แนวทางป้องกันอันตรายจากสารทำความเย็น

แนวทางป้องกันอันตรายจากสารทำความเย็น

สาเหตุของการรั่วไหลสารทำความความเย็น  การรั่วไหลของสารทำความเย็นส่วนใหญ่มักเกิดจากการชำรุดของอุปกรณ์ หรือหมดอายุการใช้งานแล้ว ทำให้สารทำความเย็นที่ทำงานอยู่ภายในอุปกรณ์ทำความเย็นรั่วไหลออกตามจุดที่มีการผุกร่อน นอกจากนี้การรั่วไหลยังเกิดขึ้นได้จากการติดตั้งอุปกรณ์วาล์วกันกลับผิดทาง (Check Valve) ทำให้ของเหลวในระบบเกิดการขยายตัวจนเกิดการรั่วไหล การแก้ไขเมื่อเกิดการรั่วไหลของสารทำความเย็น  เมื่อพบว่ามีการรั่วไหลของสารทำความเย็น ควรทำการป้องกันไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายหรือถูกผิวหนัง และทำตามข้อควรปฏิบัติดังนี้

การรั่วไหลของสารทำความเย็นส่วนใหญ่มักเกิดจากการชำรุดของอุปกรณ์

– หากเกิดการรั่วในด้านดูดให้เดินเครื่องเพื่อให้เกิดแรงดันในระบบต่ำที่สุด หรือให้กลายเป็นสุญญากาศ

-หากเกิดการรั่วทางด้านส่งให้หยุดเดินเครื่องแล้วทำการปิดวาล์วสกัด

-ในบริเวณที่มีการรั่วของสารให้ใช้ผ้าหรือกระสอบซับน้ำคลุมเอาไว้ ก่อนทำการฉีดน้ำเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจาย

-ทำการระบายอากาศในบริเวณโดยรอบที่มีการรั่วไหลให้เร็วที่สุด ถ้าหากเป็นพื้นที่ปิดให้ใช้สเปรย์ฉีดน้ำในบริเวณที่รั่วไหล

-ทำการซ่อมชั่วคราวเพื่อใช้งาน และในขณะที่ทำการซ่อมต้องเช็คให้ดีว่ามีสารทำความเย็นค้างอยู่ภายในท่อหรือไม่

 

มาตรการป้องกันการรั่วไหลของสารทำความเย็น

ซ่อมบํารุง และควบคุมการทํางานของห้องเย็นโดยผู้เชี่ยวชาญ

-ซ่อมบํารุง และควบคุมการทํางานของห้องเย็นโดยผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกมาเป็นอย่างดี

-โรงงานที่มีห้องเย็นขนาดใหญ่จะต้องมีแผนงานในแต่ละช่วงเวลา ในการตรวจสอบห้องเย็นโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในส่วนของอุปกรณ์และระบบท่อ ที่อาจจะทําให้เกิดอันตรายหากชํารุด

-มีแผนฉุกเฉินในกรณีเกิดอุบัติเหตุ และสื่อสารให้ทุกคนรับทราบการทํางานในสภาพพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ

-จัดหาชุดป้องกันความเย็นที่เหมาะสม

-จัดให้มีห้องพักที่มีสภาพอากาศปกติ กับน้ำอุ่น สําหรับพักเบรก ส่วนระยะเวลาในการพักขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิของห้องเย็นและลักษณะงาน

การบาดเจ็บจากความเย็น อันตรายจากน้ำแข็งที่เกิดขึ้น

เมื่อคนเข้าไปทำงานในห้องเย็นเป็นเวลานานๆ ความเย็นจัดก็จะสามารถทำให้เส้นเลือดฝอยตีบเล็กลง ส่วนใหญ่พบมากบริเวณปลายมือ , ปลายเท้า , จมูก , ใบหู เป็นต้น ถ้าอาการเพียงเล็กน้อย ก็จะมีอาการปรากฏบริเวณใบหู , จมูก , นิ้วมือ , เท้า มีลักษณะแดง , ร้อนตึง และปวด ถ้าถูกความเย็นจัดเป็นเวลานาน เส้นเลือดจะตีบตัน เกิดการตายของอวัยวะบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยง

มาตรการป้องกันอันตรายสำหรับการทำงานในห้องเย็น

– จัดหาชุดป้องกันความเย็นที่เหมาะสม

– จัดให้มีห้องพักที่มีสภาพอากาศปกติ กับน้ำอุ่น สำหรับพักเบรก ส่วนระยะเวลาในการพักขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิของห้องเย็นและลักษณะงาน

– ผู้ที่ทำงานในห้องเย็นต้องมีร่างกายที่แข็งแรง จะต้องจัดให้มีการตรวจร่างกายผู้ที่จะต้องทำงานในห้องเย็นก่อนเสมอ

– สะเก็ดน้ำแข็ง หรือน้ำแข็งที่เกิดขึ้น จะต้องจัดเก็บออกไปทุกวัน

– อุปกรณ์ที่ใช้งานในห้องเย็นควรจัดให้มีการตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ไม่อันตราย

​     น้ำยาแอร์สำหรับห้องเย็นเป็นสารที่อันตรายหากสัมผัสโดยตรง ดังนั้นควรมีความระมัดระวังในการใช้งานการรวมถึงการทำงานในห้องเย็น   และสิ่งสำคัญคือ ต้องปฏิบัติงานด้วยความเคร่งครัด รัดกุม และครวมีสติอยู่เสมอ  ถ้าหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานของน้ำยาแอร์ของตู้เย็น ตู้แช่และห้องเย็น  สามารถโทรติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็น ตู้แช่ทุกชนิด

สนใจสั่งซื้อน้ำยาแอร์ กับน้ำยาแอร์ดอทคอม โทรเลย 0943413124

Add Line : @namyaair เพื่อสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับน้ำยาแอร์ คลิ๊กเลย

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *