Tag Archives: นํ้ายาเเอร์

วิธีการปรับแอร์ให้เย็นเหมาะสม

วิธีการปรับแอร์ให้เย็นเหมาะสม การตั้งค่าอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับแอร์เครื่องปรับอากาศที่คุณใช้งาน ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการปรับเปลี่ยนระดับอุณหภูมิให้เย็นที่สุด แต่เป็นการทำความเข้าใจ และหาจุดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับความสบาย ความมีประสิทธิภาพทางพลังงาน และการดูแลสุขภาพของคุณ การทำความเข้าใจนี้อาจต้องใช้เวลา และการปรับตัวแต่เมื่อคุณทำได้ คุณจะสามารถปรับปรุงคุณภาพการใช้แอร์ของคุณได้ในทางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายขึ้น หาอุณหภูมิที่เหมาะสม: ศูนย์ควบคุมโรคและการป้องกันของสหรัฐแนะนำให้ตั้งอุณหภูมิที่ 24-26 องศาเซลเซียสสำหรับความสบาย อุณหภูมินี้เหมาะสมกับร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่ และสามารถช่วยลดความเย็นเกินไปที่อาจทำให้รู้สึกไม่สบาย ปรับใช้โหมดการทำงานของแอร์: มีแอร์บางรุ่นที่มีโหมดต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและการใช้พลังงาน. การใช้โหมดเหล่านี้อาจช่วยคุณปรับแอร์ให้เย็นเหมาะสม และช่วยลดการใช้พลังงาน ใช้พัดลมเพื่อกระจายลมแอร์: การใช้พัดลมพร้อมกับแอร์สามารถช่วยกระจายลมความเย็นในห้องอย่างเท่าเทียม ช่วยให้คุณรู้สึกสบายแม้ว่าอุณหภูมิจะสูงกว่าการใช้แอร์เดียว ปรับลมแอร์ให้ไม่โดนตรงคน: การทำให้ลมแอร์โดนตรงร่างกายสามารถทำให้คุณรู้สึกหนาวมากกว่าที่ควร การปรับทิศทางลมแอร์ให้ไม่โดนตรงคนสามารถช่วยให้คุณรู้สึกสบาย และป้องกันโรคที่เกิดจากแอร์ ควบคุมความชื้นในห้อง: ความชื้นเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อความสบาย ถ้าห้องของคุณมีความชื้นสูง คุณอาจรู้สึกร้อนแม้ว่าคุณจะลดอุณหภูมิแอร์ การควบคุมความชื้นในห้องสามารถช่วยให้คุณรู้สึกสบายแม้ว่าอุณหภูมิจะสูง การปรับเวลาการทำงานของแอร์: แทนที่จะปล่อยให้แอร์ทำงานตลอดเวลา คุณสามารถตั้งค่าเวลาเปิด – ปิด หรือใช้โหมดการทำงานตามเวลา การปรับปรุงนี้สามารถช่วยให้คุณควบคุมการใช้พลังงานของแอร์ได้ดีขึ้น การปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้เย็นเหมาะสมไม่แค่ทำให้คุณสบาย แต่ยังช่วยให้คุณใช้พลังงานได้อย่างประหยัดและยั่งยืน การปรับแอร์ให้เย็นเกินความจำ เป็นอาจดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดีในที่ร้อนอบอ้าวอย่างประเทศไทย แต่การทำเช่นนี้อาจมีผลกระทบที่ไม่คาดคิดต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ในด้านสุขภาพ การใช้แอร์ที่เย็นเกินไปอาจทำให้ร่างกายทำงานลำบากมากขึ้นในการหาความสุขสบาย อาจส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองอักเสบ และภาวะตาแห้ง อาการที่แสดงถึงความเครียด และความเจ็บป่วย สำหรับสิ่งแวดล้อม การใช้แอร์ที่เย็นเกินไปอาจส่งผลให้เกิดการเสียหายทางสิ่งแวดล้อม

สารทำความเย็นสำหรับตู้แช่ ห้องเย็น

สารทำความเย็นสำหรับตู้แช่ ห้องเย็น              น้ำยา R404a ถือว่าเป็นสารทำความเย็นที่อยู่คู่กับอุตสาหกรรม ห้องเย็น และเครื่องทำความเย็น มามากกว่าสามทศวรรษ โดยเป็นสาร HFC ที่เป็นตัวแทนของ R22 และ R502  เนื่องจากคุณสมบัติของ R404a ทำให้เป็นสารทำความเย็นที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมหลายอุณหภูมิ และมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ยอดเยี่ยม  แต่ด้วยข้อกังวลของค่า GWP ที่สูงถึง 3,922 สารทำความเย็น HFC จะมีการลดการใช้และการผลิต และถูกทดแทนด้วยสารทำความเย็นประเภท HFO หรือสารทำความเย็นที่มี GWP ต่ำกว่า ซึ่งได้ถูกเริ่มใช้งานในประเทศไทยกันแล้วอย่างR448a หากคุณอยู่ในธุรกิจที่ต้องใช้ระบบทำความเย็น และมีข้อกังวลเกี่ยวกับสารทำความเย็นที่ใช้อยู่ วันนี้จะมาเปรียบเทียบระหว่างสารทำความเย็นR404a และR448a เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม               ทำความรู้จักR448a เป็นสารทำความเย็นซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่ของ HFO Blends คือส่วนผสมซีโอโทรปิกที่ประกอบด้วย HFO 2 ตัว (R1234ze 7% และ R1234yf 20%) และสารทำความเย็น HFC 3 ตัว

ต้นเหตุของแอร์เหม็นอับและวิธีแก้ไข

ต้นเหตุของแอร์เหม็นอับและวิธีแก้ไข               เมื่อเช้าสู่ช่วงหน้าฝน ปัญหาที่กวนใจที่สุดที่หลายๆคนต้องเจอกัน นั่นก็คือ “กลิ่นแอร์เหม็นอับ “ ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด แต่ไม่ต้องกังวล เราจะมาแก้ไขปัญหาว่าทำไมแอร์ถึงเหม็นอับและมีวิธีแก้ไขอย่างไร ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักกับศัตรูตัวร้ายที่มาอยู่ในเครื่องปรับอากาศกันก่อน ฝุ่นละออง  ฝุ่นสะสมในแผ่นกรองอากาศหรือคอยล์เย็นไม่ได้แค่ทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้น แต่ยังเป็นอาหารชั้นดีของการเกิดเชื้อราและแบคทีเรียได้อีกด้วย ยิ่งเกิดฝุ่นมาก ยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดกลิ่นเหม็นอับมากยิ่งขึ้น เชื้อรา  ความชื้นที่เกิดภายในตัวเครื่องปรับอากาศจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นดีของพวกเชื้อรา โดยเฉพาะถาดน้ำทิ้ง คอยล์เย็น เป็นต้น เชื้อราชอบอากาศอัพชื้น และเมื่อเกิดการเจริญเติบโต มันก็จะปล่อยกลิ่นอับออกมา แบคทีเรีย แบคทีเรียก็มักจะอาศัยในเครื่องปรับอากาศเหมือนกัน โดยเฉพาะในส่วนที่มีน้ำขัง พวกมันจะเจริญเติบโตและปล่อยกลิ่นเหม็นเน่าออกมา ทำให้อากาศอับชื้น แหล่งน้ำที่ขัง  หากระบบระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศมีปัญหา ทางเดินน้ำที่ควรจะไหลออกก็จะไปขังอยู่ในเครื่องแทน  ทำให้เกิดแหล่งเพาะเชื้อโรคและทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอับออกมานั่นเอง สัตว์เล็กๆ  บางครั้งอาจจะมีแมลงขนาดเล็กๆแอบเข้าไปอาศัยอยู่ในเครื่องปรับอากาศ ซึ่งเมื่อมันตาย ก็จะส่งกลิ่นเหม็นออกมาได้ วิธีแก้ไขปัญหากลิ่นอับในเครื่องปรับอากาศ ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ     แผ่นกรองอากาศทำหน้าที่เหมือนเป็นด่านแรกในการกรองฝุ่น เชื้อโรค และสิ่งสกปรกต่างๆ ไม่ให้เข้าไปสะสมภายในระบบเครื่องปรับอากาศ การทำความสะอาดแผ่นกรองอย่างเป็นประจำจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทำความสะอาดภายในและภายนอก  การทำความสะอาดและดูแลรักษาทำความสะอาดของตัวเครื่องปรับอากาศภายในและภายนอก ให้ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดตัวเครื่องเบาๆ อย่าให้น้ำเข้าไปในช่องระบายอากาศ ส่วนการทำความสะอาดภายใน ก็เป็นสิ่งจำเป็น ให้ทำการเปิดฝาเครื่องแล้วใช้ผ้าชุปน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดภายในเลาๆ โดยเฉพาะบิรเวณครีบระบายความร้อนที่มักจะเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นและเชื้อรา แต่สิ่งที่ต้องระวังคืออย่าให้น้ำสัมผัสกับส่วนที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเด็ดขาด

น้ำยาแอร์แบบไหนที่เป็นอันตราย

น้ำยาแอร์แบบไหนที่เป็นอันตราย หลายปีที่ผ่านมา เราเจอปัญหา ก๊าซเรือนกระจกที่ปกคลุมโลกจะกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้บนโลก ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในปัจจุบันภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นเร็วมาก ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสมดุลของธรรมชาติ และจะก่อให้เกิดความเสี่ยงมากมายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลกใบนี้ เรื่องของน้ำยาแอร์ก็ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และมีอันตรายต่อมนุษย์ เมื่อสูดดมเข้าไป แต่จะมีใครรู้หรือไม่ว่า น้ำยาแอร์ในสมัยใหม่ ก่อให้เกิดผลเสียเหล่านี้น้อยลงแล้วในปัจจุบัน น้ำยาแอร์ เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมเย็นของระบบทำความเย็น ซึ่งอาจจะแบ่งได้หลายประเภทตามขนาดการใช้งานที่เหมาะสม สำหรับเครื่องทำความเย็น บทความนี้จะช่วยให้เราได้เข้าใจว่า น้ำยาแอร์แบบไหนที่เป็นอันตรายบ้าง น้ำยาแอร์ที่ไม่อันตราย หมายถึง น้ำยาแอร์ที่ไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้ 1.น้ำยาแอร์ที่ไม่ทำลายชั้นโอโซน ( Ozone Depletion Potential หรือ OPD = ๐ )               – R410A เป็นน้ำยาแอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ประกอบด้วยสาร R125 และ R32 ผสมกัน มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูง ไม่ทำลายชั้นโอโซน แต่มี ค่า GWP (Global Warming

การจัดเก็บสารทำความเย็น

การจัดเก็บสารทำความเย็น ประเทศไทยเป็นประเทศเมืองร้อน ที่มีอุณหภูมิสูง  ยิ่งช่วงฤดูร้อนที่มอุณหภูมิสูงแตะ 40°C ในปี 2567 นี้ การจัดเก็บถังสารทำความเย็นอย่างปลอดภัย ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากแสงแดด และอากาศร้อน สามารถสร้างความเสียหายให้กับสารทำความเย็นที่จัดเก็บไว้ได้ ซึ่งหมายถึงอาจจะสร้างความเสียหายต่อระบบทำความเย็น ธุรกิจ และบุคลากรอีกด้วย  การจัดเก็บถังสารทำความเย็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากความร้อน ต่อไปนี้คือวิธีเก็บรักษาถังสารทำความเย็นที่ความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น สถานที่จัดเก็บ เก็บถังไว้ในที่เย็นและมีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อป้องกันการสะสมของก๊าซ หลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง ตัวการที่ทำให้สารทำความเย็นมีความดันเพิ่มขึ้น เช่น สถานที่ในอาคารที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกจะดีที่สุด อุณหภูมิ อุณหภูมิสูงสามารถเพิ่มแรงดันภายในถังน้ำยาได้ ซึ่งทำให้เกิดการรั่วไหลหรือชำรุด โดยทั่วไปแนะนำให้เก็บสารทำความเย็นไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 120°F (49°C) เพื่อลดแรงดันที่จะเพิ่มขึ้น การวางถัง ควรวางในตำแหน่งที่ปลอดภัย บนพื้นเรียบ หรือชั้นวางที่เหมาะสมที่ถูกออกแบบมาเพื่อยึดถังสารทำความเย็น และควรวางในลักษณะตั้งตรง ห่างจากทางเข้าประตูหรือทางเดินเพื่อป้องกันการชน กระแทก โดยไม่ตั้งใจ ตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ทั้งฉลากบนถังที่ชัดเจนด้วยประเภทสารทำความเย็น ตัวถัง วาล์ว ร่องรอยความเสียหายที่จะนำมาซึ่งการรั่วไหล และการกัดกร่อน แม้จะมีการจัดเก็บที่เหมาะสม แต่ผู้ใช้งานควรป้องกันตัวเองด้วยการสวมใส่แว่นตานิรภัย และถุงมือเสมอ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และมีการฝึกอบรมแก่บุคลากรที่รับผิดชอบ หรือจัดการสารทำความเย็น เพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ และรู้วิธีการจัดการได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะสารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติเป็นพิษ

ทริคการดูแลรถยนต์ในช่วงหน้าร้อนแบบง่ายๆ

ทริคการดูแลรถยนต์ในช่วงหน้าร้อนแบบง่ายๆ ทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าประเทศไทยนั้นมีอากาศร้อนแทบตลอดทั้งปี ยิ่งถ้าจอดรถยนต์ทิ้งไว้กลางแดดแล้ว ผู้ขับขี่จะพบว่าภายในตัวรถยนต์จะร้อนระอุ รถยนต์ที่ถูกจอดไว้กลางแดดเป็นเวลานาน ก็คงไม่ดีต่อรถยนต์ของคุณแน่ๆ วันนี้เราจึงมารวมทริคการดูแลรถยนต์แบบง่ายๆ เพื่อป้องกันและดูแลรถจากอากาศร้อนแบบมาฝากกัน เรื่องของหม้อน้ำ   ควรตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำว่าพร่องหรือน้อยไปหรือไม่ หากใช่ให้หมั่นเติมน้ำสะอาด และถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุกๆ 4-6 เดือน ถ้าเป็นใหม่ ควรตรวจสอบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากเป็นรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ควรตรวจสอบ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ยางรถยนต์และแรงดันลมยาง การเติมลมยางให้เหมาะสม ควรเติมให้มากขึ้นสัก 2-3 ปอนด์ เพื่อช่วยป้องกันการเปิดตัวของแก้มยาง ซึ่งหากปล่อยให้ยางอ่อน ควารร้อนอาจจะทำให้แก้มยาเกิดการบิดตัวมากและร้อนผิดปกติ จนส่งผลให้แรงดันภายในของยางรถสูงขึ้นจนระเบิดได้ การเติมลมยางที่เหมาะสมยังช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในหน้าร้อนได้ด้วย การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง   การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะเวลาที่คู่มือกำหนดไว้นั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยในหน้าร้อน เพราะหากปล่อยให้น้ำมันเครื่องแห้งในหน้าร้อนนั้น อาจจะส่งผลทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้และยังทำให้รถยนต์ของคุณกินน้ำมันมากขึ้นอีกด้วย หมั่นขยับส่วนประกอบที่เป็นยาง เนื่องจากความร้อนของอากาศหรือแดด อาจทำให้วัสดุที่เป็นยางละลายจนเหนียวและด้าน  เมื่อถึงเวลาใช้งานจึงฉีกขาดได้ ทางที่ดีอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งหมั่นเปิด-ปิด ให้ขอบยางได้ขยับบ้าง ไม่ว่าจะเป็นที่ปัดน้ำฝน หน้าต่าง ประตูหลัง กระโปรงท้ายรถยนต์ หรือหลังคาซันรูฟ หลีกเลี่ยงการขับเร่งเครื่องและเบรกกะทันหัน เนื่องจากจะทำให้เกิดอันตรายแล้ว การเร่งเครื่องและเบรกรถแบบกระทันหันเมื่อถูกบวกกับสภาพอากาศที่ร้อนระอุ อาจทำให้รถยนต์ของคุณกินน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกด้วย

อากาศหนาวแล้ว เปิดเครื่องปรับอากาศยังไง ให้เซฟเงินในกระเป๋า

อากาศหนาวแล้ว เปิดเครื่องปรับอากาศยังไง ให้เซฟเงินในกระเป๋า             ปลายฝนต้นหนาวแบบนี้เชื่อได้เลยว่าหลายคนกำลังฟินกับบรรยากาศอยู่แน่นอน เพราะช่วงนี้นอกจากจะมีที่เที่ยวหน้าหนาว ให้ได้ปักหมุดเช็คอินกันหลายที่แล้ว เพราะอากาศในแต่ละวันช่วงนี้เรียกว่ากำลังดี ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป อีกทั้งตอนนี้หลายพื้นที่ก็กำลังเตรียมตัวเข้าหน้าหนาวกันเต็มรูปแบบ คราวนี้ใครมีแฟชั่นหน้าหนาว เสื้อกันหนาว หรือลุควินเทอร์ ก็เตรียมปัดฝุ่นออกมาสวมใส่กันได้เลย             แต่ใช่ว่าเข้าหน้าหนาวแล้วหลายบ้านจะลืมมิตรแท้ช่วงหน้าร้อนอย่างเครื่องปรับอากาศนะ เพราะเชื่อได้เลยว่าแม้ในบ้านจะมีอุณหภูมิที่หนาวเย็นหรืออุณหภูมิที่พอเหมาะสำหรับการนอนแล้ว แต่คืนไหนถ้าไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศกลับรู้สึกเหมือนขาดอะไรไปสักอย่าง นอนไม่หลับ หรือบางคนอาจรู้สึกหายใจไม่ออกกันเลยทีเดียว ซึ่งจริงๆ แล้วการเปิดเครื่องปรับอากาศช่วงหน้าหนาวไม่ใช่เรื่องผิด คุณสามารถเปิดใช้งานได้ตามต้องการ แต่หากใครต้องการเซฟค่าไฟในช่วงหน้าหนาว วันนี้เรามีเคล็ดลับกับอากาศหนาวที่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศยังไงให้ไม่เปลืองไฟมาบอกต่อ รับรองว่าหน้าหนาวนี้เตรียมโบกมือลาค่าไฟแพงไปได้เลยค่ะ  –  เลือกโหมดเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม             เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศแล้วสิ่งแรกที่ต้องทำคือ “เลือกโหมดแอร์” โดยโหมดที่เหมาะกับหน้าหนาวสุด ๆ คือ โหมดพัดลม หรือ Fan Mode เนื่องจากโหมดพัดลมจะทำหน้าที่ผลิตลมแต่ไม่ได้ทำความเย็นออกมา ดังนั้นการเลือกแอร์โหมดนี้จึงช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก อากาศไม่แห้ง และช่วยให้อุณหภูมิในห้องไม่เย็นเกินไป ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการใช้งานโหมด Cool Mode ที่ทำให้อากาศเย็นเกินไป และ Dry Mode หรือโหมดลดความชื้น เพราะจะทำให้อากาศในห้องแห้งกว่าเดิม –  ตั้งค่าปิดเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติ                 ในช่วงอากาศเย็นๆ การลดชั่วโมงการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ถือเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี ดังนั้นแนะนำว่าให้ตั้งค่าปิดเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติก่อนตื่นนอนประมาณ

การดูแลรถยนต์ในช่วงฤดูหนาว

การดูแลรถยนต์ในช่วงฤดูหนาว ปัญหารถยนต์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อทุกฤดูกาล เพราะฉะนั้นต้องหมั่นตรวจสอบสภาพรถยนต์เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ประเทศไทยเราก็เริ่มเข้าสู่หน้าหนาวกันแล้ว แต่ก็ยังเชื่อได้ว่า หลายๆคนตอนนี้ เริ่มได้สัมผัสกับอากาศที่เย็น ทั้งในช่วงเวลากลางคืนและในช่วงของเช้ามืด จนทำให้รู้สึกอยากออกไปสัมผัสกับอากาศที่เย็น เช่น ขึ้นดอย สัทผัสกับไอหมอก ไอหนาว วันนี้จะมาแนะนำวิธีการดูแลรักษารถยนต์ เพื่อเตรียมพร้อมไว้ใช้งานในช่วงฤดูหนาวและป้องกันการเกิดปัญหาเรื่องความเสียหายและอุบัติเหตุต่างๆ เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวเราและเพื่อนร่วมทาง                 สิ่งสำคัญในการดูแลรถยนต์ในช่างหน้าหนาวมีดังนี้ ระบบไล่ฝ้า เพราะความชื้นของอากาศภายในและภายนอกแตกต่างกัน จึงเกิดฝ้าที่กระจกได้ การขับรถในช่วงฤดูหนาว อุณภูมิที่ไม่สมดุลระหว่างดานในและด้านนอกรถ ทำให้ไอน้ำจับต้วเป็นละอองและเกิดฝ้าเกาะกระจกรถ ส่งผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง กรณีเกิดฝ้าที่กระจกมองข้างและกระจกรถยนต์ด้านหน้าในรถ ให้ทำการเพิ่มความเย็นเครื่องปรับอากาศ โดยเลื่อนสวิตซ์ระบบปรับอากาศไปที่ลัญลักษณ์ไล่ฝ้าที่กระจกหน้า หรือลดกระจกลงเล็กน้อย เพื่อปรับอุณภูมิในและนอกห้องโดยสารรถให้เกิดความสมดุลกัน จะช่วยให้ละอองฝ้าจางหายไปได้ ในกรณีที่เกิดฝ้าที่กระจกรถด้านนอก ให้เปิดใช้อุปกรณ์ที่ปัดน้ำฝน และฉีดน้ำเช็ดกระจกควบคู่กันไป จะสามารถช่วยไล่ละอองฝ้าและขจัดคราบสกปรกบนกระจก ในขณะที่เกิดฝ้าที่กระจกรถยนต์ด้านหลังรถ ให้เปิดปุ่มไล่ฝ้าเพื่อให้ขดลวดความร้อนบริเวณกระจกด้านหลังของรถยนต์ทำงาน หากละอองฝ้าเริ่มจางหายไป ให้ปิดปุ่มไล่ฝ้าเพราะความร้อนจะทำให้กระจกรถและฟิมส์กรองแสงเสื่อมสภาพการใช้งานเร็วขึ้น สัญญาณไฟ โดยที่นี้จะเหมารวมทั้งไฟเลี้ยว ไฟเบรก และไฟตัดหมอก เนื่องจากการขับขี่บนท้องถนนจะเต็มไปด้วยผู้ร่วมเส้นทางมากมาย การให้สัญญาณต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำทุกครั้ง ยิ่งช่วงในฤดูหนาวที่อาจจะมีหมอกที่ลงจัดในบางช่วง ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดน้อยลงอย่างมาก ซึ่งถ้าไฟต่างๆ ที่กล่าวมาเกิดการชำรุดใช้งานไม่ได้ นั่นอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นอย่างไม่คาดคิด ดั้งนั้นผู้ขับขี่ควรตรวจสอบและเปลี่ยนหลอดไฟใฟ้สว่างและใช้งานได้ปกติอยู่เสมอ ระบบเบรก ก่อนขับรถทุกครั้งการตรวจเช็คผ้าเบรกกับน้ำมันเบรกคือสิ่งที่สำคัญมากอย่างมาก เพราะไม่ว่าคุณจะขับไปใกล้หรือไกลแค่ไหนก็ตาม

ตู้เย็น ไม่เย็น เกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง

ตู้เย็น ไม่เย็น เกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง  ในปัจจุบันตามที่พักอาศัยรวมถึงออฟฟิศต่างๆมีตู้เย็นไว้ใช้งาน เพราะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อใช้ในการช่วยถนอมอาหารต่างๆทั้งผัก เนื้อสัตว์ รวมถึงสิ่งของอื่นๆ เพื่อช่วยรักษาคุณค่าสารอาหารของสินค้า และทำให้อาหารและสินค้าเหล่านั้นอยู่ได้นานขึ้นและมีคุณภาพสารอาหารคงเดิม รวมถึงเครื่องดื่มต่างๆที่ต้องการความเย็น เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ยิ่งช่วงอากาศร้อนมากๆตู้เย็นก็จะถูกใช้งานบ่อยกว่าปกติ  อาจมีการเปิดปิดมากครั้ง ทำให้ตู้เย็นทำงานหนักและยังอาจทำให้พบเจอปํญหาต่างๆหรือความผิดปกติได้ ซึ่งบางทีเกิดขึ้นโดยที่เราเองคาดไม่ถึงว่าจะทำให้ตู้เย็นไม่เย็นได้หรือส่วนประกอบอื่นๆก็มีส่วนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้สามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยปฏิบัติดังนี้ -อย่าแช่ของเยอะเกินไป ทั้งของแห้ง ของสด ขนมรวมทั้งอาหารต่างๆ ที่ทานไม่หมดก็ยัดๆเข้าไปในตู้โดยไม่มีการจัดระเบียบที่ดี ทำให้ไม่มีพื้นที่ว่าง ทำให้ตู้เย็นทำงานได้ไม่เต็มที่ และความเย็นไปได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นควรต้องจัดเก็บให้เป็นระเบียบ อะไรไม่จำเป็นหรือของที่เน่าเสียแล้วก็ควรทิ้งไป และหมั่นเคลียร์บ่อยๆเพื่อให้มีพื้นที่ว่าง ระบบความเย็นจะได้ทำงานได้อย่างทั่วถึง –ไม่เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยหรือเปิดค้างไว้นาน ก่อนที่จะเปิดตู้เย็นควรที่จะวางแผนก่อนว่าจะหยิบจะใช้อะไรบ้าง แล้วสิ่งที่ใช้อยู่ตำแหน่งไหนในตู้ เพื่อที่จะหยิบได้เร็วขึ้น ไม่ต้องเปิดตู้เย็นค้างไว้นานๆ และเปิดปิดบ่อยๆ ซึ่งจะทำให้ความเย็นในตู้ลดลงได้ เพราะความเย็นจะระบายออกมาเวลาเปิดใช้งาน และควรปิดให้สนิททุกครั้ง –ปรับอุณหภูมิไม่เหมาะสม ในตู้เย็นจะมีปุ่มปรับระดับความเย็นทั้งในแบบดิจิตอลและปุ่มกด ซึ่งควรปรับให้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ควรตั้งค่าต่ำเกินไปอาจจะทำให้ตู้เย็นไม่เย็น –ยางขอบตู้เย็นเสื่อมสภาพ หากตู้เย็นมีการใช้งานมานาน ควรจะสังเกตุดูว่าเวลาปิดตู้เย็นแล้วสนิทหรือไม่ เพราะถ้าไม่สนิทหรือยางขอบตู้เย็นเสื่อมสภาพแล้ว ให้ควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะอาจทำให้ความเย็นรั่วไหลออกไปได้ –ใส่ของที่ยังร้อนอยู่เข้าไปแช่ในตู้เย็น ซึ่งไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะความร้อนที่เข้าไปจะยิ่งทำให้ตู้เย็นทำงานหนักและส่งผลต่ออุณหภูมิภายในตู้เย็น ควรรอให้ของที่จะแช่หายร้อนก่อนจึงค่อยนำเข้าไปแช่จะดีกว่า. –วางตู้เย็นผิดตำแหน่งในที่ตั้ง ไม่ควรวางติดกับผนังจนเกินไป เพราะตู้เย็นจะมีพัดลมเพื่อระบายความร้อนในการทำงาน

โลกร้อนกับน้ำยาแอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร

โลกร้อนกับน้ำยาแอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร                 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาบางท่านอาจะเคยได้ยินในเรื่องของน้ำยาแอร์ที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นอันตรายต่อมนุษย์หากมีการสูดดมเข้าสู่ร่างกาย แต่ในยุคสมัยใหม่น้ำยาแอร์ก่อให้เกิดผลเสียเหล่านั้นน้อยลงแล้วในปัจจุบัน น้ำยาแอร์เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเย็นในระบบของระบบทำความเย็นต่างๆ จะมีหลายประเภทตามขนาดการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับเครื่องทำความเย็น ในอดีตนั้นน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นมีความคงตัวค่อนข้างสูง และมีประสิทธิภาพต่ออุปกรณ์ทำความเย็น แต่จะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมแถมยังมีผลต่อผู้ที่สูดดมน้ำยาแอร์เข้าไปในร่างกายเมื่อเกิดการรั่วไหล ด้วยสารประกอบในน้ำยาแอร์ที่เป็นพิษหลายชนิดที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนและทำให้อุปกรณ์ทำความเย็นเสื่อมสภาพได้ง่าย                 ในระบบทำความเย็น จะสร้างความเย็นและดูดความร้อนได้ด้วยน้ำยาแอร์ ซึ่งเป็นตัวกลางที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำให้เกิดความเย็นได้ ด้วยการเดินทางไปตามอุปกรณ์ทำความเย็นและเปลี่ยนสภาพเป็นทั้งของเหลวและก๊าซเพื่อให้กระบวนทำความเย็นมีประสิทธิภาพ ด้วยการทำงานที่ต้องเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดการทำงานของเครื่องทำความเย็น น้ำยาแอร์จึงต้องมีเสถียรภาพในการเปลี่ยนสถานะและไม่กัดกร่อนอุปกรณ์ทำความเย็นอื่นๆอีกด้วย สารทำความเย็นหลายชนิดเป็นตัวการที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจากการประเมินของค่าดังนี้ ค่า GWP (Global Warming Potential) หมายถึง ศักยภาพในการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกของสารทำความเย็น โดยค่า GWP ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหลัก มีค่าเท่ากับ 1.0 ดังนั้นหากสารทำความเย็นชนิดอื่นมีค่า GWP เท่ากับ 1000 ซึ่งจะหมายความว่าสารทำความเย็นชนิดนั้นมีโอกาสทำให้โลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ 1000 เท่า ค่า ODP (Ozone Depletion Potential) หมายถึง ศักยภาพในการทำลายโอโซนในชั้นสตาโตสเฟียร์ของสารทำความเย็น โดยค่า ODP ของสารทำความเย็น R11 ซึ่งเป็นสารทำความเย็นรุ่นแรกที่ใช้กันแพร่หลาย มีค่าเท่ากับ 1.0 ดังนั้นสารทำความเย็ฯชนิดอื่นมีค่า