สารทำความเย็นสำหรับตู้แช่ในอนาคตช่วยลดค่า GWP สารทำความเย็น HFO ย่อมาจาก Hydrofluoroolefin ซึ่งเป็นสารทำความเย็นสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่ได้รับการออกแบบให้มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อน (GWP) ต่ำกว่าสารทำความเย็นประเภทไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ผลิตขึ้นโดยการรวมอะตอมของไฮโดรเจน ฟลูออรีน และคาร์บอนเข้าด้วยกันในการจัดเรียงเฉพาะเพื่อสร้างโมเลกุลที่มีคุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์ที่พึงประสงค์และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ โดยปกติสารทำความเย็น HFO จะมีค่า GWP น้อยกว่า 10% ของสารทำความเย็น HFC แบบดั้งเดิม ทำให้สารทำความเย็น HFO เป็นตัวเลือกสำหรับอนาคตที่น่าสนใจสำหรับระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศที่ต้องการประสิทธิภาพสูงและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สารทำความเย็น R449A สารทำความเย็นR449A สามารถใช้ทดแทน R-404A และ R-507 ในระบบทำความเย็นใหม่และติดตั้งเพิ่มเติม เป็นสารทำความเย็นผสม HFC+HFO จัดประเภทความปลอดภัยในระดับ A1 ไม่ติดไฟ มีค่า GWP = 1397 ซึ่งต่ำกว่าสารทำความเย็นอื่นๆ ที่ใช้กันทั่วไป เช่น R404A ที่มี GWP = 3922สามารถใช้งานได้หลากหลาย เนื่องจากให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นที่คล้ายคลึงกัน ในขณะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า ซึ่งที่ผ่านมา สารทำความเย็นอย่าง R404A
Category Archives: น้ำยาแอร์ตู้แช่
การจัดการห่วงโซ่ความเย็น Cold Chain Management ในประเทศไทย ธุรกิจร้านอาหาร และการขยายแฟรนไชส์ รวมถึงธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งผลิตภัณฑ์ด้านอาหารมีการเติบโตขึ้นมาก ส่งผลให้ธุรกิจ Cold Chain Management หรือการจัดการห่วงโซ่ความเย็นเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบขนส่ง และระบบเครื่องย้ายวัตถุดิบที่ต้องใช้เวลานาน ได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณภาพสินค้าให้ดีมากขึ้น จากข้อมูลธุรกิจระบบการจัดส่งของไทย พบว่า ธุรกิจ Cold Chain Logistics ที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่ความเย็น เติบโตมากขึ้น และ โดยเฉพาะช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ Covid-19 การใช้ชีวิตวิถีใหม่ พฤติกรรมของผู้บริโภค ที่หันมาบริโภคอาหารแปรรูปมากขึ้น รวมถึงการเปิดเสรีการค้าที่ทำให้ภาคการส่งออกไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร หรืออาหารทะเลแช่แข็ง จึงทำให้ธุรกิจ Cold Chain Mangement มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีที่สิ้นสุด การจัดการห่วงโซ่ความเย็นคือการควบคุมอุณหภูมิให้ต่ำกว่าสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการทางเทคโนโลยีที่ช่วยคงความสมบูรณ์และคุณภาพของสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ปัจจัยห่วงโซ่ความเย็นที่สำคัญมีอยู่ 4 ประการได้แก่ ระบบทำความเย็น (Cold System) คือการปรับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับการเก็บรักษา ห้องเย็น (Cold Storage) เป็นห้องที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิสำหรับการจัดเก็บสินค้าได้อย่างเหมาะสมตามประเภท และชนิดสินค้านั้นๆ การขนส่งโดยควบคุมอุณหภูมิ
น้ำยาในกลุ่ม HFCs จะถูกแบนแล้วหรือ? เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ระบบทำความเย็น เกือบทั้งหมดซึ่งต้องใช้สารทำความเย็น หรือที่เรียกว่า น้ำยาแอร์ (Refrigerants) สารทำความเย็นที่ถูกใช้ในปัจจุบันจะเป็นประเภทสาร HFCs เช่น R32 ,R410A,R134a เป็นต้น เพื่อจะมาทดแทนสารทำความเย็นประเภท HCFCs อย่างน้ำยา R22 ซึ่งเป็นสารทำความเย็นที่ถูกลดเลิกในการผลิตแล้ว สารทำความเย็น HFCs ถึงจะเป็นสารที่มีศักยภาพในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนต่ำ (OPD) แต่เป็นสารที่มีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนสภาวะเรือนกระจกที่สูง (GWP) ในการประชุมของประเทศภาคีสมาชิกพิธีสารมอนทรีออล ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2016 ที่ กรุงคิกาลี (Kigali) และได้มีข้อตกลงร่วมกัน ที่เรียกว่า Kigali Amendment ในการลดปริมาณการใช้ และการผลิต สารทำความเย็นประเภท HFCs ลดลงอีก 85% ของปริมาณการใช้ในปัจจุบัน ซึ่งจะมีแผนการลดการใช้สารเหล่านี้ กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เกือบทั้งหมดจะเริ่มมีการควบคุมปริมาณอย่างต่ำ 10% ในปี ค.ศ. 2019 เป้าหมายที่จะให้ลดลง 85% ในปี
เลือกห้องเย็น (Cold Room) แบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจ ในประเทศไทยธุรกิจระบบห้องเย็นมีหลายแบบหลายขนาดขึ้นอยู่กับรูปแบบ สินค้า และพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าแต่ละชนิด ซึ่งรวมถึงอุณหภูมิที่ต้องการจัดเก็บสินค้าด้วยจะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งานและสินค้าที่ต้องการจัดเก็บ เพราะสินค้าแต่ละชนิดก็มีความต้องการอุณหภูมิความเย็นที่ไม่เหมือนกัน เช่น อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ต้องการอุณหภูมิที่ความเย็นจัด ส่วนพวกเครื่องดื่ม ผัก ผลไม้ ยาและเวชภัณฑ์ ต้องการอุณหภูมิที่ความเย็นไม่มาก เพราะถ้าหากเย็นเกินไป อาจทำให้สินค้าเสียหายได้ ดังนั้นการเลือกห้องเย็นแบบไหนให้เหมาะสมกับธุรกิจของเรานั้น จะต้องดูสินค้าที่จะเก็บเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งสามารถแบ่งได้หลักๆตามการใช้งานได้และรูปแบบทั่วๆไปได้ ดังนี้ ห้องเย็นมีขนาดแบบไหนบ้าง โดยขนาดห้องเย็นถ้าเป็นแบบเคลื่อนย้ายได้ ส่วนใหญ่ด้านกว้าง จะมีขนาด 2.4 เมตร ความยาว จะมีขนาดไม่เกิน 6 เมตร เพราะต้องยกเคลื่อนย้ายด้วยรถเฮียบ ซึ่งมีความยาวของรถที่บรรทุกได้ 6 เมตร ถ้าห้องเย็นขนาดกว้าง 2.4 เมตร ยาว 2.4 เมตร สูง 2.4 เมตร จะเก็บสินค้าได้ประมาณ 1-2 ตัน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าอะไร เป็นเนื้อสัตว์ หรือ ผักผลไม้ ถ้าเป็นประเภทผักผลไม้
น้ำยาแอร์ชนิดไหนใช้กับห้องแช่แข็ง ห้องแช่ฟรีส ในประเทศไทยธุรกิจห้องแช่แข็งและห้องแช่ฟรีส อุตสาหกรรมความเย็นต่างๆ ที่นิยมใช้งานต่างก็ต้องใช้สารทำความเย็นหรือ น้ำยาแอร์เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อมาใช้งานในระบบทำความเย็นต่าง ๆ ทั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน อาคาร รถยนต์ ห้องเย็นและตู้แช่ รวมทั้งอุตสาหกรรมทั่วไปด้วยที่ต้องใช้อุณภูมิความเย็นในการจัดเก็บสินค้าต่าง ๆ โดยในที่นี้จะแยกในส่วนของน้ำยาที่ใช้สำหรับห้องแช่แข็ง และห้องแช่ฟรีส ว่าส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันนิยมและใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนกันบ้าง แต่ละชนิดมีส่วนประกอบและคุณสมบัติอย่างไร ในระบบห้องแช่แข็ง ห้องแช่ฟรีส มีน้ำยาแอร์หลักๆที่ใช้กันได้ดังนี้ R404A เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) คุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ประหยัดพลังงาน มีค่าแรงดันที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 170-180 Psi จุดเดือดอยู่ที่ -46.6 C◦ ใช้ในอุณหภูมิติดลบ ใช้ในห้องแช่แข็ง ห้องแช่ฟรีสและอุตสาหกรรมทำความเย็น ถ้าน้ำยาแอร์ในระบบขาดต้องปล่อยทิ้งแล้วเติมใหม่ทั้งหมด โดยสามารถใช้เกจ์วัดแรงดันในการเช็คระบบให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม R507A เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 2 ชนิด (R125+R143) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 180-190 Psi
ถอดรหัสระบบแอร์ที่ใช้ในรถห้องเย็น ปัจจุบันรถยนต์ในประเทศมีอยู่มากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์โดยสาร รถตู้ รถบัส รถกระบะ เป็นต้น ถ้าพูดถึงในเชิงพาณิชย์ จะมีรถประเภทหนึ่งที่เราอาจไม่นึกถึง แต่มีความจำเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมขนส่ง นั่นคือ รถห้องเย็น ที่ไว้ใช้ขนส่งสินค้าที่จำเป็นต้องให้อยู่ในอุณหภูมิที่เย็นตลอดเวลา รถห้องเย็นส่วนใหญ่จะเป็นรถกระบะ รถตู้ รถบรรทุกต่างๆที่มีการดัดแปลงต่อเติมเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในการจัดเก็บสินค้าที่จะต้องอยู่ในอุณหภูมิความเย็นคงที่ เพื่อจัดส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วตามเวลาที่กำหนด รถห้องเย็นนั้นส่วนมากแล้วจะเป็นรถที่เอาไว้จัดส่งสินค้าที่จะต้องรักษาอุณหภูมิความเย็นให้คงที่เสมอเพื่อรักษาคุณภาพสินค้าให้มีความสด มีคุณค่าทางสารอาหารคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงในระหว่างการขนส่ง อย่างเช่นสินค้า อาหารแช่แข็ง อาหารแช่เย็น ผัก ผลไม้ อาหารซีฟู้ด เครื่องดื่ม นมสด เครื่องสำอาง ยารักษาโรค เป็นต้น ในส่วนของน้ำยาแอร์ที่ใช้ในรถห้องเย็นนั้นส่วนมากหลักๆคือน้ำยา R404A และ R134a และR507A ซึ่งแยกได้ดังนี้ R404A เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) ใช้ในรถห้องเย็นเก็บสินค้าพวกอาหารสด เนื้อสัตว์แช่แข็ง ไอศรีม ยาเวชภัณฑ์ เป็นต้น อุณหภูมิติดลบ ประหยัดพลังงาน ในส่วนของการซ่อมบำรุง ถ้าเกิดมีการรั่วจะต้องทำการปล่อยน้ำยาในระบบออกให้หมดแล้วเติมเข้าไปใหม่เท่านั้น เพราะเป็นสารผสมไม่สามารถเติมเพิ่มเข้าไปได้ทันที R134a เป็นสารทำความเย็นเชิงเดี่ยว
จะเห็นว่าน้ำยาแอร์จะไหลไปส่วนต่าง ๆของอุปกรณ์ และบ่อยครั้งที่จะเจอปัญหาแอร์ไม่เย็นเนื่องจากน้ำยาแอร์ขาด หรือหมด ปัญหาของน้ำยาแอร์ขาดหรือหมด เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งเมื่อเครื่องปรับอากาศมีการใช้งานมานาน อุปกรณ์ต่าง ๆเริ่มเสื่อม ทำให้เกิดการรั่วของน้ำยาแอร์ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำความเย็นลดลง และยังก่อให้เกิดผลกระทบกับระบบแอร์ ดังนี้
Freeze burn คืออะไร ความเสียหายจากตู้แช่แข็ง ในภาวะการจับจ่ายซื้ออาหารและสินค้าในปัจจุบัน ถ้าซื้อในปริมาณที่มาก จะทำให้ได้ราคาสินค้าที่ถูกลง และไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อซ้ำบ่อยๆ ซึ่งหลายท่านเลือกที่จะซื้อสินค้าและอาหารมาจัดเก็บไว้เป็นเวลานานในช่องแช่แข็งซึ่งอาจทำให้เกิดการที่สินค้าหรืออาหารมีความเสียหายในการแช่แข็งได้อาจทำให้คุณภาพเปลี่ยนไปรสชาติไม่เหมือนเดิม เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Freeze burn โดยหลายๆท่านอาจเกิดความสงสัยว่าทำไมสินค้าและอาหารถึงเก็บไว้ได้ไม่นานทั้งๆที่ควรจะเก็บได้ ทั้งนี้การจัดเก็บสินค้าและอาหารในช่องแช่แข็งนั้น นับว่าเป็นการสกัดกั้นการเติบโตของพวกจุลินทรีย์และแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี รวมถึงสารเคมีในสินค้าและอาหารเหล่านั้นไม่ให้เกิดขึ้นกับอาหารและตัวสินค้าเร็วขึ้นด้วย ซึ่งการจัดเก็บเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดFreeze burnหรือที่เรียกอีกอย่างว่า ความเสียหายจากการแช่แข็ง ส่วนสาเหตุนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากสิ่งต่างๆเหล่านี้ การสูญเสียความชื้นอาจเกิดได้จากอาหารทุกชนิดโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ต่างๆทำให้สินค้าและอาหารเกิดรอยสีขาวและสีเหลืองที่สังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะถูกการเผาไหม้จากการแช่แข็งเป็นเวลานาน ออกซิเจนเข้ามาแทนที่ความชื้นในอาหาร และทำให้สินค้าและอาหารเหล่านั้นสูญเสียคุณภาพได้ การสัมผัสอากาศของสินค้าและอาหารก่อนการจัดเก็บควรห่อหรือใส่ถุงพลาสติกแล้วไล่อากาศออกให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงให้สินค้าและอาหารสัมผัสกับความเย็นโดยตรง และไม่ควรเก็บไว้นานจนเกินไป เปิด-ปิดช่องแช่แข็งบ่อยจะทำให้อากาศเข้าไป ซึ่งจะทำให้อุณภูมิในช่องแช่แข็งไม่คงที่ มีความเปลี่ยนแปลงความเย็น ทำให้ระบบต้องปรับสภาพอุณหภูมิใหม่ จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งทำให้สินค้าและอาหารมีคุณภาพลดลงได้ และอาจจะควรทำรหัส หรือทำเครื่องหมายไว้ที่สินค้าที่แช่ไว้เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรใช้อันไหนก่อน ควรใช้อันไหนหลัง เพื่อที่จะได้ใช้ของที่เก็บมานานก่อน เช็คอุณภูมิที่ใช้ให้เหมาะสม ตรวจสอบความเย็นอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้อุณหภูมิคงที่มากที่สุด เพื่อที่จะได้จัดเก็บสินค้าได้อย่างมีคุณภาพและคุณค่าในสารอาหารจะไม่เสียไปเมื่อถึงเวลาที่เราจะนำมาใช้ในครั้งต่อๆไป เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายของสินค้า อาหาร และวัถุดิบในช่องแช่แข็ง ควรหมั่นตรวจเช็คตู้แช่อย่างสม่ำเสมอ,ไม่เปิดปิดบ่อยๆ และไม่แช่สินค้าที่เยอะจนเกินไปเป็นเวลานานๆ, แพ็คของที่ต้องการแช่ให้ดีและถ้าหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำยาแอร์ของตู้เย็นและตู้แช่ สามารถโทรสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้แช่ทุกชนิด ที่ Line@ หรือ โทร xx-xxx-xxxx
สาเหตุอะไร ที่ทำให้ตู้เย็น ไม่เย็น ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทุกครัวเรือน และตามสำนักงานจะต้องมีคือ ตู้เย็น เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บรักษาของบริโภคและทำให้ของบริโภคมีความเย็นเมื่อรับประทานเพื่อความสดชื่นเนื่องด้วยประเทศไทยเป็นเมืองร้อน การได้ดื่มเครื่องดื่มเย็นๆก็ทำให้สดชื่นใจและคลายร้อนได้ดี โดยเฉพาะช่วงอากาศร้อนตู้เย็นจะถูกใช้งานมาก อาจมีการเปิดปิดบ่อยครั้ง ทำให้ตู้เย็นทำงานหนักและยังอาจทำให้พบเจอปัญหาต่างๆหรือความผิดปกติได้ ซึ่งบางทีสาเหตุของการทำงานผิดปกติของตู้เย็น อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ตู้เย็นของเราเอง โดยที่เราเองคาดไม่ถึงว่าจะทำให้ตู้เย็นไม่เย็นได้วันนี้จะพามาดูสาเหตุใดบ้างที่ทำให้ตู้เย็นไม่เย็น รวมทั้งวิธีการแก้ไขเบื้องต้น ที่จะทำให้ตู้เย็นกลับมาเย็นได้เป็นปกติ ทั้งนี้สามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยปฏิบัติดังนี้ -อย่าแช่ของเยอะเกินไป ทั้งของแห้ง ของสด ขนมรวมทั้งอาหารต่างๆ ที่ทานไม่หมดถูกนำเข้าไปในตู้โดยไม่มีการจัดระเบียบที่ดี ทำให้ไม่มีพื้นที่ว่าง ทำให้ตู้เย็นทำงานได้ไม่เต็มที่ และความเย็นไปได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นควรต้องจัดเก็บให้เป็นระเบียบ และจัดเก็บของที่จำเป็นโดยการทิ้งของที่ไม่จำเป็นหรือเน่าเสียไปแล้ว แนะนำให้หมั่นเคลียร์พื้นที่ในตู้เย็นบ่อยๆเพื่อให้มีพื้นที่ว่างระบบความเย็นจะได้ทำงานได้อย่างทั่วถึง –ไม่เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยหรือเปิดค้างไว้นาน ก่อนที่จะเปิดตู้เย็นควรที่จะวางแผนก่อนว่าจะหยิบจะใช้อะไรบ้าง แล้วสิ่งที่ใช้อยู่ตำแหน่งไหนในตู้เพื่อที่จะหยิบได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องเปิดตู้เย็นค้างไว้นานหรือมีการเปิดปิดบ่อยๆ ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิความเย็นในตู้ลดลงได้ เพราะความเย็นจะระบายออกมาเวลาเปิดใช้งานและควรปิดให้สนิททุกครั้ง –ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม ในตู้เย็นจะมีปุ่มปรับระดับความเย็นทั้งในแบบดิจิตอลและปุ่มกด ซึ่งควรปรับให้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ควรตั้งค่าต่ำเกินไปอาจจะทำให้ตู้เย็นไม่เย็น –ยางขอบตู้เย็นเสื่อมสภาพ หากตู้เย็นมีการใช้งานมานาน ควรจะสังเกตุดูว่าเวลาปิดตู้เย็นแล้วสนิทหรือไม่ เพราะถ้าไม่สนิทหรือยางขอบตู้เย็นเสื่อมสภาพแล้ว ให้ควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะอาจทำให้ความเย็นรั่วไหลออกไปได้ –ไม่ใส่ของที่ยังร้อนอยู่เข้าไปแช่ในตู้เย็น ไม่ควรนำของที่ยังร้อนอยู่เข้าแช่ในตู้เย็น เพราะความร้อนที่เข้าไปจะยิ่งทำให้ตู้เย็นทำงานหนักและส่งผลต่ออุณหภูมิภายในตู้เย็นควรรอให้ของที่จะแช่หายร้อนก่อนจึงค่อยนำเข้าไปแช่จะดีกว่า –วางตู้เย็นผิดตำแหน่ง ไม่ควรวางติดกับผนังจนเกินไป เพราะตู้เย็นจะมีพัดลมเพื่อระบายความร้อนในการทำงาน ดังนั้นควรจัดวางให้ห่างจากผนังเล็กน้อย เพื่อให้พัดลมระบายอากาศได้ดี. ดังนั้นควรตรวจสอบและหมั่นสังเกตุตู้เย็น และพฤติกรรมการใช้ของเราเองด้วยเพื่อให้ตู้เย็นของเราทำความเย็นได้ดี และรักษาอายุการใช้งานของตู้เย็นให้ใช้ได้นาน แต่ถ้าตู้เย็นมีการทำงานผิดปกติ
ระบบทำความเย็นในตู้แช่ ปัจจุบันเราสามารถพบเจอกันได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการใช้งานและการจัดเก็บของสินค้าประเภทนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อต้องการที่จะทำให้สามารถจัดเก็บและถนอมสินค้าหรืออาหารต่างๆให้มีคุณภาพและมีคุณค่าทางสารอาหารที่เหมือนเดิม ไม่เน่าไม่เสีย จัดเก็บไว้ได้นาน อีกทั้งยังกักตุนสินค้าในภาวะวิกฤตได้ด้วย ทีนี้เรามาดูกันว่าเราสามารถแยกแบ่งแยกประเภทการใช้งานของตู้แช่แต่ละชนิดแต่ละรูปแบบมีว่าใช้ในส่วนใดกันบ้าง ซึ่งในปัจจุบันที่เราจะพบเห็นและเป็นที่นิยมกันมากในสถานที่ต่างๆสามารถแบ่งได้หลักๆตามการใช้งานได้และรูปแบบทั่วๆไปได้ดังนี้ ตู้แช่สำหรับใช้งานภายในบ้านและครัวเรือน รูปแบบการทำงานจะคล้ายๆกับตู้เย็นแต่อุณหภูมิการจัดเก็บจะมีความคงที่มากกว่า และเหมาะแก่การเก็บสินค้าไว้ในระยะยาว พื้นที่ในการจัดเก็บสามารถบรรจุสินค้าได้มากกว่าตู้เย็น ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบฝาเปิด-ปิดด้านบนด้านเดียว ซึ่งช่วยให้รักษาความเย็นได้ดี แต่ในบางครั้งการหาของที่แช่ไว้ในตู้แช่รูปแบบนี้ก็ทำได้ยาก เพราะถ้าต้องการสินค้าที่อยู่ด้านล่างก็ต้องรื้อสินค้าที่อยู่ด้านบนสุดออกก่อน ตู้แช่สำหรับใช้งานในร้านค้าปลีกและร้านค้าส่ง ที่เห็นได้ชัดเจนก็จะเป็นการแช่พวกเครื่องดื่ม ขนมปัง เบเกอรี่ เค้กต่างๆ รวมทั้งสินค้าแช่แข็งพร้อมทานในรูปแบบกล่องที่พร้อมทานด้วย โดยจะเป็นรูปแบบที่เป็นฝาหน้าเป็นกระจกใส แบบเปิด-ปิดด้านหน้า หรือแบบไม่มีกระจกหรือฝาเปิด-ปิดเลย ซึ่งทำให้สามารถมองเห็นสินค้าได้ชัดเจน และง่ายในการเลือกซื้อ สามารถแบ่งแยกประเภทสินค้าออกเป็นหมวดหมู่ได้เพราะมีหลายชั้นให้วางสินค้า จัดประเภทสินค้าได้ชัดเจน ตู้แช่สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เชิงพาณิชย์ ส่วมมากจะเป็นตู้ขนาดใหญ่พิเศษ เหมาะสำหรับเก็บสินค้าจำพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ อาหารทะเลแช่แข็ง หรือน้ำแข็งแบบถุง โดยแช่ในปริมาณมากๆ เพื่อต้องการความรักษาสดและให้คุณค่าสารอาหารไม่เสียไป อุณหภูมิที่ใช้ต้องคงที่ สินค้าที่เก็บพร้อมที่จะจัดส่งไปตามที่ต่างๆ ในที่นี้อาจรวมถึงรถห้องเย็นที่ไว้ในการจัดส่งสินค้าอีกด้วย ดังนั้น การเก็บรักษาสินค้าและอาหารให้ถูกหลักเพื่อได้ได้คุณภาพคงเดิมและสารอาหารไม่เปลี่ยนไปก็ควรจะเลือกเก็บให้เหมาะสมกับรูปแบบตู้แช่แต่ละชนิดของเครื่องทำความเย็นนั้นๆในอุณหภูมิที่เหมาะ ซึ่งตู้แช่โดยปกติเมื่อไฟฟ้าดับก็ยังสามารถเก็บอุณหภูมิต่อไปได้ดีกว่าตู้เย็น หากมีข้อสงสัยในเรื่องน้ำยาแอร์ที่จะใช้ในตู้แช่แต่ละแบบ สามารถสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอม ศูนย์รวมน้ำยาตู้เย็น ตู้แช่ทุกชนิด ที่ Line@ หรือ โทร xx-xxx-xxxx
- 1
- 2