Author Archives: nobel23

น้ำยาแอร์บ้านที่ไม่เป็นอันตราย มีวิธีการเลือกซื้ออย่างไร?

จัดเก็บน้ำยาแอร์อย่างไร ให้ปลอดภัย

วิธีการเลือกซื้อน้ำยาแอร์บ้านที่ไม่เป็นอันตราย  โดยมีข้อสังเกตุหลักๆ มีดังนี้

คุณสมบัติน้ำยาแอร์ที่บริสุทธิ์ จะต้องไม่มีสารอื่นแปลกปลอมเจือปนอยู่ ยกตัวอย่างเช่น น้ำยาแอร์ R22 ของแท้จะไม่ติดไฟ  สามารถตรวจสอบความบริสุทธิ์ของน้ำยาได้โดยเครื่องมือตรวจสอบที่ผลิตมาเพื่อตรวจสอบส่วนผสมในน้ำยาแอร์โดยเฉพาะ  และผลที่ได้จากการตรวจสอบจะปรากฎให้เห็นค่าความบริสุทธิ์ของน้ำยาเป็นเปอร์เซ็นต์  แต่ถ้าเป็นน้ำยาแอร์ที่เจือปน จะมีส่วนผสมของสารอื่นที่ปรากฎเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน อีกทางหนึ่งสามารถขอดูใบรับรองคุณภาพน้ำยา (Certificate of Analysis – COA) ของโรงงานผลิต จากร้านค้าผู้ให้จำหน่ายได้

ไทม์ไลน์ของน้ำยาแอร์บ้าน R22 ถึงทางตันหรือยัง

ไทม์ไลน์ของน้ำยาแอร์บ้าน R22 ถึงทางตันหรือยัง

ในประเทศไทย ได้เริ่มดำเนินการตามประกาศของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้เริ่มกำหนดปริมาณการนำเข้า น้ำยาแอร์ R22 ครั้งแรกปี 2556 เป็นต้นมา และลดปริมาณการนำเข้าลงไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ ตามโครงการลด เลิก ใช้สารที่จะทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนตามพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol)

5 อาการบ่งบอกว่าน้ำยาแอร์หมด

5 อาการบ่งบอกว่าน้ำยาแอร์หมด

แอร์มีแต่ลมร้อน เป็นการสังเกตได้อย่างง่ายและเห็นได้ชัด คือเมื่อเราเปิดเครื่องปรับอากาศแล้ว เครื่องทำงานได้ปกติหมดทุกอย่าง เว้นแต่ว่า ลมที่ปล่อยออกมาจากคอยล์เย็น มีแต่ลมร้อน เป็นสัญญาณหนึ่งว่าน้ำยาแอร์พร่องไปเนื่องจากมีการรั่วของอุปกรณ์

ระบบแอร์รถยนต์มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของแอร์รถยนต์ที่ทำให้เกิดความเย็นประกอบด้วยดังนี้

คอมเพรสเซอร์ (compressor) มีหน้าที่ดูดและอัดน้ำยาแอร์ให้ไปไหลเวียนในระบบแอร์รถยนต์
คอนเดนเซอร์(Condenser) มีหน้าที่ระบายความร้อนที่ถูกส่งมาจากคอมเพรสเซอร์
ดรายเออร์ (Dryer) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกและดูดความชื้นของสารทำความเย็นให้ออกจากระบบ
เอ็กซ์แพนชันวาล์ว (Expansion Valve) (วาล์วปรับความดัน) ทำหน้าที่ลดความดันของสารทำความเย็นให้ต่ำลง และฉีดสารทำความเย็นให้เป็นฝอยละออง
อีวาปอเรเตอร์และโบลว์เวอร์ (Evaporator and blower) มีหน้าที่เป่าอากาศไปยังห้องผู้โดยสาร

รถยนต์ของเรา ต้องเติมน้ำยาแอร์บ่อยแค่ไหน

รถยนต์ของเรา ต้องเติมน้ำยาแอร์บ่อยแค่ไหน

ระบบแอร์รถยนต์ทำความเย็นเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นระบบแบบปิดระบบแบบปิด คือ ระบบที่สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ที่คุณเติมเข้าไปนั้นทำการหมุนเวียนภายในระบบตลอดเวลาไม่สามารถขาดหายไปหรือออกจากระบบได้ถ้าไม่เกิดการรั่วไหลของอุปกรณ์ต่าง ๆของระบบแอร์ ระบบของแอร์รถยนต์แบบปิดเมื่อเกิดความเสียหายของอุปกรณ์ของระบบแอร์ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการรั่วไหลของน้ำยาแอร์แล้ว ไม่สามารถที่จะเติมน้ำยาแอร์ได้เลยต้องทำการปล่อยน้ำยาแอร์ทั้งหมดออกจากระบบให้หมดก่อนถึงทำการซ่อมแซ่มจุดรั่วนั้นเสียก่อน จึงทำการเติมน้ำยาแอร์เข้าไปใหม่ได้ แต่หลายคนคิดว่าเมื่อระบบแอร์รถยนต์เป็นระบบแบบปิด แล้วน้ำยาแอร์จะขาดหายไปหรือพร่องได้อย่างไร อาจจะเป็นเพราะชิ้นส่วนของอุปกรณ์บ้างตัวทำงานหนักทำให้เสื่อมสภาพหรือเสียหายจนเกิดการรั่วไหลของน้ำยาแอร์ น้ำยาแอร์จึงขาดหายไปในระบบ จนทำให้ห้องโดยสารมีความเย็นลดน้อยลงหรือมีแต่ลมเท่านั้น ดังนี้ควรรีบนำรถยนต์เข้าตรวจเช็คระบบแอร์ทันที เพื่อไม่ให้อุปกรณ์ตัวอื่น ๆเสียหายตามไปด้วย ดังนั้นคุณควรหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์อะไหล่ต่าง ๆอยู่เสมอเพื่อให้การทำงานของระบบแอร์ทำงานได้ปกติ ปกติแล้วรถยนต์ของเราแทบจะไม่ต้องเติมน้ำยาแอร์ทำความเย็นเลยหลายๆคนคิดว่าระยะเวลา 1 ปี หรือภายใน 2-3 ปีต้องเติมน้ำยาแอร์ อันที่จริงแล้ว เราจะเติมต่อเมื่อเกิดการรั่วเท่านั้น การรั่วของระบบแอร์เกิดจาก การใช้งานของรถยนต์ หรืออุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ คุณภาพและมาตรฐานของอุปกรณ์ที่นำมาใช้ อายุการใช้งานของอุปกรณ์นั้น ๆ น้ำยาแอร์เองที่ใช้ไม่มีคุณภาพ ทำให้น้ำยาแอร์นั้นไปกัดกร่อนอุปกรณ์ระบบแอร์ได้ ปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้ระบบแอร์ไม่มีความเย็นหรือความเย็นน้อยไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำยาแอร์ขาดหายไปจากระบบแอร์เพียงอย่างเดียว อาจจะเป็นเพราะอุปกรณ์ต่าง ๆเสียหรือถึงระยะเวลาของการเปลี่ยน การล้างแอร์ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเรื่องของความเย็นและลดการรั่วของอุปกรณ์ และยืดอายุการใช้งานของระบบแอร์ หลายคนคิดว่าเมื่อตรวจเช็คน้ำยาแอร์แล้วน้ำยาแอร์เกิดหายไป ก็จะใช้วิธีเติมน้ำยาแอร์เข้าไปให้เต็ม แต่นั้นไม่ใช้วิธีที่ถูกต้องเพราะยิ่งนานไปน้ำยาแอร์ก็จะขาดหายไปเหมือนเดิม ดังนั้นคุณควรตรวจเช็ครอยรั่วก่อนการเติมน้ำยาแอร์ทุกครั้ง ดังที่กล่าวมานั้น น้ำยาแอร์ในรถยนต์ไม่จะเป็นต้องเติมบ่อย จะเติมต่อเมื่อมีการรั่วซึมของอุปกรณ์แอร์ ทำให้น้ำยาอาจระเหยหรือซึมออกไป การที่น้ำยาแอร์ขาดหายจากระบบแอร์รถยนต์มีหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ระบบแอร์ไม่ได้รับการตรวจเช็คตามระยะเวลา อุปกรณ์ได้รับความเสียหายจนเกิดรอยรั่ว หรือคุณภาพของน้ำยาแอร์รถที่ใช้ไม่ได้มาตรฐานทำให้อุปกรณ์เสียหายตามมา ถ้ากำลังมองหาน้ำยาแอร์รถยนต์ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน สามารถติดต่อได้ที่ น้ำยาแอร์ดอทคอมมีพนักงานคอยบริการตอบคำถามให้คำแนะนำจากประสบการณ์ด้านการจำหน่ายน้ำยาแอร์มากว่า20ปี โทร094-341-3124 หรือ

รถห้องเย็น ใช้น้ำยาแอร์หรือเปล่านะ

รถห้องเย็น ใช้น้ำยาแอร์หรือเปล่านะ

ในปัจจุบันรถยนต์ตามท้องถนนในประเทศมีอยู่มากมายหลายชนิดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน มีทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์โดยสาร รถยนต์บรรทุก รถพ่วง รถตู้ รวมทั้งรถกระบะที่ใช้ในการขนส่งสินค้า เป็นต้น ที่นี้มาดูกันว่าในส่วนรถห้องเย็นที่มีการใช้งานนั้น ใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนบ้างและใช้ในปริมาณเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะเป็นจำพวกรถกะบะ รถตู้ รถบรรทุกต่างๆที่มีการต่อเติมดัดแปลงเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในการจัดเก็บสินค้าที่ต้องอยู่ในอุณหภูมิความเย็นคงที่ เพื่อจัดส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วตามเป้าหมายที่กำหนด รถห้องเย็นนั้นส่วนมากแล้วจะเป็นรถที่เอาไว้จัดส่งสินค้าซึ่งจะต้องรักษาอุณหภูมิความเย็นให้คงที่เพื่อรักษาคุณภาพสินค้าให้มีความสด มีสภาพคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงในระหว่างการขนส่ง อย่างเช่นสินค้าจำพวก อาหารแช่แข็ง อาหารแช่เย็น ผัก ผลไม้ อาหารซีฟู้ด เครื่องดื่ม นมสด เครื่องสำอางค์ ยารักษาโรค เป็นต้น และน้ำยาแอร์ที่ใช้ส่วนมากหลักๆคือน้ำยาR404A  และ R134aและR507 ซึ่งแยกได้ดังนี้ R404A เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) ใช้ในรถห้องเย็นเก็บสินค้าพวกอาหารสด เนื้อสัตว์แช่แข็ง ไอศกรีม ยาเวชภัณฑ์ เป็นต้น อุณหภูมิติดลบ ประหยัดพลังงานในส่วนของการซ่อมบำรุง ถ้าเกิดมีการรั่วจะต้องทำการปล่อยน้ำยาในระบบออกให้หมดแล้วเติมเข้าไปใหม่เท่านั้น เพราะเป็นสารผสมไม่สามารถเติมเพิ่มเข้าไปได้ทันที R134a เป็นสารทำความเย็นเชิงเดี่ยว มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 100-110Psi จุดเดือดอยู่ที่

รวบรวมน้ำยาแอร์สำหรับตู้เย็น ตู้แช่มาแจงละเอียดยิบ

รวบรวมน้ำยาแอร์สำหรับตู้เย็น ตู้แช่มาแจงละเอียดยิบ

สารทำความเย็นหรือ น้ำยาแอร์ เป็นสารเคมีที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อมาใช้งานในระบบทำความเย็นต่าง ๆทั้งเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเรือน อาคาร รถยนต์ ห้องเย็นและตู้แช่ รวมทั้งอุตสาหกรรมทั่วไปด้วยที่ต้องใช้อุณภูมิความเย็นในการจัดเก็บสินค้าต่าง ๆ โดยในทีนี้จะแยกในส่วนของน้ำยาที่ใช้สำหรับตู้เย็น ตู้แช่ ว่าส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันนิยมและใช้น้ำยาแอร์ชนิดไหนกันบ้างแต่ละชนิดมีส่วนประกอบและคุณสมบัติอย่างไร ในระบบตู้เย็น ตู้แช่ น้ำยาแอร์หลักๆที่ใช้กันแบ่งตามรายละเอียดต่างๆได้ดังนี้ R404A เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 3 ชนิดรวมกัน (R125+R143+R134a) คุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ประหยัดพลังงานมีค่าแรงดันที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 170-180 Psi   จุดเดือดอยู่ที่   -46.6 C◦ใช้ในอุณหภูมิติดลบ ใช้ในสินค้าพวกตู้แช่ห้องเย็นและอุตสาหกรรมทำความเย็นถ้าน้ำยาแอร์ในระบบขาดต้องปล่อยทิ้งแล้วเติมใหม่ทั้งหมด โดยสามารถใช้เกจ์วัดแรงดันในการเช็คระบบให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม R507 เป็นสารทำความเย็นที่มีส่วนผสมของน้ำยา 2 ชนิด (R125+R143) มีค่าแรงดัน ที่อุณหภูมิ 30C◦ อยู่ที่ 180-190 Psiจุดเดือดอยู่ที่   -47.1 C◦ มีประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูง ใช้ในสินค้าตู้แช่ห้องเย็นและอุตสาหกรรมทำความเย็น จะเห็นว่าไม่มี R134a มาเป็นสารผสม จึงทำให้มีการแลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีกว่า R404A R134a

จัดเก็บน้ำยาแอร์อย่างไร ให้ปลอดภัย

จัดเก็บน้ำยาแอร์อย่างไร ให้ปลอดภัย

น้ำยาแอร์ มีคุณสมบัติเป็นสารที่ไม่ติดไฟ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีแรงดัน (Pressure) ในตัวจึงถูกจัดให้เข้าข่ายสารวัตถุอันตราย ดังนั้น เวลาจัดเก็บน้ำยาแอร์ จึงมีหลักเกณฑ์ที่ควรทราบเพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตนเอง และชุมชน ยิ่งไปกว่านั้นอากาศในประเทศไทยค่อนข้างร้อน การจัดเก็บน้ำยาแอร์ ควรต้องมีการจัดเก็บอย่างเหมาะสม และเคร่งครัด โดยมีวิธีการจัดเก็บน้ำยาแอร์ให้ปลอดภัย มีข้อควรพิจารณา ดังนี้ พื้นที่ในการจัดเก็บ พื้นที่ต้องเป็นพื้นที่โล่ง และระบายอากาศได้ดี แต่ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่โดนแสงแดดโดยตรง ควรเป็นที่ร่มที่มีหลังคาที่ถูกออกแบบให้สามารถระบายความร้อนได้ และระบายควันในกรณีเกิดเพลิงไหม้ นอกจากนี้พื้นที่จัดเก็บควรมีทางเข้า-ออก อย่างน้อย 2 ทางและไม่มีสิ่งกีดขวาง ถ้าปริมาณจัดเก็บน้ำยาแอร์มีมาก พื้นหรือฐานในการวางน้ำยาเพื่อจัดเก็บต้องมีความแข็งแรง เนื่องจากน้ำหนักน้ำยาและถังเหล็กนั้นมีความหนัก การวางตำแหน่งของถัง/ท่อน้ำยาแอร์ ควรจัดเก็บให้ถังหรือท่อน้ำยาแอร์ วางตั้งตรง ไม่ควรวางเอียงหรือแนวนอนหรือไม่ควรอยู่ในตำแหน่งที่เสี่ยงต่อการล้มของถังหรือท่อ อุณภูมิในการจัดเก็บ อุณหภูมิในการจัดเก็บควรเป็นอุณหภูมิต่ำ ควรมีอากาศเย็นและแห้ง อุณหภูมิการจัดเก็บไม่ควรเกิน 52 เซลเซียส ระยะเวลาการจัดเก็บ น้ำยาแอร์สามารถจัดเก็บได้นานเท่าไหร่ก็ได้ สามารถเก็บได้หลายปีถ้ามีการจัดเก็บอย่างถูกต้อง จำกัดจำนวนคนที่เข้าถึงที่จัดเก็บ การจำกัดจำนวนคนที่จะเข้าในสถานที่จัดเก็บน้ำยาแอร์ เป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และควรจัดเก็บให้ห่างไกลจากเด็ก อุปกรณ์และชั้นวาง ชั้นสำหรับจัดวางน้ำยาแอร์แบบถังเล็ก ต้องมีความมั่นคงแข็งแรง และไม่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน ส่วนการจัดเก็บน้ำยาแอร์ที่ลักษณะเป็นท่อใหญ่ ควรจะมีอุปกรณ์จับยึดท่อเพื่อป้องกันท่อล้มจนทำให้เกิดการเสียหายตามมา อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย

ระบบชิลเลอร์คืออะไร

ระบบชิลเลอร์คืออะไร

ระบบปรับอากาศอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานที่ที่มีพื้นที่ใหญ่ เช่นโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงแรม อาคาร เพื่อให้ระบบปรับอากาศมีประสิทธิภาพ, ประหยัดพลังงานไฟฟ้า และควบคุมงบประมาณหรือต้นทุนได้ นั่นคือ ระบบชิลเลอร์ ระบบชิลเลอร์คือเครื่องทำความเย็นที่มีขนาดใหญ่ มีหน้าที่ปรับลดอุณหภูมิตัวสารทำความเย็นโดยใช้น้ำเป็นตัวหลักในการปรับ และในการถ่ายเทความเย็นจากตัวเครื่องชิลเลอร์ส่งไปยังเครื่องปรับอากาศในส่วนพื้นที่ต่างๆ เป็นต้นหลักการทำงานหลักของระบบชิลเลอร์ คือการควบคุมอุณหภูมิด้วยตัวกลางเช่น น้ำ หรือลมอากาศโดยใช้การแลกเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็น และนำความเย็นจากการแลกเปลี่ยนสถานะนั้นไปใช้งาน ระบบชิลเลอร์แบ่งเป็น2 ระบบ ดังนี้ ระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำ หลักการทำงาน คือ จะอาศัยน้ำเข้าไปใช้งานในระบบ โดยการนำเอาน้ำมาลดอุณหภูมิลง แล้วก็นำเอาน้ำจากท่อน้ำมาใช้งานภายในพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งในพื้นที่นี้ ก็จะเหมือนเป็นตู้แอร์ มาวางตามจุดต่างๆ  น้ำที่ผ่านมาก็จะผ่านเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วปกติ มาผ่านคอยล์เย็น  และก็จะมีโบเวอร์ทำหน้าที่ดูดลมเข้า และเป่าลมออก  จะมีปล่องนำลมออกไปใช้งานในจุดต่างๆ จะทำให้เกิดความเย็นขึ้นในพื้นที่นั้นๆ   เมื่อน้ำยาแอร์ซับความร้อนจากห้องนั้นมา จะกลายสภาพเป็นไอที่มีความดันต่ำก็จะระบายความร้อนด้วยน้ำ โดยการนำระบบคูลลิ่งเข้ามาช่วย  เมื่อน้ำออกจากท่อที่ผ่านการใช้งานแล้ว  ก็จะวนมาที่คอยล์เย็นเช่นเดิม บ่อพักน้ำ จะมี 2 จุด คือ ก่อนเข้าและหลังออก จากคอยล์เย็น เพื่อให้น้ำได้เกิดการหมุนเวียนได้ตลอดเวลา  และการทำงานก็จะวนกลับเป็นระบบแบบนี้ไปเรื่อยๆ ระบบการระบายความร้อนด้วยอากาศ เป็นการใช้อากาศทั่วๆไป คล้ายระบบแอร์ ที่มีคอยล์ร้อนอยู่นอกอาคาร

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแรงดันน้ำยาแอร์ R22, R410A และ R32

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแรงดันน้ำยาแอร์ R22, R410A และ R32

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ภูมิอากาศของประเทศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น จึงทำให้ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 18- 38  องศาเซลเซียส  ทำให้อากาศร้อนแทบทั้งปี จึงทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยต้องพึ่งเครื่องปรับอากาศกันเป็นส่วนใหญ่เพื่อความสุขสบายในการดำรงชีวิต เครื่องปรับอากาศตามที่อยู่อาศัยที่ใช้หลักๆในปัจจุบันมี 3 ชนิดแยกตามชนิดน้ำยาแอร์ที่ใช้คือ R22,R410A และ R32 เรามาทำความรู้จักคุณสมบัติและแรงดันน้ำยาแอร์แต่ละชนิดเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานมีดังนี้ แรงดันน้ำยาแอร์ R22 ที่อุณหภูมิ 30C◦จะมีความแรงดันที่ 150-160 Psi โดยที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นก็จะทำให้แรงดันน้ำยาแอร์สูงขึ้น และอุณหภูมิลดลงก็จะทำให้แรงดันน้ำยาแอร์ลดลงด้วย สำหรับเครื่องมือที่ใช้วัดแรงดันน้ำยาแอร์ R22 คือเกจ์วัดน้ำยาแอร์วิธีการดูเกจ์วัดน้ำยาแอร์ที่ใช้วัดน้ำยาแอร์ R22 คือ ให้ดูอแดปเตอร์ที่ติดมากับตัวเกจ์และสายที่ติดมากับตัวเกจ์สายฝั่งสีแดงและสีน้ำเงิน จะเป็นขนาด 1/4 หรือขนาด 2 หุน หน้าปัดแรงดันฝั่ง HI จะอยู่ไม่เกิน 500 Psiหน้าปัดฝั่ง LOW จะอยู่ที่ 120 Psi สำหรับเกจ์วัดน้ำยาแอร์ R22จะใช้ร่วมกับ เกจ์วัดน้ำยาแอร์ R410A และ R32 ไม่ได้เพราะR22จะมีแรงดันที่ต่ำกว่า ถ้านำมาใช้อาจทำให้เกจ์วัดแรงดันเสียหายได้ แรงดันน้ำยาแอร์ R410A ที่อุณหภูมิ 30C◦