Category Archives: น้ำยาแอร์บ้าน

เครื่องปรับอากาศมีแต่ลมร้อน เกิดจากสาเหตุอะไรนะ??

เครื่องปรับอากาศมีแต่ลมร้อน เกิดจากสาเหตุอะไรนะ??           อาจจะมีปัญหาในหลายต่อหลายครั้ง ที่กลับมาถึงบ้านหรือถึงห้องแล้วนั้นเมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศแต่ไม่เจออากาศเย็นๆที่ต้องการแต่กลับเจอลมร้อนๆให้อารมณ์เสียแทน แต่อย่าเพิ่งไปโทษว่าเครื่องปรับอากาศของคุณกำลังจะเสียล่ะ เพราะเราควรจะต้องดูถึงปัจจัยโดยรอบของเครื่องปรับอากาศด้วย ลองมาตรวจสอบดูเบื้องต้นก่อนว่ามันเกิดขึ้นจากอะไรกันแน่….             1. ต้องเช็คที่รีโมทหรือสวิทซ์ก่อน ก่อนที่จะหาสาเหตุอื่นควรที่จะมามองหาว่าโปรแกรมที่ตั้งเอาไว้หรืออาจจะเกิดอุบัติเหตุตั้งโหมดผิดโดยไม่รู้ตัวก็ได้ ฉะนั้นควรตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เสียเวลาในการเรียกช่างซ่อมแอร์มาให้เสียเวลาและเสียเงิน           2. เช็คภายในห้องเสียก่อนเมื่อระดับอุณหภูมิห้องที่สูงเกินไป หรือไม่เย็นขึ้นเมื่อเปิดเครื่องเครื่องปรับอากาศ ก็ควรเช็คสภาพห้องด้วยว่ามีการเปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งเอาไว้หรือไม่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกิดความร้อนอย่างกาไฟฟ้าหรือเตารีด หรือมีสิ่งที่กีดขวางทางลมหรือช่องลมหรือไม่ อีกทั้งหากในห้องมีคนที่มากจนเกินไปจนทำให้ห้องมีความเย็นช้าลงหรือไม่มากเท่าที่ควร           3. เครื่องปรับอากาศไม่เย็นแต่คอมเพรสเซอร์ยังทำงาน  สาเหตุส่วนใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นนั่นคือเครื่องปรับอากาศนั้นสกปรก ต้องทำการล้างทำความสะอาดด้วยวิธีที่ถูกต้อง หรืออาจจะน้ำยาแอร์ขาด ควรที่จะตรวจสอบให้ดีและเติมน้ำยาแอร์ปีละ 2 ครั้งโดยช่างผู้ชำนาญ หรืออีกสาเหตุคือระบบน้ำยาแอร์ตัน ฉะนั้นจะต้องเปลี่ยน Capillary Tube (ตัวฉีดน้ำยา), ตัวกรองความชื้นและระบบเติมน้ำยา หากมีการอุดตัน ก็ควรที่จะเปลี่ยนอะไหล่ใหม่เสีย เพื่อความปลอดภัย             4. เครื่องปรับอากาศไม่เย็นและคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน  สายไฟที่เชื่อมต่อป้อนไฟฟ้าที่ตัวเครื่องปรับอากาศ อาจจะเกิดหลุด ขาดหรือมีการชำรุด ซึ่งควรที่จะตรวจเช็ค หาจุดที่สายไฟเสียหายและควรที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญหรือช่างแอร์ที่มีประสบการณ์มาเปลี่ยน           5. เครื่องปรับอากาศไม่เย็น มีเสียงดัง  ข้อสันนิฐานคือเครื่องปรับอากาศปรับอากาศนั้นสกปรก แก้ไขด้วยการทำความสะอาดด้วยปั๊มน้ำแรงดันสูงและควรเรียกช่างผู้มีประสบการณ์เข้ามาแก้ไข อีกสาเหตุคือมอเตอร์ของบานสวิงหน้าแอร์เสียหรือบานสวิงหัก ทำให้ลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศไม่ออกมาอย่างเต็มที่ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เครื่องปรับอากาศไม่เย็นและเกิดเสียงดัง ควรเรียกช่างมาตรวจดูอย่างเร่งด่วน

ข้อเสียของการปรับแอร์ให้เย็น เกินความจำเป็น

ข้อเสียของการปรับแอร์ให้เย็น เกินความจำเป็น ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งที่เครื่องปรับอากาศเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่การปรับเครื่องปรับอากาศให้เย็นเกินไปอาจส่งผลเสียหลายอย่าง ทั้งเรื่องสุขภาพ ประหยัดพลังงาน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน           การใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิเป็นเรื่องปกติ และจำเป็นในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้แอร์นี้อาจสร้างผลกระทบทางสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมหากมีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เพราะการตั้งอุณหภูมิที่เย็นเกินไป ในบริบทของประเทศไทย มีหลายๆ เหตุผลที่ทำให้ผู้คนปรับเครื่องปรับอากาศเย็นเกินไป เนื่องจากความร้อนที่มากขึ้น อาจทำให้รู้สึกว่าต้องการความเย็นมากขึ้น ซึ่งทำให้พวกเขาปรับอุณหภูมิแอร์ลงมากเกินไป นอกจากนี้ บางครั้งความคิดเห็นทางสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวกับความสะอาด และความเย็นสบายอาจทำให้ผู้คนรู้สึกว่าการใช้เครื่องปรับอากาศที่มีความเย็นเกินไปเป็นสิ่งที่ควรทำ อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องปรับอากาศที่เย็นเกินไปในประเทศไทยไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบทางสุขภาพ แต่ยังมีผลต่อการใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม การใช้แอร์เครื่องปรับอากาศในระดับที่ต่ำมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานที่สูงเพื่อให้เครื่องคงทำงานในสภาพอากาศที่ร้อน นอกจากนี้ มันยังส่งเสริมการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกอีกด้วย         ข้อเสียของการใช้แอร์ที่เย็นเกินไป การปรับแอร์ให้เย็นเกินไปนั้นอาจดูเหมือนเป็นวิธีที่ดีในการหลบหนีจากความร้อนเพียงชั่วคราว แต่ผลกระทบที่ถูกมองข้ามไปมันมีหลายเรื่อง ผลกระทบไม่เพียงแต่ส่งเสริมสุขภาพที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ยังสร้างผลกระทบในมิติทางสังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ความจริงที่แท้จริงคือ ผลกระทบทั้งหมดนี้อาจจะไม่เป็นที่แจ้งให้เราเห็นอย่างชัดเจนในระยะสั้น แต่แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบรุนแรง และถาวรแก่คุณภาพชีวิตของเราในระยะยาว           ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น จากการใช้แอร์ที่เย็นเกินไป หลายครั้ง เรามักจะละเลยการคิดถึงผลกระทบของอุณหภูมิที่เย็นเกินไปที่มีต่อสุขภาพ อุณหภูมิที่เย็นเกินไปอาจทำให้ร่างกายมีปัญหาในการปรับทั้งทางกายภาพและจิตใจ ดังนี้ เราจึงมีปัญหาสุขภาพบางประการที่เกิดขึ้นจากการใช้แอร์ที่เย็นเกินไปมาแจงให้ทราบค่ะ ความสามารถในการทำงานลดลง: ร่างกายของเราจะต้องทำงานหนักเพื่อปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิที่ต่ำเกินไป

สารทำความเย็นรั่วแล้วจะเป็นอย่างไร

สารทำความเย็นรั่วแล้วจะเป็นอย่างไร สารทำความเย็น หรือ น้ำยาแอร์ เป็นตัวกลางสำคัญในการสร้างความเย็นของระบบทำความเย็น และ ปรับอากาศ โดยปกติแล้วสารทำความเย็นจะไหลเวียนอยู่ในระบบปิด แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้สารทำความเย็นรั่วไหลออกจากระบบ สารทำความเย็นเหล่านี้จะไปสู่ที่ไหนบ้าง ? สู่ชั้นบรรยากาศ สารทำความเย็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารทำความเย็นรุ่นเก่า เช่น คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) และไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (HCFCs) จะระเหยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อสะสมในชั้นบรรยากาศ จะสามารถก่อให้เกิดการทำลายชั้นโอโซนและเป็นก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม หากสารทำความเย็นรั่วไหลลงสู่ดินหรือแหล่งน้ำ มันสามารถนำไปสู่การปนเปื้อนในพื้นที่นั้น แม้ว่าจะเป็นสารทำความเย็นที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นพิษก็ตาม แต่การปนเปื้อนดังกล่าวยังคงสามารถสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศในพื้นที่ได้ สู่มนุษย์ในด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ปิด สารทำความเย็นที่รั่วไหลสามารถทำให้ออกซิเจนในอากาศลดลงและก่อให้เกิดอันตรายจากการขาดออกซิเจน และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหากสูดดม/สัมผัสเข้าไปในปริมาณมาก สู่อุปกรณ์ทำความเย็น การรั่วไหลของสารทำความเย็นสามารถทำให้อุปกรณ์ทำความเย็นเสียหาย หรือลดประสิทธิภาพการทำงานได้ เช่น ทำให้เกิดการกัดกร่อน ที่สร้าง ความเสียหายต่อวัสดุและโครงสร้างใกล้เคียง การรั่วไหลของสารทำความเย็นไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่หายไปจากระบบทำความเย็นเท่านั้น แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นของผลกระทบหลากหลายมิติ ทั้งระบบ มนุษย์ ไปจนปัญหามหาภาคอย่างสิ่งแวดล้อม  นอกจากการซ่อมแซมรอยรั่วแล้ว เราทุกคนควรให้ความสำคัญตั้งแต่ต้นเหตุ อย่างการบำรุงรักษาระบบเป็นประจำ หรือการเปลี่ยนไปใช้สารทำความเย็นที่มี GWP ต่ำที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เช่น สารทำความเย็นประเภท ไฮโดรฟลูออโรโอเลฟิน (HFOs)  ที่ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

วิธีการใช้เครื่องปรับอากาศในช่วงหน้าฝน

วิธีการใช้เครื่องปรับอากาศในช่วงหน้าฝน เมื่อเข้าสู่ในช่วงฤดูฝน จะต้องเจอกับสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งอากาศร้อนจัด มีฝนตกหนัก มีพายุ มีลมแรง  และต้องเจอกับอากาศที่มีความชื้นค่อนข้างสูงยิ่งต้องคอยเช็คและดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้ามาเป็นพิเศษ แอร์หรือเครื่องปรับอากาศก็ไม่ควรที่จะละเลย หากจะมีการเปิดเครื่องปรับอากาศในขณะที่ฝนตก มีวิธีการใช้งานและวิธีดูแลเครื่องปรับอากาศ ให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับสภาพอากาศและทำให้เครื่องปรับอากาศสามารถใช้งานได้ดี มีประสิทธิภาพ วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการใช้เครื่องปรับอากาศในช่วงหน้าฝนดังนี้ การติดตั้งสายดิน  สิ่งที่ต้องควรระวังสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงหน้าฝนคือความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีความชื้นเป็นจำนวนมาก ควรมีการตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศว่าได้มีการติดตั้งสายดินหรือไม่ ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับเครื่องปรับอากาศว่ามีการรั่วหรือไม่ เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วและอาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ การปรับอุณภูมิ ในช่วงหน้าฝนหากต้องการเปิดเครื่องปรับอากาศ เราจะต้องปรับบลดอุณภูมิขึ้นหรือลง ตามอุณภูมิของร่างกาย ไม่ควรตั้งอุณภูมิที่ต่ำจนเกินไปอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของเราได้ การล้างแอร์ หากมีการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศทุกวัน แม้ในวันที่มีฝนตกหนัก อากาศหนาวยังคงมีการใช้งานที่ต่อเนื่องตลอดเวลา ผู้ใช้ควรเรียกช่างเข้ามาทำความสะอาด เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรค กลิ่นอับ หรือสิ่งสกปรกต่างๆในช่วงที่มีอากาศชื้น และยังช่วยรักษาความสะอาดและยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศได้อีกด้วย การติดตั้งคอมเพรสเซอร์ ควรมีการติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อป้องกันน้ำท่วมหรือสัตว์ต่างๆ เข้าไปอยู่ในคอมเพรสเซอร์ หากมีการติดตั้งคอมเพรสเซอร์แอร์ที่ต่ำจนเกินไป เมื่อมีฝนตกหนักหรือเกิดน้ำท่วมอาจจะส่งผลให้คอมเพลสเซอร์มีปัญหาและเกิดความเสียหายได้ เบรกเกอร์เครื่องปรับอากาศ เมื่อเกิดฝนตกหนัก ทำให้เกิดอาการไฟตก ไฟดับ ในขณะที่เครื่องปรับอากาศกำลังทำงานอยู่ ควรทำการดึงเบรกเกอร์เครื่องปรับอากาศลงเพื่อป้องกันการจ่ายไฟเกิน เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับอุกณณ์ได้ การใช้ฟังก์ชั่น Self Cleaning ซึ่งจะมีในเครื่องปรับอากาศแบบติดผนังในบางรุ่น เมื่อผู้ใช้งานเปิดเครี่องปรับอากาศฟังก์ชั่นนี้  จะช่วยเป่าลมไล่ความชื้นหลังจากการใช้งานเพื่อลดปัญหาความชื้นสะสมที่เป็นสาเหตุของเชื้อราและกลิ่นอับ เป็นที่มาของการสะสมของแบคทีเรีย เพื่อช่วยรักษาความสะอาดให้ดีต่อสุขภาพและยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศได้อีกด้วย

ทำไม น้ำยาแอร์ R134a ถึงกลายเป็นมาตรฐานสำหรับระบบปรับอากาศในปัจจุบัน

ทำไม น้ำยาแอร์ R134a ถึงกลายเป็นมาตรฐานสำหรับระบบปรับอากาศในปัจจุบัน               ในปัจจุบันก๊าซเรือนกระจกที่ปกคลุมโลกจะกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้บนโลก ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ในปัจจุบันภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นเร็วมาก ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสมดุลของธรรมชาติ และจะก่อให้เกิดความเสี่ยงมากมายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลกใบนี้ และปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะพัฒนา สารทำความเย็น ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้ระบบทำความเย็นมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม น้ำยาแอร์ R134a เคยเป็นสารทำความเย็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากและกลายเป็นมาตรฐานในระบบปรับอากาศเป็นระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากมีข้อดีหลายประการที่โดดเด่นกว่าสารทำความเย็นชนิดอื่นๆ ได้แก่ เป็นมิตรต่อชั้นโอโซน น้ำยาแอร์ R134a ไม่มีคลอรีน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำลายชั้นโอโซน ทำให้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการทดแทนสารทำความเย็นชนิดเก่าที่ทำลายชั้นโอโซน เช่น น้ำยาแอร์ R 12 ประสิทธิภาพในการทำความเย็นดี น้ำยาแอร์ R134a มีคุณสมบัติทางอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการใช้งงานในระบบปรับอากาศ ทำให้สามารถทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย น้ำยาแอร์ R134a ไม่ติดไฟ และมีความเป็นพิษต่ำ ทำให้ปลอดภัยต่อการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการใช้งาน น้ำยาแอร์ R134a เริ่มลดลง เนื่องจากหลายปัจจัยดังนี้ ผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน แม้ว่า น้ำยาแอร์ R134a จะไม่ทำลายชั้นโอโซน แต่ก็ยังมีศักยภาพในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูง มีสารทำความเย็นชนิดใหม่ๆ

วิธีการปรับแอร์ให้เย็นเหมาะสม

วิธีการปรับแอร์ให้เย็นเหมาะสม การตั้งค่าอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับแอร์เครื่องปรับอากาศที่คุณใช้งาน ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการปรับเปลี่ยนระดับอุณหภูมิให้เย็นที่สุด แต่เป็นการทำความเข้าใจ และหาจุดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับความสบาย ความมีประสิทธิภาพทางพลังงาน และการดูแลสุขภาพของคุณ การทำความเข้าใจนี้อาจต้องใช้เวลา และการปรับตัวแต่เมื่อคุณทำได้ คุณจะสามารถปรับปรุงคุณภาพการใช้แอร์ของคุณได้ในทางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายขึ้น หาอุณหภูมิที่เหมาะสม: ศูนย์ควบคุมโรคและการป้องกันของสหรัฐแนะนำให้ตั้งอุณหภูมิที่ 24-26 องศาเซลเซียสสำหรับความสบาย อุณหภูมินี้เหมาะสมกับร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่ และสามารถช่วยลดความเย็นเกินไปที่อาจทำให้รู้สึกไม่สบาย ปรับใช้โหมดการทำงานของแอร์: มีแอร์บางรุ่นที่มีโหมดต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและการใช้พลังงาน. การใช้โหมดเหล่านี้อาจช่วยคุณปรับแอร์ให้เย็นเหมาะสม และช่วยลดการใช้พลังงาน ใช้พัดลมเพื่อกระจายลมแอร์: การใช้พัดลมพร้อมกับแอร์สามารถช่วยกระจายลมความเย็นในห้องอย่างเท่าเทียม ช่วยให้คุณรู้สึกสบายแม้ว่าอุณหภูมิจะสูงกว่าการใช้แอร์เดียว ปรับลมแอร์ให้ไม่โดนตรงคน: การทำให้ลมแอร์โดนตรงร่างกายสามารถทำให้คุณรู้สึกหนาวมากกว่าที่ควร การปรับทิศทางลมแอร์ให้ไม่โดนตรงคนสามารถช่วยให้คุณรู้สึกสบาย และป้องกันโรคที่เกิดจากแอร์ ควบคุมความชื้นในห้อง: ความชื้นเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อความสบาย ถ้าห้องของคุณมีความชื้นสูง คุณอาจรู้สึกร้อนแม้ว่าคุณจะลดอุณหภูมิแอร์ การควบคุมความชื้นในห้องสามารถช่วยให้คุณรู้สึกสบายแม้ว่าอุณหภูมิจะสูง การปรับเวลาการทำงานของแอร์: แทนที่จะปล่อยให้แอร์ทำงานตลอดเวลา คุณสามารถตั้งค่าเวลาเปิด – ปิด หรือใช้โหมดการทำงานตามเวลา การปรับปรุงนี้สามารถช่วยให้คุณควบคุมการใช้พลังงานของแอร์ได้ดีขึ้น การปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้เย็นเหมาะสมไม่แค่ทำให้คุณสบาย แต่ยังช่วยให้คุณใช้พลังงานได้อย่างประหยัดและยั่งยืน การปรับแอร์ให้เย็นเกินความจำ เป็นอาจดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดีในที่ร้อนอบอ้าวอย่างประเทศไทย แต่การทำเช่นนี้อาจมีผลกระทบที่ไม่คาดคิดต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ในด้านสุขภาพ การใช้แอร์ที่เย็นเกินไปอาจทำให้ร่างกายทำงานลำบากมากขึ้นในการหาความสุขสบาย อาจส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองอักเสบ และภาวะตาแห้ง อาการที่แสดงถึงความเครียด และความเจ็บป่วย สำหรับสิ่งแวดล้อม การใช้แอร์ที่เย็นเกินไปอาจส่งผลให้เกิดการเสียหายทางสิ่งแวดล้อม

เทคนิคการใช้เครื่องปรับอากาศแบบช่วยประหยัดไฟ

เทคนิคการใช้เครื่องปรับอากาศแบบช่วยประหยัดไฟ แม้จะเข้าสู่ฤดูฝนแล้วแต่อากาศที่ร้อนอบอ้าวทั้งในช่วงเวลากลางวันและก่อนฝนตก ทำให้หลายคนยังต้องเปิดแอร์เพื่อช่วยให้อากาศภายในบ้านยังเย็นสบาย วันนี้เราจึงนำเทคนิคการใช้แอร์ที่ช่วยประหยัดไฟและเงินในกระเป๋ามาฝากกันดังนี้ค่ะ เลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงและประหยัดไฟ           โดยสังเกตจากฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ติดดาว ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการประหยัดไฟยิ่งกว่าเดิมเมื่อเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีฉลากเบอร์ 5 ยิ่งดาวมากยิ่งประหยัดไฟมาก พร้อมทั้งดูแลอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ            เลือกเครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับขนาดห้อง           โดยพิจารณา​จากค่า BTU/hr (British Thermal Unit per hour) ซึ่งเป็นหน่วยสากลที่ใช้วัดขนาดความเย็นของแอร์ และมีความสำคัญ​อย่างยิ่งต่อการประหยัดพลังงาน คนส่วนใหญ่มักเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่เพื่อให้ห้องเย็นเร็วขึ้นซึ่งเป็นการตัดสินใจไม่ถูกต้อง เพราะการใช้แอร์ที่มี BTU สูงเกินความจำเป็นกับขนาดห้องจะทำให้คอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศลดน้อยลง และทำให้ภายในห้องมีความชื้นสูงส่งผลให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่สบายตัว รวมถึงมีราคาแพงเกินความจำเป็น​ แต่หาก​เลือก​เครื่องปรับอากาศที่มี BTU ต่ำเกินไป การทำความเย็นจะช้า ไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ รวมถึงคอมเพรสเซอร์ทำงานหนักจนเกินไป ทำให้เครื่องปรับอากาศเสียเร็ว สิ้นเปลืองพลังงาน และค่าไฟแพงขึ้นอีกด้วย           เลือกตำแหน่งติดตั้งแอร์เครื่องปรับอากาศและคอมเพรสเซอร์ให้เหมาะสม           โดยหลีกเลี่ยงการติดตั้งแอร์ในทิศตะวันตก เนื่องจากบริเวณดังกล่าวจะโดนแสงแดดส่องในช่วงบ่ายทำให้ความร้อนสูง แอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้น เช่นเดียวกับการติดตั้งคอมเพรสเซอร์ให้หลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นพื้นปูน ดาดฟ้า มุมอับที่อากาศไม่ค่อยถ่ายเท หรือได้รับแสงแดดโดยตรง เพราะคอมเพรสเซอร์แอร์เป็นอุปกรณ์​ระบายความร้อนจึงควรอยู่ในที่ร่ม และยกสูงเหนือพื้น​ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดียิ่งขึ้นและประหยัดพลังงาน          

เปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมพัดลม ช่วยประหยัดไฟได้จริงไหม

เปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมพัดลม ช่วยประหยัดไฟได้จริงไหม               ในช่วงที่อากาศร้อนจัด เราก็ต้องการความเย็นในบ้านที่มากขึ้น ซึ่งอุปกรณ์ทำความเย็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ เครื่องปรับอากาศหรือแอร์นั่นเอง แต่หากเราจะเปิดเครื่องปรับอากาศอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานไม่เพียงแต่จะมีค่าไฟที่เพิ่มมากขึ้น แถมยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย หลายๆ คนคงทราบกันแล้วว่า การเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ พร้อมกับพัดลม สองเครื่องพร้อมกันจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้จริงไหม และควรต้องใช้ควบคู่กันอย่างไร               วิธีการเปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมพัดลมควบคู่กันมีดังนี้ ตั้งอุณภูมิเครื่องปรับอากาศให้สูงขึ้นกว่าปกติ แนะนำให้เปิดที่ 25 องศา เปิดพัดลมให้เปิดแบบจ่อไปในจุดที่เรานั่ง หรือนอนโดยตรง แต่ไม่ควรเปิดพัดลมให้แรงจนเกินไป ปัจจัยที่ทำให้ห้องเย็นเมื่อเราเปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมพัดลม คือ อุณภูมิ ความชื้นสมพันธ์ และความเร็วของลม หากต้องการให้ห้องมีความเย็นประมาณ 23 องศา ให้ตั้งอุณภูมิเครื่องปรับอากาศประมาณ 25 องศา แล้วเปิดพัดลมจ่อในต่ำแหน่งที่เราอยู่ หากต้องการอุณภูมิที่เพิ่มขึ้นมากว่า 23 องศา ให้ทำการตั้งอุณภูมิบวกเพิ่มไปอีกประมาณ 2 องศา แล้วเปิดพัดลมจ่อตรงจุดที่เราอยู่เช่นเดิม               ประโยชน์ของการใช้เครืองปรับอากาศและพัดลมร่วมกัน 1. ช่วยประหยังพลังงานและค่าใช้จ่าย จากการเปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมกับพัดลมนั้น จะช่วยลดการใช้พลังงานและช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากถึง 40% เนื่องจากระยะเวลาในการใช้เครื่องปรับอากาศจะลดลง ช่วยให้ห้องได้รับความเย็นได้ในระดังที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้การไหลเวียนของอากาศได้ดีขึ้น ในขณะที่เราเปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อที่จะปรับอุณภูมิของห้อง

เปิดแอร์แล้ว ทำไมแอร์ไม่เย็นสักที

เปิดแอร์แล้ว ทำไมแอร์ไม่เย็นสักที               อย่างที่ทราบกันดี อากาศในประเทศไทยเรา ค่อนข้างร้อนถึงร้อนมาก จึงทำให้เราต้องเปิดแอร์ทุกวันและทั้งวัน  แต่บางทีหลังจากออกไปข้างนอกกลับมาซึ่งไปเจอกับอากาศที่ร้อน อยากพักผ่อน เปิดแอร์ให้เย็นสบาย แต่แอร์กลับไม่เย็นอย่างที่คิด สาเหตุหลักๆที่ทำให้แอร์ของเราไม่ย็น หรือ เย็นช้าเกิดจากอะไร ขนาดของแอร์และขนาดห้อง ก่อนที่เราจะทำการติดตั้งแอร์ เราต้องคำนวณขนาดของห้องกับขนาดของแอร์ก่อน เพื่อความเหมาะสม หากห้องต้องการติดแอร์ขนาด 18000 BTU  เราอาจจะเลือกแอร์ตามขนาดที่ต้องการ แต่ไม่ได้คำนวณว่าห้องมีแดดส่อง และต้องเปิดประตูรับลมร้อนเข้าและออกตลอดเวลา ก็จะทำให้แอร์ที่เลือกเย็นช้าได้ เราจึงต้องเพิ่มขนาด BTU ของแอร์ การตั้งค่าอุณภูมิผิด บางครั้งอากาศข้างนอกอาจจะมีปรับเย็นลงบ้าง นั้นหมายถึงอุณภูมิของประเทศไทยจะอยู่ที่ 24 องศาเซลเซียส เรียกได้ว่าเย็นเลยทีเดียว แล้วเราอาจจะลืมไปว่าอากาศบ้านเราไม่เคยเย็นได้ขนาดนี้ จึงทำการปรับตั้งอุณภูมิประมาณ 25-26 องศาเซลเซียส ซึ่งแบบนี้เครื่องจะไม่ทำงานแน่นอนเพราะอากาศข้างนอกมันปรับเย็นแล้ว ดังนั้นเราควรปรับตั้งอุณภูมิต่ำกว่าอากาศข้างนอกห้องประมาณ 22-23 องศาเซลเซียน เครื่องปรับอากาศก็จะทำงานอย่างเย็นฉ่ำอย่างแน่นอน ตั้งค่ารีโมทผิดประเภท แอร์รุ่นใหม่ๆมักจะมีฟังก์ชั่นเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้อาจจะเกิดการสับสนในการใช้รีโมท ทำให้เกิดการ กดผิด กดถูก และแอร์หลายๆรุ่นจะมีโหมด Econo ที่ช่วยประหยัดไฟฟ้าแต่ไม่ได้ช่วยให้ห้องของเราเย็น ดังนั้นจะต้องปรับให้เป็นโหมด Cool เพื่อช่วยเร่งทำให้ห้องของเราเย็นสบายและทั่วถึง

ระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศแตกต่างกันอย่างไร

ระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศแตกต่างกันอย่างไร               ปัจจุบันระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศมีหน้าที่เหมือนกัน นั่นคือ สร้างอากาศให้เกิดความเย็น แต่ก็มีความแตกต่างกันในบางรายละเอียด เช่น วัตุประสงค์ อุณภูมิ ไปจนถึงสารทำความเย็น               ระบบทำความเย็น  คือการทำความเย็น นั่นหมายถึง การนำความร้อนจากสารหรือวัตถุที่ต้องการทำความเย็นออกไป โดยเน้นการระบายความร้อนเป็นหลัก ทำให้อุณภูมิลดลงตามความต้องการ               ระบบปรับอากาศ คือ กระบวนการขจัดความร้อนและความชื้นออกไป เพื่อทำให้ได้สภาพแวดล้อมภายในที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น จากที่เราเห็นในการใช้ชีวิตประจำวันโดยทั่วไป อย่างการกระจายเครื่องปรับอากาศไปยังพื้นที่ต่างๆในอาคาร บ้านเรื่อ เพื่อให้ได้ความสะดวกสบายและคุณภาพอากาศแก่ผู้พักอาศัย โดยจะครอบคลุมถึงเทคโนโลยีอื่นๆในด้านการปรับอากาศที่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานะของอากาศได้ด้วย เช่น การระบายอากาศ การกรองอากาศ เป็นต้น ความแตกต่างระหว่างระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศมีดังนี้ วัตุประสงค์ ระบบทำความเย็น จะมีเป้าหมายในการทำงานเป็นการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ของสินค้า ที่มีการเน่าเสียได้ง่าย โดยการรักษาในอุณหภูมิที่ต่ำและสม่ำเสมอ เช่น ตู้แช่แข็ง และห้องเย็น เพื่อช่วยในการชะลอการเน่าเสียและช่วยยืดอายุการเก็บอาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น  ระบบปรับอากาศ จะมีเป้าหมายเพื่อควบคุมอุณภูมิ สภาพอากาศ และความชื้นภายในพื้นที่ โดยเน้นถึงความสะดวกสบายของเป็นหลัก และสร้างสภาพแวดล้อมที่เย็นสบายภายในอาคารบ้านเรือน การควบคุมความชื้น               ระบบทำความเย็น โดยทั่วไปจะไม่มีระบบความคุมความชื้นโดยเฉพาะ แต่อาจจะมีคุณสมบัติป้องกันการสะสมตัวของน้ำยาแข็ง ที่อาจจะส่งผลต่อระดับความชื้นภายในตัวเครื่อง