หลักการทำงานของระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง 

หลักการทำงานของระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง 

ในเรื่องของวัฏจักรการทำความเย็นแบบอัดไอทำให้เกิดความเย็น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำความเย็น และมีลักษณะเหมือนกันคือทำให้สารซึ่งเป็นตัวกลางในการทำความเย็น (Refrigerant)เปลี่ยนสถานะด้วยการใช้ความร้อนแฝง เพื่อให้สารที่เป็นตัวกลางในการทำความเย็นเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอ ส่งผลให้บริเวณนั้นมีอุณหภูมิลดลง ซึ่งหมายความว่าบริเวณนั้นจะมีความเย็นเกิดขึ้นเริ่มต้นกระบวนการทำความเย็นจากการดูดความร้อนด้วย Evaporator หรือคอยล์เย็น ซึ่งความร้อนที่สารทำความเย็นดูดเข้ามานี้จะทำให้น้ำยาสารทำความเย็นเกิดความร้อนและเปลี่ยนสภาพจากของเหลวกลายเป็นไอ กระบวนการนี้สารทำความเย็นจะดูดซับเอาความร้อนจากบริเวณโดยรอบ มาจากวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้คอยล์เย็นโดยวิธีการนำความร้อน การพาความร้อน หรือการแผ่รังสีความร้อนทำให้สารทำความเย็นนี้มีอุณหภูมิสูงที่ความดันต่ำ    สารทำความเย็นที่มีอุณหภูมิสูงสถานะไอนี้จะถูกส่งต่อไปยัง Compressor หรือเครื่องอัดโดยจะอัดให้มีความดันสูงขึ้นก่อนส่งต่อไปที่ Condenser หรือคอยล์ร้อนเพื่อระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นและควบแน่นให้สารทำความเย็นในสถานะที่เป็นไอเปลี่ยนกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้งซึ่งก่อนส่งต่อไปที่ Expansion Valve วาล์วลดความดันเพื่อลดความดันของสารทำความเย็นให้ต่ำลง เพื่อให้สารทำความเย็นดดังกล่าวพร้อมที่จะระเหยตัวที่อุณหภูมิต่ำ ณ อุปกรณ์ ถัดไปซึ่งก็คือคอยล์เย็นและจะวนการทำงานไปแบบนี้เรื่อยๆ ตามวัฏจักรทำความเย็นแบบอัดไอ

ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง 

สารทำความเย็นในระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง 

สารทำความเย็นที่ใช้ทั่วไปสามารถแบ่งตามคุณสมบัติทางเคมีได้ 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  1. สารกลุ่ม CFC (Chlorofluorocarbon)
    มีส่วนประกอบของ คลอรีน   ฟลูออรีนและคาร์บอน สารทำความเย็นที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น R11, R12 มีความปลอดภัย และไม่เป็นพิษแต่การที่กลุ่มสาร CFC มีคลอรีน เมื่อเกิดการรั่วไหลจะมีผลกับการไปลด โอโซน ในบรรยากาศ เท่ากับว่าเป็นตัวทำลายโอโซนซึ่งเป็นเกราะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet: UV) ที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์

ซึ่งสารกลุ่ม CFC ปัจจุบันถูกยกเลิกสารใช้งานแล้ว (มีค่า ODP = 1)

  1. สารกลุ่ม HCFC (Hydrochlorofluorocarbon)
    มีส่วนประกอบของ ไฮโดรเจนคลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน สารทำความเย็นที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น R22ซึ่งเป็นสารทำความเย็นที่เหมาะกับระบบของอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กเช่น เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากมีปริมาตรจำเพาะน้อย ทำให้ขนาดของคอมเพรสเซอร์มีขนาดเล็กกว่าคอมเพรสเซอร์ที่ใช้สารทำความเย็น R12 แต่ยังมีคลอรีนอยู่บ้างเมื่อเกิดการรั่วไหลจะมีผลกับการไปลด โอโซน ในบรรยากาศเท่ากับว่าเป็นตัวทำลายโอโซน และมีค่าการก่อให้ภาวะโลกร้อน( GWP ) สูงซึ่งสารกลุ่ม HCFC ในยุโรป และบางประเทศถูกยกเลิกการใช้งานแล้ว
    มีค่าการก่อให้ภาวะโลกร้อน
  2. สารกลุ่ม HFC (Hydrofluorocarbon)
    มีส่วนประกอบของ ไฮโดรเจน ฟลูออรีนและคาร์บอน สารทำความเย็นที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น R404A, R407C, R134a เหมาะมากสำหรับการใช้งานในระบบทำความเย็น เพราะไม่มีพิษ ไม่ติดไฟ ไม่กัดกร่อนอุปกรณ์และไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (มีค่า ODP = 0) แต่ยังมีค่าการก่อให้ภาวะโลกร้อน ( GWP ) สูงอยู่
  3. สารกลุ่ม HFO & HFO Blend (Hydrofluoroolefins)
    HFOเป็นสารทำความเย็นในอนาคต   โดยมีโอเลฟินเป็นส่วนผสมพื้นฐาน เช่น  R1234yf  ส่วน HFO Blend  จะเป็นการผสมกันระหว่าง HFC หรือ HCFC เข้ากับ HFO เช่น R448a, R449a  เป็นสารที่มีค่าการทำลายชั้นโอโซนเท่ากับศูนย์ (ODP = 0)พร้อมทั้งทีค่าการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (GWP) ต่ำมากและมีอายุสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ

สำหรับสารทำความเย็นที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ บางชนิดเป็นสารผสมบางชนิดเป็นสารเดี่ยว ดังนั้นการเลือกว่าจะใช้น้ำยาแอร์ตัวไหน ขึ้นอยู่กับระบบคอมเพรสเซอร์ที่ใช้และอุณหภูมิที่ต้องการ  ถ้าหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานของน้ำยาแอร์ของตู้เย็นและตู้แช่ สามารถโทรติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็น ตู้แช่ทุกชนิด ที่

สนใจสั่งซื้อนํ้ายาเเอร์ได้ที่ นํ้ายาเเอร์ดอทคอม

สนใจสั่งซื้อน้ำยาแอร์ กับน้ำยาแอร์ดอทคอม โทรเลย 0943413124

Add Line : @namyaair เพื่อสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับน้ำยาแอร์ คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *