้การทำงานของเครื่องปรับอากาศมีความต่อเนื่อง ซึ่งสามารถประหยัดไฟได้ถึง 30% เมื่อเทียบกับเครื่องปรับอากาศทั่วไป เนื่องจากการทำงานของอินเวอร์เตอร์คือการลดรอบการทำงาน เมื่อมีข้อดีและก็ต้องมีข้อเสียเช่นกัน ก็คือราคาเครื่องแพงกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องปรับอากาศทั่วไป แผงวงจรด้านในมีความซับซ้อนกว่ามาก ทำให้เวลาเครื่องมีปัญหาต้องซ่อม หรือบำรุงจึงมีค่าใช้จ่ายที่แพงตามไปด้วย นอกจากนี้เครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์ยังเหมาะกับการติดตั้งในห้องนอน เนื่องจากเป็นระบบของเครื่องปรับอากาศมีความเย็นที่คงที่ จึงช่วยรักษาอุณหภูมิให้เย็นสบายตลอดทั้งคืน หากคุณเป็นคนที่เปิดเครื่องปรับอากาศทุกวัน หรือเปิดแอร์ทั้งวัน เพื่อสู้กับอากาศร้อนภายนอก ระบบอินเวอร์เตอร์เป็นระบบที่เหมาะสมกับคุณ เพราะแม้ว่าราคาของเครื่องปรับอากาศจะสูงกว่าระบบธรรมดา แต่เมื่อเทียบกับส่วนต่างแล้ว มีความคุ้มค่ากว่าแน่นอน ระบบธรรมดา สำหรับการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศทั่วไปจะไม่ซับซ้อนเท่ากับระบบอินเวอร์เตอร์
อากาศหนาวแล้ว เปิดเครื่องปรับอากาศยังไง ให้เซฟเงินในกระเป๋า ปลายฝนต้นหนาวแบบนี้เชื่อได้เลยว่าหลายคนกำลังฟินกับบรรยากาศอยู่แน่นอน เพราะช่วงนี้นอกจากจะมีที่เที่ยวหน้าหนาว ให้ได้ปักหมุดเช็คอินกันหลายที่แล้ว เพราะอากาศในแต่ละวันช่วงนี้เรียกว่ากำลังดี ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป อีกทั้งตอนนี้หลายพื้นที่ก็กำลังเตรียมตัวเข้าหน้าหนาวกันเต็มรูปแบบ คราวนี้ใครมีแฟชั่นหน้าหนาว เสื้อกันหนาว หรือลุควินเทอร์ ก็เตรียมปัดฝุ่นออกมาสวมใส่กันได้เลย แต่ใช่ว่าเข้าหน้าหนาวแล้วหลายบ้านจะลืมมิตรแท้ช่วงหน้าร้อนอย่างเครื่องปรับอากาศนะ เพราะเชื่อได้เลยว่าแม้ในบ้านจะมีอุณหภูมิที่หนาวเย็นหรืออุณหภูมิที่พอเหมาะสำหรับการนอนแล้ว แต่คืนไหนถ้าไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศกลับรู้สึกเหมือนขาดอะไรไปสักอย่าง นอนไม่หลับ หรือบางคนอาจรู้สึกหายใจไม่ออกกันเลยทีเดียว ซึ่งจริงๆ แล้วการเปิดเครื่องปรับอากาศช่วงหน้าหนาวไม่ใช่เรื่องผิด คุณสามารถเปิดใช้งานได้ตามต้องการ แต่หากใครต้องการเซฟค่าไฟในช่วงหน้าหนาว วันนี้เรามีเคล็ดลับกับอากาศหนาวที่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศยังไงให้ไม่เปลืองไฟมาบอกต่อ รับรองว่าหน้าหนาวนี้เตรียมโบกมือลาค่าไฟแพงไปได้เลยค่ะ – เลือกโหมดเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศแล้วสิ่งแรกที่ต้องทำคือ “เลือกโหมดแอร์” โดยโหมดที่เหมาะกับหน้าหนาวสุด ๆ คือ โหมดพัดลม หรือ Fan Mode เนื่องจากโหมดพัดลมจะทำหน้าที่ผลิตลมแต่ไม่ได้ทำความเย็นออกมา ดังนั้นการเลือกแอร์โหมดนี้จึงช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก อากาศไม่แห้ง และช่วยให้อุณหภูมิในห้องไม่เย็นเกินไป ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการใช้งานโหมด Cool Mode ที่ทำให้อากาศเย็นเกินไป และ Dry Mode หรือโหมดลดความชื้น เพราะจะทำให้อากาศในห้องแห้งกว่าเดิม – ตั้งค่าปิดเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติ ในช่วงอากาศเย็นๆ การลดชั่วโมงการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ถือเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี ดังนั้นแนะนำว่าให้ตั้งค่าปิดเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติก่อนตื่นนอนประมาณ
โลกร้อนกับน้ำยาแอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาบางท่านอาจะเคยได้ยินในเรื่องของน้ำยาแอร์ที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นอันตรายต่อมนุษย์หากมีการสูดดมเข้าสู่ร่างกาย แต่ในยุคสมัยใหม่น้ำยาแอร์ก่อให้เกิดผลเสียเหล่านั้นน้อยลงแล้วในปัจจุบัน น้ำยาแอร์เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเย็นในระบบของระบบทำความเย็นต่างๆ จะมีหลายประเภทตามขนาดการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับเครื่องทำความเย็น ในอดีตนั้นน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นมีความคงตัวค่อนข้างสูง และมีประสิทธิภาพต่ออุปกรณ์ทำความเย็น แต่จะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมแถมยังมีผลต่อผู้ที่สูดดมน้ำยาแอร์เข้าไปในร่างกายเมื่อเกิดการรั่วไหล ด้วยสารประกอบในน้ำยาแอร์ที่เป็นพิษหลายชนิดที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนและทำให้อุปกรณ์ทำความเย็นเสื่อมสภาพได้ง่าย ในระบบทำความเย็น จะสร้างความเย็นและดูดความร้อนได้ด้วยน้ำยาแอร์ ซึ่งเป็นตัวกลางที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำให้เกิดความเย็นได้ ด้วยการเดินทางไปตามอุปกรณ์ทำความเย็นและเปลี่ยนสภาพเป็นทั้งของเหลวและก๊าซเพื่อให้กระบวนทำความเย็นมีประสิทธิภาพ ด้วยการทำงานที่ต้องเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดการทำงานของเครื่องทำความเย็น น้ำยาแอร์จึงต้องมีเสถียรภาพในการเปลี่ยนสถานะและไม่กัดกร่อนอุปกรณ์ทำความเย็นอื่นๆอีกด้วย สารทำความเย็นหลายชนิดเป็นตัวการที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจากการประเมินของค่าดังนี้ ค่า GWP (Global Warming Potential) หมายถึง ศักยภาพในการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกของสารทำความเย็น โดยค่า GWP ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหลัก มีค่าเท่ากับ 1.0 ดังนั้นหากสารทำความเย็นชนิดอื่นมีค่า GWP เท่ากับ 1000 ซึ่งจะหมายความว่าสารทำความเย็นชนิดนั้นมีโอกาสทำให้โลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ 1000 เท่า ค่า ODP (Ozone Depletion Potential) หมายถึง ศักยภาพในการทำลายโอโซนในชั้นสตาโตสเฟียร์ของสารทำความเย็น โดยค่า ODP ของสารทำความเย็น R11 ซึ่งเป็นสารทำความเย็นรุ่นแรกที่ใช้กันแพร่หลาย มีค่าเท่ากับ 1.0 ดังนั้นสารทำความเย็ฯชนิดอื่นมีค่า