อุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนบ้าง ในประเทศไทย อุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการใช้สารทำความเย็นหรือ น้ำยาแอร์ มาใช้ในงานระบบ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพราะในประเทศไทยไม่สามารถผลิตขึ้นได้เอง การใช้งานในระบบทำความเย็นต่างๆ ทั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน อาคาร รถยนต์ ห้องเย็นและตู้แช่ รวมทั้งอุตสาหกรรมทั่วๆไปด้วยที่จะต้องใช้อุณภูมิความเย็นในการจัดเก็บสินค้าต่าง ๆ ในที่นี้จะแยกในส่วนของน้ำยาที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ ว่าส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันนิยมและใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนกันบ้าง แต่ละชนิดมีส่วนประกอบและคุณสมบัติอย่างไร ในระบบตู้แช่ น้ำยาแอร์หลักๆที่ใช้กันแบ่งตามรายละเอียดต่างๆได้ดังนี้ R404a เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) คุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ประหยัดพลังงาน มีค่าแรงดันที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 170-180 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -46.6 C◦ ใช้ในอุณหภูมิติดลบ ใช้ในสินค้าพวกตู้แช่ห้องเย็นและอุตสาหกรรมทำความเย็น ถ้าน้ำยาแอร์ในระบบขาดต้องปล่อยทิ้งแล้วเติมใหม่ทั้งหมด โดยสามารถใช้เกจ์วัดแรงดันในการเช็คระบบให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม R507 เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 2 ชนิด (R125+R143) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 180-190 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -47.1
Tag Archives: R600A
สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ R600a กับคุณสมบัติการติดไฟ ? ในโลกปัจจุบันสารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มพัฒนาเข้ามาแทนที่สารทำความเย็น หรือน้ำยาแอร์ในยุคเก่าอย่างแพร่หลายมากขึ้น สารทำความเย็น R600a ก็เป็นหนึ่งสารทำความเย็นที่เป็นสารทดแทน R134a เช่นกัน เนื่องจากค่า GWP=3 ที่ต่ำกว่า R134a อย่างเห็นได้ชัด เพราะสารทำความเย็น R134a มีค่า GWP=1,430 ปัจจุบันสารทำความเย็น R134a ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบปรับอากาศรถยนต์ รวมถึงตู้เย็นและเครื่องทำความเย็นเชิงพาณิชย์ และสารทำความเย็น R600a ที่เข้ามาทดแทนส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัดในการใช้เฉพาะ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และอุปกรณ์ทำความเย็นอื่นที่มีข้อกำหนด R600a คืออะไร ? R600a เป็นสารทำความเย็นไอโซบิวเทน ประเภท HC จากที่เราเคยได้ทำความรู้จักกับสารทำความเย็นธรรมชาติ R290 ที่เป็นสารทำความเย็นประเภทติดไฟอีกชนิดไปแล้ว สาร R600a ก็เป็นอีกหนึ่งสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของโพนเพนเช่นกันค่ะ เพียงแต่มีความสามารถในการติดไฟต่ำกว่าสารทำความเย็นตามธรรมชาติแท้ๆ และทั้งสารทำความเย็นทั้งคู่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในเครื่องใช้ที่เป็นไปตามข้อกำหนด เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติไวไฟ R600a เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตเครื่องเย็นหรือตู้เย็นหลายยี่ห้อ เริ่มหันมาใช้สาร R600a