ระบบปรับอากาศอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานที่ที่มีพื้นที่ใหญ่ เช่นโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงแรม อาคาร เพื่อให้ระบบปรับอากาศมีประสิทธิภาพ, ประหยัดพลังงานไฟฟ้า และควบคุมงบประมาณหรือต้นทุนได้ นั่นคือ ระบบชิลเลอร์ ระบบชิลเลอร์คือเครื่องทำความเย็นที่มีขนาดใหญ่ มีหน้าที่ปรับลดอุณหภูมิตัวสารทำความเย็นโดยใช้น้ำเป็นตัวหลักในการปรับ และในการถ่ายเทความเย็นจากตัวเครื่องชิลเลอร์ส่งไปยังเครื่องปรับอากาศในส่วนพื้นที่ต่างๆ เป็นต้นหลักการทำงานหลักของระบบชิลเลอร์ คือการควบคุมอุณหภูมิด้วยตัวกลางเช่น น้ำ หรือลมอากาศโดยใช้การแลกเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็น และนำความเย็นจากการแลกเปลี่ยนสถานะนั้นไปใช้งาน ระบบชิลเลอร์แบ่งเป็น2 ระบบ ดังนี้ ระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำ หลักการทำงาน คือ จะอาศัยน้ำเข้าไปใช้งานในระบบ โดยการนำเอาน้ำมาลดอุณหภูมิลง แล้วก็นำเอาน้ำจากท่อน้ำมาใช้งานภายในพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งในพื้นที่นี้ ก็จะเหมือนเป็นตู้แอร์ มาวางตามจุดต่างๆ น้ำที่ผ่านมาก็จะผ่านเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วปกติ มาผ่านคอยล์เย็น และก็จะมีโบเวอร์ทำหน้าที่ดูดลมเข้า และเป่าลมออก จะมีปล่องนำลมออกไปใช้งานในจุดต่างๆ จะทำให้เกิดความเย็นขึ้นในพื้นที่นั้นๆ เมื่อน้ำยาแอร์ซับความร้อนจากห้องนั้นมา จะกลายสภาพเป็นไอที่มีความดันต่ำก็จะระบายความร้อนด้วยน้ำ โดยการนำระบบคูลลิ่งเข้ามาช่วย เมื่อน้ำออกจากท่อที่ผ่านการใช้งานแล้ว ก็จะวนมาที่คอยล์เย็นเช่นเดิม บ่อพักน้ำ จะมี 2 จุด คือ ก่อนเข้าและหลังออก จากคอยล์เย็น เพื่อให้น้ำได้เกิดการหมุนเวียนได้ตลอดเวลา และการทำงานก็จะวนกลับเป็นระบบแบบนี้ไปเรื่อยๆ ระบบการระบายความร้อนด้วยอากาศ เป็นการใช้อากาศทั่วๆไป คล้ายระบบแอร์ ที่มีคอยล์ร้อนอยู่นอกอาคาร
Category Archives: น้ำยาแอร์ R22
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ภูมิอากาศของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น จึงทำให้ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 18- 38 องศาเซลเซียส ทำให้อากาศร้อนแทบทั้งปี จึงทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศกันเป็นส่วนใหญ่เพื่อความสุขสบายในการดำรงชีวิต เครื่องปรับอากาศตามที่อยู่อาศัยที่ใช้หลักๆในปัจจุบันมี 3 ชนิดแยกตามชนิดน้ำยาแอร์ที่ใช้คือ R22,R410A และ R32 เรามาทำความรู้จักคุณสมบัติและแรงดันน้ำยาแอร์แต่ละชนิดเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานมีดังนี้ แรงดันน้ำยาแอร์ R22 ที่อุณหภูมิ 30C◦จะมีความแรงดันที่ 150-160 Psi โดยที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นก็จะทำให้แรงดันน้ำยาแอร์สูงขึ้น และอุณหภูมิลดลงก็จะทำให้แรงดันน้ำยาแอร์ลดลงด้วย สำหรับเครื่องมือที่ใช้วัดแรงดันน้ำยาแอร์ R22 คือเกจ์วัดน้ำยาแอร์วิธีการดูเกจ์วัดน้ำยาแอร์ที่ใช้วัดน้ำยาแอร์ R22 คือ ให้ดูอแดปเตอร์ที่ติดมากับตัวเกจ์และสายที่ติดมากับตัวเกจ์สายฝั่งสีแดงและสีน้ำเงิน จะเป็นขนาด 1/4 หรือขนาด 2 หุน หน้าปัดแรงดันฝั่ง HI จะอยู่ไม่เกิน 500 Psiหน้าปัดฝั่ง LOW จะอยู่ที่ 120 Psi สำหรับเกจ์วัดน้ำยาแอร์ R22จะใช้ร่วมกับ เกจ์วัดน้ำยาแอร์ R410A และ R32 ไม่ได้เพราะR22จะมีแรงดันที่ต่ำกว่า ถ้านำมาใช้อาจทำให้เกจ์วัดแรงดันเสียหายได้ แรงดันน้ำยาแอร์ R410A ที่อุณหภูมิ 30C◦
เมื่อโลกไม่ได้หยุดหมุน การคิดค้นพัฒนาของมนุษย์ก็ไม่หยุดเช่นเดียวกัน จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ระบบทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ มีการพัฒนามาจากรุ่นสู่รุ่น น้ำยาแอร์ที่ใช้ในระบบทำความเย็นก็มีการพัฒนาไปด้วย เนื่องจากเหตุผลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาวะอากาศที่ร้อนขึ้นทุกวัน การทำลายชั้นบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ความทันสมัยของเทคโนโลยีใหม่ๆของเครื่องปรับอากาศ จากจุดเริ่มต้นที่เราใช้เครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยาแอร์บ้าน R22 แต่เมื่อใช้ไปจะมีผลต่อการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ จึงได้มีการพัฒนาเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยาแอร์ R410A แต่น้ำยาแอร์ R410A ยังทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และ เครื่องปรับอากาศที่พัฒนาต่อจากที่ใช้น้ำยาแอร์ R410A คือ R32 คุณสมบัติไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศโลก และก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยกว่าการใช้น้ำยาแอร์ R410A ถึง 3 เท่า ในบทความนี้จะสรุปความแตกต่างของ น้ำยาแอร์ R22,R410A และ R32 ดังนี้ 1.น้ำยาแอร์ R22 เป็นน้ำยาแอร์บ้านรุ่นเก่าโดยคุณสมบัติของน้ำยาแอร์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และเป็นสารที่ไม่มีติดไฟ ค่า (ODP =0.05) เป็นค่าที่สามารถทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนได้ และการเติมน้ำยาเข้าระบบ R22 สามารถเติมเพิ่มได้เลย ปัจจุบันรัฐบาลอยู่ในขั้นตอนการละ ลด เลิกน้ำยาแอร์ R22 และจะต้องหยุดใช้ไปในที่สุด 2.น้ำยาแอร์
น้ำยาแอร์ หรือ น้ำยาทำความเย็น เป็นสารระเหยที่ใช้ในระบบเครื่องปรับอากาศทั่วไป รวมไปถึงเครื่องทำความเย็นต่างๆทั้งในบ้านเรือนที่พักอาศัย ระบบอาคาร ระบบแอร์รถยนต์ และระบบตู้แช่ ห้องเย็น รวมถึงอุตสาหกรรมแช่แข็งด้วย ซึ่งระบบต่างๆที่กล่าวมานั้นต้องใช้น้ำยาทำความเย็นแทบทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าคอมเพรสเซอร์ของระบบทำความเย็นนั้นๆ จะต้องใช้น้ำยาแอร์ตัวไหน การใช้น้ำยาแอร์ให้เหมาะสมกับการทำความเย็นระบบนั้นๆจึงเป็นสิ่งสำคัญ น้ำยาแอร์ที่ใช้กับระบบปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัย หลักๆคือ R22 R410Aและ R32 น้ำยาทั้งสามตัวนี้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน วิธีการใช้ตัวน้ำยาจึงมีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ คุณสมบัติของน้ำยาทำความเย็น R22 R410A และ R32 R22 เป็นสารประกอบเดียว มีค่าความสามารถทำลายชั้นบรรยากาศต่ำ (ODP=0.05) คุณสมบัติของตัวน้ำยาไม่มีสี และไม่มีกลิ่นและเป็นสารที่ไม่ติดไฟจึงถือว่ามีความปลอดภัยที่จะใช้สำหรับระบบเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันภายในอาคาร บ้านเรือน และอุตสาหกรรมแช่แข็งทั่วไป R410A เป็นสารผสม R125+R32 เป็นน้ำยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทดแทน R22 เพื่อลดภาวะการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (ODP=0) แต่ยังทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกที่ยังสูงอยู่ ใช้แทน R22 ในส่วนของเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน และอาคารทั่วไป R32 เป็นสารประกอบเดียว ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (ODP=0) และก่อให้เกิดค่าสภาวะเรือนกระจกที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำยาแอร์ตัวอื่น ใช้แทน R22 ใช้ส่วนของเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน
วิธีการเติมน้ำยาแอร์บ้าน R32 ด้วยตัวเองง่ายๆ ทำอย่างไร Step by Step ในหน้าร้อน สภาพอากาศที่ร้อนมากมักจะกระทบต่อแอร์ หรือเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัย และปัญหาของเครื่องปรับอากาศที่พบได้บ่อย แอร์ไม่เย็น เนื่องจากน้ำยาแอร์บ้านไม่พอ น้ำยาแอร์ขาดไป ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่พอจะมีฝีมือช่าง การเติมน้ำยาแอร์เองเบื้องต้นก็อาจจะพอทำได้เอง น้ำยาแอร์บ้าน ที่อยู่ในระบบเครื่องปรับอากาศทั่วไปมีหน้าที่ทำความเย็นให้กับเรา และที่รู้จักกันทั่วไปหลักๆในระบบเครื่องปรับอากาศจะมีน้ำยาแอร์ R22 , R410A และ R32 ซึ่งส่วนมากตัวที่เป็นที่นิยมในตอนนี้จะเป็นน้ำยา R32 เพราะสามารถทำความเย็นได้เร็วกว่าและประหยัดกว่า น้ำยาแอร์ R32 คืออะไร? มีกี่ประเภท? น้ำยาแอร์ R32 หรือ ไดคลอโรดิฟลูออโรเมทาน (Dichlorodifluoromethane) เป็นสารที่ใช้ในระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็น น้ำยาแอร์ชนิดนี้มีคุณสมบัติทางความร้อนที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับน้ำยาแอร์ชนิดเก่าๆ อย่าง R22 และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ R32 ยังมีความสามารถในการทำความเย็นที่ดีขึ้น ซึ่งทำให้เครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยาแอร์ชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น น้ำยาแอร์ R32 มีเพียงหนึ่งประเภท คือ HFC-32 (Hydrofluorocarbon-32) ที่มีสูตรโมเลกุล CH2F2 อย่างไรก็ตาม น้ำยาแอร์
- 1
- 2