Category Archives: วิธีเช็คน้ำยาแอร์

วิธีเลือกแอร์ และการเลือกขนาดบีทียู ให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง

วิธีเลือกแอร์ และการเลือกขนาดบีทียู ให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง

วิธีเลือกแอร์ และการเลือกขนาดบีทียู ให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง การเลือกแอร์หรือเลือกเครื่องปรับอากาศ อาจแตกต่างจากการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ทั่วไป ที่นอกจากต้องเลือกแบรนด์ที่มาตรฐาน ประหยัดไฟ รูปทรงสวยงามตามดีไซน์ที่ชอบแล้ว การเลือก บีทียู แอร์ คือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ บีทียู แอร์ คืออะไร และมีวิธีเลือกอย่างไรให้ได้ขนาดที่เหมาะสม น้ำยาแอร์.com มีคำตอบมาให้ ครับ บีทียู แอร์ คืออะไร บีทียู (BTU) ย่อมาจากคำว่า British Thermal Unit หมายถึง หน่วยวัดค่าพลังงานความร้อนตามมาตรฐานสากล บีทียู แอร์ จึงหมายถึงความสามารถในการทำความเย็น การถ่ายเทความร้อนออกจากห้องภายในเวลา 1 ชั่วโมง โดยคำนวณเป็น ความร้อน 1 BTU เท่ากับ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮต์ และยิ่งตัวเลข BTU มากก็แสดงว่าแอร์เครื่องนั้นทำความเย็นได้มาก วิธีเลือกแอร์ และการเลือก ขนาดบีทียูที่เหมาะสม

น้ำยาแอร์ เลือกอย่างไรให้เหมาะกับระบบปรับอากาศ

น้ำยาแอร์ เลือกอย่างไรให้เหมาะกับระบบปรับอากาศ ระบบปรับอากาศ หรือ Air Conditioning คือ ระบบที่ทำหน้าที่ปรับสภาพของอากาศให้เหมาะกับสภาวะที่ผู้ใช้ต้องการ และเป็นระบบที่ใช้ได้ทั้งการปรับอากาศเพื่อการเก็บรักษาอาหาร และรวมถึงการปรับอากาศเพื่อการอยู่อาศัยในอาคาร ห้องพัก หรือในสำนักงาน และมีการควบคุมปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ โดยใช้น้ำยาแอร์ทำให้เกิดความเย็น ในบทความนี้เพื่อให้การใช้งานเครื่องปรับอากาศมีประสิทธิภาพ น้ำยาแอร์.com มีความรู้เกี่ยวกับน้ำยาแอร์ และการเลือกน้ำยาแอร์ให้เหมาะกับระบบปรับอากาศมาแนะนำครับ น้ำยาแอร์ คืออะไร และมีกี่ชนิด น้ำยาแอร์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสารทำความเย็น เป็นสารจำพวก CFCs (Chloro Fluoro Carbons) ซึ่งเป็นสารของเหลวที่ทำให้เกิดความเย็น ไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น คุณสมบัติของน้ำยาแอร์ เป็นตัวกลางทำหน้าที่รับ ดูดซับ และนำพาความร้อน เพื่อให้เกิดการขยายตัว หรือมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวให้กลายเป็นไอหรือแก๊ส โดยสารเหล่านี้จะมีจุดเดือดที่ต่ำกว่าสารทั่วไป จึงถูกนำมาใช้ในการทำความเย็น และสารทำความเย็นที่มีจุดเดือดต่ำจะถูกใช้ในการทำความเย็นที่อุณหภูมิต่ำ ส่วนสารทำความเย็นที่มีจุดเดือดสูงจะถูกใช้ในทำความเย็นที่อุณหภูมิสูง น้ำยาแอร์ ตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้มีการกำหนดชนิดของสารทำความเย็นไว้ 3 ชนิด โดยมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้ สารทำความเย็นชนิดที่ไม่ระคายเคืองและไม่เป็นสารติดไฟ สารทำความเย็นชนิดที่เป็นสารติดไฟ สารทำความเย็นชนิดที่มีความระคายเคือง น้ำยาแอร์ เลือกอย่างไรให้เหมาะกับระบบปรับอากาศ การเลือกน้ำยาแอร์ให้เหมาะกับระบบปรับอากาศ จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกับระบบปรับอากาศเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์

ถ้าน้ำยาแอร์หมดส่งผลกระทบกับระบบแอร์อย่างไร

จะเห็นว่าน้ำยาแอร์จะไหลไปส่วนต่าง ๆของอุปกรณ์ และบ่อยครั้งที่จะเจอปัญหาแอร์ไม่เย็นเนื่องจากน้ำยาแอร์ขาด หรือหมด ปัญหาของน้ำยาแอร์ขาดหรือหมด เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งเมื่อเครื่องปรับอากาศมีการใช้งานมานาน อุปกรณ์ต่าง ๆเริ่มเสื่อม ทำให้เกิดการรั่วของน้ำยาแอร์ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำความเย็นลดลง และยังก่อให้เกิดผลกระทบกับระบบแอร์ ดังนี้

จัดเก็บน้ำยาแอร์อย่างไร ให้ปลอดภัย

จัดเก็บน้ำยาแอร์อย่างไร ให้ปลอดภัย

น้ำยาแอร์ มีคุณสมบัติเป็นสารที่ไม่ติดไฟ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีแรงดัน (Pressure) ในตัวจึงถูกจัดให้เข้าข่ายสารวัตถุอันตราย ดังนั้น เวลาจัดเก็บน้ำยาแอร์ จึงมีหลักเกณฑ์ที่ควรทราบเพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตนเอง และชุมชน ยิ่งไปกว่านั้นอากาศในประเทศไทยค่อนข้างร้อน การจัดเก็บน้ำยาแอร์ ควรต้องมีการจัดเก็บอย่างเหมาะสม และเคร่งครัด โดยมีวิธีการจัดเก็บน้ำยาแอร์ให้ปลอดภัย มีข้อควรพิจารณา ดังนี้ พื้นที่ในการจัดเก็บ พื้นที่ต้องเป็นพื้นที่โล่ง และระบายอากาศได้ดี แต่ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่โดนแสงแดดโดยตรง ควรเป็นที่ร่มที่มีหลังคาที่ถูกออกแบบให้สามารถระบายความร้อนได้ และระบายควันในกรณีเกิดเพลิงไหม้ นอกจากนี้พื้นที่จัดเก็บควรมีทางเข้า-ออก อย่างน้อย 2 ทางและไม่มีสิ่งกีดขวาง ถ้าปริมาณจัดเก็บน้ำยาแอร์มีมาก พื้นหรือฐานในการวางน้ำยาเพื่อจัดเก็บต้องมีความแข็งแรง เนื่องจากน้ำหนักน้ำยาและถังเหล็กนั้นมีความหนัก การวางตำแหน่งของถัง/ท่อน้ำยาแอร์ ควรจัดเก็บให้ถังหรือท่อน้ำยาแอร์ วางตั้งตรง ไม่ควรวางเอียงหรือแนวนอนหรือไม่ควรอยู่ในตำแหน่งที่เสี่ยงต่อการล้มของถังหรือท่อ อุณภูมิในการจัดเก็บ อุณหภูมิในการจัดเก็บควรเป็นอุณหภูมิต่ำ ควรมีอากาศเย็นและแห้ง อุณหภูมิการจัดเก็บไม่ควรเกิน 52 เซลเซียส ระยะเวลาการจัดเก็บ น้ำยาแอร์สามารถจัดเก็บได้นานเท่าไหร่ก็ได้ สามารถเก็บได้หลายปีถ้ามีการจัดเก็บอย่างถูกต้อง จำกัดจำนวนคนที่เข้าถึงที่จัดเก็บ การจำกัดจำนวนคนที่จะเข้าในสถานที่จัดเก็บน้ำยาแอร์ เป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และควรจัดเก็บให้ห่างไกลจากเด็ก อุปกรณ์และชั้นวาง ชั้นสำหรับจัดวางน้ำยาแอร์แบบถังเล็ก ต้องมีความมั่นคงแข็งแรง และไม่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน ส่วนการจัดเก็บน้ำยาแอร์ที่ลักษณะเป็นท่อใหญ่ ควรจะมีอุปกรณ์จับยึดท่อเพื่อป้องกันท่อล้มจนทำให้เกิดการเสียหายตามมา อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแรงดันน้ำยาแอร์ R22, R410A และ R32

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแรงดันน้ำยาแอร์ R22, R410A และ R32

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ภูมิอากาศของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น จึงทำให้ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 18- 38  องศาเซลเซียส  ทำให้อากาศร้อนแทบทั้งปี จึงทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศกันเป็นส่วนใหญ่เพื่อความสุขสบายในการดำรงชีวิต เครื่องปรับอากาศตามที่อยู่อาศัยที่ใช้หลักๆในปัจจุบันมี 3 ชนิดแยกตามชนิดน้ำยาแอร์ที่ใช้คือ R22,R410A และ R32 เรามาทำความรู้จักคุณสมบัติและแรงดันน้ำยาแอร์แต่ละชนิดเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานมีดังนี้ แรงดันน้ำยาแอร์ R22 ที่อุณหภูมิ 30C◦จะมีความแรงดันที่ 150-160 Psi โดยที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นก็จะทำให้แรงดันน้ำยาแอร์สูงขึ้น และอุณหภูมิลดลงก็จะทำให้แรงดันน้ำยาแอร์ลดลงด้วย สำหรับเครื่องมือที่ใช้วัดแรงดันน้ำยาแอร์ R22 คือเกจ์วัดน้ำยาแอร์วิธีการดูเกจ์วัดน้ำยาแอร์ที่ใช้วัดน้ำยาแอร์ R22 คือ ให้ดูอแดปเตอร์ที่ติดมากับตัวเกจ์และสายที่ติดมากับตัวเกจ์สายฝั่งสีแดงและสีน้ำเงิน จะเป็นขนาด 1/4 หรือขนาด 2 หุน หน้าปัดแรงดันฝั่ง HI จะอยู่ไม่เกิน 500 Psiหน้าปัดฝั่ง LOW จะอยู่ที่ 120 Psi สำหรับเกจ์วัดน้ำยาแอร์ R22จะใช้ร่วมกับ เกจ์วัดน้ำยาแอร์ R410A และ R32 ไม่ได้เพราะR22จะมีแรงดันที่ต่ำกว่า ถ้านำมาใช้อาจทำให้เกจ์วัดแรงดันเสียหายได้ แรงดันน้ำยาแอร์ R410A ที่อุณหภูมิ 30C◦

วิธีเช็คน้ำยาแอร์บ้านด้วยตัวเอง ทำอย่างไร?

สังเกตุง่ายๆว่า น้ำยาแอร์ในเครื่องปรับอากาศนั้นพร่อง หรือไม่เพียงพอนั้น ถ้าลมแอร์ที่ออกมาไม่เย็น หรืออุ่นๆ ก็เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งว่าน้ำยาแอร์อาจจะน้อยไป ทำให้เกิดการเกาะตัวของน้ำแข็งก้อนใหญ่ ทำให้อุดตันทางเดินของลมแอร์ได้
เปิดแอร์ทิ้งไว้สักพัก หลังจากนั้นให้ไปที่คอมเพรสเซอร์ที่ติดอยู่ด้านนอก ใช้หลังมืออังตรงพัดลมในคอมเพรสเซอร์ ข้อควรระวังอย่าใช้นิ้วจิ้มเข้าไปข้างใน ใช้แค่หลังมืออังเพื่อดูว่าลมที่ออกมานั้นร้อนหรือเย็น ถ้าลมที่ออกมานั้นอุ่นหรือร้อน แสดงว่าน้ำยาแอร์ปกติ แต่ถ้ารู้สึกเย็น แสดงว่าน้ำยาอาจจะน้อยไป
ถ้าน้ำยาแอร์รั่ว มันจะเกาะเป็นก้อนน้ำแข็งตามอุปกรณ์ต่างๆของเครื่องแอร์ เช่น ตรงมอเตอร์ หรือตรงท่อน้ำยาที่ออกจากคอยล์ร้อน สามารถจับสังเกตุได้ว่าถ้ามีก้อนน้ำแข็งเป็นก้อนตรงคอยล์ร้อนนอกบ้าน เป็นไปได้ว่ามีการรั่วของน้ำยาแอร์เกิดขึ้น
คอยฟังเสียงฟี๊บๆที่ออกมาจากยูนิตคอยล์ร้อนของเครื่องปรับอากาศจะคล้ายๆเสียงเหมือนมีลมรั่วออกมา เพราะถ้ามีการรั่วตรงจุดไหน มักจะแสดงเสียงการรั่วนั้นออกมาโดยปกติก็จะเป็นตามท่อน้ำยาแอร์
ใช้น้ำสบู่เพื่อตรวจจับการรั่วของน้ำยาแอร์ โดยการหยดไปตรงจุดที่สงสัยว่ามีการรั่วเกิดขึ้น ถ้าจุดนั้นมีการรั่ว จะเกิดเป็นฟองสบู่ขึ้นมา แต่วิธีนี้อาจะไม่ได้ผลถ้ารอยรั่วนั้นมีขนาดเล็กเกินไป