ข้อควรรู้ เกี่ยวกับขั้นตอนล้างตู้แอร์รถยนต์ สังคมไทยในปัจจุบัน มีการใช้รถยนต์ในการเดินทางบ่อยๆ ไม่ว่าจะไปทำงานหรือไปธุระต่างๆ ในรถยนต์ อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงบรรยากาศภายในรถยนต์ของเราให้กลายเป็นสวรรค์ หรือนรกได้ภายในพริบตา นั้นคือ เครื่องปรับอากาศในรถยนต์นั้นเอง ดังนั้นเราไม่ควรมองข้ามความสำคัญเล็กๆน้อยๆ ที่จะต้องดูแลเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ของเรา บทความนี้จะมานำเสนอ ข้อควรรู้ เกี่ยวกับขั้นตอนการล้างตู้แอร์รถยนต์ ดังต่อไปนี้ การล้างตู้แอร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก คือ 1.การล้างแอร์แบบไม่ถอดตู้ จะเหมาะสำหรับแอร์ที่ใช้งานไม่หนัก ฝุ่นละอองไม่หนามาก ขั้นตอนดังนี้ – ถอดแผ่นกรองอากาศ นำไปล้างน้ำสะอาด เช็ดให้แห้ง – ฉีดน้ำยาทำความสะอาดคอยล์เย็น โดยไม่ต้องถอดตู้ – รอให้น้ำยาทำความสะอาดคอยล์เย็นไหลออก – ฉีดน้ำล้างคอยล์เย็น เช็ดคราบน้ำให้แห้ง แล้วประกอบแผ่นกรองอากาศ เข้าปกติ 2.การล้างแอร์แบบถอดตู้ จะเหมาะสำหรับแอร์ที่ใช้งานหนัก ฝุ่นละอองหนามาก ต้องการทำความสะอาดอย่างละเอียด ขั้นตอนดังนี้ -ตัดไฟแอร์ ปิดวาล์วน้ำยา แล้วถอดคอยล์เย็น ออกจากตู้แอร์
Author Archives: nobel23
การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับขนาดห้องและประหยัดไฟ เทคนิคการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศอย่างไรให้เหมาะกับขนาดห้องและช่วยประหยัดไฟ เนื่องจากประเทศไทยมี 3 ฤดู คือ ร้อน ร้อนมาก และร้อนที่สุด! แม้จะมีพายุฝนให้พอชุ่มฉ่ำ แต่ก็ยังหนีไม่พ้นแสงแดดอุ่นๆ ซึ่งไอเทมสุดคูลที่ช่วยกู้สภาพอากาศให้ดีขึ้นได้ จึงหนีไม่พ้นการเลือกแอร์ หรือเครื่องปรับอากาศ ซึ่งปัจจุบันแทบจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่แทบทุกบ้านต้องมี ยิ่งร้อนยิ่งเร่งเครื่องปรับอากาศจนเป็นการเร่งค่าไฟทางอ้อมและอาจทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักมากจนเกินไป แต่เราสามารถลดปัญหาต่างๆ เหล่านี้โดยการเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะกับขนาดห้อง 1. เครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง มีการทำงานแบบหลายฟังก์ชัน ทั้งโหมดประหยัดไฟ กรองฝุ่น หรือในบางยี่ห้อบางรุ่นที่สามารถกรองได้แม้กระทั่งฝุ่น PM2.5 อีกทั้งเครื่องปรับอากาศติดผนังส่วนใหญ่จะมีขนาดที่ค่อนข้างกะทัดรัด ออกแบบสวยงาม จึงเหมาะสมกับบ้านและคอนโด 2. เครื่องปรับอากาศแบบแขวนเพดาน เป็นอีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ด้วยเพราะฟังก์ชันการทำงานที่มีความเหมือนกับเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง แต่สามารถกระจายความเย็นได้ทั่วถึงและเร็วกว่า การติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแขวนเพดานจึงเหมาะกับห้องขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่เยอะอย่างห้องประชุม หรืออาคารสำนักงาน เครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้น เป็นเครื่องปรับอากาศที่วางอยู่บนพื้นห้อง จุดเด่นของเครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้น คือสามารถถอดทำความสะอาดได้ง่าย เหมาะกับห้องที่มีความสูงจากพื้นถึงเพดานแบบพอดี ไม่เหมาะกับห้องกว้างและเพดานสูง เพราะจะทำให้ได้รับความเย็นไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตามเครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้นก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในปัจจุบัน เนื่องจากต้องอาศัยพื้นที่ในการจัดวางนั่นเอง เครื่องปรับอากาศแบบฝังฝ้าเพดาน ข้อดีหลักๆ ของการเลือกแอร์ประเภทนี้ คือช่วยประหยัดพื้นที่ สามารถกระจายความเย็นได้ทั่วถึงทุกทิศทาง บวกกับดีไซน์ที่สวยงามกลมกลืนไปกับห้อง หรือฝ้าเพดาน จึงเหมาะสำหรับห้องขนาดใหญ่
สารทำความเย็นในระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง การทำความเย็นในระบบทำความเย็น ห้องเย็น หรือ ห้องแช่แข็งนั้นส่วนใหญ่ใช้ระบบทำความเย็นที่เรียกว่าระบบหล่อเย็น (refrigeration system) ซึ่งประกอบด้วยสารทำความเย็นหลายชนิด หลายประเภท ที่มีความสามารถในการดูดความร้อนจากสิ่งรอบตัวและนำไปปล่อยไปที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า การทำงานของระบบทำความเย็นนั้นมีขั้นตอนหลายขั้นตอน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 1.อัดเย็น (Compression): สารทำความเย็นถูกอัดให้มีแรงดันและอุณหภูมิสูงขึ้น. 2.หล่อเย็น (Condensation): สารทำความเย็นที่อัดเย็นถูกนำไประบายความร้อนที่สูงในการหล่อเย็น, ทำให้สารเปลี่ยนจากสถานะไอไปเป็นของเหลว. 3.ขยายเย็น (Expansion): สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวถูกขยายให้มีแรงดันลดลง, ทำให้มีอุณหภูมิต่ำ. 4.หล่อเย็น (Evaporation): สารทำความเย็นที่ถูกขยายเย็นถูกนำไปดูดความร้อนจากสิ่งรอบตัวและเปลี่ยนเป็นสถานะไอ. กระบวนการนี้ทำให้มีการถ่ายเทความเย็นจากระบบไปยังห้องเย็นหรือห้องแช่แข็ง ทำให้สิ่งของที่อยู่ในห้องเย็นหรือแช่แข็งนั้นมีอุณหภูมิต่ำลง. น้ำยาแอร์ที่ใช้ในระบบทำความเย็น ห้องเย็น หรือ ห้องแช่แข็งมีหลายประเภทตามลักษณะการทำงานและคุณสมบัติทางเคมี ต่อไปนี้คือบางประเภทที่พบบ่อยในประเทศไทย 1.Hydrochlorofluorocarbons (HCFCs): เป็นสารทำความเย็นที่ใช้งานมาก่อน แต่มีผลกระทบต่อโอโซนและมีศักยภาพที่จะถูกห้ามในอนาคต. ตัวอย่างเช่น R-22 (Chlorodifluoromethane) เป็น HCFC ที่มักใช้ในอดีต, แต่ตอนนี้ได้ถูกห้ามในหลายประเทศ. 2.Hydrofluorocarbons (HFCs): เป็นสารทำความเย็นที่ถูกนำมาแทนที่ HCFCs เนื่องจากไม่ทำลายโอโซน. ตัวอย่างเช่น R-134a เป็น HFC
สิ่งสำคัญที่ควรรู้ในการล้างแอร์บ้าน แอร์บ้านเป็นอุปกรณ์ทำความเย็นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนชื้น การใช้งานแอร์อย่างสม่ำเสมาอและต่อเนื่อง ย่อมทำให้เกิดฝุ่นละออง เชื้อโรค และสารตกค้างต่างๆ เกาะติดบริเวณคอยล์เย็นแลคอยล์ร้อน ในการล้างแอร์บ้านเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อช่วยในการขจัดฝุ่นและสิ่งสกปรกที่เกาะติดอยู่ภายในแอร์ ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ ทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้น กินไฟมากขึ้น และอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมาย เช่น แอร์มีกลิ่นเหม็น แอร์มีเสียงดัง แอร์ไม่เย็นเป็นต้น การล้างแอร์บ้านมี 2 วิธีหลักๆได้แก่ การล้างแอร์แบบถอดล้างและการล้างแอร์แบบไม่ถอดล้าง การล้างแอร์แบบถอดล้าง เป็นวิธีการล้างแอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยข่างจะถอดชิ้นส่วนต่างๆ ของแอร์ออกมาล้างทำความสะอาดอย่างละเอียด ทั้งคอยล์เย็น คอยล์ร้อน แผงคอยล์ร้อน ถาดน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง การล้างแอร์แบบไม่ถอดล้าง เป็นวิธีการล้างแอร์ที่สะดวกและรวมเร็วกว่าการล้างแอร์แบบถอดล้าง โดยช่างจะใช้น้ำยาล้างแอร์ฉีดเข้าไปทำความสะอาดภายในเครื่องแอร์โดยไม่ถอดชิ้นส่วนใดๆออก ข้อควรระวังในการล้างแอร์บ้าน ควรปิดเบรกเกอร์ไฟฟ้าก่อนทำการล้างแอร์ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกช่างล้างแอร์ที่มีประสบการณ์และมีความน่าเชื่อถือ . ควรตรวจสอบอุกกรณ์ต่างๆ ของแอร์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ก่อนการล้าง คำแนะนำในการเลือกช่างล้างแอร์ที่ดี ควรเลือกช่างล้างแอร์ที่มีประสบการณ์และมีความน่าเชื่อถือ ควรตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับการล้างแอร์ ควรตรวจสอบใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับประกันการล้างแอร์ทุกครั้ง ประโยชน์ของการล้างแอร์บ้าน ช่วยกำจัดฝุ่นละออง เชื้อโรค และสารตกค้างต่างๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้รถยนต์ในหน้าร้อน ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ภูมิอากาศของประเทศมีลักษณะ เป็นแบบร้อนชื้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู จะมีฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม จะเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน หลายท่านคงไม่ค่อยชอบกับหน้าร้อนเท่าไหร่ เมื่อเราต้องใช้รถยนต์ในการเดินทางบ่อยๆในหน้าร้อน เราอาจจะเจอปัญหาได้ บทความนี้จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับการดูแลรถยนต์ของเราในหน้าร้อน ดังต่อไปนี้ หลีกเลี่ยงการขับรถยนต์บนผิวถนนที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน ควรหยุดพักรถยนต์ทุกระยะทาง 200-300 กิโลเมตร เพื่อป้องกันเครื่องยนต์ร้อนจัด ไม่จอดรถยนต์บนพื้นถนนที่มีน้ำขังเป็นเวลานาน แล้วนำรถยนต์ไปวิ่งบนผิวถนนที่ร้อนจัดทันที เพราะอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน จะทำให้ยางรถยนต์บวมหรือยางระเบิดได้ อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงได้ ติดฟิล์มกรองแสง เพื่อลดความร้อนของแสงแดดให้กับรถยนต์ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆของฟิล์มนั้นๆ หมั่นตรวจเช็คสภาพที่ปัดน้ำฝน เพราะความร้อนจะทำให้ยางปัดน้ำฝน แข็งและกรอบ ทำให้คุณภาพของยางปัดน้ำฝนน้อยลง ไม่เปิดกระจกรถยนต์ ขณะเปิดแอร์ จะช่วยถนอมคอมเพรสเซอร์ไม่ให้ทำงานหนักตลอดเวลาได้ ตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ หมั่นเติมน้ำสะอาด และถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุก 4-6 เดือน หากเป็นรถยนต์ใหม่ ควรตรวจสอบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ควรตรวจสอบ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ปิดประตูรถยนต์ทุกบานให้สนิท เพราะไฟในรถยนต์
แนะการใช้เครื่องปรับอากาศที่ถูกต้อง แอร์เป็นเครื่องปรับอากาศที่ให้ความเย็นได้ทั่วทั้งบริเวณบ้าน แต่ก็ต้องแลกมากับค่าไฟที่สูงตามมาด้วย แต่หลายๆคนไม่ค่อยคำนึงถึงค่าไฟสักเท่าไหร่ เพราะแค่คิดว่าอยากเย็นสบายแค่นั้นก็พอ แต่หากเราลองใส่ใจดูสักนิด เราจะช่วยลดค่าใช้จ่ายรายปีในการประหยัดค่าไฟได้มากซึ่งทางเรามีวิธีการใช้เครื่องปรับอากาศที่ถูกต้องตามวิธีดังนี้ ล้างเครื่องปรับอากาศปีละ 2 ครั้ง ควรมีการถอดล้างภายในโดยช่างผู้ชำนาญงาน เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานและประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 2. กันร้อนให้คอมเพรสเซอร์ ควรวางคอมเพรสเซอร์ไว้ในร่มและมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งการตั้งคอมเพรสเซอร์แอร์ควรตั้งห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อให้ระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้นซึ่งจะช่วยประหยัดค่าไฟได้ประมาณ 15-20 %เจ้า ทั้งนี้การที่วางคอมเพรสเซอร์แอร์ที่ติดตั้งอยู่ภายนอก โดยนำคอมเพรสเซอร์ไปวางไว้ในที่ๆ ไม่เหมาะสม เช่นวางบนดาดฟ้า วางบนพื้นซีเมนต์กลางแดด หรือวางในที่ลมถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานหนักซึ่งจะลดทอนประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศลดลง ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและค่าใช้จ่าย 3. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไว้ที่ 26-28 องศาเซลเซียส พร้อมกับเปิดพัดลมตัวเล็กๆ ให้มีลมพัดผ่านร่างกาย ก็สามารถรู้สึกเย็นได้และจะประหยัดไฟได้ถึง 10-30% 4. ไม่นำความชื้นเข้าห้อง หากต้องการให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยห้ามนำของที่มีความชื้นเข้าไปไว้ในห้อง เช่นกระถางต้นไม้ การตากผ้า ซึ่งในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศนั้นมีแค่ 30 % เท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 70 % เป็นการใช้เพื่อทำให้อากาศในห้องนั้นแห้งลง 5. หลีกเลี่ยงการนำเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องครัว
สารทำความเย็นเปลี่ยนเป็นความเย็นได้อย่างไร ? สารทำความเย็น เป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับเครื่องทำความเย็น และการควบคุมการจ่ายสารทำความเย็นในระบบ 𝗛𝗩𝗔𝗖 หรือระบบปรับอากาศ และระบบทำความเย็น เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบและขั้นตอนต่างๆ ทั้งการจัดการการไหลของน้ำยา ความดัน การควบคุมอุณหภูมิของสารทำความเย็น (𝗥𝗲𝗳𝗿𝗶𝗴𝗲𝗿𝗮𝗻𝘁) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำความเย็น และเปลี่ยนสถานะ ด้วยการใช้ความร้อนแฝงเข้ามาช่วยผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทำความเย็น โดยผ่านการควบคุม และการจ่ายผ่านหน้าที่ของอุปกรณ์ต่อไปนี้ การควบคุมการไหลของสารทำความเย็น 𝗧𝗵𝗲𝗿𝗺𝗮𝗹 𝗘𝘅𝗽𝗮𝗻𝘀𝗶𝗼𝗻 𝗩𝗮𝗹𝘃𝗲 (𝗧𝗫𝗩) หรือ เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของสารทำความเย็นเข้าสู่คอยล์เย็น (Evaporator) ตามอุณหภูมิของสารทำความเย็นที่ออกจากคอยล์เย็น 𝗖𝗮𝗽𝗶𝗹𝗹𝗮𝗿𝘆 𝗧𝘂𝗯𝗲 ท่อควบคุมการไหลของสารทำความเย็นเข้าสู่ คอยล์เย็น (Evaporator) ตามความยาวและเส้นผ่านศูนย์กลาง การควบคุมความดัน 𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗥𝗲𝗹𝗶𝗲𝗳 𝗩𝗮𝗹𝘃𝗲 (𝗣𝗥𝗩) วาล์วระบายแรงดัน รีลีฟวาล์ว ทำหน้าที่ปล่อยสารทำความเย็นส่วนเกินในกรณีที่มีแรงดันเกิน เพื่อป้องกันความเสียหายต่อระบบ ในกรณีเมื่ออุณหภูมิและความดันของสารทำความเย็นภายในระบบด้าน High side สูงเกินกว่าปกติ 𝗣𝗿𝗲𝘀𝘀𝘂𝗿𝗲 𝗧𝗿𝗮𝗻𝘀𝗱𝘂𝗰𝗲𝗿 ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจสอบ และวัดความดันของระบบให้กับระบบควบคุมเพื่อการปรับเปลี่ยนแรงดันให้เหมาะสม การควบคุมอุณหภูมิ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิสารทำความเย็น
การเลือกซื้อห้องเย็นต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง การเลือกซื้อห้องเย็นมีความสำคัญมากกับธุรกิจหลากหลายประเภท ที่มีความต้องการในการจัดเก็บสินค้า วัตถุดิบ หรือ ผลผลิต ไว้ภายในห้องที่สามารถเก็บความเย็นได้คงที่ สำหรับการรักษาคุณภาพของสินค้าที่เตรียมส่งขาย โดยการใช้ห้องเย็นเพื่อลดปัญหาการเกิดแบคทีเรียและเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าไปทำให้สินค้าหรือวัตถุดิบอย่างเช่น อาหาร ผลผลิตต่างๆ เสื่อมสภาพและเกิดความเสียหาย เน่าเสียได้อย่างรวดเร็ว การเลือกติดตั้งห้องเย็นของแต่ละธุรกิจนั้น ควรคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆโดยเริ่มต้นตั้งแต่การเลือกสถานที่ติดตั้งที่สะดวกต่อการลำเลียงสินค้า และง่ายต่อการเข้าถึงและการตรวจสอบสภาพการใช้งานให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ประเภทของห้องเย็นมีด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้ ห้องเย็นแบบแช่เยือกแข็ง เป็นการรักษาสภาพวัตถุดิบให้เย็นจัดจนเยือกแข็ง เพื่อให้เก็บวัตถุดิบไว้ได้เป็นเวลานาน จะเหมาะกับอาหารประเภทที่ต้องการคุณภาพใกล้เคียงกับของสด และสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยการเก็บรักษาอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เช่น -18 องศาเซลเซียส เป็นต้น ห้องเย็นแบบแช่เย็น เป็นการใช้ความเย็นอุณภูมิที่น้อยกว่าจุดเยือกแข็ง (อุณภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส) เหมาะกับผักและผลไม้ ที่จะถูกเก็บไว้ในระยะเวลาสั้นๆ จึงมีอุณภูมิใกล้เคียงกับบรรยากาศโดยอุณภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการติดตั้งห้องเย็นมีดังนี้ ขนาดห้องเย็นที่เหมาะสมกับพื้นที่ ความเหมาะสมของอุณภูมิกับวัตถุดิบที่แช่เย็น การใช้ไฟ้ฟ้า การระบายอากาศที่เหมาะสม การบำรุงรักษา ส่วนประกอบหลักของห้องเย็น ไม่ว่าระบบทำความเย็นจะถูกออกแบบเป็นระบบแบบใดก็ตาม ล้วนแต่มีวัถุประสงค์เดียวกัน
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ สารทำความเย็น HFC ปัจจุบันนอกจากระบบปรับอากาศที่ใช้กันแพร่หลายทั้ง เครื่องปรับอากาศในรถยนต์ หรือเครื่องปรับอากาศในบ้านเรือนแล้ว นอกจากนี้ระบบทำความเย็นยังเข้ามามีส่วนสำคัญ ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆเช่น อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง หรือ การสร้างห้องเย็น เพื่อเก็บรักษาคุณภาพอาหาร ให้มีความสด เก็บไว้ให้ได้นาน บทความนี้จะมาช่วยให้เราทราบถึง สารทำความเย็นอีกประเภทหนึ่ง นั้นคือ สารทำความเย็น HFC (Hydrofluorocarbon) สารทำความเย็น HFC (Hydrofluorocarbon) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยไฮโดรเจน ฟลูออรีนและคาร์บอน ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบทำความเย็นและปรับอากาศ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสม เช่นมีจุดเดือดต่ำ ความดันไอสูง และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ประเภทของสารทำความเย็น HFC (Hydrofluorocarbon) มีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีจุดเด่นและข้อด้อยที่แตกต่างกันออกไป ที่นิยมใช้กันปัจจุบัน ได้แก่ R134a เป็นสารทำความเย็นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน มีจุดเดือดต่ำ ความดันไอสูง และไม่เป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศ แต่มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อน R410A เป็นสารทำความเย็นที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทน R22 มีจุดเดือดต่ำ ความดันไอสูง และไม่เป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศ และมีศักยภาพในการทำให้โลกร้อนเช่นกัน R32 เป็นสารทำความเย็นที่มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อนต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสารทำความเย็นชนิดอื่นๆ แต่มีจุดเดือดสูงและความดันไอต่ำ จึงต้องอาศัยคอมเพรสเซอร์ที่มีกำลังสูงขึ้น
เครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์กับเครื่องปรับอากาศธรรมดา ต่างกันยังไงระบบอินเวอร์เตอร์ Inverter ระบบอินเวอร์เตอร์ คือ ระบบการควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ในเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) จะแปลงไฟจากกระแสสลับ (AC) ให้เป็นไฟกระแสตรง จากนั้นจะผ่านวงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) ที่เปลี่ยนจากไฟกระแสสลับให้เป็นกระแสตรง ทำให้สามารถปรับแรงดันและความถี่ได้ โดยทั้งสองระบบนี้จะถูกควบคุมโดยวงจรควบคุมให้สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จากนั้นจะทำการหมุนรอบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ สำหรับเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ เมื่อเปิดสวิตช์ คอมเพรสเซอร์จะทำงานและค่อย ๆ ลดอุณหภูมิลงจนถึงระดับที่ตั้งเอาไว้ จากนั้นจะมีการปรับรอบให้ช้าลง เพื่อให้อุณหภูมิภายในห้องคงที่อย่างต่อเนื่อง แต่จะไม่ตัดรอบการทำงาน เมื่ออุณหภูมิสูงกว่าที่ตั้งไว้ประมาณ 2-4 องศาเซลเซียส ก็จะเพิ่มความเร็วของรอบในการหมุน ทำให้การทำงานของเครื่องปรับอากาศมีความต่อเนื่อง ซึ่งสามารถประหยัดไฟได้ถึง 30% เมื่อเทียบกับเครื่องปรับอากาศทั่วไป เนื่องจากการทำงานของอินเวอร์เตอร์คือการลดรอบการทำงาน เมื่อมีข้อดีและก็ต้องมีข้อเสียเช่นกัน ก็คือราคาเครื่องแพงกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องปรับอากาศทั่วไป แผงวงจรด้านในมีความซับซ้อนกว่ามาก ทำให้เวลาเครื่องมีปัญหาต้องซ่อม หรือบำรุงจึงมีค่าใช้จ่ายที่แพงตามไปด้วย นอกจากนี้เครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์ยังเหมาะกับการติดตั้งในห้องนอน เนื่องจากเป็นระบบของเครื่องปรับอากาศมีความเย็นที่คงที่ จึงช่วยรักษาอุณหภูมิให้เย็นสบายตลอดทั้งคืน หากคุณเป็นคนที่เปิดเครื่องปรับอากาศทุกวัน หรือเปิดแอร์ทั้งวัน เพื่อสู้กับอากาศร้อนภายนอก ระบบอินเวอร์เตอร์เป็นระบบที่เหมาะสมกับคุณ เพราะแม้ว่าราคาของเครื่องปรับอากาศจะสูงกว่าระบบธรรมดา แต่เมื่อเทียบกับส่วนต่างแล้ว มีความคุ้มค่ากว่าแน่นอน ระบบธรรมดา สำหรับการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศทั่วไปจะไม่ซับซ้อนเท่ากับระบบอินเวอร์เตอร์