น้ำยาแอร์ตัวไหนใช้ในชิลเลอร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ระบบชิลเลอร์ หรือ เครื่องทำความเย็นที่มีขนาดใหญ่ และเล็กหรือเรียกว่า มินิชิลเลอร์ ได้มีการพัฒนาจากเดิมขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งมีหน้าที่ ผลิตความเย็นปรับลดอุณหภูมิโดยใช้น้ำเป็นตัวหลัก ในการถ่ายเทความเย็น จากตัวเครื่องชิลเลอร์ ส่งไปยังเครื่องปรับอากาศที่อยู่ตามโรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล อาคาร เป็นต้น จำเป็นต้องติดตั้งระบบชิลเลอร์เพื่อให้ผู้มาใช้บริการ หรือคนทำงานมีอากาศที่เย็นสบาย การติดตั้งระบบชิลเลอร์จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการติดตั้งเช่นพื้นที่ในการติดตั้งเพราะเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนจึงต้องวางแผนในการติดตั้งให้ดีก่อน เรามาทำความรู้จักว่า น้ำยาแอร์ตัวไหน ใช้ในชิลเลอร์บ้าง – น้ำยาแอร์ R22 เป็นสารประกอบเดียว ใช้สำหรับระบบเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันภายในอาคารบ้านเรือน อุตสาหกรรมแช่เย็น และระบบชิลเลอร์ ถ้าเกิดการรั่วหรือน้ำยาแอร์ในระบบขาด สามารถเติมได้เลย คุณสมบัติของน้ำยาแอร์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และเป็นสารที่ไม่ติดไฟ ปัจจุบันรัฐบาล เริ่มมีการ ลด ละ เลิก R 22 และ จะมี R 407C เข้ามาแทน โดยเป็นสารผสมระหว่าง ( R134a , R125 ,
Tag Archives: chiller คือ
น้ำยาแอร์ มีส่วนสำคัญกับระบบปรับอากาศ และระบบทำความเย็นอย่างไร? ปัจจุบัน ระบบทำความเย็นมีความจำเป็นในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคครัวเรือน หรือภาคอุตสาหกรรม ระบบทำความเย็น หรือระบบปรับอากาศได้ มีการพัฒนาการมาโดยตลอด โดยมีพื้นฐานในการทำงานและอุปกรณ์หลักของระบบเหมือนกัน แตกต่างกันเพียงแค่การนำไปใช้ประโยชน์เท่านั้น ส่วนประกอบที่สำคัญต่อระบบทำความเย็น (Refrigeration Cycle) ประกอบไปด้วย คอมเพรสเซอร์, คอยล์ร้อน,วาวล์ลดความดัน และคอยล์เย็น คอมเพรสเซอร์ มีหน้าที่ดูดไอน้ำยาเย็นจากคอยล์เย็น เพื่อเพิ่มแรงดันให้สูง คอยล์ร้อน มีหน้าที่ให้น้ำยาเย็นลงเพื่อเปลี่ยนน้ำยาจากสถานะไอ เป็นของเหลว วาวล์ลดความดัน มีหน้าที่ลดความดันน้ำยาที่มีสภาพความดันที่สูงจากคอยล์ร้อน คอยล์เย็น มีหน้าที่ทำให้อุณหภูมิในห้องเย็นลง โดยการดูดความร้อนในห้องผ่านน้ำยา นอกจากส่วนประกอบดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่ามีตัวสำคัญในหลักการทำความเย็น นั่นคือ สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ ที่จะไหลผ่านส่วนประกอบที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เพื่อทำให้เกิดความเย็น หลักการทำความเย็นของระบบทำความเย็น มีดังนี้ คอมเพรสเซอร์ จะดูดไอน้ำยาที่มีความดันต่ำจากคอยล์เย็น เพื่อเพิ่มความดันน้ำยาให้สูง แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน ในคอยล์ร้อนจะมีพัดลมเพื่อระบายความร้อนออกจากไอน้ำยา ความร้อนนี้จะระบายออกไปสู่อากาศภายนอก เมื่อความร้อนถูกระบายออกไป ไอน้ำยาจะมีอุณหภูมิที่ต่ำลงและความดันที่สูงเพื่อเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว และส่งต่อเข้าที่วาวล์ลดความดัน เมื่อน้ำยาในสภาพของเหลวและความดันที่สูง เข้าสู่วาวล์ลดความดัน น้ำยาจะถูกลดความดันและถูกฉีดเป็นละอองน้ำยาเข้าสู่คอยล์เย็น ในส่วนนี้ละอองน้ำยาแอร์จะดูดซับความร้อนในบริเวณห้องที่เราเปิดแอร์ เมื่อน้ำยาแอร์ซับความร้อนจากห้องมา จะกลายสภาพเป็นไอที่มีความดันต่ำ