Category Archives: น้ำยาแอร์

วิธีดูแลและของควรระวังการใช้เครื่องปรับอากาศในช่วงหน้าฝน

วิธีดูแลและของควรระวังการใช้เครื่องปรับอากาศในช่วงหน้าฝน             ในช่วงหน้าฝนหรือฤดูฝนนั้น แม้ว่าอากาศจะหนาวเย็นเพียงใด เราก็ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อให้อากาศถ่ายเทและหายใจสะดวก ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเราอยู่ดี เนื่องจากความชื้นในอากาศก็มีมากกว่าปกติ การปรับความชื้นให้เหมาะสมและการล้างเครื่องปรับอากาศจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะลดฝุ่น สิ่งสกปรก ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องปรับอากาศดีขึ้น ช่วยยืดอายุการใช้งานออกไปได้อีกนาน ดังนั้นวันนี้ทางเราจะมีวิธีการดูแลเครื่องปรับอากาศในช่วงหน้าฝนและข้อควรระวังการใช้เครื่องปรับอากาศในช่วงหน้าฝนดังนี้ค่ะ             วิธีดูแลการใช้เครื่องปรับอากาศ             1. หลายครั้งที่ขณะฝนตก ไฟก็จะตก หรือไฟดับ ถ้าเกิดเหตุการณ์ไฟตกหรือไฟดับ ให้รีบปิดเบรกเกอร์เครื่องปรับอากาศทันที เพราะอาจทำให้ฟิลเตอร์บริเวณคอยล์เย็น หรือคอมเพรสเซอร์แอร์ขาดได้             2. เช็คอุปกรณ์ ชิ้นส่วนใดในแอร์มีปัญหาหรือไม่ หากพบความผิดปกติ ไม่ควรซ่อมเครื่องปรับอากาศด้วยตนเองไม่ว่ากรณีใดทั้งสิ้น เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ควรเรียกช่างแอร์ที่มีความชำนาญมาตรวจสอบ             3. ถึงแม้จะอยู่ในช่วงหน้าฝน ก็ต้องหมั่นล้างเครื่องปรับอากาศ เพราะจะทำให้ช่วยลดปัญหาความชื้นและการสะสมของฝุ่นละอองซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เครื่องปรับอากาศเสียได้ การเปิดโหมดไล่ความชื้นก็สามารถช่วยได้เช่นกัน             4. เช็คแผ่นกรองฝุ่น และทำความสะอาดทุกๆ เดือน  เพื่อยืดอายุการใช้ของเครื่องปรับอากาศและเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้อยู่อาศัย เพียงแค่ 4 วิธี

อุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนบ้าง

อุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนบ้าง     ในประเทศไทย อุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการใช้สารทำความเย็นหรือ น้ำยาแอร์ มาใช้ในงานระบบ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพราะในประเทศไทยไม่สามารถผลิตขึ้นได้เอง การใช้งานในระบบทำความเย็นต่างๆ ทั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน อาคาร รถยนต์ ห้องเย็นและตู้แช่ รวมทั้งอุตสาหกรรมทั่วๆไปด้วยที่จะต้องใช้อุณภูมิความเย็นในการจัดเก็บสินค้าต่าง ๆ ในที่นี้จะแยกในส่วนของน้ำยาที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ ว่าส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันนิยมและใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนกันบ้าง แต่ละชนิดมีส่วนประกอบและคุณสมบัติอย่างไร ในระบบตู้แช่ น้ำยาแอร์หลักๆที่ใช้กันแบ่งตามรายละเอียดต่างๆได้ดังนี้ R404a เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) คุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ประหยัดพลังงาน มีค่าแรงดันที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 170-180 Psi   จุดเดือดอยู่ที่   -46.6 C◦ ใช้ในอุณหภูมิติดลบ ใช้ในสินค้าพวกตู้แช่ห้องเย็นและอุตสาหกรรมทำความเย็น ถ้าน้ำยาแอร์ในระบบขาดต้องปล่อยทิ้งแล้วเติมใหม่ทั้งหมด โดยสามารถใช้เกจ์วัดแรงดันในการเช็คระบบให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม R507 เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 2 ชนิด (R125+R143) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 180-190 Psi   จุดเดือดอยู่ที่   -47.1

การใช้ R-141b ในการล้างระบบทำความเย็น

การใช้ R-141b ในการล้างระบบทำความเย็น ในการล้างระบบเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความเย็น เป็นการบำรุงรักษา เพื่อช่วยให้อุปกรณ์ในระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และยังประหยัดพลังงานอีกด้วย น้ำยาทำความสะอาดภายในระบบปรับอากาศหรือ น้ำยาล้างระบบ ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ น้ำยา R-141b  น้ำยาล้างระบบ R-141b เป็นสารทำความเย็นประเภทที่ถูกนำมาทดแทน R11 โดยคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของ R-141b จะมีความคล้ายกับ R11 โดยมีคุณสมบัติทั่วไปจะทำหน้าที่คล้ายกับ R-141b วิธีการล้างระบบหรือการไล่ระบบจะต่างกันไปตามอุปกรณ์ทำความเย็น และเครืองปรับอากาศ โดยจะเริ่มจาการถอดชิ้นส่วนในระบบการเดินน้ำยาออก เช่น คอมเพรสเซอร์ ท่อน้ำยา จะต้องทำการถอดออกมาเสียก่อน เพื่อทำการล้างน้ำยาหรือสิ่งสกปรกที่ตกค้างในแต่ละชิ้นส่วนออกทั้งหมด ก่อนที่จะกรอกหรือใช้ปั้มดูดน้ำยาล้างระบบเข้าไปในท่อของแต่ละอุปกรณ์ และต้องทำจนกว่าสิ่งสกปรกจะออกทั้งหมด หลังจากทำการล้างระบบเรียบร้อยแล้ว จะต้องตรวจสอบระบบท่อ ตรวจสอบสายไฟ และอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่นๆให้เรียบร้อย เพื่อให้แน่ใจว่าระบบสามารถทำงานได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม น้ำยาล้างระบบ R-141b นอกจากสามารถใช้ล้างระบบทำความเย็นในระบบเครื่องปรับอากาศได้แล้ว ยังมีคุณสมบัติในการกำจัดคราบโลหะและใช้ในการผลิตโฟม ฉนวนโพลียูรีเทนโฟมได้อีกด้วย                 คุณสมบัติของน้ำยาล้างระบบหรือ น้ำยา R141b มีดังนี้ น้ำยาล้างระบบ หรือ น้ำยา R141b ซึ่งเป็นส่วนผสมในการผลิตโฟม และยังสามารถใช้เป็นน้ำยาล้างทำความสะอาดระบบเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความเย็น สารตัวนี้เป็นสาร

ข้อควรทราบ ในการเติมถังบรรจุน้ำยาแอร์

ข้อควรทราบ ในการเติมถังบรรจุน้ำยาแอร์ หากจะกล่าวคำว่า สารทำความเย็น ที่เราทราบกันดีอยู่ว่า คือ น้ำยาแอร์ เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น จุดเดือดต่ำกว่าสารทั่วไป เมื่อผ่านกระบวนการอัดสารทำความเย็นให้เป็นไอ ไหลเวียนภายในระบบเครื่องปรับอากาศและสร้างความเย็น ภายในรถยนต์ให้เราได้เย็นสบาย อีกสิ่งหนึ่งที่จะกล่าวเกี่ยวกับน้ำยาแอร์ คือ ภาชนะบรรจุถังน้ำยาแอร์ ก็มีความสำคัญเช่นกัน การเติมถังบรรจุน้ำยาแอร์ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ จำเป็นมากๆ ในการใช้งานถังน้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น แบบนำถังกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งช่างแอร์ทุกๆท่าน จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ข้อควรทราบในการเติมถังบรรจุน้ำยาแอร์ดังนี้ กรณีเติมน้ำยาแอร์ลงถัง แม้จะเติมมากหรือเติมน้อย ต้องใช้เกจ์วัดน้ำยาวัดทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ห้ามนำถังบรรจุน้ำยาแอร์ ต่างชนิดกัน มาใส่แทนกันเด็ดขาด ห้ามถังบรรจุน้ำยาแอร์ ไม่ว่าจะมีน้ำยาแอร์ หรือน้ำยาแอร์หมดแล้ว ตากแดดเป็นเวลานาน ควรเก็บรักษาไว้ในที่ร่มและไม่ร้อน ห้ามวาง หรือใช้งานถังน้ำยาแอร์ ใกล้ที่ที่มีเปลวไฟ หรือใกล้กับสิ่งที่ติดไฟง่าย ป้องกันการระเบิดของตัวถังบรรจุน้ำยาแอร์ หากมีการถ่ายเทน้ำยาแอร์ส่วนเกินออกจากถังน้ำยา จะต้องรู้วิธีการ และอ่านขั้นตอนการเปิดถ่ายเทน้ำยาแอร์ที่ติดข้างถังแบบละเอียด เพราะน้ำยาแอร์หลายประเภทนั้น ทำปฏิกิริยากับอากาศ อาจทำให้เกิดประกายไฟ้ได้ ถ้าถังบรรจุน้ำยาแอร์คุณภาพของถัง จะมีระบบความปลอดภัยอยู่ภายใน ถึงแม้ตัวถังจะหนาก็จริง แต่กันการระเบิดของแรงดันจำนวนมากไม่ได้ หากใช้งานไปนานๆ

เก็บสารทำความเย็นอย่างไรให้ปลอดภัย

เก็บสารทำความเย็นอย่างไรให้ปลอดภัย การจัดเก็บสารทำความเย็นอย่างปลอดภัยและถูกต้อง ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อความปลอดภัย และการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าเรากำลังใช้สารทำความเย็นประเภทใดก็ตาม จำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอน กฎข้อบังคับ และข้อควรระวัง อย่างถูกต้องและปลอดภัย วิธีการจัดเก็บและการดูแลรักษาสารทำความเย็น สถานที่จัดเก็บ เลือกพื้นที่จัดเก็บที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อป้องกันการสะสมของก๊าซสารทำความเย็น มีอุณหภูมิที่เย็น และแห้ง หลักเลี่ยงแสงแดดและแหล่งความร้อนโดยตรง เนื่องจากสารทำความเย็นบางประเภท อาจมีความไวต่อความผันผวนของอุณหภูมิ หลีกเลี่ยงการเก็บไว้ในที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด การเก็บถังบรรจุ –  เก็บถังบรรจุในลักษณะที่ตั้งตรง บนพื้นผิวที่แข็งแรงและมั่นคง ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการคว่ำหรือล้มได้ ควรหลีกเลี่ยงการวางแนวนอนหรือตะแคง เนื่องจากอาจจะทำให้หัววาล์วเกิดการเสียหายหรือเสี่ยวต่อการรั่วซึมได้ –  การเก็บภาชนะบรรจุควรปิดวาล์วและฝาปิดป้องกันสารทำความเย็นเสมอเมื่อไม่ได้มีการใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของสารทำความเย็น –  ควรแยกประเภทของสารทำความเย็นแต่ละชนิด เพื่อป้องกันการสับสนในการใช้งาน และเพิ่มความปลอดภัย เช่น แยกสารทำความเย็นที่มีการติดไฟออกจากสารทำความเย็นตัวอื่นๆ ตรวจสอบภาชนะบรรจุเป็นประจำ –  ตรวจสอบถังบรรจุว่ามีอุปกรณ์ระบายแรงดันเพื่อหลีกเลี่ยงการเผาไหม้หรือการระเบิดหรือไม่ และควรตรวจสอบถังบรรจุทุกครั้งเมื่อได้รับสินค้าเพื่อตรวจสอบในส่วนของวาล์วแรงดันด้วย –  ตรวจสอบฉลาก โดยถังบรรจุสารทำความเย็นที่ได้มาตรฐาน ต้องมีฉลากบอกรายละเอียดของสารทำความเย็นติดอยู่อย่างชัดเจน –  ตรวจสอบถังบรรจุที่เก็บไว้ด้วยตาเปล่าเป็นระยะๆ เพื่อดูร่องรอยความเสียหายหรือการรั่วไหล เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที –  บันทึกการตรวจสอบทุกครั้ง ทั้งประเภทสารทำความเย็น ปริมาณ วันที่จัดเก็บและใช้งาน เพื่อช่วยตรวจสอบ และติดตามสินค้าคงคลังของธุรกิจคุณได้

R32 สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายโลก

R32 สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายโลก ในระบบปรับอากาศ สารทำความเย็นเป็นสารเคมีที่ใช้เพื่อดูดซับความร้อนและสามารถสร้างลมเย็นผ่านคอมเพรสเซอร์และคอยล์เย็น สารทำความเย็นที่ใช้ในระบบเครื่องปรับอากาศมีหลายประเภท และ R32 เป็นหนึ่งในสารทำความเย็นที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยและยังคงประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนไว้               คุณสมบัติของน้ำยาทำความเย็น R32  –   เป็นสารประกอบเดี่ยว องค์ประกอบของสารทำความเย็นชนิดนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งต่างจากสารทำความเย็นที่เป็นสารผสมชนิดอื่นๆ –  ค่า GWP (Global Warming Potential) ที่ต่ำกว่าสารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น R410A ที่ใช้กันโดยทั่วไป จะมีค่า GWP อยู่ที่ 2090 ซึ่งมากกว่าเป็นสามเท่าของ R32 ที่มีค่า GWP เพียง 675 เท่านั้น –  มีค่าศักยภาพในการทำให้โอโซนลดลง ODP (Ozone Depletion Potential) เป็นค่าปริมาณความเสียหายสารเคมีสามารถทำให้เกิดขึ้นต่อชั้นโอโซน R32 เป็นสารประกอบไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนที่มีค่า ODP เท่ากับศูนย์  ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน –  R32 มีอัตราการเผาไหม้ที่ต่ำ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการกระทบกับสภาพแวดล้อมที่ทำให้อุณภูมิโลกร้อนเพิ่มขึ้น –  R32 มีประสิทธิภาพความเย็นสูง

5 วิธีจัดบ้านโดยไม่ต้องง้อแอร์ในช่วงหน้าร้อน

5 วิธีจัดบ้านโดยไม่ต้องง้อแอร์ในช่วงหน้าร้อน ในปัจจุบันนี้ ด้วยหลายปัจจัยทางด้านสภาพอากาศที่ร้อนแรงของประเทศไทย ทำให้หลายๆที่ ต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน หรือบ้านเรือน เป็นต้น เพื่อจ่ะช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้อยู่อาศัย และช่วยรักษาอุณภูมิภายในห้องอีกด้วย วันนี้เราจะจะมาพูดถึง 5 วิธีการจัดบ้านโดยไม่ต้องง้อแอร์ในช่วงหน้าร้อน เพื่อประหยัดค่าไฟ้ และลดอุณภูมิภายในห้องให้เย็นสำหรับคนงบน้อย ความร้อนในห้องคือ หนึ่งในปัญหาของการอยู่อาศัยที่เราทุกคนต้องพบเจออย่างแน่นอน ไม่ว่าจะอยู่บ้าน หรือคอนโดมิเนียมก็ตาม และนั่นก็คือปัญหาภายในบ้านที่มีอากาศที่ร้อนอบอ้าวในช่วงหน้าร้อนและต้องหาวิธีลดอุณภูมิภายในห้องกันดังนี้ ติดฟิล์มบนกระจก การติดฟิล์มบนกระจกหรือหน้าต่าง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้งบประมาณน้อย การติดฟิล์มมีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดีเช่นกน แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสียเล็กน้อย ในส่วนของการติดตั้งฟิล์มบนกระจกหรือหน้าต่างของเรานั่นเอง ติดตั้งผ้าม่าน การใช้ผ้าม่านม้วน ผ้าม่านพับ และบานพับ มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี แต่ถ้าเลือกใช้ผ้าม่านที่ทำจากผ้าฝ้าย หรือผ้าขนสัตว์ จะทำให้ห้องดูเป็นธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ในการเปลี่ยนผ้าม่านให้เลือกห้องที่รับแสงแดดสูงที่สุดก่อน ติดตั้งพัดลมเพดาน พัดลมเพดานถือว่าเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้กันแทบทุกครัวเรือน เพื่อช่วยการระบายความร้อนของคนภายในห้อง แต่สิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่ขนาดของพัดลมที่ติดตั้งภายในห้อง เพื่อความสมดุลกับอากาศที่ร้อน และพื้นที่ภายในห้องทำให้อุณภูมิภายในห้องรู้สึกเย็นลงได้ เปิดหน้าต่างรับลมจากภายนอก วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เมื่อพระอาทิตย์ตกดินในช่วงนี้ อากาศจะเย็นลงให้เปิดหน้าต่างทิ้งเอาไว้เพื่วยให้อากาศภายนอกเข้ามาภายในห้องและช่วยลดอุณภูมิภายในห้อง แต่ทั้งนี้แล้วก็ควรปิดหน้าต่างก่อนที่อุณภูมิจะสูงขึ้นด้วย ลดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดความร้อน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำเนิดความร้อนมีมากมายหลายชนิด เช่น เตาอบ ไม่โครเวฟ ตู้เย็น

การเลือกใช้สารทำความเย็นให้เหมาะกับการใช้งาน

การเลือกใช้สารทำความเย็นให้เหมาะกับการใช้งาน ในปัจจุบันอุตสาหกรรมทำความเย็นได้เติมโตขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ปรากฎอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสารทำความเย็นที่เป็นจุดเริ่มต้นในการทำความเย็นสู่สินค้า ในการเลือกสารทำความเย็นเบื้องต้น จะมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาอยู่มาก ทั้งต้นทุนการผลิต เรื่องเทคนิค รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม วันนี้จะมากล่าวถึงหัวข้อหลักในการเลือกซื้อสารทำความเย็นให้เหมาะสม ดังนี้ เลือกสารทำความเย็นจำอุณภูมิ หลักเกณณ์ในการเลือกสารทำความเย็นตามอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งการเลือกอุณภูมิและแรงดัน รวมถึงการระบายความร้อน ซึ่งมีผลต่อสินค้าและผลผลผลิตของผู้ประกอบการ แต่ละภาคส่วนของการผลิตที่ใช้อุณภูมิที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของห้องเย็น  การเลือกสารทำความเย็นตามอุณภูมิแบ่งได้ตามประเภทสารทำความเย็นดังนี้ –  สารทำความเย็นสำหรับระบบ High Temperature หรืออุณหภูมิสูง ที่สามารถใช้ได้กับตู้เย็น เครื่องปรับอากาศรถยนต์ Chiller เป็นต้น –  สารทำความเย็นสำหรับระบบ Medium Temperature หรืออุณหภูมิปานกลาง สามารถใช้ได้กับเครื่องปรับอากาศในที่อยู่อาศัยห้องเย็น (Cold Room) ที่ให้อุณหภูมิประมาณ -15 ถึง -20 องศาเซลเซียส รวมถึงรถที่ใช้ในการขนส่งสินค้าแบบรักษาอุณหภูมิ ห้อง Cleanroom และห้องที่ต้องการควบคุมความดันและอุณหภูมิ –  สารทำความเย็นสำหรับระบบ Low Temperature หรืออุณหภูมิต่ำ สามารถใช้ได้กับ ตู้แช่แข็งอาหารตามห้างสรรพสินค้า ห้องเย็นหรือ Cold room ที่มีอุณหภูมิต่ำ

เลือกเครื่องปรับอากาศแบบไหนดี 2023

เลือกเครื่องปรับอากาศแบบไหนดี 2023 แอร์ Inverter แอร์ที่มีอินเวอร์เตอร์จะถูกออกแบบมาเพื่อลดความเร็วของมอเตอร์ แต่มันจะทำงานอย่างเงียบ ๆ ตลอดเวลาเพื่อให้ความเย็นที่สม่ำเสมอแก่เรา หลาย ๆ คนอาจคิดว่าการที่เครื่องทำงานตลอดเวลาอาจฟังดูเหมือนสิ้นเปลืองไฟหรือเปล่า? แต่จริง ๆ แอร์แบบ Inverter จะทำงานแบบหนัก-เบาสลับกันไป กล่าวคือมันสามารถเปลี่ยนระดับความเร็วของมอเตอร์ได้ โดยช่วงที่เบานั้นจะเป็นการติดเครื่องรอไว้ ทำให้แอร์ประเภทนี้ไม่ต้องดับเครื่องแล้วสตาร์ทใหม่ทุกครั้งเหมือนแอร์ทั่วไป แอร์ทั่วไป non-Inverter ในขณะที่แอร์แบบไม่มีอินเวอร์เตอร์นั้นตัวมอเตอร์จะเร่งทำความเย็นอย่างเต็มที่เต็มกำลัง จากนั้นมันก็จะดับเครื่องลงเมื่ออุณหภูมิในห้องเท่ากับอุณหภูมิที่เราตั้งค่าเอาไว้ และเมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าที่กำหนด ตัวมอเตอร์ก็จะกลับมาทำงานใหม่อีกครั้ง กล่าวคือแอร์ชนิดนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนระดับความเร็วของมอเตอร์ได้เลย ทำได้เพียงทำงานกับหยุดทำงานเท่านั้น ซึ่งการทำงานแบบติด ๆ ดับ ๆ เช่นนี้จะกินไฟมากกว่า ทั้งยังส่งผลต่ออายุการใช้งานให้สั้นลงอีกด้วย เลือกแอร์กี่ BTU ดี? การเลือกขนาด BTU นั้น จะขึ้นอยู่กับขนาดของห้องที่เราต้องการติดตั้ง ไม่จำเป็นว่าแอร์ที่ดีจะต้องมี BTU สูง ๆ เสมอไป เพราะ BTU ไม่ใช้ตัววัดคุณภาพของแอร์ หากคุณเลือก BTU ให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง มันก็จะช่วยประหยัดพลังงานและยืดอายุการใช้งานได้มากกว่า ตัวอย่าง เช่น 9000BTU         

สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ R600a กับคุณสมบัติการติดไฟ ?

สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ R600a กับคุณสมบัติการติดไฟ ? ในโลกปัจจุบันสารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มพัฒนาเข้ามาแทนที่สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ในยุคเก่าอย่างแพร่หลายมากขึ้น สารทำความเย็น  R600a ก็เป็นหนึ่งสารทำความเย็นที่เป็นสารทดแทน R134a เช่นกัน เนื่องจากค่า GWP=3 ที่ต่ำกว่า R134a อย่างเห็นได้ชัด เพราะสารทำความเย็น R134a มีค่า GWP=1,430  ปัจจุบันสารทำความเย็น R134a ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบปรับอากาศรถยนต์ รวมถึงตู้เย็นและเครื่องทำความเย็นเชิงพาณิชย์ และสารทำความเย็น R600a ที่เข้ามาทดแทนส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดในการใช้เฉพาะ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และอุปกรณ์ทำความเย็นอื่นที่มีข้อกำหนด           R600a คืออะไร ? R600a เป็นสารทำความเย็นไอโซบิวเทน  ประเภท HC จากที่เราเคยได้ทำความรู้จักกับสารทำความเย็นธรรมชาติ R290 ที่เป็นสารทำความเย็นประเภทติดไฟอีกชนิดไปแล้ว สาร R600a ก็เป็นอีกหนึ่งสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของโพนเพนเช่นกันค่ะ เพียงแต่มีความสามารถในการติดไฟต่ำกว่าสารทำความเย็นตามธรรมชาติแท้ๆ และทั้งสารทำความเย็นทั้งคู่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในเครื่องใช้ที่เป็นไปตามข้อกำหนด เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติไวไฟ  R600a เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตเครื่องเย็นหรือตู้เย็นหลายยี่ห้อ เริ่มหันมาใช้สาร R600a