Tag Archives: สารทำความเย็นเปลี่ยนเป็นความเย็นได้อย่างไร ?

สารทำความเย็นเปลี่ยนเป็นความเย็นได้อย่างไร ?

สารทำความเย็นเปลี่ยนเป็นความเย็นได้อย่างไร ? สารทำความเย็น เป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับเครื่องทำความเย็น และการควบคุมการจ่ายสารทำความเย็นในระบบ 𝗛𝗩𝗔𝗖 หรือระบบปรับอากาศ และระบบทำความเย็น เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบและขั้นตอนต่างๆ ทั้งการจัดการการไหลของน้ำยา  ความดัน การควบคุมอุณหภูมิของสารทำความเย็น (𝗥𝗲𝗳𝗿𝗶𝗴𝗲𝗿𝗮𝗻𝘁) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำความเย็น และเปลี่ยนสถานะ ด้วยการใช้ความร้อนแฝงเข้ามาช่วยผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทำความเย็น โดยผ่านการควบคุม และการจ่ายผ่านหน้าที่ของอุปกรณ์ต่อไปนี้ การควบคุมการไหลของสารทำความเย็น 𝗧𝗵𝗲𝗿𝗺𝗮𝗹 𝗘𝘅𝗽𝗮𝗻𝘀𝗶𝗼𝗻 𝗩𝗮𝗹𝘃𝗲 (𝗧𝗫𝗩) หรือ เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของสารทำความเย็นเข้าสู่คอยล์เย็น (Evaporator) ตามอุณหภูมิของสารทำความเย็นที่ออกจากคอยล์เย็น 𝗖𝗮𝗽𝗶𝗹𝗹𝗮𝗿𝘆 𝗧𝘂𝗯𝗲 ท่อควบคุมการไหลของสารทำความเย็นเข้าสู่ คอยล์เย็น (Evaporator) ตามความยาวและเส้นผ่านศูนย์กลาง การควบคุมความดัน 𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗥𝗲𝗹𝗶𝗲𝗳 𝗩𝗮𝗹𝘃𝗲 (𝗣𝗥𝗩) วาล์วระบายแรงดัน รีลีฟวาล์ว ทำหน้าที่ปล่อยสารทำความเย็นส่วนเกินในกรณีที่มีแรงดันเกิน เพื่อป้องกันความเสียหายต่อระบบ ในกรณีเมื่ออุณหภูมิและความดันของสารทำความเย็นภายในระบบด้าน High side สูงเกินกว่าปกติ 𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗧𝗿𝗮𝗻𝘀𝗱𝘂𝗰𝗲𝗿 ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจสอบ และวัดความดันของระบบให้กับระบบควบคุมเพื่อการปรับเปลี่ยนแรงดันให้เหมาะสม การควบคุมอุณหภูมิ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิสารทำความเย็น