อุณภูมิในการแช่เย็นเนื้อสัตว์ควรอยู่ที่เท่าไหร่ ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมาย และยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ นอกจากเกษตรกรรมที่เป็นพื้นฐานของคนไทย การทำปศุสัตว์และประมงก็เป็นสิ่งที่คนไทยได้ใกล้ชิดแทบแยกกันไม่ออก อาหารจำพวกเนื้อสัตว์สำหรับคนไทยจึงเป็นอาหารหลัก ที่ทุกเมนูจะต้องมี แต่การเก็บรักษาเนื้อสัตว์ให้คงสภาพความสด เพื่อให้ถึงมือผู้บริโภคเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลยเช่นกัน วิธีการแช่เย็นเนื้อสัตว์ ความเย็นที่จะใช้ในการแช่เย็นเนื้อสัตว์หรือวิธีการถนอมเพื่อรักษาเนื้อสัตว์คือ การใช้เพื่อยับยั้งการเจิรญเติบโตของแบคทีเรียที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ โดยอุณภูมิที่ให้ความเย็น จะขึ้นอยู่กับเวลาที่ต้องการรักษา หากต้องการเก็บไว้เพียงไม่กี่วันอาจเก็บไว้ที่อุณภูมิต่ำ (Cooling) หากต้องการเก็บไว้เป็นระยะเวลานานควรเก็บที่อุณภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (Freezing) สำหรับการแช่เย็นเนื้อสัตว์หรือการใช้ความเย็นสามารถแบ่งตามระดับของการใช้อุณภูมิได้ 2 ระดับ ดังนี้ วิธีการแช่เย็น หลังจากทำการชำแหละจะมีการนำซากที่ได้ เข้าไปเก็บในห้องเย็นเพื่อลดอุณภูมิของซากลง ป้องกันการเน่าเสีย สำหรับซากเนื้อโคจะต้องถูกห่อด้วยผ้าบางๆ ก่อนที่จะนำเข้าห้องแช่เย็นเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำหนักและการหดตัวในระหว่างการแช่เย็น การแช่เย็นซากโคควรใช้ห้องเย็น 2 ระดับ ระดับแรกเป็นห้องที่ลดอุณภูมิของซากให้ต่ำลง ซึ่งอุณภูมิที่ได้ต้อง -4 ถึง -2 องศาเซลเซียส ระดับที่สองเป็นห้องเก็บรักษาซากที่ต้องควบคุมให้ต่ำกว่า 3 องศาเซลเซียส ตลอดเวลาเพื่อให้อุณภูมิของซากที่เก็บรักษาอยู่มีอุณภูมิในช่วงระหว่าง 3-7 องศาเซลเซียส การปรับลดอุภูมิของเนื้อจะแตกต่างกันไปตามอัตรส่วนของไขมันและเนื้อแดงซึ่งทำให้ค่าความจุความร้อน (Heat Cpapcity) หรือความร้อนเฉพาะ (Specific Heat) ของชิ้นเนื้อต่างกันไป วิธีการแช่เยือกแข็ง กระบวนการแช่เยือกแข็งเป็นการลดอุณภูมิของอาหารโดยดึงควมร้อนออก เพื่อที่จะลดอุณภูมิของอาหารลงเรื่อย ๆ จนต่ำกว่า