Tag Archives: สารทำความเย็น

สารทำความเย็นของระบบห้องเย็นและเครื่องทำความเย็น

สารทำความเย็นของระบบห้องเย็นและเครื่องทำความเย็น น้ำยาR404a ถือว่าเป็นสารทำความเย็นที่อยู่คู่กับอุตสาหกรรม ห้องเย็น และเครื่องทำความเย็น มามากกว่าสามทศวรรษ โดยเป็นสาร HFC ที่เป็นตัวแทนของ R22 และ R502 เนื่องจากคุณสมบัติของR404a ทำให้เป็นสารทำความเย็นที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมหลายอุณหภูมิ และมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ยอดเยี่ยม  แต่ด้วยข้อกังวลของค่า GWP ที่สูงถึง 3,922 สารทำความเย็น HFC จะมีการลดการใช้และการผลิต และถูกทดแทนด้วยสารทำความเย็นประเภท HFO หรือสารทำความเย็นที่มี GWP ต่ำกว่า ซึ่งได้ถูกเริ่มใช้งานในประเทศไทยกันแล้ว  หากคุณอยู่ในธุรกิจที่ต้องใช้ระบบทำความเย็น และมีข้อกังวลเกี่ยวกับสารทำความเย็นที่ใช้อยู่ วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบระหว่างสารทำความเย็นR404a และR448aพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ทำความรู้จักR448aเป็นสารทำความเย็นซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่ของ HFO Blends คือส่วนผสมซีโอโทรปิกที่ประกอบด้วย HFO 2 ตัว (R1234ze 7% และ R1234yf 20%) และสารทำความเย็น HFC 3 ตัว (R134a 21%, R125 26% และ R32 26%)

สารทำความเย็นสำหรับตู้แช่ ห้องเย็น

สารทำความเย็นสำหรับตู้แช่ ห้องเย็น              น้ำยา R404a ถือว่าเป็นสารทำความเย็นที่อยู่คู่กับอุตสาหกรรม ห้องเย็น และเครื่องทำความเย็น มามากกว่าสามทศวรรษ โดยเป็นสาร HFC ที่เป็นตัวแทนของ R22 และ R502  เนื่องจากคุณสมบัติของ R404a ทำให้เป็นสารทำความเย็นที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมหลายอุณหภูมิ และมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ยอดเยี่ยม  แต่ด้วยข้อกังวลของค่า GWP ที่สูงถึง 3,922 สารทำความเย็น HFC จะมีการลดการใช้และการผลิต และถูกทดแทนด้วยสารทำความเย็นประเภท HFO หรือสารทำความเย็นที่มี GWP ต่ำกว่า ซึ่งได้ถูกเริ่มใช้งานในประเทศไทยกันแล้วอย่างR448a หากคุณอยู่ในธุรกิจที่ต้องใช้ระบบทำความเย็น และมีข้อกังวลเกี่ยวกับสารทำความเย็นที่ใช้อยู่ วันนี้จะมาเปรียบเทียบระหว่างสารทำความเย็นR404a และR448a เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม               ทำความรู้จักR448a เป็นสารทำความเย็นซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่ของ HFO Blends คือส่วนผสมซีโอโทรปิกที่ประกอบด้วย HFO 2 ตัว (R1234ze 7% และ R1234yf 20%) และสารทำความเย็น HFC 3 ตัว

ส่วนประกอบของสารทำความเย็นมีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของสารทำความเย็นมีอะไรบ้าง สารทำความเย็น ที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “น้ำยาแอร์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่ใช้ในระบบทำความเย็นและปรับอากาศ เป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่รับ ดูดซับ และถ่ายเทความร้อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยส่วนผสมหรือส่วนประกอบในสารทำความเย็นอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสูตรเฉพาะและประเภทของสารทำความเย็น การใช้งาน ความต้องการของระบบ และมาตรฐานด้านกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ  ส่วนประกอบหลักที่พบในถังสารทำความเย็นมีดังต่อไปนี้ สารทำความเย็น สารหลักของถังสารทำความเย็นคือสารทำความเย็น ที่เป็นส่วนประกอบของเคมีพื้นฐาน ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในรูปของเหลวหรือก๊าซภายใต้ความดัน สารทำความเย็นเป็นสารประกอบทางเคมีที่ต้องผ่านการเปลี่ยนเฟส เพื่อดูดซับและปล่อยความร้อนระหว่างวงจรการทำความเย็น  สารทำความเย็นหลายชนิดได้รับการผสมสูตรจากสารประกอบเคมีหลายชนิดเพื่อให้ได้คุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์และคุณลักษณะด้านประสิทธิภาพที่ต้องการ ความบริสุทธิ์ สารทำความเย็นที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพตามความต้องการ เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความเสถียรของสารทำความเย็น จำเป็นต้องมีคุณสมบัติค่าความบริสุทธิ์สูง โดยผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์เพื่อขจัดสิ่งเจือปนและสิ่งปนเปื้อน เช่น – การกลั่น เพื่อแยกส่วนประกอบต่างๆ และขจัดสิ่งสกปรก – การกรอง เพื่อขจัดอนุภาคของแข็งและสิ่งปนเปื้อน – การบำบัดด้วยสารเคมี   เพื่อทำให้กรดเป็นกลาง ขจัดความชื้น หรือทำให้สารทำความเย็นคงตัว สารเติมแต่ง สารทำความเย็นบางชนิดอาจมีสารเติมแต่งหรือสารเพิ่มความคงตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงการหล่อลื่น ป้องกันการสลายตัวของสารเคมี หรือตอบสนองข้อกำหนดการใช้งานเฉพาะ สารเติมแต่งอาจรวมถึงสารยับยั้งการกัดกร่อน สารเพิ่มความคงตัว สารเพิ่มประสิทธิภาพการนำความร้อน สารขับดัน (ผลิตภัณฑ์สเปรย์) สารหล่อลื่น สีย้อมสำหรับตรวจจับการรั่วไหล และสารแต่งกลิ่นเพื่อให้ตรวจจับกลิ่นได้ในกรณีที่เกิดการรั่วไหล ความดัน

สารทำความเย็นเปลี่ยนเป็นความเย็นได้อย่างไร ?

สารทำความเย็นเปลี่ยนเป็นความเย็นได้อย่างไร ? สารทำความเย็น เป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับเครื่องทำความเย็น และการควบคุมการจ่ายสารทำความเย็นในระบบ 𝗛𝗩𝗔𝗖 หรือระบบปรับอากาศ และระบบทำความเย็น เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบและขั้นตอนต่างๆ ทั้งการจัดการการไหลของน้ำยา  ความดัน การควบคุมอุณหภูมิของสารทำความเย็น (𝗥𝗲𝗳𝗿𝗶𝗴𝗲𝗿𝗮𝗻𝘁) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำความเย็น และเปลี่ยนสถานะ ด้วยการใช้ความร้อนแฝงเข้ามาช่วยผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทำความเย็น โดยผ่านการควบคุม และการจ่ายผ่านหน้าที่ของอุปกรณ์ต่อไปนี้ การควบคุมการไหลของสารทำความเย็น 𝗧𝗵𝗲𝗿𝗺𝗮𝗹 𝗘𝘅𝗽𝗮𝗻𝘀𝗶𝗼𝗻 𝗩𝗮𝗹𝘃𝗲 (𝗧𝗫𝗩) หรือ เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของสารทำความเย็นเข้าสู่คอยล์เย็น (Evaporator) ตามอุณหภูมิของสารทำความเย็นที่ออกจากคอยล์เย็น 𝗖𝗮𝗽𝗶𝗹𝗹𝗮𝗿𝘆 𝗧𝘂𝗯𝗲 ท่อควบคุมการไหลของสารทำความเย็นเข้าสู่ คอยล์เย็น (Evaporator) ตามความยาวและเส้นผ่านศูนย์กลาง การควบคุมความดัน 𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗥𝗲𝗹𝗶𝗲𝗳 𝗩𝗮𝗹𝘃𝗲 (𝗣𝗥𝗩) วาล์วระบายแรงดัน รีลีฟวาล์ว ทำหน้าที่ปล่อยสารทำความเย็นส่วนเกินในกรณีที่มีแรงดันเกิน เพื่อป้องกันความเสียหายต่อระบบ ในกรณีเมื่ออุณหภูมิและความดันของสารทำความเย็นภายในระบบด้าน High side สูงเกินกว่าปกติ 𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗧𝗿𝗮𝗻𝘀𝗱𝘂𝗰𝗲𝗿 ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจสอบ และวัดความดันของระบบให้กับระบบควบคุมเพื่อการปรับเปลี่ยนแรงดันให้เหมาะสม การควบคุมอุณหภูมิ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิสารทำความเย็น

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ สารทำความเย็น HFC

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ สารทำความเย็น HFC ปัจจุบันนอกจากระบบปรับอากาศที่ใช้กันแพร่หลายทั้ง เครื่องปรับอากาศในรถยนต์ หรือเครื่องปรับอากาศในบ้านเรือนแล้ว นอกจากนี้ระบบทำความเย็นยังเข้ามามีส่วนสำคัญ ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆเช่น อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง หรือ การสร้างห้องเย็น เพื่อเก็บรักษาคุณภาพอาหาร ให้มีความสด เก็บไว้ให้ได้นาน บทความนี้จะมาช่วยให้เราทราบถึง สารทำความเย็นอีกประเภทหนึ่ง นั้นคือ สารทำความเย็น HFC (Hydrofluorocarbon) สารทำความเย็น HFC (Hydrofluorocarbon) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยไฮโดรเจน ฟลูออรีนและคาร์บอน ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบทำความเย็นและปรับอากาศ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสม เช่นมีจุดเดือดต่ำ ความดันไอสูง และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ประเภทของสารทำความเย็น HFC (Hydrofluorocarbon) มีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีจุดเด่นและข้อด้อยที่แตกต่างกันออกไป ที่นิยมใช้กันปัจจุบัน ได้แก่ R134a เป็นสารทำความเย็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน มีจุดเดือดต่ำ ความดันไอสูง และไม่เป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศ แต่มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อน R410A เป็นสารทำความเย็นที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทน R22 มีจุดเดือดต่ำ ความดันไอสูง และไม่เป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศ และมีศักยภาพในการทำให้โลกร้อนเช่นกัน R32 เป็นสารทำความเย็นที่มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อนต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสารทำความเย็นชนิดอื่นๆ แต่มีจุดเดือดสูงและความดันไอต่ำ จึงต้องอาศัยคอมเพรสเซอร์ที่มีกำลังสูงขึ้น

R32 สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายโลก

R32 สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายโลก ในระบบปรับอากาศ สารทำความเย็นเป็นสารเคมีที่ใช้เพื่อดูดซับความร้อนและสามารถสร้างลมเย็นผ่านคอมเพรสเซอร์และคอยล์เย็น สารทำความเย็นที่ใช้ในระบบเครื่องปรับอากาศมีหลายประเภท และ R32 เป็นหนึ่งในสารทำความเย็นที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยและยังคงประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนไว้               คุณสมบัติของน้ำยาทำความเย็น R32  –   เป็นสารประกอบเดี่ยว องค์ประกอบของสารทำความเย็นชนิดนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งต่างจากสารทำความเย็นที่เป็นสารผสมชนิดอื่นๆ –  ค่า GWP (Global Warming Potential) ที่ต่ำกว่าสารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น R410A ที่ใช้กันโดยทั่วไป จะมีค่า GWP อยู่ที่ 2090 ซึ่งมากกว่าเป็นสามเท่าของ R32 ที่มีค่า GWP เพียง 675 เท่านั้น –  มีค่าศักยภาพในการทำให้โอโซนลดลง ODP (Ozone Depletion Potential) เป็นค่าปริมาณความเสียหายสารเคมีสามารถทำให้เกิดขึ้นต่อชั้นโอโซน R32 เป็นสารประกอบไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนที่มีค่า ODP เท่ากับศูนย์  ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน –  R32 มีอัตราการเผาไหม้ที่ต่ำ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการกระทบกับสภาพแวดล้อมที่ทำให้อุณภูมิโลกร้อนเพิ่มขึ้น –  R32 มีประสิทธิภาพความเย็นสูง

“แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HFCs ในอนาคต”   

“แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HFCs ในอนาคต”  การทยอยลดปริมาณการผลิต และการใช้สารทำความเย็น HCFCs และ HFCs ในอนาคตอันใกล้ เป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้สารทำความเย็นในอุตสาหกรรม ที่ต้องหาความสมดุลในการเลือกใช้อุปกรณ์ทำความเย็น และสารทำความเย็นที่เหมาะสม โดยมีปัจจัยอย่างราคาต้นทุน ความปลอดภัย ประสิทธิภาพและความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความยั่งยืน และความต้องการของอนาคต ก่อนที่จะเลือกหรือเปรียบเทียบสารทำความเย็น ควรพิจารณาระบบทำความเย็นประกอบการตัดสินใจในการเปลี่ยนสารทำความเย็นทดแทนด้วย โดยการเปลี่ยนสารทำความเย็นสามารถทำได้ 3 วิธี Drop-in คือ การใช้ชุดอุปกรณ์เดิมแต่เปลี่ยนเฉพาะสารทำความเย็น Retrofi คือ การเปลี่ยนแปลงชุดอุปกรณ์แค่บางส่วน New Syste คือ การเปลี่ยนชุดอุปกรณ์ใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อสารทำความเย็นใหม่โดยเฉพาะ การพิจารณาว่าจะใช้วิธีใด นั้นขึ้นอยู่กับสารทำความเย็นใหม่ที่ต้องการเลือกใช้ ไปจนถึงอายุการใช้งานของระบบทำความเย็น หรือปรับอากาศ หากใช้ระบบเดิมมาไม่นาน วิธี Drop-in หรือ Retrofit นับเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะประหยัดต้นทุนในการติดตั้งชุดอุปกรณ์ใหม่ รีโทรฟิตติง ( retrofitting ) คือวิธีการปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น โดยจะต้องทำการเปลี่ยนสารหล่อลื่นรวมทั้งอาจจะต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บางส่วน เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานของสารทำความเย็นชนิดใหม่ การปรับระบบทำความเย็นที่มีอยู่เพื่อใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังต่อไปนี้ ความเข้ากันได้

สารทำความเย็นสำหรับตู้แช่ในอนาคตช่วยลดค่า GWP

สารทำความเย็นสำหรับตู้แช่ในอนาคตช่วยลดค่า GWP สารทำความเย็น HFO ย่อมาจาก Hydrofluoroolefin  ซึ่งเป็นสารทำความเย็นสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่ได้รับการออกแบบให้มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อน (GWP) ต่ำกว่าสารทำความเย็นประเภทไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ผลิตขึ้นโดยการรวมอะตอมของไฮโดรเจน ฟลูออรีน และคาร์บอนเข้าด้วยกันในการจัดเรียงเฉพาะเพื่อสร้างโมเลกุลที่มีคุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์ที่พึงประสงค์และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ โดยปกติสารทำความเย็น HFO จะมีค่า GWP น้อยกว่า 10% ของสารทำความเย็น HFC แบบดั้งเดิม  ทำให้สารทำความเย็น HFO เป็นตัวเลือกสำหรับอนาคตที่น่าสนใจสำหรับระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศที่ต้องการประสิทธิภาพสูงและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สารทำความเย็น R449A สารทำความเย็นR449A สามารถใช้ทดแทน R-404A และ R-507 ในระบบทำความเย็นใหม่และติดตั้งเพิ่มเติม เป็นสารทำความเย็นผสม HFC+HFO จัดประเภทความปลอดภัยในระดับ A1 ไม่ติดไฟ มีค่า GWP = 1397 ซึ่งต่ำกว่าสารทำความเย็นอื่นๆ ที่ใช้กันทั่วไป เช่น R404A ที่มี GWP = 3922สามารถใช้งานได้หลากหลาย เนื่องจากให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นที่คล้ายคลึงกัน ในขณะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า ซึ่งที่ผ่านมา สารทำความเย็นอย่าง R404A

สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ R600a กับคุณสมบัติการติดไฟ ?

สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ R600a กับคุณสมบัติการติดไฟ ? ในโลกปัจจุบันสารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มพัฒนาเข้ามาแทนที่สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ในยุคเก่าอย่างแพร่หลายมากขึ้น สารทำความเย็น  R600a ก็เป็นหนึ่งสารทำความเย็นที่เป็นสารทดแทน R134a เช่นกัน เนื่องจากค่า GWP=3 ที่ต่ำกว่า R134a อย่างเห็นได้ชัด เพราะสารทำความเย็น R134a มีค่า GWP=1,430  ปัจจุบันสารทำความเย็น R134a ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบปรับอากาศรถยนต์ รวมถึงตู้เย็นและเครื่องทำความเย็นเชิงพาณิชย์ และสารทำความเย็น R600a ที่เข้ามาทดแทนส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดในการใช้เฉพาะ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และอุปกรณ์ทำความเย็นอื่นที่มีข้อกำหนด           R600a คืออะไร ? R600a เป็นสารทำความเย็นไอโซบิวเทน  ประเภท HC จากที่เราเคยได้ทำความรู้จักกับสารทำความเย็นธรรมชาติ R290 ที่เป็นสารทำความเย็นประเภทติดไฟอีกชนิดไปแล้ว สาร R600a ก็เป็นอีกหนึ่งสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของโพนเพนเช่นกันค่ะ เพียงแต่มีความสามารถในการติดไฟต่ำกว่าสารทำความเย็นตามธรรมชาติแท้ๆ และทั้งสารทำความเย็นทั้งคู่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในเครื่องใช้ที่เป็นไปตามข้อกำหนด เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติไวไฟ  R600a เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตเครื่องเย็นหรือตู้เย็นหลายยี่ห้อ เริ่มหันมาใช้สาร R600a