9 วิธีใช้เครื่องปรับอากาศ ให้ประหยัดค่าไฟ อากาศร้อน ๆ จะเปิดแอร์ทั้งวันให้ฉ่ำกาย สบายใจ ก็เกรงค่าไฟจะเพิ่มสูงขึ้นตามอุณหภูมิความร้อน อีกทั้งยังเปลืองพลังงานอีกด้วย BnB home จึงอยากช่วยคุณให้เย็นกาย เย็นใจ คลายความร้อนจากทั้งอากาศและบิลค่าไฟ ด้วยการแนะนำวิธีใช้แอร์อย่างไร ให้ประหยัดค่าไฟในช่วงที่อากาศร้อน ๆ 1. ล้างแอร์เป็นประจำ หากใช้แอร์เป็นประจำ ก็ควรล้างแอร์เป็นประจำ จะช่วยประหยัดค่าไฟได้ ซึ่งเวลาที่เหมาะสมคือ ทุก 6 เดือน หรือสามารถดูตามความเหมาะสมในการใช้งานแอร์ได้เลย เช่น หากเปิดแอร์แล้วไม่เย็น เบื้องต้นให้ถอดแผ่นกรองอากาศออกมาล้างทุก 2 – 3 เดือน เพราะแอร์ที่ใช้งานบ่อย ๆ จะทำให้มีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกสะสมอยู่ หากไม่ทำความสะอาด แอร์จะทำงานหนัก และกินไฟมากกว่าเดิม 2. เปิดห้องเพื่อระบายอากาศ ก่อนเปิดแอร์เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศหมุนเวียนเข้าไปในห้องที่กำลังจะเปิดแอร์ ช่วยระบายความร้อนที่สะสมอยู่ในห้องก่อน เมื่อเปิดแอร์ ก็จะทำให้อุณหภูมิในห้องเย็นได้เร็วขึ้น แอร์จะได้ไม่ทำงานหนักเกินไป
Tag Archives: สารทําความเย็น
ประเภทน้ำยาที่ใช้กับแอร์บ้านมีกี่ชนิด น้ำยาเป็นตัวกลางในการทำความเย็น ขณะที่น้ำยาในระบบภายในอีวาพอเรเตอร์เดือดเปลี่ยนสถานะเป็นไอที่อุณหภูมิและความดันต่ำจะต้องการความร้อนแฝง ดูดรับปริมาณความร้อนจากอากาศภายในห้องโดยรอบอีวาพอเรเตอร์ ปริมาณความร้อนจำนวนนี้จะถูกระบายทิ้งภายนอกห้องที่คอนแดนเซอร์ เพื่อให้น้ำยากลั่นตัวเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง 1. น้ำยาแอร์ R22 น้ำยาแอร์หรือที่เรียกว่าสารทำความเย็น ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันสำหรับแอร์บ้านทั่วไป เป็นสารจำพวก CFCs (Chloro Fluoro Carbons) ซึ่งมีคุณสมบัติคือ ไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น และความถ่วงจำเพาะของสารในสถานะก๊าซจะหนักกว่าอากาศโดยที่สารเหล่านี้จะมีจุดเดือดที่ต่ำกว่า สารทั่วไป จึงถูกนำมาใช้ในการทำความเย็น โดยที่สารทำความเย็นที่มีจุดเดือดต่ำจะถูกใช้ในการทำความเย็นที่อุณหภูมิต่ำ และสารทำความเย็นที่มีจุดเดือดสูงจะถูกใช้ในทำความเย็นที่อุณหภูมิสูง ขึ้นอยู่กับวัตถูประสงค์ของการใช้งาน สำหรับชนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุดสำหรับแอร์บ้านก็คือ R-22 (Freon-22) โดยมีจุดเดือดอยู่ที่ -40.B ‘C 2.น้ำยาแอร์ R32 เป็นสารทำความเย็นที่ถูกพัฒนามาเพื่อทดแทนชนิด R22 โดยมีข้อดีที่มีค่า ODP ที่ต่ำกว่าสารทำความเย็นชนิด R22 จึงทำให้ไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศแต่ข้อเสียก็คือราคาจะแพงกว่าสารทำความเย็นชนิด R22 และถึงแม้ว่าจะไม่ทำลายชั้นโอโซนแต่ก็ยังส่งผลต่อภาวะเรือนกระจกอยู่ซึ่งมีค่า ODP (ดัชนีวัดการทำลายโอโซน) = 0 ค่า, GWP(ดัชนีชี้วัดผลกระทบภาวะโลกร้อน) = 675 และมีค่า Cooling Capacity(ประสิทธิภาพการทำความเย็น) = 160
ทริคการดูแลรถยนต์ในช่วงหน้าร้อนแบบง่ายๆ ทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าประเทศไทยนั้นมีอากาศร้อนแทบตลอดทั้งปี ยิ่งถ้าจอดรถยนต์ทิ้งไว้กลางแดดแล้ว ผู้ขับขี่จะพบว่าภายในตัวรถยนต์จะร้อนระอุ รถยนต์ที่ถูกจอดไว้กลางแดดเป็นเวลานาน ก็คงไม่ดีต่อรถยนต์ของคุณแน่ๆ วันนี้เราจึงมารวมทริคการดูแลรถยนต์แบบง่ายๆ เพื่อป้องกันและดูแลรถจากอากาศร้อนแบบมาฝากกัน เรื่องของหม้อน้ำ ควรตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำว่าพร่องหรือน้อยไปหรือไม่ หากใช่ให้หมั่นเติมน้ำสะอาด และถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุกๆ 4-6 เดือน ถ้าเป็นใหม่ ควรตรวจสอบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากเป็นรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ควรตรวจสอบ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ยางรถยนต์และแรงดันลมยาง การเติมลมยางให้เหมาะสม ควรเติมให้มากขึ้นสัก 2-3 ปอนด์ เพื่อช่วยป้องกันการเปิดตัวของแก้มยาง ซึ่งหากปล่อยให้ยางอ่อน ควารร้อนอาจจะทำให้แก้มยาเกิดการบิดตัวมากและร้อนผิดปกติ จนส่งผลให้แรงดันภายในของยางรถสูงขึ้นจนระเบิดได้ การเติมลมยางที่เหมาะสมยังช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในหน้าร้อนได้ด้วย การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่คู่มือกำหนดไว้นั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยในหน้าร้อน เพราะหากปล่อยให้น้ำมันเครื่องแห้งในหน้าร้อนนั้น อาจจะส่งผลทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้และยังทำให้รถยนต์ของคุณกินน้ำมันมากขึ้นอีกด้วย หมั่นขยับส่วนประกอบที่เป็นยาง เนื่องจากความร้อนของอากาศหรือแดด อาจทำให้วัสดุที่เป็นยางละลายจนเหนียวและด้าน เมื่อถึงเวลาใช้งานจึงฉีกขาดได้ ทางที่ดีอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งหมั่นเปิด-ปิด ให้ขอบยางได้ขยับบ้าง ไม่ว่าจะเป็นที่ปัดน้ำฝน หน้าต่าง ประตูหลัง กระโปรงท้ายรถยนต์ หรือหลังคาซันรูฟ หลีกเลี่ยงการขับเร่งเครื่องและเบรกกะทันหัน เนื่องจากจะทำให้เกิดอันตรายแล้ว การเร่งเครื่องและเบรกรถแบบกระทันหันเมื่อถูกบวกกับสภาพอากาศที่ร้อนระอุ อาจทำให้รถยนต์ของคุณกินน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกด้วย
อุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนบ้าง ในประเทศไทย อุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการใช้สารทำความเย็นหรือ น้ำยาแอร์ มาใช้ในงานระบบ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพราะในประเทศไทยไม่สามารถผลิตขึ้นได้เอง การใช้งานในระบบทำความเย็นต่างๆ ทั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน อาคาร รถยนต์ ห้องเย็นและตู้แช่ รวมทั้งอุตสาหกรรมทั่วๆไปด้วยที่จะต้องใช้อุณภูมิความเย็นในการจัดเก็บสินค้าต่าง ๆ ในที่นี้จะแยกในส่วนของน้ำยาที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมตู้แช่เชิงพาณิชย์ ว่าส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันนิยมและใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนกันบ้าง แต่ละชนิดมีส่วนประกอบและคุณสมบัติอย่างไร ในระบบตู้แช่ น้ำยาแอร์หลักๆที่ใช้กันแบ่งตามรายละเอียดต่างๆได้ดังนี้ R404a เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) คุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ประหยัดพลังงาน มีค่าแรงดันที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 170-180 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -46.6 C◦ ใช้ในอุณหภูมิติดลบ ใช้ในสินค้าพวกตู้แช่ห้องเย็นและอุตสาหกรรมทำความเย็น ถ้าน้ำยาแอร์ในระบบขาดต้องปล่อยทิ้งแล้วเติมใหม่ทั้งหมด โดยสามารถใช้เกจ์วัดแรงดันในการเช็คระบบให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม R507 เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 2 ชนิด (R125+R143) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 180-190 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -47.1
สารทำความเย็นที่ใช้กันแพร่หลายในประเทศไทย ปัจจุบันมีความพยายามที่จะพัฒนา สารทำความเย็น ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพในการทำความเย็น ในการพัฒนาสารทำความเย็นเป็นงานวิจัยที่ท้าทาย เนื่องจากจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ ทั้งประสิทธิภาพในการทำความเย็น ความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้งานเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาสารทำความเย็นชนิดใหม่อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ระบบทำความเย็นมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม สารทำความเย็น (Refrigerant) คือ สารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซับความร้อนได้ดี โดยสารทำความเย็นจะถูกนำไปใช้ในระบบทำความเย็นเพื่อดูดซับความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น ก่อนที่จะปล่อยความร้อนออกจากบริเวณนั้นไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า สารทำความเย็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ตามคุณสมบัติดังนี้ สารกลุ่ม CFC (Chlorofluorocarbon) ประกอบด้วย คลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่น R11, R12, R114, R115, R502 เป็นต้น สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่ดีในการทำความเย็น แต่มีผลกระทบต่อชั้นโอโซน จึงถูกห้ามใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 สารกลุ่ม HCFC (Hydrochlorofluorocarbon) ประกอบด้วย คลอรีน ฟลูออรีน และคาร์บอน เช่นเดียวกับสารกลุ่ม CFC แต่มีคลอรีนน้อยกว่า จึงไม่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซนเท่าสารกลุ่ม
ระบบปรับอากาศ Air Conditioning ขนาดใหญ่ในอาคาร ระบบปรับอากาศ Air Conditioning คืออะไร ตามปกติเมื่อได้ยินคำว่า “การปรับอากาศ หรือ ระบบปรับอากาศ” สิ่งแรกที่ทุกคนเข้าใจก็คือการทำอากาศให้เย็นเท่านั้น แต่ในความหมายที่แท้จริงของคำว่าการปรับอากาศแล้ว จะต้องมีความหมายรวมถึงการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศ ผ่านคอยล์เย็นและสารทำความเย็น ให้มีอุณหภูมิพอเหมาะให้คนที่อยู่ข้างในมีความรู้สึกสบาย ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ขออากาศการระบายอากาศเสียทิ้ง รวมทั้งการหมุนเวียนของอากาศบริสุทธิ์และการกรองอากาศที่สกปรกให้สะอาด ระบบปรับอากาศในอาคาร แตกต่างอย่างไรกับเครื่องปรับอากาศแบบปกติ เครื่องปรับอากาศแบบปกติหรือแอร์บ้าน จะมีหลักการทำงานคล้ายๆกับระบบปรับอากาศภายในอาคาร จะแตกต่างกันที่ แอร์บ้านจะให้สารทำความเย็นวิ่งผ่านคอยล์เย็นทำให้เกิดลมเย็น ส่วนระบบปรับอากาศในอาคารหรือ Chiller จะให้สารทำความเย็นทำน้ำให้เย็นก่อน แล้วจึงส่งน้ำเย็นไปหา ท่อส่งลม หรือ AHU เพื่อผลิตอากาศเย็นเข้าไปยังพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็น การเลือกรูปแบบระบบทำความเย็นในอาคาร สำนักงาน หรือบ้าน จะดูจากพื้นที่ที่ต้องการทำความเย็นเป็นหลัก ระบบปรับอากาศมีกี่ประเภท กี่แบบ ระบบปรับอากาศที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้ดังนี้คือ ระบบปรับอากาศระบบน้ำยา ( Direct Expansion System ) ขนาด 1-25 Ton ความเย็น นิยมใช้กับบ้านพัก , คอนโดมิเนียมที่พักอาศัย , สำนักงานที่ไม่ใหญ่มาก