สาเหตุหลักแอร์รถยนต์รั่ว และวิธีเช็คเบื้องต้น หน้าร้อนกันแล้ว หลายคนต้องคิดถึงความเย็น พอขึ้นรถหลังจากสตาร์ทรถยนต์แล้ว แน่นอนสิ่งที่ทุกคนทำคือการ เปิดแอร์เพื่อปรับอุณหภูมิรถยนต์ให้เย็นฉ่ำ แต่บางทีแอร์รถยนต์ก็ไม่เป็นใจ เย็นไม่ทันใจเรา ซึ่งอากาศภายนอกนั้นร้อนจัด ต้องใช้เวลาสักพักอากาศภายในรถยนต์ถึงจะเย็นสบาย หรือบางครั้งเปิดแอร์แล้ว ขับรถยนต์มาสักพักแอร์ก็ยังไม่ทำงาน ยังร้อนอบอ้าว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เรากำลังเจอปัญหา แอร์รถยนต์รั่ว เข้าแล้ว หากเป็นเช่นนั้น เราไม่ควยปล่อยทิ้งไว้ มาทราบสาเหตุและวิธีเช็คแอร์รถยนต์รั่วกัน สั่งซื้อน้ำยาแอร์ R32 น้ำยาแอร์ดอทคอม สาเหตุหลักแอร์รถยนต์รั่ว เมื่อรถยนต์มีความผิดปกติ ไม่ควรปล่อยไว้นาน ควรตรวจเช็คสภาพรถยนต์ก่อนการเดินทางทุกครั้ง และปัญหาที่ทุกคนต้องพบคือ แอร์รถยนต์รั่ว โดยระบบแอร์ไม่สามารถรั่วซึมเองได้ นอกจากจะเกิดความเสียหายหรือสึกกร่อนของชิ้นส่วนต่างๆ อาทิ รอยต่อท่อแอร์ อีกหนึ่งสาเหตุอาการแอร์รถยนต์รั่วซึม อาจมาจากรอยต่อท่อแอร์ที่ไม่สนิท ทำให้แอร์รั่ว ควรเปลี่ยนใหม่เพราะหากปล่อยไว้ การรั่วไหลของน้ำยาแอร์ ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้ ล้างตู้แอร์บ่อยเกินไป เกิดจากการล้างตู้แอร์บ่อยเกินไป เพราะหลายคนอาจจะกลัวว่าหากปล่อยไว้นานจะทำให้เกิดการอุดตัน เกิดความสกปรก หรือเชื้อราแบคทีเรีย โดยน้ำยาแอร์อาจมีกรดที่ทำลายตู้แอร์ทำให้เกิดอาการผุผัง รั่วซึมได้ ควรล้างแอร์ 6 เดือนครั้ง หรือ 1 ปีล้างทำความสะอาด 2 ครั้ง/ปี
วิธีการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับขนาดห้อง ในปัจจุบันนี้ ด้วยหลากหลายปัจจัยทั้งด้านสภาพอกาศที่ร้อนของประเทศไทย ทำให้หลายๆที่ เช่น อาคารบ้านเรือน ห้างสรรพสินค้า รวมถึงธุรกิจต่างๆ จำเป็นจะต้องมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพื่อที่จะได้ช่วยอำนวยให้ความสะดวกสบายแก่ผู้อยู่อาศัย และช่วยรักษาอุณภูมิภายในห้องอีกด้วย เครื่องปรับอากาศ (Air Conditioner ) หรือประเภทเครื่องปรับอากาศ ในการเลือกยี่ห้อ อาจจะขึ้นอยู่กับความชอบ และลักษณะการใช้งานของผู้ซื้อ แต่การเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับขนาดของห้องนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการลดใช้พลังงาน หรือต้นทุนไฟฟ้า หากเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเล็กเกินไป ไปใช้ในพื้นที่ใช้สอยที่มีขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพอาจจะทำให้ความเย็นไม่เพียงพอ และมีเวลาการตทำงานนานกว่าปกติ ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป แต่ในทางกลับกันในทางกลับกัน การเลือกเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่เกินไป แม้จะทำให้ห้องเย็นลงอย่างรวดเร็ว แต่มีความชื้นเพิ่มมากขึ้น คอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย รวมถึงสิ้นเปลืองพลังงาน ดังนั้นการเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการตัดสินใจ มาทำความรู้จักกับ BTU เพื่อการใช้งานที่เหมาะสมกับขนาดห้อง BTU (British Thermal Unit ) เป็นหน่วยวัดค่าพลังงานความร้อนตามมาตรฐานสากล ในส่วนของเครื่องปรับอากาศ หมายถึงความสามารถในการทำความเย็น ถ่ายเทความร้อนออกจากห้อง ปัจจัยหรือองค์ประกอบในการเลือกเครื่องปรับอากาศตามขนาด BTU มีดังต่อไปนี้ ประเภทของที่อยู่อาศัย อาคาร บ้านเรือน และการใช้งาน การใช้งานของอาคารและสถานที่
สารทำความเย็นในตู้เย็นเชิงพาณิชย์ (Commercial Refrigerators & Freezers) ตู้เย็นเชิงพาณิชย์เป็นส่วนหนึ่งของ Cold Chain หรือห่วงโซ่ความเย็นที่รองรับผลผลิตของเศรษฐกิจที่แปรสภาพก่อนถึงมือผู้บริโภค เราใช้กันอย่างแพร่หลายในการจัดเก็บและขายเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม ผลไม้ ผัก และไอศกรีม มีตั้งแต่แช่เย็นในอุณหภูมิทั่วไป ถึงแช่แข็ง มีให้ผู้ประกอบการเลือกสรร ตั้งแต่ 1 ประตู 2 ประตู แบบทึบเปิดจากด้านบน หรือแบบม่านอากาศ เป็นต้น เมื่อกล่าวเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ในตู้เย็นเชิงพาณิชย์ หรือตู้แช่ตามห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ตต่างๆ ขอยกสารทำความเย็น 3 ตัวมาให้ทุกท่านพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสียดังนี้ R-404A สารทำความเย็น R404a เป็นน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นในกลุ่ม HFC ตัวเด่นในตลาด Low Temp ไปจนถึง Freezer ที่เข้ามาทดแทน น้ำยาแอร์ R22 และ น้ำยาแอร์ R502 เหมาะสำหรับ ตู้เย็นในซูปเปอร์มาร์เก็ต หรือ อุตสาหกรรมความเย็นต่างๆ มีอัตราส่วนผสมของน้ำยาแอร์ R-143a/R-125/R-134a
มารู้จักกับน้ำยาแอร์รถยนต์ตัวใหม่ R1234yf ปัจจุบันนี้ โลกเรากำลังต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ทำให้โลกมีภูมิอากาศที่ร้อนสูงขึ้น การผลิตรถยนต์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้เช่นกัน ปัจจุบันรถยุโรปและรถอเมริกาหลายแบรนด์กำลังต่อสู้กัน อาทิเช่น Bentley Bentayga, Porsche Boxster, Ford Mustang ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่ล้วนแล้วใช้แต่ใช้น้ำยา R1234yf แทนน้ำยา R134a กันแล้ว เพราะประชาคมโลกทางฝั่งยุโรป เริ่มรณรงค์เรื่องการลดภาวะโลกร้อนกันอย่างจริงจัง จึงได้มีการพัฒนาน้ำยาแอร์รถยนต์ R1234yf ขึ้นมา เพื่อช่วยลดมลภาวะโลกร้อน เป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทาง ในปลายศตวรรษที่ 20 เราจะรู้จักน้ำยา R12 ซึ่งเป็นสารทำความเย็นสำหรับแอร์รถยนต์, ตู้เย็น, ตู้แช่ และระบบชิลเลอร์ (รุ่นเก่า) สารทำความเย็นชนิดนี้มีจุดเดือด -29.80 องศาเซลเซียส มีค่า ODP =1 คือค่าการทำลายชั้นโอโซน และมีค่า GWP=10,900 คือ ค่าการสร้างภาวะเรือนกระจก 10,900 ODP (Ozone Depletion Potential) จะเทียบกับสารทำความเย็น CFC หรือสาร
วิธีการเติมน้ำยาแอร์ด้วยถังแบบใช้แล้วทิ้ง ในปัจจุบันนี้การใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนจะต้องเกี่ยวข้องกับเครื่องปรับอากาศแบบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องด้วยอากาศที่ร้อนในประเทศไทย จึงทำให้ต้องมีเครื่องปรับอากาศเสมอไม่ว่าจะที่ทำงาน บ้าน อาคาร ห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่งในห้องน้ำบางที่ มันสามารถช่วยได้มากทีเดียว ซึ่งเราสามารถตั้งค่าอุณภูมิได้ตามความต้องการได้อย่างสะดวกสบาย แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องปรับอากาศก็ต้องมีดูแลและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้มีประสิทธิภาพการใช้งานได้เต็มที่ และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย การเติมน้ำยาแอร์ในเครื่องปรับอากาศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการซ่อมบำรุง จะต้องเติมเมื่อมีปริมาณน้ำยาแอร์ที่ลดลง สาเหตุมักจะเกิดจากการเสียหายภายในหรือเกิดจากการรั่วซึ่มของท่อแอร์ จะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับการใช้งาน เนื่องจากปกติแล้วจะไม่ค่อยมีปัญหาและจะใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าสารทำความเย็นจะระเหยไปหมด การเติมน้ำยาแอร์เป็นการเพิ่มสารทำความเย็นให้กับเครื่องปรับอากาศ ในที่นี้เราจะพูดถึงการเติมน้ำยาแอร์ด้วยถังแบบใช้แล้วทิ้งมีดังนี้ การเติมแบบไม่คว่ำถัง ในการเติมน้ำยาแอร์แบบปกติไม่คว่ำถัง เราสามารถเติมได้ในส่วนของน้ำยา R22 และ R32 เท่านั้น เพราะเป็นน้ำยาที่มีส่วนผสมตัวเดียว จึงไม่แนะนำให้เติมแบบคว่ำถัง เพราะอาจจะทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ เพราะเครื่องปรับอากาศอาจจะไม่ได้รองรับการเติมน้ำยาที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร การเติมแบบคว่ำถังเติม ในการเติมน้ำยาแอร์แบบคว่ำถังเติม ส่วนมากจะใช้กับน้ำยาแอร์ R410A สาเหตุที่ต้องคว่ำถังเติม เพราะน้ำยาแอร์ R410A มีส่วนผสมของน้ำยาอยู่ 2 ชนิด (R32 = 50% และ R125 = 50% ) ถ้าเติมแบบปกติไม่คว่ำถังอาจจะทำให้ส่วนผสมของทั้ง 2 ชนิดไม่ได้สัดส่วนตามที่ผู้ผลิตกำหนด และจะทำให้เครื่องปรับอากาศเย็นหรือไม่เย็นก็ได้ หากเราเติมสารทำความเย็นเข้าไปตามที่ผู้ผลิตกำหนด
การจัดการห่วงโซ่ความเย็น Cold Chain Management ในประเทศไทย ธุรกิจร้านอาหาร และการขยายแฟรนไชส์ รวมถึงธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งผลิตภัณฑ์ด้านอาหารมีการเติบโตขึ้นมาก ส่งผลให้ธุรกิจ Cold Chain Management หรือการจัดการห่วงโซ่ความเย็นเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบขนส่ง และระบบเครื่องย้ายวัตถุดิบที่ต้องใช้เวลานาน ได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณภาพสินค้าให้ดีมากขึ้น จากข้อมูลธุรกิจระบบการจัดส่งของไทย พบว่า ธุรกิจ Cold Chain Logistics ที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่ความเย็น เติบโตมากขึ้น และ โดยเฉพาะช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ Covid-19 การใช้ชีวิตวิถีใหม่ พฤติกรรมของผู้บริโภค ที่หันมาบริโภคอาหารแปรรูปมากขึ้น รวมถึงการเปิดเสรีการค้าที่ทำให้ภาคการส่งออกไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร หรืออาหารทะเลแช่แข็ง จึงทำให้ธุรกิจ Cold Chain Mangement มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีที่สิ้นสุด การจัดการห่วงโซ่ความเย็นคือการควบคุมอุณหภูมิให้ต่ำกว่าสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการทางเทคโนโลยีที่ช่วยคงความสมบูรณ์และคุณภาพของสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ปัจจัยห่วงโซ่ความเย็นที่สำคัญมีอยู่ 4 ประการได้แก่ ระบบทำความเย็น (Cold System) คือการปรับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับการเก็บรักษา ห้องเย็น (Cold Storage) เป็นห้องที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิสำหรับการจัดเก็บสินค้าได้อย่างเหมาะสมตามประเภท และชนิดสินค้านั้นๆ การขนส่งโดยควบคุมอุณหภูมิ
สารทำความเย็นที่ใช้ในตู้เย็นมีอะไรบ้าง สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทุกๆครัวเรือนต้องมีและที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ นั่นก็คือ ตู้เย็น ซึ่งใช้ในการเก็บรักษาอาหาร รวมทั้งแช่เครื่องดื่ม เนื้อสัตว์และสิ่งของต่างๆที่จำเป็น ยิ่งประเทศไทยเป็นเมืองร้อน การได้เปิดตู้เย็นแล้วดื่มน้ำเย็นๆก็ทำให้ผ่อนคลาย สดชื่นและชื่นใจ ซึ่งตู้เย็นแต่ละชนิดแต่ละยี่ห้อก็มีการผลิตและใช้วัสดุอุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งหลักๆที่สำคัญในการทำความเย็นในตู้เย็น นั่นก็คือ น้ำยาแอร์ น้ำยาแอร์ในตู้เย็นบางชนิดก็ถูกยกเลิกการผลิตและไม่ได้ใช้งานแล้ว และถูกทดแทนพัฒนาขึ้นด้วยน้ำยาแอร์ตัวใหม่เพื่อช่วยลดสภาวะโลกร้อน ลดปรากฎการณ์เรือนกระจก น้ำยาแอร์สำหรับตู้เย็นตัวไหนที่เคยใช้ในอดีต และน้ำยาแอร์ตัวไหนที่กำลังใช้ในปัจจุบัน ออกแบ่งได้ดังนี้ R12 น้ำยาแอร์รุ่นเก่าซึ่งในปัจจุบันพบเจอน้อย เลิกผลิตไปแล้วและไม่มีการนำเข้ามาในประเทศไทย เป็นสารที่มีแรงดันต่ำ ใช้ได้ดีกับน้ำมันหล่อลื่นทุกสภาวะ ถ่ายเทความร้อนได้ดี ในอดีตเป็นที่นิยมใช้กันมาก มีความปลอดภัยไม่มีสีไม่ติดไฟ แต่สารชนิดนี้มีค่าที่ทำให้เกิดการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนที่สูง R134a น้ำยาแอร์ตู้เย็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เป็นสารที่ถูกสร้างขึ้นมาทดแทนน้ำยาแอร์ R12 มีแรงดันสูง สามารถดูดความชื้นได้ดี ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและไม่ติดไฟ อีกทั้งยังไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนอีกด้วย สามารถหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่สูงมาก การใช้งานก็ไม่ยุ่งยาก เพราะเป็นสารประกอบเดี่ยวที่สามารถเติมได้เลยหากน้ำยาแอร์ในระบบขาด แต่น้ำยาแอร์ตัวนี้ถือว่ายังมีค่าทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกที่สูงอยู่ R600 น้ำยาแอร์รุ่นใหม่ ในตู้เย็นบางยี่ห้อหันมาใช้กันมาก เป็นสารที่มาทดแทนน้ำยาแอร์ R134a ซึ่ง R600ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศและลดสภาวะเรือนกระจกได้ดีกว่า อีกทั้งปริมาณการใช้หากเทียบกับR134aแล้ว จะใช้น้อยกว่ามาก แต่ในสิ่งที่สำคัญของสารชนิดนี้คือ เป็นสารที่มีแรงดันสูง ติดไฟได้ง่าย
น้ำยาแอร์ R134a กับ R12 ต่างกันอย่างไร ประเทศไทยมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้นทำให้อากาศร้อนแทบทั้งปี จึงจำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศในการใช้รถยนต์ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการเดินทางรถยนต์ส่วนบุคคล ปัจจุบันถ้าจะกล่าวน้ำยาแอร์จะเป็นที่รู้จักใช้กันแพร่หลายในระบบแอร์รถยนต์ นอกจากนั้นยังใช้สำหรับเครื่องปรับอากาศรถยนต์ เครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ และตู้เย็น ที่ทำอุณหภูมิปานกลางและสูง ถ้าหากเราต้องการทราบว่า รถยนต์ที่เราใช้งานอยู่ ใช้น้ำยาแอร์ตัวไหน ให้สังเกตุได้จาก หากเป็นรถยนต์เดิมๆ มือหนึ่งออกจากศูนย์รถ ไม่เคยคัดแปลงระบบแอร์ และเป็นรถยนต์ที่ผลิตก่อนปี พ.ศ.2539 ให้สังเกตุได้เลยว่า ใช้น้ำยาแอร์ R12 แต่หากเป็นรถยนต์ที่ผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบัน ส่วนมากจะใช้น้ำยาแอร์ R134a คุณสมบัติ และ ความแตกต่างของ น้ำยาแอร์ R134a และ R12 มีดังต่อไปนี้ 1.น้ำยาแอร์ R134a เป็นสารทำความเย็นที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำยาแอร์ชนิดอื่นเลย จะมีค่าของน้ำยาแอร์ R134aอย่างเดียว 100% ระดับการทำลายโอโซนของสารทำความเย็น (OPD) = 0 ในขณะที่ค่า GWP มีค่า 1430 จะมีแรงดัน
การเปิด-ปิดแอร์รถยนต์ที่ถูกวิธีและการดูแลรักษาแอร์รถยนต์เบื้องต้น ประเทศไทยเราเป็นเมืองร้อน ทุกวันนี้หลายคนมักเลือกเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว เพื่อความคล่องตัวในการเดินทางและด้วยเรื่องสภาพอากาศค่อนข้างร้อน แอร์รถยนต์จึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับรถยนต์ทุกคัน และมีผลต่อระบบหายใจของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร เนื่องจากต้องสูดดมอากาศที่ไหลเวียนผ่านระบบแอร์รถยนต์อยู่ตลอดเวลาเมื่อเราอยู่ในรถยนต์ไม่มีใครรู้เลยว่า อาจจะเต็มไปด้วย เชื้อโรค ก็เป็นไปได้ วันนี้เราจึงขอนำเสนอการเปิดใช้แอร์รถยนต์ที่ถูกต้องให้ปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานของแอร์รถยนต์ให้อยู่กับเราไปได้นานๆ ดังนี้ 1.ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ทุกครั้ง ควรปิดสวิตซ์แอร์(A/C) เพื่อไม่ให้คอมเพรสเซอร์เป็นตัวฉุดกำลังขณะสตาร์ท เมื่อสตาร์ทและเครื่องวอร์มสักพักแล้วค่อยเปิดสวิตซ์พัดลม โดยใช้ความเร็วพัดลมสูงก่อน เพื่อเป็นการไล่ความร้อนในระบบแอร์รถยนต์ แล้วค่อยเปิดสวิตซ์แอร์ (A/C) การปิดแอร์รถยนต์ที่ถูกต้อง ควรปิดสวิตซ์แอร์ (A/C)ก่อนจะถึงจุดหมายปลายทางก่อน ประมาณ 5-10 นาที เพื่อลดการทำงานของคอมเพรสเซอร์และไล่ความชื้นออกจากคอยล์เย็น ไม่ให้สะสมจนเกิดเชื้อแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุของกลิ่นอับ จากนั้นจึงปิดพัดลมแล้วดับเครื่องยนต์ ควรตั้งอุณหภูมิของแอร์ให้เหมาะสมกับห้องโดยสาร และไม่ควรตั้งให้เย็นจนเกินไป เพื่อไม่ให้คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เพราะจะทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร แนะนำให้ตั้งอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 25 องศา เป็นค่ามาตรฐานจะดีที่สุด หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอมรถยนต์ สเปรย์ปรับอากาศ เนื่องจากการจะส่งผลต่อระบบการทำงานของคอยล์เย็นโดยเราไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่มักจะมีสารระเหยที่ส่งผลกระทบต่อระบบแอร์ โดยไอระเหยของสารเคมีในสเปรย์ปรับอากาศจะทำปฏิกิริยา ทำให้เกิดฝุ่นไปจับตัวที่คอยล์เย็น จะส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักขึ้น การถ่ายเทความร้อนก็จะลดลงทำให้ประสิทธิภาพในการทำความเย็นของระบบแอร์ก็จะลดลงไปด้วย ตรวจเช็คแผ่นกรองอากาศแอร์ให้สม่ำเสมอ สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้เอง และถ้าปล่อยให้แผ่นกรองอากาศสกปรกมาก จะทำให้ฝุ่นไปอุดตันได้ สาเหตุนี้ก็มีส่วนทำให้ระบบแอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้น ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน แนะนำให้ล้างตู้แอร์ ปีละ 2
หลักการทำงานของระบบแอร์รถยนต์ ปัจจุบัน รถยนต์เข้ามามีบทบาทส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ช่วยทำให้การเดินทางสะดวกสบายมากขึ้น เพราะด้วยอากาศของเมืองไทยบ้านเราเป็นเมืองร้อน แอร์รถยนต์ จึงเป็นส่วนสำคัญทำให้อากาศภายในรถยนต์เกิดความเย็นสบาย ทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ เราผู้ใช้รถยนต์ ควรรู้หลักการทำงานของระบบแอร์รถยนต์บ้าง ว่าในระบบมีอะไรตัวไหน ทำหน้าที่อย่างไร เรามาทำความรู้จักดังนี้ หลักการทำงานของระบบแอร์รถยนต์ เป็นระบบทำความเย็นแบบอัดไอหรือก๊าซ โดยที่คอมเพรสเซอร์ (COMPRESSOR) จะทำหน้าที่ดูดสารทำความเย็นจากอีวาโปเรเตอร์ (EVAPORATOR) สารทำความเย็น ในขณะนั้นยังมีสถานะเป็นแก๊สและคอมเพรสเซอร์ ยังทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นออกไปที่คอนเดนเซอร์ (CONDENSER) ทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิและความดันเพิ่มสูงขึ้น เมื่อสารทำความเย็นไหลผ่านคอนเดนเซอร์จะทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง จากนั้นสารทำความเย็นจะไหลต่อไปยัง รีซีฟเวอร์/ดรายเออร์ (RECEIVER/DRYER) เพื่อกรองสิ่งสกปรกและความชื้นที่ปนเปื้อนในสารทำความเย็นไหลไปที่ แอ็คเพนชั่นวาล์ว (EXPANSION VALVE) แล้วฉีดเป็นฝอยละอองเข้าไปใน อีวาโปเรเตอร์ ทำให้สารทำความเย็นมีความดันที่ต่ำและดูดความร้อนจากภายนอก เพื่อให้ได้สถานะที่กลายเป็นแก๊ส ทำให้อุณหภูมิภายนอกลดลง หลังจากนั้นสารทำความเย็นที่เป็นแก๊ส ก็จะถูกดูดเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ เพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่ วนซ้ำไปเรื่อยๆ ส่วนประกอบของระบบแอร์รถยนต์ มีดังนี้ คอมเพรสเซอร์ (COMPRESSOR) ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศติดรถยนต์ จะเป็นแบบเปิด และจะติดกับเครื่องยนต์ โดยใช้กำลังของเครื่องยนต์มาหมุนให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สูบฉีดสารทำความเย็นให้ไหลวนในระบบแอร์รถยนต์ โดยดูดสารทำความเย็นสถานะไอความดันต่ำจากตู้แอร์ และเพิ่มความดันเพื่อเปลี่ยนสถานะสารทำความเย็นเป็นไอความดันสูง ก่อนที่จะส่งต่อไปที่คอนเดนเซอร์ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คอมเพรสเซอร์มีเสียงดัง