เครื่องปรับอากาศที่บ้านต้องเติมน้ำยาแอร์บ่อยแค่ไหนกัน ? สารทำความเย็นที่มีอยู่ในระบบทำความเย็นโดยปกติแล้วจะไม่หมดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสารเหล่านี้จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่อย่างต่อเนื่องภายในระบบของเครื่องปรับอากาศ ยกเว้นกรณีที่มีการรั่วไหล หรือ พบปัญหาในระบบหมุนเวียน ซึ่งอันที่จริงแล้วสารทำความเย็นจะมีอายุการใช้งานยาวนานหลายปี หรือเครื่องปรับอากาศบางเครื่องไม่จำเป็นต้องเติมสารทำความเย็นเลย สังเกตสัญญาณของการรั่วไหลของสารทำความเย็นได้ง่าย ๆ ดังนี้ 1.มีลมร้อนมาจากช่องระบายอากาศ 2.ค่าไฟฟ้าสูงกว่าปกติ 3.เกิดน้ำแข็งบนสายสารทำความเย็น 4.คอยล์เย็นจนเกิดการแช่แข็ง 5.มีเสียงฟู่ หรือ เป็นฟองออกมาจากท่อสารทำความเย็น แนะนำวิธีการเติมน้ำยาแอร์ การเติมน้ำยาแอร์นั้นทำด้วยตัวเองได้ยาก เนื่องจากจำเป็นต้องมีการตรวจสอบสภาพเครื่องปรับอากาศให้มั่นใจว่าน้ำยาแอร์หมดจากสาเหตุใด มีรอยรั่วในจุดไหนหรือเปล่า รวมไปถึงอุปกรณ์และน้ำยาแอร์ที่ต้องใช้นั้น อาจหาได้ยากสำหรับคนทั่วไป 1. ตรวจสอบว่ามีการเติมน้ำยาแอร์ชนิดไหน น้ำยาแอร์บางประเภทไม่สามารถเติมผสมร่วมกันได้ โดยเฉพาะน้ำยาแอร์ R410A ที่มีส่วนผสม 2 ชนิด จึงต้องทำการถ่ายน้ำยาชนิดเดิมออกให้หมดก่อนที่จะเติมน้ำยาแอร์ใหม่เข้าไป 2. ตรวจสอบระบบท่อน้ำยาแอร์ น้ำยาแอร์เป็นของเหลวที่มีอายุการใช้งานยาวนานเพราะฉะนั้นหากเกิดสถานการณ์ที่น้ำยาแอร์หมด ควรที่จะต้องมีการตรวจสอบระบบการทำงาน และหารอยรั่วเพื่อทำการซ่อมก่อน โดยวิธีตรวจสอบที่ช่างนิยมใช้กันนั้นก็คือการใช้น้ำสบู่ลูบไปตามท่อ หากจุดไหนรั่วก็จะเกิดฟองสบู่ขึ้น 3. ดูดอากาศและความชื้นออกให้หมด
Tag Archives: เครื่องปรับอากาศ
สารทำความเย็นสำหรับตู้แช่ ห้องเย็น น้ำยา R404a ถือว่าเป็นสารทำความเย็นที่อยู่คู่กับอุตสาหกรรม ห้องเย็น และเครื่องทำความเย็น มามากกว่าสามทศวรรษ โดยเป็นสาร HFC ที่เป็นตัวแทนของ R22 และ R502 เนื่องจากคุณสมบัติของ R404a ทำให้เป็นสารทำความเย็นที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมหลายอุณหภูมิ และมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ยอดเยี่ยม แต่ด้วยข้อกังวลของค่า GWP ที่สูงถึง 3,922 สารทำความเย็น HFC จะมีการลดการใช้และการผลิต และถูกทดแทนด้วยสารทำความเย็นประเภท HFO หรือสารทำความเย็นที่มี GWP ต่ำกว่า ซึ่งได้ถูกเริ่มใช้งานในประเทศไทยกันแล้วอย่างR448a หากคุณอยู่ในธุรกิจที่ต้องใช้ระบบทำความเย็น และมีข้อกังวลเกี่ยวกับสารทำความเย็นที่ใช้อยู่ วันนี้จะมาเปรียบเทียบระหว่างสารทำความเย็นR404a และR448a เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ทำความรู้จักR448a เป็นสารทำความเย็นซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่ของ HFO Blends คือส่วนผสมซีโอโทรปิกที่ประกอบด้วย HFO 2 ตัว (R1234ze 7% และ R1234yf 20%) และสารทำความเย็น HFC 3 ตัว
เทคนิคการใช้เครื่องปรับอากาศช่วงหน้าฝน ในช่วงฤดูฝน อากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งร้อนจัด ทั้งฝนตกประปราย อีกทั้งยังมีพายุลมแรงอยู่ตลอดในช่วงปีนี้ หากเราจะเปิดเครื่องปรับอากาศในขณะที่ฝนตก เราจะมีวิธีการใช้งานและดูแลเครื่องปรับอากาศอย่างไรบ้าง ให้ใช้งานได้เหมาะสมกับสภาพอากาศปัจจุบัน และยังให้เครื่องปรับอากาศสามารถยังใช้งานได้ดี วันนี้ทางเรามีข้อแนะนำการใช้เครื่องปรับอากาศช่วงหน้าฝนดังนี้ค่ะ 1.ทำความสะอาดคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศเป็นประจำเพื่อป้องกันเชื้อโรค กลิ่นอับ หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ในช่วงอากาศชื้นที่สะสมอยู่ในเครื่องปรับอากาศ 2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ติดตั้งภายนอก บนพื้นที่สูงเล็กน้อยเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีน้ำขังหลังฝนตก 3. ปิดคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศด้วยฝาครอบกันน้ำ 4. ตรวจสอบและเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศบ่อย ๆ เพื่อรักษาการไหลเวียนของอากาศที่ดี 5. ตรวจสอบระบบระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการอุดตัน 6. ตั้งอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและหลีกเลี่ยงการปิดและเปิดเครื่องปรับอากาศบ่อย ๆ 7. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการรั่วไหลในท่อสารทำความเย็น 8. เลือกเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับขนาดของห้องเพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักจนเกินไป 9. การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้ต่ำกว่าอากาศภายนอก 10. นัดหมายบริการล้างแอร์เครื่องปรับอากาศอย่างมืออาชีพอย่างน้อยปีสองละครั้ง 11. การใช้ Self-Cleaning ซึ่งจะมีในเครื่องปรับอากาศติดผนังรุ่นใหม่บางรุ่นเท่านั้น 12. การใช้ Dry Mode เครื่องปรับอากาศบางรุ่นจะมีระบบนี้ เพื่อที่จะช่วยลดความชื้นภายในห้องขณะที่เปิดเครื่องปรับอากาศ ดังนั้นเมื่อต้องการเปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงฝนตกหรือช่วงที่อากาศภายนอกเย็นกว่าในห้อง เราจะต้องปรับลดอุณหภูมิลง เพื่อให้เครื่องปรับอากาศได้ทำความเย็นในห้องให้ถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ โดยอาจจะต้องตั้งอุณหภูมิระหว่าง 18-23 องศาเซลเซียส เพื่อให้คอยล์ระบายความร้อนได้ทำงาน และทำให้ส่งลมเย็นเข้าสู่ภายในห้อง และหากเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศทุกวัน รวมกระทั่งแม้วันที่ฝนตกและแดดร้อนจัด
เครื่องปรับอากาศภายในบ้าน – ความรู้ทั่วไป ซื้อแอร์ยี่ห้อไหนดี – เครื่องปรับอากาศหรือแอร์ที่เรารู้จัก ต้องเลือกซื้อเลือกใช้งานอย่างไรให้คุ้มค่าและประหยัดพลังงานมากที่สุด เป็นคำถามที่เราพบบ่อยสำหรับคนที่กำลังจะเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศสักตัว แอร์ยี่ห้อดัง ๆ มีชื่อเสียงมายาวนาน ประหยัดจริงไหม ยี่ห้อนี้ที่เราค้นหาในเน็ตประหยัดจริงรึป่าว เราจึงควรพิจารณาจากหลาย ๆ ด้านก่อนตัดสินใจ ขอแนะนำแนวทางในการเลือกซื้อแอร์ให้ตรงกับความต้องการ และ ขนาดการใช้งาน ให้คุ้มค่า ประหยัด รักโลกมากที่สุด ประเภทของแอร์บ้าน สำหรับการใช้งานโดยทั่วไป สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สำหรับที่พักอาศัย ซึ่งเป็นเครื่องปรับอากาศแบบติดผนักขนาดกะทัดรัด เหมาะสำหรับการใช้งานตามบ้านเรือน คอนโด ออฟฟิศขนาดเล็ก หรือ ใช้ติดตั้งในห้องขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นแอร์ติดผนังทั้งสิ้น เพราะดูแลรักษาง่าย เชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นเครื่องขนาดใหญ่ สามารถแบ่งได้อีกหลายรูปแบบ เช่น แบบฝังฝ้า อยู่บนตัวเพดาน มีการปล่อยความเย็นออกมาจากเพดานทั้ง 4 ทิศ เหมาะสำหรับสำนักงาน ร้านค้า ออฟฟิศขนาดกลางขึ้นไป ขนาดของแอร์ที่เหมาะสม เลือก BTU ให้ถูกต้องกับขนาดของห้องที่เราต้องการใช้งาน ขนาดแอร์เป็นอีกหลักที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับเงินที่เราจะต้องจ่ายไป
น้ำมันคอมเพรสเซอร์มีความสำคัญในระบบทำความเย็นอย่างไร ในระบบทำความเย็น นอกจากอุปกรณ์หลักในการทำความเย็นอย่างเช่น คอมเพรสเซอร์ สารทำความเย็น หรือ น้ำยาแอร์แล้ว ยังมีน้ำมันหล่อลื่น หรือที่รู้จักกันในชื่อ “น้ำมันคอมแอร์” หรือ “น้ำมันคอมเพรสเซอร์” ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คอมเพรสเซอร์ในระบบทำความเย็น หน้าที่หลักของน้ำมันคอมเพรสเซอร์ หล่อลื่นส่วนประกอบทั้งหมดของคอมเพรสเซอร์ เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพ หล่อเย็นและขจัดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในขณะระบบทำงาน ที่ส่งผลต่อการทำงานและอายุการใช้งานของระบบ สารหล่อลื่นที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือไม่ตรงตามมาตรฐานว่าด้วยเรื่องของคุณภาพ จะทำให้การหล่อลื่นและการระบายความร้อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพน้อยกว่าที่ควรจะเป็น จนถึงสร้างความเสียหายในการหยุดทำงานของระบบได้ในที่สุด ควรเปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์เมื่อไหร่ การบำรุงรักษาระบบทำความเย็นด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมแอร์เป็นประจำถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการยืดอายุการใช้งานประเภทของคอมเพรสเซอร์ และความถี่ในการใช้งานของระบบทำความเย็น เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ในการเปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์ โดยสามารถดูได้จากคู่มือข้อมูลจำเพาะของผู้ผลิต นอกเหนือจากงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน อาจะมีบางสถานการณ์ที่จำเป็น เช่น ระหว่างงานซ่อมแซมระบบ เปลี่ยนชิ้นส่วน เปลี่ยนสารทำความเย็นเป็นต้น ขั้นตอนการเปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์ ตรวจสอบประเภทของน้ำมันหล่อลื่น กำหนดประเภทของสารหล่อลื่นตามระบบทำความเย็น ผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์มักจะระบุประเภทของสารหล่อลื่นและขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น สารทำความเย็นที่ใช้ การออกแบบคอมเพรสเซอร์ และความต้องการของระบบนั้นๆตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ในระบบทำความ น้ำมันแร่ (MO) น้ำมันแร่เป็นน้ำมันหล่อลื่นแบบดั้งเดิมที่ใช้กับสารทำความเย็น CFC และ HCFC เข้ากันได้กับสารทำความเย็นรุ่นเก่า Polyol Ester (POE) นิยมใช้กับสารทำความเย็น HFC เช่น