Category Archives: สารทำความเย็น

9 วิธีใช้เครื่องปรับอากาศ ให้ประหยัดค่าไฟ

9 วิธีใช้เครื่องปรับอากาศ ให้ประหยัดค่าไฟ              อากาศร้อน ๆ จะเปิดแอร์ทั้งวันให้ฉ่ำกาย สบายใจ ก็เกรงค่าไฟจะเพิ่มสูงขึ้นตามอุณหภูมิความร้อน อีกทั้งยังเปลืองพลังงานอีกด้วย BnB home จึงอยากช่วยคุณให้เย็นกาย เย็นใจ คลายความร้อนจากทั้งอากาศและบิลค่าไฟ ด้วยการแนะนำวิธีใช้แอร์อย่างไร ให้ประหยัดค่าไฟในช่วงที่อากาศร้อน ๆ           1. ล้างแอร์เป็นประจำ           หากใช้แอร์เป็นประจำ ก็ควรล้างแอร์เป็นประจำ จะช่วยประหยัดค่าไฟได้ ซึ่งเวลาที่เหมาะสมคือ ทุก 6 เดือน หรือสามารถดูตามความเหมาะสมในการใช้งานแอร์ได้เลย เช่น หากเปิดแอร์แล้วไม่เย็น เบื้องต้นให้ถอดแผ่นกรองอากาศออกมาล้างทุก 2 – 3 เดือน เพราะแอร์ที่ใช้งานบ่อย ๆ จะทำให้มีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกสะสมอยู่ หากไม่ทำความสะอาด แอร์จะทำงานหนัก และกินไฟมากกว่าเดิม           2. เปิดห้องเพื่อระบายอากาศ           ก่อนเปิดแอร์เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศหมุนเวียนเข้าไปในห้องที่กำลังจะเปิดแอร์ ช่วยระบายความร้อนที่สะสมอยู่ในห้องก่อน เมื่อเปิดแอร์ ก็จะทำให้อุณหภูมิในห้องเย็นได้เร็วขึ้น แอร์จะได้ไม่ทำงานหนักเกินไป

ส่วนประกอบของสารทำความเย็นมีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของสารทำความเย็นมีอะไรบ้าง สารทำความเย็น ที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “น้ำยาแอร์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่ใช้ในระบบทำความเย็นและปรับอากาศ เป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่รับ ดูดซับ และถ่ายเทความร้อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยส่วนผสมหรือส่วนประกอบในสารทำความเย็นอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสูตรเฉพาะและประเภทของสารทำความเย็น การใช้งาน ความต้องการของระบบ และมาตรฐานด้านกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ  ส่วนประกอบหลักที่พบในถังสารทำความเย็นมีดังต่อไปนี้ สารทำความเย็น สารหลักของถังสารทำความเย็นคือสารทำความเย็น ที่เป็นส่วนประกอบของเคมีพื้นฐาน ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในรูปของเหลวหรือก๊าซภายใต้ความดัน สารทำความเย็นเป็นสารประกอบทางเคมีที่ต้องผ่านการเปลี่ยนเฟส เพื่อดูดซับและปล่อยความร้อนระหว่างวงจรการทำความเย็น  สารทำความเย็นหลายชนิดได้รับการผสมสูตรจากสารประกอบเคมีหลายชนิดเพื่อให้ได้คุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์และคุณลักษณะด้านประสิทธิภาพที่ต้องการ ความบริสุทธิ์ สารทำความเย็นที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพตามความต้องการ เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความเสถียรของสารทำความเย็น จำเป็นต้องมีคุณสมบัติค่าความบริสุทธิ์สูง โดยผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์เพื่อขจัดสิ่งเจือปนและสิ่งปนเปื้อน เช่น – การกลั่น เพื่อแยกส่วนประกอบต่างๆ และขจัดสิ่งสกปรก – การกรอง เพื่อขจัดอนุภาคของแข็งและสิ่งปนเปื้อน – การบำบัดด้วยสารเคมี   เพื่อทำให้กรดเป็นกลาง ขจัดความชื้น หรือทำให้สารทำความเย็นคงตัว สารเติมแต่ง สารทำความเย็นบางชนิดอาจมีสารเติมแต่งหรือสารเพิ่มความคงตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงการหล่อลื่น ป้องกันการสลายตัวของสารเคมี หรือตอบสนองข้อกำหนดการใช้งานเฉพาะ สารเติมแต่งอาจรวมถึงสารยับยั้งการกัดกร่อน สารเพิ่มความคงตัว สารเพิ่มประสิทธิภาพการนำความร้อน สารขับดัน (ผลิตภัณฑ์สเปรย์) สารหล่อลื่น สีย้อมสำหรับตรวจจับการรั่วไหล และสารแต่งกลิ่นเพื่อให้ตรวจจับกลิ่นได้ในกรณีที่เกิดการรั่วไหล ความดัน

สารทำความเย็นเปลี่ยนเป็นความเย็นได้อย่างไร ?

สารทำความเย็นเปลี่ยนเป็นความเย็นได้อย่างไร ? สารทำความเย็น เป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับเครื่องทำความเย็น และการควบคุมการจ่ายสารทำความเย็นในระบบ 𝗛𝗩𝗔𝗖 หรือระบบปรับอากาศ และระบบทำความเย็น เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบและขั้นตอนต่างๆ ทั้งการจัดการการไหลของน้ำยา  ความดัน การควบคุมอุณหภูมิของสารทำความเย็น (𝗥𝗲𝗳𝗿𝗶𝗴𝗲𝗿𝗮𝗻𝘁) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำความเย็น และเปลี่ยนสถานะ ด้วยการใช้ความร้อนแฝงเข้ามาช่วยผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทำความเย็น โดยผ่านการควบคุม และการจ่ายผ่านหน้าที่ของอุปกรณ์ต่อไปนี้ การควบคุมการไหลของสารทำความเย็น 𝗧𝗵𝗲𝗿𝗺𝗮𝗹 𝗘𝘅𝗽𝗮𝗻𝘀𝗶𝗼𝗻 𝗩𝗮𝗹𝘃𝗲 (𝗧𝗫𝗩) หรือ เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของสารทำความเย็นเข้าสู่คอยล์เย็น (Evaporator) ตามอุณหภูมิของสารทำความเย็นที่ออกจากคอยล์เย็น 𝗖𝗮𝗽𝗶𝗹𝗹𝗮𝗿𝘆 𝗧𝘂𝗯𝗲 ท่อควบคุมการไหลของสารทำความเย็นเข้าสู่ คอยล์เย็น (Evaporator) ตามความยาวและเส้นผ่านศูนย์กลาง การควบคุมความดัน 𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗥𝗲𝗹𝗶𝗲𝗳 𝗩𝗮𝗹𝘃𝗲 (𝗣𝗥𝗩) วาล์วระบายแรงดัน รีลีฟวาล์ว ทำหน้าที่ปล่อยสารทำความเย็นส่วนเกินในกรณีที่มีแรงดันเกิน เพื่อป้องกันความเสียหายต่อระบบ ในกรณีเมื่ออุณหภูมิและความดันของสารทำความเย็นภายในระบบด้าน High side สูงเกินกว่าปกติ 𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗧𝗿𝗮𝗻𝘀𝗱𝘂𝗰𝗲𝗿 ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจสอบ และวัดความดันของระบบให้กับระบบควบคุมเพื่อการปรับเปลี่ยนแรงดันให้เหมาะสม การควบคุมอุณหภูมิ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิสารทำความเย็น

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ สารทำความเย็น HFC

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ สารทำความเย็น HFC ปัจจุบันนอกจากระบบปรับอากาศที่ใช้กันแพร่หลายทั้ง เครื่องปรับอากาศในรถยนต์ หรือเครื่องปรับอากาศในบ้านเรือนแล้ว นอกจากนี้ระบบทำความเย็นยังเข้ามามีส่วนสำคัญ ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆเช่น อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง หรือ การสร้างห้องเย็น เพื่อเก็บรักษาคุณภาพอาหาร ให้มีความสด เก็บไว้ให้ได้นาน บทความนี้จะมาช่วยให้เราทราบถึง สารทำความเย็นอีกประเภทหนึ่ง นั้นคือ สารทำความเย็น HFC (Hydrofluorocarbon) สารทำความเย็น HFC (Hydrofluorocarbon) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยไฮโดรเจน ฟลูออรีนและคาร์บอน ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบทำความเย็นและปรับอากาศ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสม เช่นมีจุดเดือดต่ำ ความดันไอสูง และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ประเภทของสารทำความเย็น HFC (Hydrofluorocarbon) มีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีจุดเด่นและข้อด้อยที่แตกต่างกันออกไป ที่นิยมใช้กันปัจจุบัน ได้แก่ R134a เป็นสารทำความเย็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน มีจุดเดือดต่ำ ความดันไอสูง และไม่เป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศ แต่มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อน R410A เป็นสารทำความเย็นที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทน R22 มีจุดเดือดต่ำ ความดันไอสูง และไม่เป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศ และมีศักยภาพในการทำให้โลกร้อนเช่นกัน R32 เป็นสารทำความเย็นที่มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อนต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสารทำความเย็นชนิดอื่นๆ แต่มีจุดเดือดสูงและความดันไอต่ำ จึงต้องอาศัยคอมเพรสเซอร์ที่มีกำลังสูงขึ้น

สารทำความเย็นที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย

สารทำความเย็นที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย             ปัจจุบันมีความพยายามที่จะพัฒนา สารทำความเย็น ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพในการทำความเย็น ในการพัฒนาสารทำความเย็นเป็นงานวิจัยที่ท้าทาย เนื่องจากจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ ทั้งประสิทธิภาพในการทำความเย็น ความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้งานเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาสารทำความเย็นชนิดใหม่อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ระบบทำความเย็นมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม             สารทำความเย็น (Refrigerant) คือ สารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซับความร้อนได้ดี โดยสารทำความเย็นจะถูกนำไปใช้ในระบบทำความเย็นเพื่อดูดซับความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น ก่อนที่จะปล่อยความร้อนออกจากบริเวณนั้นไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า สารทำความเย็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ตามคุณสมบัติดังนี้ สารกลุ่ม CFC (Chlorofluorocarbon) ประกอบด้วย คลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่น R11, R12, R114, R115, R502 เป็นต้น สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่ดีในการทำความเย็น แต่มีผลกระทบต่อชั้นโอโซน จึงถูกห้ามใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 สารกลุ่ม HCFC (Hydrochlorofluorocarbon) ประกอบด้วย คลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่นเดียวกับสารกลุ่ม CFC แต่มีคลอรีนน้อยกว่า จึงไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซนเท่าสารกลุ่ม

น้ำยาทำความเย็นของตู้แช่ในปัจจุบันที่นิยมใช้ในประเทศ

น้ำยาทำความเย็นของตู้แช่ในปัจจุบันที่นิยมใช้ในประเทศ    ปัจจุบัน น้ำยาทำความเย็นเป็นสารที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ไม่สามารถผลิตขึ้นได้ในประเทศไทย ซึ่งก็มีหลากหลายที่ใช้ในอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ทั้ง อุตสาหกรรมแอร์บ้าน แอร์รถยนต์ อุตสาหกรรมห้องเย็น เป็นต้น เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการใช้งานต่างๆ    ส่วนน้ำยาทำความเย็นของตู้แช่เป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติดูดซับความร้อนได้ดี เมื่อน้ำยาทำความเย็นถูกอัดให้มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง น้ำยาจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นก๊าซ จากนั้นจะถูกส่งไปยังคอยล์ร้อนเพื่อระบายความร้อน น้ำยาจะเปลี่ยนสถานะจากก๊าซกลับเป็นของเหลว เมื่อน้ำยาทำความเย็นถูกส่งไปยังคอยล์เย็น น้ำยาจะดูดซับความร้อนจากภายในตู้แช่ ทำให้อุณหภูมิภายในตู้แช่ลดลง น้ำยาทำความเย็นของตู้แช่ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้ R134a เป็นสารทำความเย็นที่ไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน (ODP = 0) และมีค่าศักยภาพในการเพิ่มภาวะโลกร้อน (GWP) ต่ำ (GWP = 1430) เป็นสารทำความเย็นเชิงเดี่ยว มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 100-110 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -26 C◦   ใช้ในตู้เย็นครัวเรือนและตู้แช่เชิงพาณิชย์ สามารถเติมได้เลยถ้าเกิดการรั่วหรือน้ำยาแอร์ในระบบขาด ซ่อมบำรุงได้ง่ายไม่ยุ่งยากมาก อีกทั้งราคายังไม่สูงมากด้วย สามารถหาซื้อได้ง่ายมีอยู่ทั่วไป R407F เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของสารทำความเย็น 3 ชนิด (R32, R125 และ

“แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HFCs ในอนาคต”   

“แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HFCs ในอนาคต”  การทยอยลดปริมาณการผลิต และการใช้สารทำความเย็น HCFCs และ HFCs ในอนาคตอันใกล้ เป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้สารทำความเย็นในอุตสาหกรรม ที่ต้องหาความสมดุลในการเลือกใช้อุปกรณ์ทำความเย็น และสารทำความเย็นที่เหมาะสม โดยมีปัจจัยอย่างราคาต้นทุน ความปลอดภัย ประสิทธิภาพและความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความยั่งยืน และความต้องการของอนาคต ก่อนที่จะเลือกหรือเปรียบเทียบสารทำความเย็น ควรพิจารณาระบบทำความเย็นประกอบการตัดสินใจในการเปลี่ยนสารทำความเย็นทดแทนด้วย โดยการเปลี่ยนสารทำความเย็นสามารถทำได้ 3 วิธี Drop-in คือ การใช้ชุดอุปกรณ์เดิมแต่เปลี่ยนเฉพาะสารทำความเย็น Retrofi คือ การเปลี่ยนแปลงชุดอุปกรณ์แค่บางส่วน New Syste คือ การเปลี่ยนชุดอุปกรณ์ใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อสารทำความเย็นใหม่โดยเฉพาะ การพิจารณาว่าจะใช้วิธีใด นั้นขึ้นอยู่กับสารทำความเย็นใหม่ที่ต้องการเลือกใช้ ไปจนถึงอายุการใช้งานของระบบทำความเย็น หรือปรับอากาศ หากใช้ระบบเดิมมาไม่นาน วิธี Drop-in หรือ Retrofit นับเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะประหยัดต้นทุนในการติดตั้งชุดอุปกรณ์ใหม่ รีโทรฟิตติง ( retrofitting ) คือวิธีการปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น โดยจะต้องทำการเปลี่ยนสารหล่อลื่นรวมทั้งอาจจะต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บางส่วน เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานของสารทำความเย็นชนิดใหม่ การปรับระบบทำความเย็นที่มีอยู่เพื่อใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังต่อไปนี้ ความเข้ากันได้