สารทำความเย็นในตู้เย็นเชิงพาณิชย์ (Commercial Refrigerators & Freezers)

สารทำความเย็นในตู้เย็นเชิงพาณิชย์ (Commercial Refrigerators & Freezers)

ตู้เย็นเชิงพาณิชย์เป็นส่วนหนึ่งของ Cold Chain หรือห่วงโซ่ความเย็นที่รองรับผลผลิตของเศรษฐกิจที่แปรสภาพก่อนถึงมือผู้บริโภค เราใช้กันอย่างแพร่หลายในการจัดเก็บและขายเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม ผลไม้ ผัก และไอศกรีม มีตั้งแต่แช่เย็นในอุณหภูมิทั่วไป ถึงแช่แข็ง มีให้ผู้ประกอบการเลือกสรร ตั้งแต่ 1 ประตู 2 ประตู แบบทึบเปิดจากด้านบน หรือแบบม่านอากาศ เป็นต้น  เมื่อกล่าวเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ในตู้เย็นเชิงพาณิชย์ หรือตู้แช่ตามห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ตต่างๆ ขอยกสารทำความเย็น 3 ตัวมาให้ทุกท่านพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสียดังนี้

R-404A

R-404A

สารทำความเย็น R404a เป็นน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นในกลุ่ม HFC ตัวเด่นในตลาด Low Temp ไปจนถึง Freezer ที่เข้ามาทดแทน น้ำยาแอร์ R22 และ น้ำยาแอร์ R502 เหมาะสำหรับ ตู้เย็นในซูปเปอร์มาร์เก็ต หรือ อุตสาหกรรมความเย็นต่างๆ มีอัตราส่วนผสมของน้ำยาแอร์ R-143a/R-125/R-134a  เป็นสารทำความเย็นที่ราคาไม่สูงมาก เพราะมีผู้ใช้อย่างแพร่หลาย

R-507

R-507

สารทำความเย็น R-507 เป็นน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นในกลุ่ม HFC ซึ่งใช้แทนสารทำความเย็น R502 และ R22 ในเครื่องทำความเย็นอุณหภูมิกลางและต่ำเหมาะสำหรับการทำความเย็นเชิงพาณิชย์ รวมถึงรถขนส่งที่ต้องใช้ความเย็น มีอัตราส่วนผสม R125 และ R143a อย่างละ 50% ข้อดีของสารทำความเย็น R-507 หากต้องมีการซ่อมแซมเมื่อระบบรั่ว สามารถเติม Top Up สารทำความเย็นเข้าไปในระบบได้ทันทีซึ่งทำให้ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจสะดวกขึ้น เพราะสามารถซ่อมแซมเรียกคืนความเย็นได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายสินค้าในระหว่างซ่อมแซม และประหยัดค่าสารทำความเย็นได้มาก

R449A

สารทำความเย็น R449A เป็นสารทำความเย็นชนิดไม่ติดไฟ ที่กำลังจะมาแทนที่สารทำความเย็น R-404A เป็นน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นในกลุ่ม Hybrid (HFCs + HFOs) เริ่มเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์รายใหญ่มากมาย และถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากสารทำความเย็น R449A ให้ค่า GWP ต่ำ (GWP=1397) กว่าสารทำความเย็น 404A และสารทำความเย็น R507 ในขณะเดียวกันก็ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า สามารถใช้ได้ในเชิงพาณิชย์และเชิงอุตสาหกรรมเช่นซูเปอร์มาร์เก็ต , ห้องเย็นและ Food Service ต่างๆ

ดังที่กล่าวมา 3 สารทำความเย็นในตู้เย็นเชิงพาณิชย์ ถือว่ามีข้อดีข้อเสียต่างกันอยู่บางจุด อย่างเช่นสารทำความเย็น R404a และสารทำความเย็น R449a หากมีการรั่วของระบบจะไม่สามารถเติม Top Up ได้เลยเหมือนสารทำความเย็น R507 จำเป็นต้องมีการแวคคั่มน้ำยาแอร์ออกเพื่อเติมเข้าไปใหม่ทั้งระบบ และแม้ราคาของ R404a จะถูกกว่า แต่ก็ต้องแลกด้วยสาร GWP ที่สูง ต่างจาก R449A ที่มีค่า GWP ต่ำกว่า การเติบโตของตู้เย็นที่ใช้ในครัวเรือน และเชิงพาณิชย์ เติบโตขึ้นมากหลังวิถี New Normal ผู้บริโภคต้องการกักตุนอาหารและเครื่องดื่มในปริมาณเพิ่มมากขึ้น รวมถึงหลายท่านเริ่มหันมาเป็นผู้ประกอบการทางด้านค้าขายออนไลน์อีกด้วย ซึ่งนำไปสู่ความต้องการตู้แช่แข็งขนาดเล็ก รวมถึงตู้เย็นแบบต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีของตู้เย็นเชิงพาณิชย์ก็พัฒนาเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทั้งในเรื่องของวิธีการควบคุมอุณหภูมิด้วยแผงควบคุมคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับสารทำความเย็นตัวใหม่ๆ ได้มากขึ้นเช่นกันทั้งนี้การเลือกสารทำความเย็นให้เหมาะสมกับตู้เย็น และการใช้งานเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากสารทำความเย็นที่มีคุณภาพ สามารถทำความเย็นให้ท่านได้อย่างมี ประสิทธิภาพแล้ว ควรดูค่า GWP และเรื่องของการซ่อมบำรุงประกอบด้วย

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับน้ำยาแอร์ชนิดต่างๆสำหรับเครื่องปรับอากาศรถยนต์, เครื่องปรับอากาศอาคาร, ตู้แช่,ห้องเย็น  และเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ แบบครบวงจร สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ยินดีให้ข้อเสนอแนะ และคำปรึกษาเกี่ยวกับน้ำยาแอร์ สนใจ สามารถติดต่อได้ที่Line : @namyaair  หรือ โทร. 094-341-3124

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *