เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับระบบทำความเย็น
ระบบทำความเย็นมีบทบาทและมีความสำคัญต่อสินค้าหลากหลายประเภท ซึ่งในปัจจุบันเราใช้ระบบทำความเย็นใน การผลิตอาหาร เช่น การผลิตนม ไอศกรีม การเก็บรักษาอาหาร หรือถนอมอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ให้มีอายุในการเก็บรักษานานขึ้นเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการจำหน่าย การผลิตในงานอุตสาหกรรม งานอุตสาหกรรมหลายประเภทที่ต้องอาศัยการทำความเย็นช่วยในกระบวนการผลิต การทำความเย็นเพื่อการขนส่ง เช่น ห้องเย็นที่ใช้ในเรือประมง เรือเดินทะเล หรือรถห้องเย็นที่ใช้ขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง และการปรับอากาศ เช่นที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศทั่วไป หรืองานปรับอากาศที่ใช้ในกระบวนการผลิตต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม
ประเภทของระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง
ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง มีความสำคัญยิ่งในการรักษาคุณภาพและยืดอายุของสด อย่างเช่น เนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล ผัก ผักไม้ รวมถึงสินค้าประเภทดอกไม้เจ้าของธุรกิจจึงควรพิจารณาสร้าง ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง สำหรับเก็บสินค้าโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของสินค้านั้น ๆซึ่ง ประเภทของห้องเย็น ถูกแบ่งออกดังนี้
-
ห้องแช่แข็งลดอุณหภูมิสินค้าด้วยลม (Air Blast Freezer Room)
-
ห้องแช่แข็งเก็บรักษาสินค้า (Cold Storage Room หรือ Freezer Room)
-
ห้องแช่เย็นลดอุณหภูมิสินค้าด้วยลม (Air Blast Chill Room)
-
ห้องเย็นพักสินค้า (Anti Room)
-
ห้องแช่เย็น (Chilled Room)
ซึ่งจะเลือกใช้ ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ประเภทไหนขึ้นอยู่กับความต้องการนำไปใช้งานด้วยเช่นกัน
อุปกรณ์หลักในระบบทำความเย็น ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง
อุปกรณ์ทำความเย็นนั้นมีหลักการที่ทำให้เกิดความเย็นได้ด้วยการดูดเอาความร้อนจากในบริเวณที่ต้องการมาเปลี่ยนเป็นความเย็นไปทดแทนในบริเวณที่ต้องการทำความเย็นมีอุปกรณ์พื้นฐาน ดังนี้ Evaporator หรือคอยล์เย็น คอยล์เย็น (Evaporator) เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็นซึ่งจะทำหน้าที่ควบคู่ไปกับสารทำความเย็น โดยทำให้สารทำความเย็นเดือดจนมีสถานะกลายเป็นไอและสามารถดูดซับความร้อนจากพื้นผิวของคอยล์เย็นได้ และจะส่งต่อความเย็นนี้ผ่านระบบท่อลมหรือพัดลมเพื่อกระจายความเย็น Compressor หรือเครื่องอัดไอ เมื่อสารทำความเย็นในสถานะที่เป็นไอไหลออกมาจากคอยล์เย็น จะมีความดันต่ำและมีสถานะเป็นไอของสารทำความเย็นจากการอุณหภูมิที่สูงมาก เพราะสถานะเป็นไอของสารทำความเย็นดูดซับความร้อนจากอากาศโดยรอบที่ไหลผ่าน และจะไหลต่อไปยังเครื่องอัดไอได้ดี หน้าที่ของเครื่องอัดไอคือการดูดเอาสารทำความเย็นในรูปแบบที่เป็นไอ มาอัดให้มีความดันที่สูงขึ้นก่อนที่จะส่งไปควบแน่นต่อที่คอนเดนเซอร์หรือคอยล์ร้อน Condenser หรือคอยล์ร้อน สารทำความเย็นเมื่อเดินทางออกจากเครื่องอัดไอแล้วจะมีอุณหภูมิสูงและความดันสูงคอยล์ร้อน (Condenser) จะเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น เพื่อช่วยควบแน่นสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นไอให้กลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง Expansion Valve วาล์วลดความดัน วาล์วลดความร้อน (Expansion Valve) คือ ส่วนสุดท้ายของการทำความเย็นมีหน้าที่เพื่อช่วยทำให้ความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็นลดลงของสารทำความเย็นที่ส่งมาจากคอยล์ร้อนหรือ Condenser จะไหลผ่านวาล์วลดความดัน ซึ่งจะปรับลดความดันของสารทำความเย็นให้ต่ำลง ส่งผลให้สารทำความเย็นพร้อมที่จะระเหยตัวที่อุณหภูมิต่ำ ณ อุปกรณ์ถัดไปซึ่งก็คือคอยล์เย็น
สำหรับธุรกิจระบบทำความเย็นนั้นต้องหมั่นตรวจสอบอุณหภูมิของห้องและอุปกรณ์ต่างๆให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาและไม่ควรเกิดการรั่วซึม เพื่อป้องกันที่จะไม่เกิดความเสียหายกับสินค้าที่จัดเก็บ ซึ่งสินค้าบางอย่างมีมูลค่าที่สูงมาก และต้องจัดเก็บไว้ตลอด 24 ชม.เพื่อคงคุณภาพของสินค้านั้นๆไว้ ดังนั้นควรที่จะตรวจเช็คระบบให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ หากต้องการได้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบห้องเย็น สามารถโทรติดต่อสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็น ตู้แช่ทุกชนิด