สารทำความเย็นของตู้แช่และห้องเย็น ในประเทศไทยสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ที่นิยมใช้กัน เป็นสารเคมีที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพราะประเทศไทยยังไม่สามารถที่จะผลิตสารทำความเย็นขึ้นเองได้ ถูกนำเข้ามาเพื่อใช้งานในระบบทำความเย็นต่างๆ ทั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน อาคาร รถยนต์ ห้างสรรพสินค้า ตู้แช่และห้องเย็น รวมทั้งอุตสาหกรรมทั่วไปด้วยที่ต้องใช้อุณภูมิความเย็นในการจัดเก็บสินค้าต่างๆ โดยในที่นี้จะแยกในส่วนของน้ำยาที่ใช้สำหรับตู้แช่และห้องเย็น ส่วนใหญ่ในประเทศของเรานั้นปัจจุบันนิยมและใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนกันบ้าง แต่ละชนิดมีส่วนประกอบและคุณสมบัติอย่างไร ในระบบตู้แช่และห้องเย็น น้ำยาแอร์หลักๆที่ใช้กันแบ่งตามรายละเอียดต่างๆได้ดังนี้ R404A เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) คุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ประหยัดพลังงาน มีค่าแรงดันที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 170-180 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -46.6 C◦ ใช้ในอุณหภูมิติดลบ ใช้ในสินค้าพวกตู้แช่ห้องเย็นและอุตสาหกรรมทำความเย็น ถ้าน้ำยาแอร์ในระบบขาดต้องปล่อยทิ้งแล้วเติมใหม่ทั้งหมด โดยสามารถใช้เกจ์วัดแรงดันในการเช็คระบบให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม R507 เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 2 ชนิด (R125+R143) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 180-190 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -47.1 C◦ มีประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง ใช้ในสินค้าตู้แช่ห้องเย็นและอุตสาหกรรมทำความเย็น จะเห็นว่าไม่มี R134a
Category Archives: น้ำยาแอร์ชิลเลอร์
น้ำยาแอร์ตัวไหนใช้ในชิลเลอร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ระบบชิลเลอร์ หรือ เครื่องทำความเย็นที่มีขนาดใหญ่ และเล็กหรือเรียกว่า มินิชิลเลอร์ ได้มีการพัฒนาจากเดิมขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งมีหน้าที่ ผลิตความเย็นปรับลดอุณหภูมิโดยใช้น้ำเป็นตัวหลัก ในการถ่ายเทความเย็น จากตัวเครื่องชิลเลอร์ ส่งไปยังเครื่องปรับอากาศที่อยู่ตามโรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล อาคาร เป็นต้น จำเป็นต้องติดตั้งระบบชิลเลอร์เพื่อให้ผู้มาใช้บริการ หรือคนทำงานมีอากาศที่เย็นสบาย การติดตั้งระบบชิลเลอร์จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการติดตั้งเช่นพื้นที่ในการติดตั้งเพราะเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนจึงต้องวางแผนในการติดตั้งให้ดีก่อน เรามาทำความรู้จักว่า น้ำยาแอร์ตัวไหน ใช้ในชิลเลอร์บ้าง – น้ำยาแอร์ R22 เป็นสารประกอบเดียว ใช้สำหรับระบบเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันภายในอาคารบ้านเรือน อุตสาหกรรมแช่เย็น และระบบชิลเลอร์ ถ้าเกิดการรั่วหรือน้ำยาแอร์ในระบบขาด สามารถเติมได้เลย คุณสมบัติของน้ำยาแอร์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และเป็นสารที่ไม่ติดไฟ ปัจจุบันรัฐบาล เริ่มมีการ ลด ละ เลิก R 22 และ จะมี R 407C เข้ามาแทน โดยเป็นสารผสมระหว่าง ( R134a , R125 ,
เลือกห้องเย็น (Cold Room) แบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจ ในประเทศไทยธุรกิจระบบห้องเย็นมีหลายแบบหลายขนาดขึ้นอยู่กับรูปแบบ สินค้า และพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าแต่ละชนิด ซึ่งรวมถึงอุณหภูมิที่ต้องการจัดเก็บสินค้าด้วยจะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งานและสินค้าที่ต้องการจัดเก็บ เพราะสินค้าแต่ละชนิดก็มีความต้องการอุณหภูมิความเย็นที่ไม่เหมือนกัน เช่น อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ต้องการอุณหภูมิที่ความเย็นจัด ส่วนพวกเครื่องดื่ม ผัก ผลไม้ ยาและเวชภัณฑ์ ต้องการอุณหภูมิที่ความเย็นไม่มาก เพราะถ้าหากเย็นเกินไป อาจทำให้สินค้าเสียหายได้ ดังนั้นการเลือกห้องเย็นแบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจของเรานั้น จะต้องดูสินค้าที่จะเก็บเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งสามารถแบ่งได้หลักๆตามการใช้งานได้และรูปแบบทั่วๆไปได้ ดังนี้ ห้องเย็นมีขนาดแบบไหนบ้าง โดยขนาดห้องเย็นถ้าเป็นแบบเคลื่อนย้ายได้ ส่วนใหญ่ด้านกว้าง จะมีขนาด 2.4 เมตร ความยาว จะมีขนาดไม่เกิน 6 เมตร เพราะต้องยกเคลื่อนย้ายด้วยรถเฮียบ ซึ่งมีความยาวของรถที่บรรทุกได้ 6 เมตร ถ้าห้องเย็นขนาดกว้าง 2.4 เมตร ยาว 2.4 เมตร สูง 2.4 เมตร จะเก็บสินค้าได้ประมาณ 1-2 ตัน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าอะไร เป็นเนื้อสัตว์ หรือ ผักผลไม้ ถ้าเป็นประเภทผักผลไม้
น้ำยาแอร์ชนิดไหนใช้กับห้องแช่แข็ง ห้องแช่ฟรีส ในประเทศไทยธุรกิจห้องแช่แข็งและห้องแช่ฟรีส อุตสาหกรรมความเย็นต่างๆ ที่นิยมใช้งานต่างก็ต้องใช้สารทำความเย็นหรือ น้ำยาแอร์เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อมาใช้งานในระบบทำความเย็นต่าง ๆ ทั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน อาคาร รถยนต์ ห้องเย็นและตู้แช่ รวมทั้งอุตสาหกรรมทั่วไปด้วยที่ต้องใช้อุณภูมิความเย็นในการจัดเก็บสินค้าต่าง ๆ โดยในที่นี้จะแยกในส่วนของน้ำยาที่ใช้สำหรับห้องแช่แข็ง และห้องแช่ฟรีส ว่าส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันนิยมและใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนกันบ้าง แต่ละชนิดมีส่วนประกอบและคุณสมบัติอย่างไร ในระบบห้องแช่แข็ง ห้องแช่ฟรีส มีน้ำยาแอร์หลักๆที่ใช้กันได้ดังนี้ R404A เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) คุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ประหยัดพลังงาน มีค่าแรงดันที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 170-180 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -46.6 C◦ ใช้ในอุณหภูมิติดลบ ใช้ในห้องแช่แข็ง ห้องแช่ฟรีสและอุตสาหกรรมทำความเย็น ถ้าน้ำยาแอร์ในระบบขาดต้องปล่อยทิ้งแล้วเติมใหม่ทั้งหมด โดยสามารถใช้เกจ์วัดแรงดันในการเช็คระบบให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม R507A เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 2 ชนิด (R125+R143) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 180-190 Psi
ถอดรหัสระบบแอร์ที่ใช้ในรถห้องเย็น ปัจจุบันรถยนต์ในประเทศมีอยู่มากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์โดยสาร รถตู้ รถบัส รถกระบะ เป็นต้น ถ้าพูดถึงในเชิงพาณิชย์ จะมีรถประเภทหนึ่งที่เราอาจไม่นึกถึง แต่มีความจำเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมขนส่ง นั่นคือ รถห้องเย็น ที่ไว้ใช้ขนส่งสินค้าที่จำเป็นต้องให้อยู่ในอุณหภูมิที่เย็นตลอดเวลา รถห้องเย็นส่วนใหญ่จะเป็นรถกระบะ รถตู้ รถบรรทุกต่างๆที่มีการดัดแปลงต่อเติมเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในการจัดเก็บสินค้าที่จะต้องอยู่ในอุณหภูมิความเย็นคงที่ เพื่อจัดส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วตามเวลาที่กำหนด รถห้องเย็นนั้นส่วนมากแล้วจะเป็นรถที่เอาไว้จัดส่งสินค้าที่จะต้องรักษาอุณหภูมิความเย็นให้คงที่เสมอเพื่อรักษาคุณภาพสินค้าให้มีความสด มีคุณค่าทางสารอาหารคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงในระหว่างการขนส่ง อย่างเช่นสินค้า อาหารแช่แข็ง อาหารแช่เย็น ผัก ผลไม้ อาหารซีฟู้ด เครื่องดื่ม นมสด เครื่องสำอาง ยารักษาโรค เป็นต้น ในส่วนของน้ำยาแอร์ที่ใช้ในรถห้องเย็นนั้นส่วนมากหลักๆคือน้ำยา R404A และ R134a และR507A ซึ่งแยกได้ดังนี้ R404A เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) ใช้ในรถห้องเย็นเก็บสินค้าพวกอาหารสด เนื้อสัตว์แช่แข็ง ไอศรีม ยาเวชภัณฑ์ เป็นต้น อุณหภูมิติดลบ ประหยัดพลังงาน ในส่วนของการซ่อมบำรุง ถ้าเกิดมีการรั่วจะต้องทำการปล่อยน้ำยาในระบบออกให้หมดแล้วเติมเข้าไปใหม่เท่านั้น เพราะเป็นสารผสมไม่สามารถเติมเพิ่มเข้าไปได้ทันที R134a เป็นสารทำความเย็นเชิงเดี่ยว
ประเทศไทยอยู่ในภูมิศาสตร์เขตร้อน จึงเป็นเมืองที่มีอากาศค่อนข้างร้อน การใช้งานตู้แช่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นในการจัดเก็บสินค้าและอาหารต่างๆ เพื่อที่จะรักษาคุณภาพให้ใหม่และสดอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าจำพวก เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ รวมถึงเวชภัณฑ์ยาอีกด้วย โดยตู้แช่ที่จะกล่าวถึงนั้นมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้า จำนวนในการจัดเก็บและ สินค้าที่ต้องการจัดเก็บต้องใช้อุณหภูมิเท่าไหร่ ต้องดูถึงความเหมาะสมในแต่ละสินค้าที่จะจัดเก็บ ในปัจจุบันที่เราจะพบเห็นและเป็นที่นิยมกันมากในสถานที่ต่างๆสามารถแบ่งได้ตามการใช้งานได้ รูปแบบทั่วๆไปได้ดังนี้ ตู้แช่สำหรับใช้งานภายในบ้านและครัวเรือน รูปแบบการทำงานจะคล้ายๆกับตู้เย็นแต่อุณหภูมิการจัดเก็บจะมีความคงที่มากกว่า และเหมาะแก่การเก็บสินค้าไว้ในระยะยาว พื้นที่ในการจัดเก็บสามารถบรรจุสินค้าได้มากกว่าตู้เย็น ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบฝาเปิด-ปิดด้านบนด้านเดียว ซึ่งช่วยให้รักษาความเย็นได้ดี แต่ในบางครั้งการหาของที่แช่ไว้ในตู้แช่รูปแบบนี้ก็ทำได้ยาก เพราะถ้าต้องการสินค้าที่อยู่ด้านล่างก็ต้องรื้อสินค้าที่อยู่ด้านบนสุดออกก่อน ตู้แช่สำหรับใช้งานในร้านค้าปลีกและร้านค้าส่ง ที่เห็นได้ชัดเจนก็จะเป็นการแช่พวกเครื่องดื่ม ขนมปัง เบเกอรี่ เค้กต่างๆ รวมทั้งสินค้าแช่แข็งพร้อมทานในรูปแบบกล่องที่พร้อมทานด้วย โดยจะเป็นรูปแบบที่เป็นฝาหน้าเป็นกระจกใส แบบเปิด-ปิดด้านหน้า หรือแบบไม่มีกระจกหรือฝาเปิด-ปิดเลย ซึ่งทำให้สามารถมองเห็นสินค้าได้ชัดเจน และง่ายในการเลือกซื้อ สามารถแบ่งแยกประเภทสินค้าออกเป็นหมวดหมู่ได้เพราะมีหลายชั้นให้วางสินค้า จัดประเภทสินค้าได้ชัดเจน ตู้แช่สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เชิงพาณิชย์ ส่วมมากจะเป็นตู้ขนาดใหญ่พิเศษ เหมาะสำหรับเก็บสินค้าจำพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ อาหารทะเลแช่แข็ง หรือน้ำแข็งแบบถุง โดยแช่ในปริมาณมากๆ เพื่อต้องการรักษาความสดและให้คุณค่าสารอาหารไม่เสียไป อุณหภูมิที่ใช้ต้องคงที่ สินค้าที่เก็บพร้อมที่จะจัดส่งไปตามที่ต่างๆ ในที่นี้อาจรวมถึงรถห้องเย็นที่ไว้ในการจัดส่งสินค้าอีกด้วย สำหรับการจัดเก็บสินค้าต่าง ๆในตู้แช่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบลักษณะใดก็ตาม มีความแตกต่างกันในเรื่องของจำนวนสินค้า ขนาดพื้นที่การจัดเก็บ ควรพิจารณาจากการใช้งานเป็นสำคัญ รวมถึงสินค้าที่ต้องการจัดเก็บด้วย การเก็บรักษาสินค้าและอาหารให้ถูกหลักเพื่อได้คุณภาพสดใหม่คงเดิมและสารอาหารไม่เปลี่ยนไป ควรจะเลือกเก็บให้เหมาะสมกับรูปแบบตู้แช่แต่ละชนิดในอุณหภูมิที่เหมาะสม
ระบบปรับอากาศอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานที่ที่มีพื้นที่ใหญ่ เช่นโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงแรม อาคาร เพื่อให้ระบบปรับอากาศมีประสิทธิภาพ, ประหยัดพลังงานไฟฟ้า และควบคุมงบประมาณหรือต้นทุนได้ นั่นคือ ระบบชิลเลอร์ ระบบชิลเลอร์คือเครื่องทำความเย็นที่มีขนาดใหญ่ มีหน้าที่ปรับลดอุณหภูมิตัวสารทำความเย็นโดยใช้น้ำเป็นตัวหลักในการปรับ และในการถ่ายเทความเย็นจากตัวเครื่องชิลเลอร์ส่งไปยังเครื่องปรับอากาศในส่วนพื้นที่ต่างๆ เป็นต้นหลักการทำงานหลักของระบบชิลเลอร์ คือการควบคุมอุณหภูมิด้วยตัวกลางเช่น น้ำ หรือลมอากาศโดยใช้การแลกเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็น และนำความเย็นจากการแลกเปลี่ยนสถานะนั้นไปใช้งาน ระบบชิลเลอร์แบ่งเป็น2 ระบบ ดังนี้ ระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำ หลักการทำงาน คือ จะอาศัยน้ำเข้าไปใช้งานในระบบ โดยการนำเอาน้ำมาลดอุณหภูมิลง แล้วก็นำเอาน้ำจากท่อน้ำมาใช้งานภายในพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งในพื้นที่นี้ ก็จะเหมือนเป็นตู้แอร์ มาวางตามจุดต่างๆ น้ำที่ผ่านมาก็จะผ่านเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วปกติ มาผ่านคอยล์เย็น และก็จะมีโบเวอร์ทำหน้าที่ดูดลมเข้า และเป่าลมออก จะมีปล่องนำลมออกไปใช้งานในจุดต่างๆ จะทำให้เกิดความเย็นขึ้นในพื้นที่นั้นๆ เมื่อน้ำยาแอร์ซับความร้อนจากห้องนั้นมา จะกลายสภาพเป็นไอที่มีความดันต่ำก็จะระบายความร้อนด้วยน้ำ โดยการนำระบบคูลลิ่งเข้ามาช่วย เมื่อน้ำออกจากท่อที่ผ่านการใช้งานแล้ว ก็จะวนมาที่คอยล์เย็นเช่นเดิม บ่อพักน้ำ จะมี 2 จุด คือ ก่อนเข้าและหลังออก จากคอยล์เย็น เพื่อให้น้ำได้เกิดการหมุนเวียนได้ตลอดเวลา และการทำงานก็จะวนกลับเป็นระบบแบบนี้ไปเรื่อยๆ ระบบการระบายความร้อนด้วยอากาศ เป็นการใช้อากาศทั่วๆไป คล้ายระบบแอร์ ที่มีคอยล์ร้อนอยู่นอกอาคาร