“แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HFCs ในอนาคต”
การทยอยลดปริมาณการผลิต และการใช้สารทำความเย็น HCFCs และ HFCs ในอนาคตอันใกล้ เป็นอีกหนึ่งโจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้สารทำความเย็นในอุตสาหกรรม ที่ต้องหาความสมดุลในการเลือกใช้อุปกรณ์ทำความเย็น และสารทำความเย็นที่เหมาะสม โดยมีปัจจัยอย่างราคาต้นทุน ความปลอดภัย ประสิทธิภาพและความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความยั่งยืน และความต้องการของอนาคต ก่อนที่จะเลือกหรือเปรียบเทียบสารทำความเย็น ควรพิจารณาระบบทำความเย็นประกอบการตัดสินใจในการเปลี่ยนสารทำความเย็นทดแทนด้วย โดยการเปลี่ยนสารทำความเย็นสามารถทำได้ 3 วิธี
- Drop-in คือ การใช้ชุดอุปกรณ์เดิมแต่เปลี่ยนเฉพาะสารทำความเย็น
- Retrofi คือ การเปลี่ยนแปลงชุดอุปกรณ์แค่บางส่วน
- New Syste คือ การเปลี่ยนชุดอุปกรณ์ใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อสารทำความเย็นใหม่โดยเฉพาะ
การพิจารณาว่าจะใช้วิธีใด นั้นขึ้นอยู่กับสารทำความเย็นใหม่ที่ต้องการเลือกใช้ ไปจนถึงอายุการใช้งานของระบบทำความเย็น หรือปรับอากาศ หากใช้ระบบเดิมมาไม่นาน วิธี Drop-in หรือ Retrofit นับเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะประหยัดต้นทุนในการติดตั้งชุดอุปกรณ์ใหม่
รีโทรฟิตติง ( retrofitting ) คือวิธีการปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น โดยจะต้องทำการเปลี่ยนสารหล่อลื่นรวมทั้งอาจจะต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บางส่วน เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานของสารทำความเย็นชนิดใหม่
การปรับระบบทำความเย็นที่มีอยู่เพื่อใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังต่อไปนี้
- ความเข้ากันได้ ระบบทำความเย็นบางระบบอาจไม่รองรับสารทำความเย็นทุกชนิด การออกแบบ ส่วนประกอบ และวัสดุของระบบต้องเหมาะสมกับคุณสมบัติเฉพาะของสารทำความเย็นใหม่ที่ต้องการใช้
เนื่องจาก สารทำความเย็นบางชนิด เช่น ไฮโดรคาร์บอน/HCs เช่น R290, R600a หรือสารทำความเย็น HFOs บางชนิด มีลักษณะการทำงานแตกต่างจากสารทำความเย็น HFCs หรือ HCFCs
- ข้อพิจารณาด้านความปลอดภัย สารทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบางชนิดอาจต้องการมาตรการความปลอดภัยเพิ่มเติม เนื่องจากความสามารถในการติดไฟ หรือความเป็นพิษ ควรมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบทำความเย็น ออกแบบ ดัดแปลงให้มีความถูกต้องตามมาตรฐาน รวมถึงจัดอบรมการใช้งานแก่บุคลากรเพื่อความปลอดภัยสูงสุดอีกด้วย
- ประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพของระบบอาจเปลี่ยนแปลง เมื่อเริ่มเปลี่ยนสารทำความเย็นใหม่ เนื่องจากอาจจะมีลักษณะความดัน-อุณหภูมิ ประสิทธิภาพพลังงาน และความสามารถในการทำความเย็นที่แตกต่างกัน ผู้ใช้งานระบบจึงต้องประเมินว่าระบบสามารถตอบสนองความต้องการในการทำความเย็นด้วยสารทำความเย็นใหม่ได้หรือไม่
- ตรวจสอบกับผู้ผลิต ก่อนทำการติดตั้งสารทำความเย็นใหม่ ควรตรวจสอบกับผู้ผลิตอุปกรณ์ OEM (Original Equipment Manufacturing) หรือปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้าน HVAC เพื่อยืนยันว่าการติดตั้งเพิ่มเติมเป็นไปได้อย่างถูกต้องหรือไม่ และ ผู้ผลิตอนุมัติให้ใช้สารทำความเย็นชนิดอื่นหรือไม่
- การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ สารทำความเย็นใหม่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ควรศึกษากฎหมาย ข้อบังคับ หรือข้อกำหนด ในการใช้สารทำความเย็นรุ่นใหม่
- การกู้คืนและการกำจัดสารทำความเย็น หากมีการติดตั้งสารทำความเย็นใหม่ สารทำความเย็นเก่าที่มีอยู่จะต้องได้รับการกู้คืนและกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ข้อพิจารณาด้านต้นทุน การเปลี่ยนสารทำความเย็นใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการปรับเปลี่ยนบางอุปกรณ์ ไปจนถึงขั้นตอนอื่นๆ อย่างการนำสารทำความเย็นกลับมาใช้ใหม่ และการกำจัด รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ควรประเมินต้นทุน-ประโยชน์ของการติดตั้งเพิ่มเติมก่อนดำเนินการ
การติดตั้งสารทำความเย็นใหม่ นับเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งต้องใช้ความรู้และเครื่องมือเฉพาะทาง ควรใช้ผู้เชี่ยวชาญช่างด้าน HVAC&Rที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบทำความเย็น ปรับอากาศ และสารทำความเย็น เพื่อความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และการประหยัดพลังงาน รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลพลอยได้จากการเปลี่ยนสารทำความเย็นที่มี GWP ต่ำ เช่นการเปลี่ยนสารทำความเย็น R-404A ไปเป็นสารทำความเย็นประเภท HFOs เช่น R-448A หรือ R-449A จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ 5-10% เนื่องจากคุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์ และช่วยให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น รวมทั้งเพื่อช่วยหาสารทำความเย็นที่เหมาะสมที่ดีที่สุดระหว่าง อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
หากสงสัยเกี่ยวกับระบบทำความเย็น สามารถโทรติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็น ตู้แช่ทุกชนิด ที่ Line@namyaair หรือ โทร. 0943413124
สนใจสั่งซื้อน้ำยาแอร์ กับน้ำยาแอร์ดอทคอม โทรเลย 0943413124
Add Line : @namyaair เพื่อสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับน้ำยาแอร์ คลิ๊กเลย