Tag Archives: การใช้งานห้องเย็น

สารทำความเย็นของระบบห้องเย็นและเครื่องทำความเย็น

สารทำความเย็นของระบบห้องเย็นและเครื่องทำความเย็น น้ำยาR404a ถือว่าเป็นสารทำความเย็นที่อยู่คู่กับอุตสาหกรรม ห้องเย็น และเครื่องทำความเย็น มามากกว่าสามทศวรรษ โดยเป็นสาร HFC ที่เป็นตัวแทนของ R22 และ R502 เนื่องจากคุณสมบัติของR404a ทำให้เป็นสารทำความเย็นที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมหลายอุณหภูมิ และมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ยอดเยี่ยม  แต่ด้วยข้อกังวลของค่า GWP ที่สูงถึง 3,922 สารทำความเย็น HFC จะมีการลดการใช้และการผลิต และถูกทดแทนด้วยสารทำความเย็นประเภท HFO หรือสารทำความเย็นที่มี GWP ต่ำกว่า ซึ่งได้ถูกเริ่มใช้งานในประเทศไทยกันแล้ว  หากคุณอยู่ในธุรกิจที่ต้องใช้ระบบทำความเย็น และมีข้อกังวลเกี่ยวกับสารทำความเย็นที่ใช้อยู่ วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบระหว่างสารทำความเย็นR404a และR448aพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ทำความรู้จักR448aเป็นสารทำความเย็นซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่ของ HFO Blends คือส่วนผสมซีโอโทรปิกที่ประกอบด้วย HFO 2 ตัว (R1234ze 7% และ R1234yf 20%) และสารทำความเย็น HFC 3 ตัว (R134a 21%, R125 26% และ R32 26%)

ประเภทของห้องเย็นในการใช้งาน

ประเภทของห้องเย็นในการใช้งาน “ห้องเย็น” ได้ถูกออกแบบให้มีสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมเพื่อจัดเก็บผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้อุณหภูมิเฉพาะเพื่อรักษาคุณภาพ และอายุการเก็บรักษาสินค้าต่างๆ ประเภทของห้องเย็นและช่วงอุณหภูมิขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บในหลากหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ อาหาร, ยา, วัคซีน, สารเคมี, พืช ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, เครื่องสำอางค์ เป็นต้น โดยทั่วไปห้องเย็นจะทำงานที่ระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนด และความต้องการเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บ  อาจแบ่งได้ดังนี้ -Chilled Storage ห้องเย็นเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ โดยรักษาอุณหภูมิทั่วไประหว่าง 0°C-5°C (41°F) ใช้สำหรับจัดเก็บอาหารที่เน่าเสียง่าย เช่น ผลไม้ ผัก ผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่ม เพื่อรักษาคุณภาพ และชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย -Cold Storage ห้องเย็นเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0°C แต่สูงกว่าจุดเยือกแข็ง ช่วงอุณหภูมิสำหรับห้องเย็นอาจแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง -2°C ถึง -18°C ใช้สำหรับจัดเก็บอาหารแช่แข็ง เช่น ผลไม้แช่แข็ง ผัก เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ฯลฯ เพื่อรักษาคุณภาพ และยืดอายุการเก็บรักษา -Frozen / Freezer Storage

ก่อนติดตั้งระบบ ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ต้องพิจารณาอะไรบ้าง

ก่อนติดตั้งระบบ ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ต้องพิจารณาอะไรบ้าง ในประเทศไทย มีสภาพภูมิอากาศที่มีความร้อน ยิ่งในปัจจุบันอากาศร้อนมาก ธุรกิจต่างๆก็อาจได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย โดยในที่นี้ จะมาพูดถึงการดำเนินการธุรกิจเกี่ยวกับระบบ ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในการรักษาคุณภาพและยืดอายุของสด อย่างเช่น เนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล ผัก ผักไม้ รวมถึงสินค้าประเภทดอกไม้ เจ้าของธุรกิจจึงควรพิจารณาสร้าง ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง สำหรับเก็บสินค้า โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของสินค้านั้น ๆซึ่ง ประเภทของห้องเย็น ถูกแบ่งออกดังนี้ ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็น ตู้แช่ทุกชนิด ที่ Line: @namyaair ห้องแช่แข็งลดอุณหภูมิสินค้าด้วยลม(Air Blast Freezer Room) ห้องแช่แข็งเก็บรักษาสินค้า(Cold Storage Room หรือ Freezer Room) ห้องแช่เย็นลดอุณหภูมิสินค้าด้วยลม(Air Blast Chill Room) ห้องเย็นพักสินค้า(Anti Room) ห้องแช่เย็น(Chilled Room) ซึ่งหากจะเลือกใช้ ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ประเภทไหน ควรขึ้นอยู่กับความต้องการนำไปใช้งานด้วยเช่นกัน เลือกติดตั้งกับผู้ที่เชี่ยวชาญ ระบบ ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง

ความปลอดภัยในการใช้งานห้องเย็น

ความปลอดภัยในการใช้งานห้องเย็น สำหรับการใช้งานห้องเย็นนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของหลายๆธุรกิจ ทั้งผู้ผลิตรายใหญ่ ผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องด้วยประเทศไทยมีอุณหภูมิที่ร้อน การผลิต การจัดเก็บจึงต้องอาศัยห้องที่สามารถกำหนดอุณหภูมิให้เหมาะสมกับวัตถุดิบ สินค้านั้นๆซึ่งอุณหภูมิส่วนใหญ่จึงเป็นอุณหภูมิที่ติดลบ จึงอาจเกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงานได้ รวมถึงอันตรายอื่นๆที่อาจเกิดขึ้น เช่นการรั่วไหลของสารทำความเย็น ในบทความนี้จึงรวบรวมถึงแนวทางปฏิบัติต่างๆเพื่อการใช้งานห้องเย็นให้ปลอดภัย อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อทำงานในห้องเย็น มีดังนี้ อุบัติเหตุเนื่องจากคนถูกขังติดอยู่ในห้องเย็น – ความเย็นทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อ (Cold Burn) คือ เกิดผลึกน้ำแข็งในเซลล์ของเนื้อเยื่อที่ถูกความเย็น มีการทำลายระบบไหลเวียนในหลอดเลือดฝอย ซึ่งการอุดตันที่เกิดขึ้นจากระบบไหลเวียนเลือดนี้ไม่อาจกลับคืนดีได้ดังเดิมแม้เนื้อเยื่อจะได้รับความอุ่นเป็นปกติแล้วก็ตาม – ความเย็นทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง (Hypothermia) การที่อุณหภูมิร่างกายลดลงนั้นจะทำให้การทำงานของสมองช้าลง การตัดสินใจช้า หรือหมดความรู้สึก และเสียชีวิตในที่สุด อาการเตือนในระยะแรกๆ จะมีการเจ็บปวดที่ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า  แสดงถึงอันตรายของความเย็น ในระหว่างที่มีการสัมผัสกับความเย็น เคยพบว่าบางโรงงานมีคนที่เกิดอาการเจ็บปลายนิ้ว แต่ไม่เคยรู้เลย   และเมื่อเกิดการสั่นอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิในร่างกายลดลงถึง 35◦C ถือได้ว่าบอกอันตรายที่จะเกิดขึ้นจึงควรให้หยุดการสัมผัสความเย็นทันที ​มาตรการป้องกันไม่ให้มีผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลอื่นๆถูกขังติดอยู่ในห้องเย็น -เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่เข้าไปภายในห้องเย็นได้ -มีป้าย ห้ามผู้ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปข้างใน ติดเตือนอยู่หน้าประตูทางเข้าห้องเย็น -มีทางออกฉุกเฉินอย่างน้อย1ทาง   มีป้ายเตือนบอกทางในจํานวนที่เพียงพอ และไม่มีวัตถุใดๆกีดขวางทางออกฉุกเฉิน -มีสัญญาณเตือนภัยสําหรับให้ผู้ที่ติดในห้องเย็นใช้แจ้งให้ผู้อยู่ข้างนอกทราบว่ามีคนติดอยู่ในห้องเย็น ระบบควรทํางานโดยมีแบตเตอรี่สํารอง มีป้ายบอกและติดตั้งสัญญาณเตือนในตําแหน่งที่เหมาะสม -มีไฟฉุกเฉิน ที่ทํางานด้วยระบบแบตเตอรี่สํารอง -มีการบํารุงรักษาและทดสอบอุปกรณ์ระบบความปลอดภัย -ก่อนที่จะล๊อกประตูต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดทุกครั้ง