Category Archives: Uncategorized

การตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นเชิงพาณิชย์

การตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นเชิงพาณิชย์ อุปกรณ์ทำความเย็นเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ห้องเย็น หรือโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีระบบทำความเย็นเชิงพาณิชย์ ควรบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน รวมถึงลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในระยะยาว ป้องกันการหยุดทำงานของเครื่องทำความเย็น จากคำแนะนำของผู้ผลิตอุปกรณ์ทำความเย็น ต้องการให้ผู้ใช้งานตรวจสอบตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ อย่างครบถ้วน เพื่อเป็นการช่วยรักษาการรับประกันของผู้ผลิตอุปกรณ์ไปในตัวและนี่คือรายการตรวจสอบการบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นเชิงพาณิชย์ ที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ งานบำรุงรักษารายเดือน (Monthly Maintenance Tasks) ระบบป้อนของเหลว (Liquid Overfeed System) – ตรวจสอบมอเตอร์ปั๊ม สตาร์ทเตอร์ และสายไฟ – ตรวจสอบปั๊มและมอเตอร์ทำงานภายในขีดจำกัดของอุปกรณ์ – ทดสอบและปรับจุดตัดความปลอดภัยของปั๊ม อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (PLC) – ทดสอบและปรับเทียบสารทำความเย็น – ตรวจสอบ และทดสอบการแจ้งเตือน – ตรวจสอบการแจ้งเตือนภายนอก (BMS, ระบบตรวจสอบสัญญาณเตือน ฯลฯ) คอมเพรสเซอร์ – ตรวจสอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ งานบำรุงรักษารายไตรมาส (Quarterly Maintenance Tasks) คอมเพรสเซอร์ – ตรวจสอบเวลาการทำงานของระบบทำความเย็น วิเคราะห์น้ำมัน เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง

ระบบปรับอากาศ Air Conditioning ขนาดใหญ่ในอาคาร

ระบบปรับอากาศ Air Conditioning ขนาดใหญ่ในอาคาร ระบบปรับอากาศ Air Conditioning คืออะไร ตามปกติเมื่อได้ยินคำว่า “การปรับอากาศ หรือ ระบบปรับอากาศ” สิ่งแรกที่ทุกคนเข้าใจก็คือการทำอากาศให้เย็นเท่านั้น แต่ในความหมายที่แท้จริงของคำว่าการปรับอากาศแล้ว จะต้องมีความหมายรวมถึงการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศ ผ่านคอยล์เย็นและสารทำความเย็น ให้มีอุณหภูมิพอเหมาะให้คนที่อยู่ข้างในมีความรู้สึกสบาย ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ขออากาศการระบายอากาศเสียทิ้ง รวมทั้งการหมุนเวียนของอากาศบริสุทธิ์และการกรองอากาศที่สกปรกให้สะอาด ระบบปรับอากาศในอาคาร แตกต่างอย่างไรกับเครื่องปรับอากาศแบบปกติ เครื่องปรับอากาศแบบปกติหรือแอร์บ้าน จะมีหลักการทำงานคล้ายๆกับระบบปรับอากาศภายในอาคาร จะแตกต่างกันที่ แอร์บ้านจะให้สารทำความเย็นวิ่งผ่านคอยล์เย็นทำให้เกิดลมเย็น ส่วนระบบปรับอากาศในอาคารหรือ Chiller จะให้สารทำความเย็นทำน้ำให้เย็นก่อน แล้วจึงส่งน้ำเย็นไปหา ท่อส่งลม หรือ AHU เพื่อผลิตอากาศเย็นเข้าไปยังพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็น การเลือกรูปแบบระบบทำความเย็นในอาคาร สำนักงาน หรือบ้าน จะดูจากพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็นเป็นหลัก ระบบปรับอากาศมีกี่ประเภท กี่แบบ ระบบปรับอากาศที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้ดังนี้คือ ระบบปรับอากาศระบบน้ำยา ( Direct Expansion System ) ขนาด 1-25 Ton ความเย็น นิยมใช้กับบ้านพัก , คอนโดมิเนียมที่พักอาศัย , สำนักงานที่ไม่ใหญ่มาก

ระบบทำความเย็นในอุตสาหกรรม

ระบบทำความเย็นในอุตสาหกรรม ระบบทำความเย็น นอกจากการทำความเย็นแบบพื้นฐาน ยังมีอีกมากมายหลายรูปแบบ ตามการใช้งาน และความต้องการ ประสิทธิภาพในการทำความเย็นที่ถูกพัฒนาขึ้นและถูกปรับปรุงให้ตรงตามรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น ในปัจจุบันมีความต้องการสูงมากขึ้น ทั้งระบบทำความเย็นแบบเคลื่อนที่ ในภาคอุตสาหกรรมการขนส่ง การแช่แข็งอาหาร รวมถึงในภาควิทยศาสตร์ ระบบทำความเย็นและระบบแช่แข็งในอุตสาหกรรม ที่เราเห็นกันมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเราสามารถจำแนกได้ตามลักษณะการใช้งาน เช่น ระบบขนส่งอาหาร ระบบแช่แข็งในอุตสาหกรรมการผลิต การค้าปลีก รวมถึงค้าส่งต่าง ๆ ภาคการผลิต เช่น การแช่แข็งเนื้อสัตว์ที่ได้แปรรูปแล้ว หรือ ผลิตใส้กรอก ภาคการขนส่ง เช่น การนำวัตถุดิบต่าง ๆ จากที่หนึ่ง ไป ยังอีกที่หนึ่ง การแช่แข็งก่อนการจำหน่าย เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ต่าง ๆ ประเภทของห้องเย็นและห้องแช่แข็ง ห้องเย็นแบบแช่เย็นเฉียบพลัน มีไว้สำหรับลดอุณหภูมิ ก่อนถึงกระบวนการถัดไปเพื่อควบคุมเชื่อแบคทีเรีย หรือเพื่อให้เชื้อเอนไซน์ย่อยเนื้อในกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ ห้องเย็นแบบแช่แข็ง มีไว้ลดอุณหภูมิและเก็บสินค้าไว้เป็นเวลานาน ห้องเย็นเก็บรักษาสินค้า เป็นห้องเย็นที่ใช้เป็นที่เก็บรักษาสินค้าที่ถูกแช่แข็งมาแล้ว ห้องเย็นแบบแช่แข็งด้วยลมเย็นจัด เป็นห้องเย็นเพื่อแช่แข็ง หรือ Freez

เครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R22 หรือ R32 ดีกว่ากัน

เครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R22 หรือ R32 ดีกว่ากัน เป็นที่ทราบกันดีว่า โควต้าการนำเข้าน้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น R-22 นั้น จะลดลงทุก ๆ ปี ตามสนธิสัญญามอนทรีออล ( Date End 2030 ) ผู้ผลิตจึงหันมาใช้สารทดแทนอื่น ๆ เช่น R-32 R-410A กัน เพื่อคืนชั้นบรรยากาศโลก หรือ โอโซน ตามสนธิสัญญามอนทรีออล สารทำความเย็น R-32 คืออะไร R-32 คือ สารทำความเย็น เจเนอเรชั่นใหม่เพื่อการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม สารทำความเย็นชนิดใหม่นี้มีชื่อเรียกทั่ว ๆ ไปว่า R-32 ซึ่งมีสูตรทางเคมีว่า CH2F2 คุณสมบัติทั่วไปของสารทำความเย็น R-32 ชื่อสาร R-32 สารประกอบ เดียว แรงดันมาตรฐานที่กำหนด RA: 4.17 MPa G PA:

เหตุผลที่เครื่องปรับอากาศหันมาใช้สารทำความเย็น/น้ำยาแอร์ R32

เหตุผลที่เครื่องปรับอากาศหันมาใช้สารทำความเย็น/น้ำยาแอร์ R32 ตามข้อตกลงในพิธีมอบสารทรีออลปี 1987 ที่ให้ความสำคัญกับการลดการทำลายชั้นโอโซน ทั่วโลกจึงเปลี่ยนจากการใช้สารทำความเย็น R22 มาเป็น R410A ซึ่งแม้ว่าจะลดผลกระทบในการทำลายชั้นโอโซนได้เป็นอย่างดี แต่ยังก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูง จึงมีกระแสการเปลี่ยนแปลงสารทำความเย็นที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ทั่วโลกจึงหันมาใช้สารทำความเย็น R32 เพิ่มมากขึ้น ในเครื่องปรับอากาศในปัจจุบัน ซึ่งสารทำความเย็น R32 นี้ มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูงที่มีคุณสมบัติที่นอกจากไม่ทำลายชั้นโอโซนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยกว่าสารทำความเย็นในปัจจุบัน R410A ถึง 3 เท่า และยังให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นมากกว่า R22 ถึง 60% นั้นเอง นี่เองที่เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เครื่องปรับอากาศในปัจจุบันใช้สารทำความเย็น R32 มากขึ้น ผสานกับระบบอินเวอร์เตอร์ที่ช่วยในเรื่องการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี               ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์ในปัจจุบันที่ใช้สาร R32 มีอะไรบ้าง เครื่องปรับอากาศสำหรับบ้านเรือน จะประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ดังนี้ แผงทำความเย็น Cooling Coll ทำหน้าที่ รับความร้อนจากอากาศภายในห้อง คอมเพรสเซอร์ Compressor ทำหน้าที่เพิ่มความดันสารทำความเย็น แผงท่อระบายความร้อน Condensing Coll ทำหน้าที่ ระบายความร้อนทิ้งสู่บรรยากาศภายนอก

การใช้สารทำความเย็นในการทำงานให้ปลอดภัย

การใช้สารทำความเย็นในการทำงานให้ปลอดภัย ในเรื่องของสารทำความเย็นนอกจากให้ประโยชน์มากมายในด้านสร้างความเย็นและด้านพลังงานอื่นๆแล้ว สารทำความเย็นแต่ละประเภทก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายมากมายตามมาได้ รวมถึงความเป็นพิษ ความสามารถในการติดไฟและระบบทางเดินหายใจ และอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจาการรั่วไหลของสารทำความเย็น วันนี้เราจะมาพูดถึงการปฏิบัติเพื่อให้บุคลากรของเราสามารถทำงานร่วมกับสารทำความเย็นได้อย่างปลอดภัย อันตรายจากสารทำความเย็นในการปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน อันตรายที่เกิดจากสารทำความเย็นโดยตรง  อันตรายที่เกิดจาการใช้ไฟฟ้า และอันตรายที่เกิดจากถังความดัน               ข้อปฏิบัติในการทำงานกับสารทำความเย็นให้ปลอดภัยสูงสุดมีดังนี้ อันตรายจากสารทำความเย็นโดยตรง ในสถานที่ ที่มีการใช้สารทำความเย็นควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันในกรณีที่สารทำความเย็นเกิดการรั่วไหลออกจากระบบ และเข้ามาแทนที่ในอากาศ เนื่องจากคุณสมบัติที่หนักกว่าอากาศ ให้ปล่อยสารทำความเย็นออกจากระบบให้หมด และใช้แก๊สไนโตรเจนผ่านก่อนการใช้แก๊สเชื่อมหรือตัดอุปกรณ์ในระบบ ห้ามเชื่อมอุดรอยรั่วในขณะที่ยังมีสารทำความเย็นอยู่ เนื่องจากเมื่อสารทำความเย็นได้รับความร้อนจะมีการขยายตัวสูงมากอาจจะทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ ถึงแม้สารทำความเย็นจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่นแต่ก็สามารถก่ออันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน ควรสวมถุงมือ แว่นตา ในขณะที่ปฎิบัติงานเนื่องจากสารทำความเย็นโดยทั่วไปจะมีจุดเดือดต่ำมาก ถ้าหากได้สัมผัสกับผิวหนังอาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บจากสารทำความเย็นที่เย็นจัด อันตรายที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้า ถ้าตรวจพบว่าอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการรั่วจะต้องหยุดปฏิบัติงานทันที่ ไม่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ขณะที่ร่างกาย เสื้อผ้าหรือรองเท้าที่สวมใส่เปียกชื้น ต้องต่อสายดินที่เครื่องมือหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่ว นอกเหนือจากนี้การตรวจสอบระบบความเย็นในโรงงานของคุณอย่างสม่ำเสมอ ก็ยังเป็นอีกตัวช่วยในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน รวมถึงการเลือกใช้สารทำความเย็นที่ได้คุณภาพ อัตราส่วนผสมที่เป็นมาตรฐานและได้รับสิทธิบัตรที่ถูกต้อง อันตรายจากถังความดัน และนั่นรวมถึงถังบรรจุสารทำความเย็น ถังแก๊สออกซิเจนสำหรับใช้ในงานเชื่อม ถังไนโตรเจนสำหรับตรวจสอบรอยรั่วหรือทำความสะอาดระบบ  ถังแรงดันห้ามบรรจุเกิน 80% ของปริมาตรถัง และอย่านำถังบรรจุสารทำความเย็นไปตั้งไว้กลางแดดจัด เพราะจะทำให้อุณภูมิที่สูงขึ้นเกิดความดันภายในถังสูงมากกว่าเดิมอาจจะทำให้เกิดระเบิดได้ ถังบรรจุสารทำความเย็นปกติจะติดตั้งลิ้นเพื่อระบายความดัน ไว้ที่ด้านบนของถัง (Relief valve) เพื่อทำหน้าที่ระบายความดันที่เพิ่มขึ้นปกติจะตั้งไว้ที่

น้ำยาแอร์ที่ใช้กับระบบรถยนต์

น้ำยาแอร์ที่ใช้กับระบบรถยนต์ ในประเทศไทยส่วนใหญ่น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น นอกจากใช้ในอาคารบ้านเรือน อุตสาหกรรมต่างๆ แล้ว ยังมีอีกหนึ่งความเย็นที่ยังต้องใช้ควบคู่กับชีวิตประจำวันของเราด้วย นั่นก็คือยานพาหนะหรือรถยนต์ที่เราใช้กัน  ในอดีตน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น  R12 จะเป็นสารทำความเย็นสำหรับรถยนต์ ตู้เย็น ตู้แช่ และระบบชิลเลอร์รุ่นเก่า และในปี 1996 สารทำความเย็น R12 ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากมีค่า ODP และ ค่า GWP ที่สูง จึงทำให้สารทำความเย็น R134a ได้เข้ามาแทนที่และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบทำความเย็นของรถยนต์             สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันมีดังนี้ น้ำยาแอร์ R134a เป็นสารทำความเย็นที่มาทดแทน R12 ซึ่งไม่มีสารทำลายชั้นบรรยากาศโลก และไม่มีส่วนผสมของน้ำยาชนิดอื่นเลย จะมีค่าของน้ำยาแอร์ R134a (100%) และในปัจจุบันรถยนต์จะใช้น้ำยาแอร์ R134a เป็นส่วนมาก น้ำยาแอร์ R134a ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ แต่ไม่ควรให้สารหรือแก๊ส โดนหรือสัมผัสกับร่างกายหรือผิวหนังเพราะอาจจะทำให้เกิดการไหม้ได้ น้ำยาแอร์ R134a หาซื้อได้ง่าย มีการใช้งากันอย่างแพร่หลาย ราคาจะต่างกันไปในแต่ละร้านที่ขาย จะขึ้นอยุ่กับคุณภาพและมาตรฐานของยี่ห้อนั้นๆด้วย น้ำยาแอร์ R1234yf

ความปลอดภัยในการใช้งานห้องเย็น

ความปลอดภัยในการใช้งานห้องเย็น สำหรับการใช้งานห้องเย็นนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของหลายๆธุรกิจ ทั้งผู้ผลิตรายใหญ่ ผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องด้วยประเทศไทยมีอุณหภูมิที่ร้อน การผลิต การจัดเก็บจึงต้องอาศัยห้องที่สามารถกำหนดอุณหภูมิให้เหมาะสมกับวัตถุดิบ สินค้านั้นๆซึ่งอุณหภูมิส่วนใหญ่จึงเป็นอุณหภูมิที่ติดลบ จึงอาจเกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานได้ รวมถึงอันตรายอื่นๆที่อาจเกิดขึ้น เช่นการรั่วไหลของสารทำความเย็น ในบทความนี้จึงรวบรวมถึงแนวทางปฏิบัติต่างๆเพื่อการใช้งานห้องเย็นให้ปลอดภัย อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อทำงานในห้องเย็น มีดังนี้ อุบัติเหตุเนื่องจากคนถูกขังติดอยู่ในห้องเย็น – ความเย็นทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อ (Cold Burn) คือ เกิดผลึกน้ำแข็งในเซลล์ของเนื้อเยื่อที่ถูกความเย็น มีการทำลายระบบไหลเวียนในหลอดเลือดฝอย ซึ่งการอุดตันที่เกิดขึ้นจากระบบไหลเวียนเลือดนี้ไม่อาจกลับคืนดีได้ดังเดิมแม้เนื้อเยื่อจะได้รับความอุ่นเป็นปกติแล้วก็ตาม – ความเย็นทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง (Hypothermia) การที่อุณหภูมิร่างกายลดลงนั้นจะทำให้การทำงานของสมองช้าลง การตัดสินใจช้า หรือหมดความรู้สึก และเสียชีวิตในที่สุด อาการเตือนในระยะแรกๆ จะมีการเจ็บปวดที่ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า  แสดงถึงอันตรายของความเย็น ในระหว่างที่มีการสัมผัสกับความเย็น เคยพบว่าบางโรงงานมีคนที่เกิดอาการเจ็บปลายนิ้ว แต่ไม่เคยรู้เลย   และเมื่อเกิดการสั่นอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิในร่างกายลดลงถึง 35◦C ถือได้ว่าบอกอันตรายที่จะเกิดขึ้นจึงควรให้หยุดการสัมผัสความเย็นทันที ​มาตรการป้องกันไม่ให้มีผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลอื่นๆถูกขังติดอยู่ในห้องเย็น -เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่เข้าไปภายในห้องเย็นได้ -มีป้าย ห้ามผู้ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปข้างใน ติดเตือนอยู่หน้าประตูทางเข้าห้องเย็น -มีทางออกฉุกเฉินอย่างน้อย1ทาง   มีป้ายเตือนบอกทางในจํานวนที่เพียงพอ และไม่มีวัตถุใดๆกีดขวางทางออกฉุกเฉิน -มีสัญญาณเตือนภัยสําหรับให้ผู้ที่ติดในห้องเย็นใช้แจ้งให้ผู้อยู่ข้างนอกทราบว่ามีคนติดอยู่ในห้องเย็น ระบบควรทํางานโดยมีแบตเตอรี่สํารอง มีป้ายบอกและติดตั้งสัญญาณเตือนในตําแหน่งที่เหมาะสม -มีไฟฉุกเฉิน ที่ทํางานด้วยระบบแบตเตอรี่สํารอง -มีการบํารุงรักษาและทดสอบอุปกรณ์ระบบความปลอดภัย -ก่อนที่จะล๊อกประตูต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดทุกครั้ง  

มารู้จัก Kigali Amendment คืออะไร และสำคัญอย่างไร?

มารู้จัก Kigali Amendment คืออะไร และสำคัญอย่างไร? ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาเนิ่นนาน สาเหตุหลักเกิดจากการกระทำของมนุษย์ มนุษย์ได้ทำลายทรัพย์พยากรธรรมชาติไปเป็นจำนวนมาก สารเคมีที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ผลิตสิ่งต่าง ๆ ก็มีส่วนในการทำลายสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน สารเคมีที่จะกล่าวถึงในที่นี้ คือ สารเคมีจำพวกน้ำยาทำความเย็น หรือ น้ำยาแอร์ สารเคมีเหล่านี้มีคุณสมบัติในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน และสภาวะเรือนกระจก นานาชาติจึงตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้มีการทำข้อตกลงเพื่อจุดประสงค์ในการลด ละ เลิกการใช้สารเคมีจำพวกสารทำความเย็น ภายใต้ชื่อ พิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2530 มีประเทศที่ให้สัตยาบันภายใต้พิธีสารนี้รวม 197 ประเทศ และประเทศไทยก็เป็น 1 ในนั้นโดยให้สัตยาบันเข้าร่วมในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2532 โดยพิธีสารมอนทรีออลได้มีการประชุมมาแล้วหลายครั้งเพื่อเป็นการประเมินและติดตามผลว่าแต่ละประเทศได้ดำเนินการไปแล้วอย่างไร ควรปรับหรือแก้ไขข้อตกลงตรงจุดใดบ้าง ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 พิธีสารนี้ได้ทบทวนมา 8 ครั้งโดยครั้งล่าสุดได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ณ กรุงคิกาลี จึงใช้ชื่อว่า พิธีสารฉบับแก้ไขคิกาลี (Kigali Amendment) ในเนื้อหาสาระจะเป็นการลด

หน้าร้อนมาแล้ว! เคล็ดลับที่จะให้เครื่องปรับอากาศไม่พังเร็วในช่วงหน้าร้อน 

หน้าร้อนมาแล้ว! เคล็ดลับที่จะให้เครื่องปรับอากาศไม่พังเร็วในช่วงหน้าร้อน  เดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนเมษายนของทุกปี ประเทศไทยจะเข้าสู่หน้าร้อน สภาพอากาศก็จะร้อนขึ้นทุกๆปี สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่คิดถึง คือ เครื่องปรับอากาศหรือที่เรียกว่า แอร์ เนื่องจากเครื่องปรับอากาศเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันกันมากขึ้น คำว่า “แอร์” เราจะนึกถึงความเย็น เพราะจะทำให้เราสบายตัว ไม่ร้อน และสิ่งที่ตามมาจากการเปิดแอร์เป็นเวลานานๆ ก็คือ ค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้นและเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ ก็จะพังเร็วขึ้นถ้าเราไม่รู้จักวิธีการบำรุงรักษา และรู้จักเคล็ดลับที่จะให้เครื่องปรับอากาศไม่พังเร็ว เคล็ดลับที่จะให้เครื่องปรับอากาศไม่พังเร็วในช่วงหน้าร้อน มีดังนี้ งดพฤติกรรม การเปิด-ปิดแอร์บ่อยๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่ผิด ที่หลายคนคิดว่าจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า  แต่จริงๆแล้ว การเปิด-ปิดแอร์บ่อยๆ นั้น จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก เพราะต้องเริ่มทำความเย็นใหม่ ทุกครั้งเมื่อเปิดใช้งานและยังทำให้อายุการใช้งานสั้นลงอีกด้วย ก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศ ควรปิดประตูหรือหน้าต่างให้สนิท หากปิดไม่สนิท จะทำให้ความร้อนเข้ามาในห้องได้ คอมเพรสเซอร์จะทำงานหนัก จะทำให้อุณหภูมิในห้องสูงขึ้น 3.หลีกเลี่ยงการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความร้อน เข้าไปในห้องขณะที่เครื่องปรับอากาศทำงาน เช่น หม้อสุกี้ กาน้ำร้อน เป็นต้น เพราะความร้อนที่ระเหยออกมา จะทำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้น คอมเพรสเซอร์จะทำงานหนัก ทำให้เครื่องปรับอากาศพังเร็วและสิ้นเปลืองค่าไฟด้วย 4.หมั่นล้างทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ (ฟิลเตอร์) ทุกอาทิตย์ และควรล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ปีละ 2