เครื่องปรับอากาศที่บ้านต้องเติมน้ำยาแอร์บ่อยแค่ไหนกัน ?

เครื่องปรับอากาศที่บ้านต้องเติมน้ำยาแอร์บ่อยแค่ไหนกัน ?


            สารทำความเย็นที่มีอยู่ในระบบทำความเย็นโดยปกติแล้วจะไม่หมดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสารเหล่านี้จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่อย่างต่อเนื่องภายในระบบของเครื่องปรับอากาศ ยกเว้นกรณีที่มีการรั่วไหล หรือ พบปัญหาในระบบหมุนเวียน ซึ่งอันที่จริงแล้วสารทำความเย็นจะมีอายุการใช้งานยาวนานหลายปี หรือเครื่องปรับอากาศบางเครื่องไม่จำเป็นต้องเติมสารทำความเย็นเลย สังเกตสัญญาณของการรั่วไหลของสารทำความเย็นได้ง่าย ๆ ดังนี้

          1.มีลมร้อนมาจากช่องระบายอากาศ
          2.ค่าไฟฟ้าสูงกว่าปกติ
          3.เกิดน้ำแข็งบนสายสารทำความเย็น
          4.คอยล์เย็นจนเกิดการแช่แข็ง
          5.มีเสียงฟู่ หรือ เป็นฟองออกมาจากท่อสารทำความเย็น

แนะนำวิธีการเติมน้ำยาแอร์


การเติมน้ำยาแอร์นั้นทำด้วยตัวเองได้ยาก เนื่องจากจำเป็นต้องมีการตรวจสอบสภาพเครื่องปรับอากาศให้มั่นใจว่าน้ำยาแอร์หมดจากสาเหตุใด มีรอยรั่วในจุดไหนหรือเปล่า รวมไปถึงอุปกรณ์และน้ำยาแอร์ที่ต้องใช้นั้น อาจหาได้ยากสำหรับคนทั่วไป

          1. ตรวจสอบว่ามีการเติมน้ำยาแอร์ชนิดไหน
          น้ำยาแอร์บางประเภทไม่สามารถเติมผสมร่วมกันได้ โดยเฉพาะน้ำยาแอร์ R410A ที่มีส่วนผสม 2 ชนิด จึงต้องทำการถ่ายน้ำยาชนิดเดิมออกให้หมดก่อนที่จะเติมน้ำยาแอร์ใหม่เข้าไป


          2. ตรวจสอบระบบท่อน้ำยาแอร์
          น้ำยาแอร์เป็นของเหลวที่มีอายุการใช้งานยาวนานเพราะฉะนั้นหากเกิดสถานการณ์ที่น้ำยาแอร์หมด ควรที่จะต้องมีการตรวจสอบระบบการทำงาน และหารอยรั่วเพื่อทำการซ่อมก่อน โดยวิธีตรวจสอบที่ช่างนิยมใช้กันนั้นก็คือการใช้น้ำสบู่ลูบไปตามท่อ หากจุดไหนรั่วก็จะเกิดฟองสบู่ขึ้น
          3. ดูดอากาศและความชื้นออกให้หมด
          ไม่เพียงเฉพาะการนำน้ำยาแอร์เก่าออกให้หมดเพียงเท่านั้น แต่จำเป็นต้องดูดอากาศและความชื้นออกให้หมดด้วยเช่นกัน ต้องไม่ปล่อยให้มีความชื้นเหลืออยู่เลยแม้เพียงนิดเดียว เพราะความชื้นนั้นอาจจะจับตัวเป็นเกล็ดน้ำแข็งอยู่ภายในระบบท่อ และขัดขวางการไหลของน้ำยาได้ รวมไปถึงยังอาจเกิดการกลายสภาพเป็นกรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid) ไปทำลายส่วนที่เป็นโลหะของระบบปรับอากาศได้อีกด้วย
          4. เริ่มต้นการเติมน้ำยาแอร์
          การเติมน้ำยาแอร์สามารถเปิดเครื่องคอมเพรสเซอร์ เพื่อดูดน้ำยาจากถังในรูปแบบของก๊าซ และสามารถดูที่ชุด Gauge Manifold หรือปัจจุบันแอร์มีความเย็นในระดับไหน น้ำยาที่เติมไปเพียงพอแล้ว
          5. ตรวจสอบระดับน้ำยาแอร์
          สำหรับการตรวจสอบว่าน้ำยาแอร์ที่เติมไปนั้นเพียงพอแล้วหรือยัง ให้ปิดวาล์วทั้งด้าน Low และ High จากนั้นดูความดันน้ำยา หรืออีกกรณีสามารถดูจากรายละเอียดของเครื่องที่จะบอกปริมาณการเติมน้ำยาแอร์เป็นน้ำหนักไว้ โดยสามารถเทียบกับน้ำหนักของถังน้ำยาที่ชั่งครั้งแรก และครั้งล่าสุดว่าลดลงจากที่บันทึกไปเท่าไหร่

ข้อควรระวังที่ต้องรู้ก่อนเติมน้ำยาเครื่องปรับอากาศ

    – น้ำยาแอร์ที่นำมาเติมต้องเป็นชนิดเดียวกัน ห้ามใช้คนละชนิดมาผสมกัน
    – การเติมน้ำยาแอร์ R32 และ R22 สามารถเติมส่วนที่น้ำยาขาดเพิ่มเข้าไปได้เลยเนื่องจากเป็นสารเชิงเดี่ยวไม่มีการผสมสารใดใดเพิ่มเติม แต่น้ำยาแอร์ R410A เป็นสารผสมต้องถ่ายน้ำยาแอร์เดิมออกมาให้หมดทุกครั้งก่อนเติมน้ำยาใหม่ หากไม่ได้ถ่ายน้ำยาแอร์เก่าออก จะทำสัดส่วนของน้ำยาแอร์ไม่สมดุล
     – ควรเติมน้ำยาแอร์ให้พอดีกับสเปกของเครื่องที่ระบุไว้ หากมีการเติมน้ำยาแอร์มากเกินกว่าสเปกของเครื่อง ก็จะเกิดอาการ Over Charge ที่จะส่งผลให้แอร์ไม่เย็นได้ 
     – การเติมน้ำยาแอร์ควรชั่งน้ำหนักของปริมาณของน้ำยา เพื่อให้เป็นไปตามการออกแบบมาตรฐานของเครื่องปรับอากาศ

          หากท่านพบเจอปัญหาของเครื่องปรับอากาศไม่เย็นหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลแอร์รถยนต์ หรือ น้ำยาแอร์บ้าน อะไหล่แอร์บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม จำหน่ายน้ำยาแอร์บ้านทุกยี่ห้อ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบแอร์บ้านที่มีคุณภาพมาตรฐาน และมีพนักงานบริการตอบคำถามให้คำแนะนำจากประสบการณ์ด้านการจำหน่ายน้ำยาแอร์มากว่า 20 ปี ติดต่อที่ Line: @namyaair หรือโทร 094-341-312

สนใจสั่งซื้อน้ำยาแอร์ กับน้ำยาแอร์ดอทคอม โทรเลย 0943413124

Add Line : @namyaair เพื่อสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับน้ำยาแอร์ คลิ๊กเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *