หลักการทำงานของระบบแอร์รถยนต์

หลักการทำงานของระบบแอร์รถยนต์

ปัจจุบัน รถยนต์เข้ามามีบทบาทส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ช่วยทำให้การเดินทางสะดวกสบายมากขึ้น เพราะด้วยอากาศของเมืองไทยบ้านเราเป็นเมืองร้อน แอร์รถยนต์ จึงเป็นส่วนสำคัญทำให้อากาศภายในรถยนต์เกิดความเย็นสบาย ทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ เราผู้ใช้รถยนต์ ควรรู้หลักการทำงานของระบบแอร์รถยนต์บ้าง ว่าในระบบมีอะไรตัวไหน ทำหน้าที่อย่างไร เรามาทำความรู้จักดังนี้

หลักการทำงานของระบบแอร์รถยนต์  เป็นระบบทำความเย็นแบบอัดไอหรือก๊าซ โดยที่คอมเพรสเซอร์ (COMPRESSOR) จะทำหน้าที่ดูดสารทำความเย็นจากอีวาโปเรเตอร์ (EVAPORATOR) สารทำความเย็น ในขณะนั้นยังมีสถานะเป็นแก๊สและคอมเพรสเซอร์ ยังทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นออกไปที่คอนเดนเซอร์ (CONDENSER) ทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิและความดันเพิ่มสูงขึ้น เมื่อสารทำความเย็นไหลผ่านคอนเดนเซอร์จะทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง จากนั้นสารทำความเย็นจะไหลต่อไปยัง รีซีฟเวอร์/ดรายเออร์ (RECEIVER/DRYER) เพื่อกรองสิ่งสกปรกและความชื้นที่ปนเปื้อนในสารทำความเย็นไหลไปที่ แอ็คเพนชั่นวาล์ว (EXPANSION VALVE) แล้วฉีดเป็นฝอยละอองเข้าไปใน อีวาโปเรเตอร์ ทำให้สารทำความเย็นมีความดันที่ต่ำและดูดความร้อนจากภายนอก เพื่อให้ได้สถานะที่กลายเป็นแก๊ส ทำให้อุณหภูมิภายนอกลดลง หลังจากนั้นสารทำความเย็นที่เป็นแก๊ส ก็จะถูกดูดเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ เพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่ วนซ้ำไปเรื่อยๆ

ส่วนประกอบของระบบแอร์รถยนต์ มีดังนี้

  1. คอมเพรสเซอร์ (COMPRESSOR)

    ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศติดรถยนต์ จะเป็นแบบเปิด และจะติดกับเครื่องยนต์ โดยใช้กำลังของเครื่องยนต์มาหมุนให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สูบฉีดสารทำความเย็นให้ไหลวนในระบบแอร์รถยนต์ โดยดูดสารทำความเย็นสถานะไอความดันต่ำจากตู้แอร์ และเพิ่มความดันเพื่อเปลี่ยนสถานะสารทำความเย็นเป็นไอความดันสูง ก่อนที่จะส่งต่อไปที่คอนเดนเซอร์ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คอมเพรสเซอร์มีเสียงดัง อาจมี สาเหตุจากตัวคอมเพรสเซอร์ หรือ ตัวอุปกรณ์อื่นๆ  หรือไม่คอมเพรสเซอร์ไม่มีกำลังอัด หรือคอมเพรสเซอร์รั่ว ควรหาช่างที่ชำนาญการทำการแก้ไขโดยเร็ว

  1. คอนเดนเซอร์ (CONDENSER)

    ทำหน้าที่ปรับสารทำความเย็นที่มีความดันสูง ในสถานะแก๊สจากคอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายเทความร้อนของสารทำความเย็นที่ได้รับความร้อนมาจากอีวาโปเรเตอร์ จากกระบวนการอัดทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิต่ำลง ในสถานะของ แก๊สผสมของเหลว และจะส่งต่อไปยังรีซีฟเวอร์/ดรายเออร์ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ เนื่องจากคอนเดนเซอร์ติดตั้งอยู่หน้าหม้อน้ำรถยนต์ ทำให้ขณะวิ่งโอกาสที่จะมีฝุ่นละออง หรือตัวแมลงติดคอนเดนเซอร์จะมีมาก ดังนั้นเพื่อป้องกันการระบายไม่ดี จึงมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ โดยใช้น้ำล้างและใช้แปรงถูอย่างสม่ำเสมอ และใช้ลมเป่าด้วย

  1. รีซีฟเวอร์/ดรายเออร์ (RECEIVER/DRYER)

    จะเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระหว่างคอนเดนเซอร์กับแอ็คเพนชั่นวาล์ว ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกและความชื้นจากระบบ ถ้าสารทำความเย็นมีความชื้นปนอยู่ จะทำให้เกิดการกัดกร่อนชิ้นส่วนต่างๆ ในระบบและจะกลายเป็นน้ำแข็ง ในอีวาโปเรเตอร์ ทำให้สารทำความเย็นในระบบไหลไม่สะดวก

  1. แอ็คเพนชั่นวาล์ว (EXPANSION VALVE)

    เป็นตัวควบคุมอัตราการไหลของสารทำความเย็นที่ไหลไปยังอีวาโปเรเตอร์มากหรือน้อย ตามต้องการ ซึ่งจะควบคุมโดยการรับสัญญาณอุณหภูมิที่ท่อทางออกของอีวาโปเรเตอร์ ซึ่งแอ็คเพนชั่นวาล์ว มี 3 แบบคือ แบบกำลังดันคงที่ แบบใช้ความร้อน แบบลูกลอย เป็นต้น

  1. อีวาโปเรเตอร์ (EVAPORATOR)

    หรือคอยล์เย็น มีหน้าที่รับน้ำยาที่เป็นของเหลวมีแรงดันต่ำและอุณหภูมิต่ำเข้ามา เปลี่ยนสถานะกลายเป็นแก๊สสารทำความเย็นจะดูดความร้อนจากอากาศโดยรอบ ทำให้อุณหภูมิของอากาศที่ถูกเป่าเข้าไปในห้องผู้โดยสารก็จะเย็นลง

จากบทความข้างต้น ทำให้เราทราบการทำงานของระบบแอร์รถยนต์ สามารถรู้ปัญหาและเข้าใจส่วนประกอบของระบบแอร์รถยนต์ต่างๆ หากเกิดปัญหาส่วนใดส่วนหนึ่ง เราสามารถรู้เบื้องต้นของอาการรถยนต์ได้ และเพื่อต่ออายุการใช้งานของรถยนต์ให้ยาวนานขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการขับขี่รถยนต์ที่ดีของเรา หากรถยนต์เรามีประสิทธิภาพที่ดี ความปลอดภัยในการขับขี่ก็ดีตามไปด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลแอร์รถยนต์ หรือ น้ำยาแอร์บ้าน อะไหล่แอร์บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม จำหน่ายน้ำยาแอร์บ้านทุกยี่ห้อ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบแอร์บ้านที่มีคุณภาพมาตรฐาน และมีพนักงานบริการตอบคำถามให้คำแนะนำจากประสบการณ์ด้านการจำหน่ายน้ำยาแอร์มากว่า 20 ปี ติดต่อที่Line : @namyaair  หรือ โทร. 094-341-3124

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *