Tag Archives: ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง

ประเภทของห้องเย็นในการใช้งาน

ประเภทของห้องเย็นในการใช้งาน “ห้องเย็น” ได้ถูกออกแบบให้มีสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมเพื่อจัดเก็บผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยใช้อุณหภูมิเฉพาะเพื่อรักษาคุณภาพ และอายุการเก็บรักษาสินค้าต่างๆ ประเภทของห้องเย็นและช่วงอุณหภูมิขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บในหลากหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ อาหาร, ยา, วัคซีน, สารเคมี, พืช ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, เครื่องสำอางค์ เป็นต้น โดยทั่วไปห้องเย็นจะทำงานที่ระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนด และความต้องการเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บ  อาจแบ่งได้ดังนี้ -Chilled Storage ห้องเย็นเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ โดยรักษาอุณหภูมิทั่วไประหว่าง 0°C-5°C (41°F) ใช้สำหรับจัดเก็บอาหารที่เน่าเสียง่าย เช่น ผลไม้ ผัก ผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่ม เพื่อรักษาคุณภาพ และชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย -Cold Storage ห้องเย็นเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0°C แต่สูงกว่าจุดเยือกแข็ง ช่วงอุณหภูมิสำหรับห้องเย็นอาจแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง -2°C ถึง -18°C ใช้สำหรับจัดเก็บอาหารแช่แข็ง เช่น ผลไม้แช่แข็ง ผัก เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ฯลฯ เพื่อรักษาคุณภาพ และยืดอายุการเก็บรักษา -Frozen / Freezer Storage

หลักการทำงานของระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง 

หลักการทำงานของระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง  ในเรื่องของวัฏจักรการทำความเย็นแบบอัดไอทำให้เกิดความเย็น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำความเย็น และมีลักษณะเหมือนกันคือทำให้สารซึ่งเป็นตัวกลางในการทำความเย็น (Refrigerant)เปลี่ยนสถานะด้วยการใช้ความร้อนแฝง เพื่อให้สารที่เป็นตัวกลางในการทำความเย็นเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอ ส่งผลให้บริเวณนั้นมีอุณหภูมิลดลง ซึ่งหมายความว่าบริเวณนั้นจะมีความเย็นเกิดขึ้นเริ่มต้นกระบวนการทำความเย็นจากการดูดความร้อนด้วย Evaporator หรือคอยล์เย็น ซึ่งความร้อนที่สารทำความเย็นดูดเข้ามานี้จะทำให้น้ำยาสารทำความเย็นเกิดความร้อนและเปลี่ยนสภาพจากของเหลวกลายเป็นไอ กระบวนการนี้สารทำความเย็นจะดูดซับเอาความร้อนจากบริเวณโดยรอบ มาจากวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้คอยล์เย็นโดยวิธีการนำความร้อน การพาความร้อน หรือการแผ่รังสีความร้อนทำให้สารทำความเย็นนี้มีอุณหภูมิสูงที่ความดันต่ำ    สารทำความเย็นที่มีอุณหภูมิสูงสถานะไอนี้จะถูกส่งต่อไปยัง Compressor หรือเครื่องอัดโดยจะอัดให้มีความดันสูงขึ้นก่อนส่งต่อไปที่ Condenser หรือคอยล์ร้อนเพื่อระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นและควบแน่นให้สารทำความเย็นในสถานะที่เป็นไอเปลี่ยนกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้งซึ่งก่อนส่งต่อไปที่ Expansion Valve วาล์วลดความดันเพื่อลดความดันของสารทำความเย็นให้ต่ำลง เพื่อให้สารทำความเย็นดดังกล่าวพร้อมที่จะระเหยตัวที่อุณหภูมิต่ำ ณ อุปกรณ์ ถัดไปซึ่งก็คือคอยล์เย็นและจะวนการทำงานไปแบบนี้เรื่อยๆ ตามวัฏจักรทำความเย็นแบบอัดไอ สารทำความเย็นในระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง  สารทำความเย็นที่ใช้ทั่วไปสามารถแบ่งตามคุณสมบัติทางเคมีได้ 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ สารกลุ่ม CFC (Chlorofluorocarbon) มีส่วนประกอบของ คลอรีน   ฟลูออรีนและคาร์บอน สารทำความเย็นที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น R11, R12 มีความปลอดภัย และไม่เป็นพิษแต่การที่กลุ่มสาร CFC มีคลอรีน เมื่อเกิดการรั่วไหลจะมีผลกับการไปลด โอโซน ในบรรยากาศ